ภาพข่าว "ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดการประชุมและมอบโล่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ในการประชุมวิชาการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๔ "
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดการประชุมและมอบโล่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ในการประชุมวิชาการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๔
เมื่อวันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๕๔ นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมวิชาการ มอบโล่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร จำนวน ๖๐ แห่ง และมอบเกียรติบัตรแก่บุคลากรสาธารณสุขที่ดูแลโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชรจนเป็นผลสำเร็จ พร้อมทั้งจัดเวทีวิชาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความสำเร็จโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ผลงานดีเด่นและเป็นแบบอย่างที่ดี ในการประชุมวิชาการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๔ ณ โรงแรมเอเชีย แอร์พอร์ต จังหวัดปทุมธานี โดยมีผู้บริหารและบุคลากรกรมอนามัยให้การต้อนรับ
กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมอนามัย กำหนดให้โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพเป็นกลยุทธ์หนึ่งในการพัฒนาสุขภาพเด็กและเยาวชน โดยส่งเสริมให้โรงเรียนทั่วประเทศพัฒนาสุขภาพนักเรียนตามกระบวนการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนานักเรียนแกนนำให้มีทักษะการเป็นผู้นำ การบริหารจัดการ ให้เกิดชมรมเด็กไทยทำได้ และสามารถจัดทำโครงงานสุขภาพแก้ไขปัญหาในโรงเรียน ขณะนี้มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ร้อยละ ๙๙.๘ ผ่านเกณฑ์ระดับทอง เงิน และทองแดง ร้อยละ๙๔.๐ ในปี ๒๕๕๑ กรมอนามัยได้ยกระดับเกณฑ์ประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพสู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชรที่เน้นการวัดผลทางสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนและการดำเนินงานตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ ในปี ๒๕๕๒ มีโรงเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ๓๗ แห่ง
กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงศึกษาธิการ จึงมีแนวทางสอดคล้องกันในการพัฒนาเด็กและเยาวชนไทยให้เติบโตเป็นคนที่มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาและสุขอนามัย โดยเน้นการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนภายใต้โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ได้กำหนดทิศทางการดำเนินงานร่วมกัน เช่น
๑. ยกระดับคุณภาพโรงเรียนตามมาตรฐานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพสู่ระดับที่สูงขึ้น
๒. พัฒนา สนับสนุน และยกระดับคุณภาพโรงเรียนในถิ่นทุรกันดารและด้อยโอกาส
๓. ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาศักยภาพนักเรียนแกนนำให้ทำกิจกรรมสุขภาพในโรงเรียน
๔. เฝ้าระวังภาวะสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ
๕. สร้างการมีส่วนร่วมและความเข้มแข็งของภาคีเครือข่าย
ทั้งนี้เพื่อมุ่งให้เด็กวัยเรียนเรียนรู้ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ปลูกฝังแนวคิด แนวปฏิบัติที่ถูกต้อง สามารถตัดสินใจแก้ปัญหา และมีส่วนร่วมกับการพัฒนาสุขภาพ เป็นพลังสำคัญสร้างคุณประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมและประเทศชาติสืบต่อไป
\\ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดการประชุมและมอบโล่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ในการประชุมวิชาการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๔ \\ เมื่อวันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๕๔ นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมวิชาการ มอบโล่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร จำนวน ๖๐ แห่ง และมอบเกียรติบัตรแก่บุคลากรสาธารณสุขที่ดูแลโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชรจนเป็นผลสำเร็จ พร้อมทั้งจัดเวทีวิชาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความสำเร็จโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ผลงานดีเด่นและเป็นแบบอย่างที่ดี ในการประชุมวิชาการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๔ ณ โรงแรมเอเชีย แอร์พอร์ต จังหวัดปทุมธานี โดยมีผู้บริหารและบุคลากรกรมอนามัยให้การต้อนรับ กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมอนามัย กำหนดให้โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพเป็นกลยุทธ์หนึ่งในการพัฒนาสุขภาพเด็กและเยาวชน โดยส่งเสริมให้โรงเรียนทั่วประเทศพัฒนาสุขภาพนักเรียนตามกระบวนการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนานักเรียนแกนนำให้มีทักษะการเป็นผู้นำ การบริหารจัดการ ให้เกิดชมรมเด็กไทยทำได้ และสามารถจัดทำโครงงานสุขภาพแก้ไขปัญหาในโรงเรียน ขณะนี้มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ร้อยละ ๙๙.๘ ผ่านเกณฑ์ระดับทอง เงิน และทองแดง ร้อยละ๙๔.๐ ในปี ๒๕๕๑ กรมอนามัยได้ยกระดับเกณฑ์ประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพสู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชรที่เน้นการวัดผลทางสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนและการดำเนินงานตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ ในปี ๒๕๕๒ มีโรงเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ๓๗ แห่ง กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงศึกษาธิการ จึงมีแนวทางสอดคล้องกันในการพัฒนาเด็กและเยาวชนไทยให้เติบโตเป็นคนที่มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาและสุขอนามัย โดยเน้นการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนภายใต้โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ได้กำหนดทิศทางการดำเนินงานร่วมกัน เช่น ๑. ยกระดับคุณภาพโรงเรียนตามมาตรฐานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพสู่ระดับที่สูงขึ้น ๒. พัฒนา สนับสนุน และยกระดับคุณภาพโรงเรียนในถิ่นทุรกันดารและด้อยโอกาส ๓. ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาศักยภาพนักเรียนแกนนำให้ทำกิจกรรมสุขภาพในโรงเรียน ๔. เฝ้าระวังภาวะสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ ๕. สร้างการมีส่วนร่วมและความเข้มแข็งของภาคีเครือข่าย ทั้งนี้เพื่อมุ่งให้เด็กวัยเรียนเรียนรู้ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ปลูกฝังแนวคิด แนวปฏิบัติที่ถูกต้อง สามารถตัดสินใจแก้ปัญหา และมีส่วนร่วมกับการพัฒนาสุขภาพ เป็นพลังสำคัญสร้างคุณประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมและประเทศชาติสืบต่อไป