คุณกำลังมองหาอะไร?

ข่า

ข่าวแจก "กรมอนามัย ห่วงสุขภาพข้อเข่าผู้สูงวัย ตั้งเป้าปี58 ทุกบ้านมีและใช้ส้วมห้อยขา 100 เปอร์เซ็นต์"

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

31.10.2555
50
0
แชร์
31
ตุลาคม
2555

ข่าวแจก "กรมอนามัย ห่วงสุขภาพข้อเข่าผู้สูงวัย ตั้งเป้าปี58 ทุกบ้านมีและใช้ส้วมห้อยขา 100 เปอร์เซ็นต์"

        กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ลดปัจจัยเสี่ยงโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ ที่ส่วนหนึ่งมีสาเหตุจากการใช้ส้วมนั่งยองเป็นประจำ ตั้งเป้าให้ครัวเรือนไทยมีและใช้ส้วมแบบโถห้อยขาครบ 100 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2558 พร้อมเล็งพัฒนาส้วมสาธารณะมีส้วมแบบโถห้อยขาที่สะอาด เพียงพอ ปลอดภัย ร้อยละ 90 ในปีเดียวกัน วันนี้ (31 ตุลาคม 2555)
        นายแพทย์เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานถวายป้ายส้วมสะอาด ได้มาตรฐาน HAS และมอบโถส้วมห้อยขา ณ จังหวัดสกลนคร ว่า กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการพัฒนาส้วมสาธารณะของประเทศให้ได้มาตรฐาน HAS คือ สะอาด (Health) เพียงพอ (Accessibility) และปลอดภัย (Safety) มาตั้งแต่ปี 2548 ส่งผลให้ในปี 2555 มีส้วมสาธารณะ ทั่วประเทศได้มาตรฐาน HAS ร้อยละ 62.45 พร้อมตั้งเป้าพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้ได้ร้อยละ 70 ในปี 2556 ควบคู่กับการส่งเสริมให้ครัวเรือนในประเทศไทยมีและใช้ส้วมแบบโถห้อยขาร้อยละ 50 ในปี 2556 เพิ่มเป็นร้อยละ 75 ในปี 2557 และครบ 100 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2558 เพื่อลดปัญหาโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ ซึ่งขณะนี้ประเทศไทย มีผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ประมาณ 7.5 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 11.3 และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 14.5 ล้านคน หรือร้อยละ 20 ในปี 2568
        นายแพทย์เจษฎา กล่าวต่อไปว่า สถิติของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมโดยส่วนใหญ่จะพบในผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป แต่ปัจจุบันกลับพบในกลุ่มอายุที่น้อยลงคือประมาณ 45-50 ปี ส่วนหนึ่งเป็นผลจากภาวะอ้วน ประสบอุบัติเหตุ การนั่งพับเพียบ รวมถึงการใช้ส้วมนั่งยอง ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่นิยมใช้ส้วมนั่งยองร้อยละ 