คุณกำลังมองหาอะไร?

ข่า

ข่าวแจก "กรมอนามัย เตือนเล่นดอกไม้ไฟ ไม่ระวัง เสี่ยงหูตึง"

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

05.11.2555
6
0
แชร์
05
พฤศจิกายน
2555

ข่าวแจก "กรมอนามัย เตือนเล่นดอกไม้ไฟ ไม่ระวัง เสี่ยงหูตึง"

        กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เตือนอันตรายจากดอกไม้ไฟในคืนวันลอยกระทงที่เกิดจากความประมาท ชี้ เสียงดังของดอกไม้ไฟและประทัดไม่เพียงแต่จะส่งผลกระทบต่อการได้ยินแล้ว หากความร้อนสัมผัสกับผิวหนังอาจทำให้ผิวหนังไหม้ได้
        นายแพทย์เจษฏา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยถึงอันตรายจากการเล่นดอกไม้ไฟ ว่า ในปีที่ ผ่าน ๆ มา ถึงแม้ว่าบางหน่วยงานจะมีมาตรการควบคุมการเล่นดอกไม้ไฟออกมาบังคับใช้แต่ก็มีข่าวการได้รับ บาดเจ็บแทบทุกปี เพราะยังมีประชาชนบางกลุ่มที่เล่นดอกไม้ไฟโดยไม่ระมัดระวัง โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและวัยรุ่น ซึ่งเป็นกลุ่มที่คึกคะนอง ชอบเล่นผาดโผน เล่นไม่ถูกวิธี รู้เท่าไม่ถึงการณ์ต่อภัยของดอกไม้ไฟ ทั้งเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายแก่ร่างกายและเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน เพราะดอกไม้ไฟนั้นประกอบด้วยสารเคมีถึง 18 ชนิด โดยสารเคมีที่ใช้เป็นตัวเติมออกซิเจนเพื่อช่วยในการเผาไหม้ เช่น สารประกอบไนเตรท คลอเรต โปแตสเซี่ยม แบเรียม สารเคมีที่ใช้เป็นตัวเร่งและควบคุมความเร็วในการเผาไหม้ให้เกิดความร้อน เช่น ผงกำมะถัน แมกนีเซียม สังกะสี สารเคมีที่ทำให้ประกายไฟของดอกไม้ไฟเป็นสีต่างๆ และสารเคมีที่ช่วยในการเกาะตัวทำให้เกิดเป็นรูปร่างต่าง ๆ เช่น แป้งและเชลแล็ค เป็นต้น
        นายแพทย์เจษฎา กล่าวต่อไปว่า สารเคมีเหล่านี้จะก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้หากมีการสัมผัสโดยตรงบริเวณผิวหนังหรือสูดดมเอาสารเคมีที่อยู่ในรูปของเหลว ผง ไอระเหย และควันพิษ เข้าสู่ร่างกายก่อให้เกิดอันตรายตามแต่ละชนิดของสารเคมี เช่น สารประกอบแบเรียม ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองหู ตา คอ จมูก และผิวหนัง เกิดโรคลำไส้อักเสบ กล้ามเนื้อเกร็ง ชีพจรเต้นช้า สารตะกั่วและทองแดงทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย เกิดแผลที่โพรงจมูกได้ ดอกไม้ไฟที่มีเสียงดังมาก ๆ ยังส่งผลกระทบต่อการได้ยิน เพราะดอกไม้ไฟชนิดที่ก่อให้เกิดเสียงดังทุกชนิดจะมีระดับเสียงกระแทกสูงกว่า 130 เดซิเบล เอ ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้คือ 85 เดซิเบล เอ จะทำให้เกิดอาการหูตึงชั่วคราว และถ้าได้รับในช่วงเวลายาวนานจะทำให้หูตึงถาวรได้อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ป่วยโรคหัวใจ ความดันโลหิตหรือส่งผลต่อสุขภาพจิต ทำให้หงุดหงิด นอนไม่หลับ สำหรับไฟเย็นจะมีความร้อนที่อุณหภูมิ 649-983 องศาเซลเซียส สามารถทำให้ผิวหนังไหม้หรือตาบอดได้หากขาดความระมัดระวังที่ดี
        การป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ต้องระวังไม่ให้ดอกไม้ไฟได้รับความร้อนหรืออยู่ใกล้แหล่งที่ก่อเกิดประกายไฟ จึงควรงดเล่นดอกไม้ไฟโดยเด็ดขาด ไม่ควรเห็นแก่ความสนุกชั่วครั้งชั่วคราว ควรหันมาให้ความร่วมมือกับทางราชการที่กำหนดให้มีมาตรการคุมเข้มในเรื่องการเล่นดอกไม้ไฟอย่างจริงจัง ซึ่งหากสามารถปฏิบัติได้เช่นนี้ไม่เพียงแต่จะเป็นการสืบสานประเพณีการลอยกระทงที่ดีงามของไทยแล้ว ยังช่วยลดอุบัติเหตุและโศกนาฏกรรมที่เกิดจากการเล่นดอกไม้ไฟอีกด้วย? อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด
 
