คุณกำลังมองหาอะไร?

ข่า

ข่าวแจก"กรมอนามัย แนะกินเจปลอดภัย เน้นเลือกร้านที่สะอาด ปรุงสุกใหม่"

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

29.09.2559
4
0
แชร์
29
กันยายน
2559

ข่าวแจก"กรมอนามัย แนะกินเจปลอดภัย เน้นเลือกร้านที่สะอาด ปรุงสุกใหม่"

          กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แนะประชาชนถือศีล กินเจ อิ่มใจ อิ่มบุญ เลือกร้านที่สะอาด ปรุงสุกใหม่ ลดหวาน มัน เค็ม เพื่อลดโรค ช่วยให้มีสุขภาพกายดี
          วันนี้ (29 กันยายน 25559) นายแพทย์ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธาน เปิดเทศกาลถือศิลกินเจ ตลาดยิ่งเจริญ สะพานใหม่ ณ ลานโปรโมชั่น 60ปี ตลาดยิ่งเจริญ ว่าช่วงเทศกาลกินเจ ควรระมัดระวังในการบริโภคอาหารเจ เนื่องจากอาหารเจส่วนมากจะมีรสหวาน มัน เค็ม และมีแป้งเป็นส่วนประกอบ วิธีการปรุงมักจะเป็นการทอด ผัด ซึ่งใช้น้ำมันมาก ส่วนร้านที่จำหน่ายอาหารเจ มักจะปรุงไว้นานและปรุงครั้งละมากๆ ดังนั้นการเลือกซื้อควรคำนึงถึงความสะอาด โดยอาหารที่ปรุงสำเร็จต้องใส่ในภาชนะที่สะอาดปลอดภัย มีการปกปิด วางสูงจากพื้นอย่างน้อย 60 เซนติเมตร และควรนำมาอุ่นทุกๆ 4 ชั่วโมง หากซื้อกลับบ้านและไม่กินทันทีควรเก็บในตู้เย็นที่อุณหภูมิไม่เกิน 5 องศาเซลเซียส สิ่งที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ คือ การทำอาหารไว้ล่วงหน้าไม่ควรนานเกิน 4ชั่วโมง เพราะจะทำให้อาหารบูดเสียได้ ต้องมีการป้องกันแมลงวัน ใช้ภาชนะที่สะอาด ปลอดภัย
          นายแพทย์ดนัย กล่าวต่อไปว่า การเลือกซื้ออาหารเจสำเร็จรูป ควรเลือกร้านที่ผู้ปรุงจำหน่าย มีการสวม ผ้ากันเปื้อน หมวกคลุมผม ใช้อุปกรณ์หยิบจับอาหาร หรือใส่ถุงมือ ไม่ใช้ภาชนะโฟมใส่อาหารเจ ควรเลือกซื้ออาหารเจจากร้านอาหารหรือแผงลอยมีป้ายสัญลักษณ์ อาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) สำหรับผัก ผลไม้ ในกรณีที่ปรุงอาหารกินเองที่บ้าน ต้องนำมาล้างด้วยน้ำไหล 2 นาที หรือแช่ด้วยน้ำเกลือ 2 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 4 ลิตร หรือน้ำผสมน้ำส้มสายชูครึ่งถ้วยตรงต่อน้ำ 4 ลิตร หรือน้ำผสมโซเดียมไบคาร์บอเนตหนึ่งช้อนโต๊ะต่อน้ำ 4 ลิตร โดยแช่นาน 15-30 นาที จากนั้นล้างด้วยน้ำเปล่าอีก 2ครั้ง สำหรับผักกาด กะหล่ำปลี ควรคลี่ใบและล้างให้สะอาด ปรุงให้สุกด้วยความร้อน โดยอาหารเจทุกเมนูต้องลดหวาน มัน เค็ม คำนึงถึงการเติมสารปรุงแต่งอาหาร เพราะความเค็มจะมีโซเดียมสูงที่ส่งผลต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงและทำให้ไตทำงานหนัก ส่วนความหวานจะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานได้
           "ทั้งนี้ การเลือกซื้ออาหารเจที่ได้คุณค่าทางโภชนาการ ผู้บริโภคควรเลือกอาหารที่มีถั่วหรือผลิตภัณฑ์จากถั่ว เช่น น้ำเต้าหู้ ฟองเต้าหู้ โปรตีนเกษตร เพื่อเสริมโปรตีน ให้เลี่ยงอาหารประเภทผัด ทอด เพราะมีไขมันสูง หากได้รับมากเกินความจำเป็นของร่างกายจะทำให้น้ำหนักเกินและอ้วนได้ โดยเฉพาะน้ำมันในการปรุงอาหาร ไม่ควรเกิน 6ช้อนชาต่อวัน เน้นอาหารเจประเภทต้มที่มีผักเป็นส่วนประกอบ เช่น ต้มจืดเจ ต้มยำเจ พะโล้เจ จับฉ่าย เป็นต้น ส่วนอาหารเจที่เหลือจากการกิน ต้องใส่ตู้เย็น และนำมาอุ่นให้ร้อนก่อนกินทุกครั้ง?รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด
 