86 ใช้ส้วม นั่งราบหรือส้วมห้อยขา เพียงร้อยละ 10.1 เท่านั้น และมีบ้านที่ใช้ส้วมนั่งยองและส้วมนั่งราบหรือส้วมแบบ โถห้อยขาร้อยละ 3.1 ของครัวเรือนทั้งหมดในปี 2553 ก่อให้เกิดการเสื่อมของข้อเข่าเมื่ออายุสูงขึ้น ประกอบกับ ทุกวันนี้แต่ละโรงพยาบาลจะมีผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมเข้ารับการรักษาเป็นจำนวนมาก แต่ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ บางรายต้องเสียค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดครั้งละประมาณ 85,000 ? 150,000 บาท
        นายแพทย์เจษฎา กล่าวต่อว่า การดำเนินงานโครงการปลดทุกข์ด้วยรอยยิ้ม โถห้อยขาเสริมสุขผู้สูงวัย ซึ่งกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมกับกระทรวงพลังงาน มูลนิธิโรคข้อในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพ-รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มูลนิธิเอสซีจี และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จึงเป็นอีกหนึ่งนโยบายสำคัญที่จะช่วยให้ผู้สูงอายุของไทยมีส้วมที่เหมาะสมกับสรีระของผู้ใช้ และช่วยลดปัจจัยเสี่ยงของโรคข้อเข่าเสื่อมและ ลดค่าใช้จ่ายจำนวนมากเพื่อใช้ในการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมได้อีกทางหนึ่ง โดยในส่วนการพัฒนาส้วมสาธารณะนั้น กรมอนามัยได้ตั้งเป้าหมายพัฒนาสถานที่สาธารณะให้มีส้วมแบบโถห้อยขาที่สะอาด เพียงพอ ปลอดภัย ร้อยละ 90 ภายในปี 2558 โดยเริ่มพัฒนาส้วมสาธารณะในสถานีบริการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง โรงพยาบาล และสถานีบริการสาธารณสุข เป็นลำดับแรก
        ทั้งนี้ สำหรับจังหวัดสกลนคร ในภาพรวมได้พัฒนาส้วมสาธารณะผ่านมาตรฐานร้อยละ 46.4 สนองนโยบายสำคัญของรัฐบาลด้วยการดำเนินงานรณรงค์ตามโครงการปลดทุกข์ด้วยรอยยิ้ม โถห้อยขาเสริมสุขผู้สูงวัยในกลุ่มเป้าหมายแรกคือ วัดจำนวน 109 วัดที่ผ่านมาตรฐาน HAS แล้วทั้งหมด จึงนับเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีศักยภาพพัฒนาเป็นจังหวัดนำร่องดำเนินงานส้วมได้มาตรฐาน HAS ของกรมอนามัย ซึ่งประชาชนในจังหวัดให้ความสำคัญกับการมีส้วมใช้ พร้อมทั้งส่งเสริมให้ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ได้รับความสะดวกสบายจากการใช้โถส้วมห้อยขา โดยได้มอบโถส้วมห้อยขาให้กับผู้สูงอายุตำบลละ 1 คน รวม 125 คน ผู้พิการ จำนวน 18 คน? อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด
 