***
กลุ่มสื่อสารองค์กร / 5 พฤศจิกายน 2555
 
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เตือนอันตรายจากดอกไม้ไฟในคืนวันลอยกระทงที่เกิดจากความประมาท ชี้ เสียงดังของดอกไม้ไฟและประทัดไม่เพียงแต่จะส่งผลกระทบต่อการได้ยินแล้ว หากความร้อนสัมผัสกับผิวหนังอาจทำให้ผิวหนังไหม้ได้ นายแพทย์เจษฏา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยถึงอันตรายจากการเล่นดอกไม้ไฟ ว่า ในปีที่ ผ่าน ๆ มา ถึงแม้ว่าบางหน่วยงานจะมีมาตรการควบคุมการเล่นดอกไม้ไฟออกมาบังคับใช้แต่ก็มีข่าวการได้รับ บาดเจ็บแทบทุกปี เพราะยังมีประชาชนบางกลุ่มที่เล่นดอกไม้ไฟโดยไม่ระมัดระวัง โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและวัยรุ่น ซึ่งเป็นกลุ่มที่คึกคะนอง ชอบเล่นผาดโผน เล่นไม่ถูกวิธี รู้เท่าไม่ถึงการณ์ต่อภัยของดอกไม้ไฟ ทั้งเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายแก่ร่างกายและเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน เพราะดอกไม้ไฟนั้นประกอบด้วยสารเคมีถึง 18 ชนิด โดยสารเคมีที่ใช้เป็นตัวเติมออกซิเจนเพื่อช่วยในการเผาไหม้ เช่น สารประกอบไนเตรท คลอเรต โปแตสเซี่ยม แบเรียม สารเคมีที่ใช้เป็นตัวเร่งและควบคุมความเร็วในการเผาไหม้ให้เกิดความร้อน เช่น ผงกำมะถัน แมกนีเซียม สังกะสี สารเคมีที่ทำให้ประกายไฟของดอกไม้ไฟเป็นสีต่างๆ และสารเคมีที่ช่วยในการเกาะตัวทำให้เกิดเป็นรูปร่างต่าง ๆ เช่น แป้งและเชลแล็ค เป็นต้น นายแพทย์เจษฎา กล่าวต่อไปว่า สารเคมีเหล่านี้จะก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้หากมีการสัมผัสโดยตรงบริเวณผิวหนังหรือสูดดมเอาสารเคมีที่อยู่ในรูปของเหลว ผง ไอระเหย และควันพิษ เข้าสู่ร่างกายก่อให้เกิดอันตรายตามแต่ละชนิดของสารเคมี เช่น สารประกอบแบเรียม ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองหู ตา คอ จมูก และผิวหนัง เกิดโรคลำไส้อักเสบ กล้ามเนื้อเกร็ง ชีพจรเต้นช้า สารตะกั่วและทองแดงทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย เกิดแผลที่โพรงจมูกได้ ดอกไม้ไฟที่มีเสียงดังมาก ๆ ยังส่งผลกระทบต่อการได้ยิน เพราะดอกไม้ไฟชนิดที่ก่อให้เกิดเสียงดังทุกชนิดจะมีระดับเสียงกระแทกสูงกว่า 130 เดซิเบล เอ ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้คือ 85 เดซิเบล เอ จะทำให้เกิดอาการหูตึงชั่วคราว และถ้าได้รับในช่วงเวลายาวนานจะทำให้หูตึงถาวรได้อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ป่วยโรคหัวใจ ความดันโลหิตหรือส่งผลต่อสุขภาพจิต ทำให้หงุดหงิด นอนไม่หลับ สำหรับไฟเย็นจะมีความร้อนที่อุณหภูมิ 649-983 องศาเซลเซียส สามารถทำให้ผิวหนังไหม้หรือตาบอดได้หากขาดความระมัดระวังที่ดี \\การป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ต้องระวังไม่ให้ดอกไม้ไฟได้รับความร้อนหรืออยู่ใกล้แหล่งที่ก่อเกิดประกายไฟ จึงควรงดเล่นดอกไม้ไฟโดยเด็ดขาด ไม่ควรเห็นแก่ความสนุกชั่วครั้งชั่วคราว ควรหันมาให้ความร่วมมือกับทางราชการที่กำหนดให้มีมาตรการคุมเข้มในเรื่องการเล่นดอกไม้ไฟอย่างจริงจัง ซึ่งหากสามารถปฏิบัติได้เช่นนี้ไม่เพียงแต่จะเป็นการสืบสานประเพณีการลอยกระทงที่ดีงามของไทยแล้ว ยังช่วยลดอุบัติเหตุและโศกนาฏกรรมที่เกิดจากการเล่นดอกไม้ไฟอีกด้วย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด *** กลุ่มสื่อสารองค์กร / 5 พฤศจิกายน 2555

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน

ติดตามข่าวสารได้ที่

แทงบอลออนไลน์ || ดูบอลสด