 
 ***
 
สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง/ 29 กันยายน 2559
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แนะประชาชนถือศีล กินเจ อิ่มใจ อิ่มบุญ เลือกร้านที่สะอาด ปรุงสุกใหม่ ลดหวาน มัน เค็ม เพื่อลดโรค ช่วยให้มีสุขภาพกายดี วันนี้ (29 กันยายน 25559) นายแพทย์ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธาน เปิดเทศกาลถือศิลกินเจ ตลาดยิ่งเจริญ สะพานใหม่ ณ ลานโปรโมชั่น 60ปี ตลาดยิ่งเจริญ ว่าช่วงเทศกาลกินเจ ควรระมัดระวังในการบริโภคอาหารเจ เนื่องจากอาหารเจส่วนมากจะมีรสหวาน มัน เค็ม และมีแป้งเป็นส่วนประกอบ วิธีการปรุงมักจะเป็นการทอด ผัด ซึ่งใช้น้ำมันมาก ส่วนร้านที่จำหน่ายอาหารเจ มักจะปรุงไว้นานและปรุงครั้งละมากๆ ดังนั้นการเลือกซื้อควรคำนึงถึงความสะอาด โดยอาหารที่ปรุงสำเร็จต้องใส่ในภาชนะที่สะอาดปลอดภัย มีการปกปิด วางสูงจากพื้นอย่างน้อย 60 เซนติเมตร และควรนำมาอุ่นทุกๆ 4 ชั่วโมง หากซื้อกลับบ้านและไม่กินทันทีควรเก็บในตู้เย็นที่อุณหภูมิไม่เกิน 5 องศาเซลเซียส สิ่งที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ คือ การทำอาหารไว้ล่วงหน้าไม่ควรนานเกิน 4ชั่วโมง เพราะจะทำให้อาหารบูดเสียได้ ต้องมีการป้องกันแมลงวัน ใช้ภาชนะที่สะอาด ปลอดภัย นายแพทย์ดนัย กล่าวต่อไปว่า การเลือกซื้ออาหารเจสำเร็จรูป ควรเลือกร้านที่ผู้ปรุงจำหน่าย มีการสวม ผ้ากันเปื้อน หมวกคลุมผม ใช้อุปกรณ์หยิบจับอาหาร หรือใส่ถุงมือ ไม่ใช้ภาชนะโฟมใส่อาหารเจ ควรเลือกซื้ออาหารเจจากร้านอาหารหรือแผงลอยมีป้ายสัญลักษณ์ อาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) สำหรับผัก ผลไม้ ในกรณีที่ปรุงอาหารกินเองที่บ้าน ต้องนำมาล้างด้วยน้ำไหล 2 นาที หรือแช่ด้วยน้ำเกลือ 2 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 4 ลิตร หรือน้ำผสมน้ำส้มสายชูครึ่งถ้วยตรงต่อน้ำ 4 ลิตร หรือน้ำผสมโซเดียมไบคาร์บอเนตหนึ่งช้อนโต๊ะต่อน้ำ 4 ลิตร โดยแช่นาน 15-30 นาที จากนั้นล้างด้วยน้ำเปล่าอีก 2ครั้ง สำหรับผักกาด กะหล่ำปลี ควรคลี่ใบและล้างให้สะอาด ปรุงให้สุกด้วยความร้อน โดยอาหารเจทุกเมนูต้องลดหวาน มัน เค็ม คำนึงถึงการเติมสารปรุงแต่งอาหาร เพราะความเค็มจะมีโซเดียมสูงที่ส่งผลต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงและทำให้ไตทำงานหนัก ส่วนความหวานจะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานได้ ทั้งนี้ การเลือกซื้ออาหารเจที่ได้คุณค่าทางโภชนาการ ผู้บริโภคควรเลือกอาหารที่มีถั่วหรือผลิตภัณฑ์จากถั่ว เช่น น้ำเต้าหู้ ฟองเต้าหู้ โปรตีนเกษตร เพื่อเสริมโปรตีน ให้เลี่ยงอาหารประเภทผัด ทอด เพราะมีไขมันสูง หากได้รับมากเกินความจำเป็นของร่างกายจะทำให้น้ำหนักเกินและอ้วนได้ โดยเฉพาะน้ำมันในการปรุงอาหาร ไม่ควรเกิน 6ช้อนชาต่อวัน เน้นอาหารเจประเภทต้มที่มีผักเป็นส่วนประกอบ เช่น ต้มจืดเจ ต้มยำเจ พะโล้เจ จับฉ่าย เป็นต้น ส่วนอาหารเจที่เหลือจากการกิน ต้องใส่ตู้เย็น และนำมาอุ่นให้ร้อนก่อนกินทุกครั้งรองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด *** สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง/ 29 กันยายน 2559

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน

ติดตามข่าวสารได้ที่

แทงบอลออนไลน์ || ดูบอลสด UFABET