***
 กลุ่มสื่อสารองค์กร / 31 ตุลาคม 2555
 
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ลดปัจจัยเสี่ยงโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ ที่ส่วนหนึ่งมีสาเหตุจากการใช้ส้วมนั่งยองเป็นประจำ ตั้งเป้าให้ครัวเรือนไทยมีและใช้ส้วมแบบโถห้อยขาครบ 100 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2558 พร้อมเล็งพัฒนาส้วมสาธารณะมีส้วมแบบโถห้อยขาที่สะอาด เพียงพอ ปลอดภัย ร้อยละ 90 ในปีเดียวกัน วันนี้ (31 ตุลาคม 2555) นายแพทย์เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานถวายป้ายส้วมสะอาด ได้มาตรฐาน HAS และมอบโถส้วมห้อยขา ณ จังหวัดสกลนคร ว่า กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการพัฒนาส้วมสาธารณะของประเทศให้ได้มาตรฐาน HAS คือ สะอาด (Health) เพียงพอ (Accessibility) และปลอดภัย (Safety) มาตั้งแต่ปี 2548 ส่งผลให้ในปี 2555 มีส้วมสาธารณะ ทั่วประเทศได้มาตรฐาน HAS ร้อยละ 62.45 พร้อมตั้งเป้าพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้ได้ร้อยละ 70 ในปี 2556 ควบคู่กับการส่งเสริมให้ครัวเรือนในประเทศไทยมีและใช้ส้วมแบบโถห้อยขาร้อยละ 50 ในปี 2556 เพิ่มเป็นร้อยละ 75 ในปี 2557 และครบ 100 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2558 เพื่อลดปัญหาโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ ซึ่งขณะนี้ประเทศไทย มีผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ประมาณ 7.5 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 11.3 และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 14.5 ล้านคน หรือร้อยละ 20 ในปี 2568 นายแพทย์เจษฎา กล่าวต่อไปว่า สถิติของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมโดยส่วนใหญ่จะพบในผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป แต่ปัจจุบันกลับพบในกลุ่มอายุที่น้อยลงคือประมาณ 45-50 ปี ส่วนหนึ่งเป็นผลจากภาวะอ้วน ประสบอุบัติเหตุ การนั่งพับเพียบ รวมถึงการใช้ส้วมนั่งยอง ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่นิยมใช้ส้วมนั่งยองร้อยละ 86 ใช้ส้วม นั่งราบหรือส้วมห้อยขา เพียงร้อยละ 10.1 เท่านั้น และมีบ้านที่ใช้ส้วมนั่งยองและส้วมนั่งราบหรือส้วมแบบ โถห้อยขาร้อยละ 3.1 ของครัวเรือนทั้งหมดในปี 2553 ก่อให้เกิดการเสื่อมของข้อเข่าเมื่ออายุสูงขึ้น ประกอบกับ ทุกวันนี้แต่ละโรงพยาบาลจะมีผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมเข้ารับการรักษาเป็นจำนวนมาก แต่ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ บางรายต้องเสียค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดครั้งละประมาณ 85,000 150,000 บาท นายแพทย์เจษฎา กล่าวต่อว่า การดำเนินงานโครงการปลดทุกข์ด้วยรอยยิ้ม โถห้อยขาเสริมสุขผู้สูงวัย ซึ่งกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมกับกระทรวงพลังงาน มูลนิธิโรคข้อในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพ-รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มูลนิธิเอสซีจี และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จึงเป็นอีกหนึ่งนโยบายสำคัญที่จะช่วยให้ผู้สูงอายุของไทยมีส้วมที่เหมาะสมกับสรีระของผู้ใช้ และช่วยลดปัจจัยเสี่ยงของโรคข้อเข่าเสื่อมและ ลดค่าใช้จ่ายจำนวนมากเพื่อใช้ในการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมได้อีกทางหนึ่ง โดยในส่วนการพัฒนาส้วมสาธารณะนั้น กรมอนามัยได้ตั้งเป้าหมายพัฒนาสถานที่สาธารณะให้มีส้วมแบบโถห้อยขาที่สะอาด เพียงพอ ปลอดภัย ร้อยละ 90 ภายในปี 2558 โดยเริ่มพัฒนาส้วมสาธารณะในสถานีบริการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง โรงพยาบาล และสถานีบริการสาธารณสุข เป็นลำดับแรก \\ทั้งนี้ สำหรับจังหวัดสกลนคร ในภาพรวมได้พัฒนาส้วมสาธารณะผ่านมาตรฐานร้อยละ 46.4 สนองนโยบายสำคัญของรัฐบาลด้วยการดำเนินงานรณรงค์ตามโครงการปลดทุกข์ด้วยรอยยิ้ม โถห้อยขาเสริมสุขผู้สูงวัยในกลุ่มเป้าหมายแรกคือ วัดจำนวน 109 วัดที่ผ่านมาตรฐาน HAS แล้วทั้งหมด จึงนับเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีศักยภาพพัฒนาเป็นจังหวัดนำร่องดำเนินงานส้วมได้มาตรฐาน HAS ของกรมอนามัย ซึ่งประชาชนในจังหวัดให้ความสำคัญกับการมีส้วมใช้ พร้อมทั้งส่งเสริมให้ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ได้รับความสะดวกสบายจากการใช้โถส้วมห้อยขา โดยได้มอบโถส้วมห้อยขาให้กับผู้สูงอายุตำบลละ 1 คน รวม 125 คน ผู้พิการ จำนวน 18 คน อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด *** กลุ่มสื่อสารองค์กร / 31 ตุลาคม 2555

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน

ติดตามข่าวสารได้ที่

แทงบอลออนไลน์ || ดูบอลสด