ข่าวแจก สธ. หนุนครัวไทยสู่ครัวโลก ลงพื้นที่ตลาดมีนบุรี ต้นแบบตลาดรักษ์โลกร้อนเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับกรุงเทพมหานคร รณรงค์อาหารปลอดภัยในตลาดมีนบุรี ตลาดที่ให้ความสำคัญในการรักษ์โลกร้อน เพื่อเน้นย้ำความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภคที่มาใช้บริการ รวมถึงตลาดอื่น ๆ ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานตลาดสด น่าซื้อ พร้อมสนับสนุนนโยบายรัฐบาลส่งเสริมครัวไทยสู่ครัวโลก
วันนี้ (26 กันยายน 2555) นายแพทย์สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังในการตรวจเยี่ยมการดำเนินงานอาหารปลอดภัยในตลาดสด ณ ตลาดมีนบุรี กรุงเทพมหานคร ว่า รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมครัวไทย สู่ครัวโลก เพื่อยกระดับมาตรฐานอาหารไทยให้มีความปลอดภัย และสร้างความมั่นใจแก่ประชาชนที่จับจ่ายสินค้าและนักท่องเที่ยวที่มาเมืองไทย ให้เลือกซื้ออาหารได้อย่างมั่นใจ ซึ่งสินค้าที่วางจำหน่ายส่วนใหญ่มีทั้งประเภทอาหารสด อาหารแห้ง อาหารแปรรูป และอาหารปรุงสำเร็จ ซึ่งหากไม่มีการจัดการที่ดี ตลาดก็จะเป็นแหล่งแพร่กระจายโรคของชุมชนได้
นายแพทย์สุรวิทย์ กล่าวต่อไปว่า ปี 2542 กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ดำเนินการออกกฎกระทรวง และปรับปรุงเพิ่มเติมเป็นกฎกระทรวงว่าด้วยสุขลักษณะตลาด พ.ศ. 2551 เพื่อใช้ในการควบคุมกับการดำเนินกิจการตลาดสดให้ถูกสุขลักษณะ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค รวมทั้งเป็นการจัดการเพื่อป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมและเหตุรำคาญ
ในปี 2545 กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมอนามัย ได้เริ่มดำเนินการโครงการตลาดสด น่าซื้อ เพื่อเป็นการส่งเสริม การสร้างแรงจูงใจ ในการพัฒนาตลาดสด ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง และดำเนินการต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ส่งผลให้ขณะนี้มีตลาดสดที่ผ่านเกณฑ์ตลาดสด น่าซื้อ ทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ด้านความปลอดภัยของอาหาร และด้านการคุ้มครองผู้บริโภค จำนวน 1,302 แห่ง จากจำนวนตลาดสด 1,533 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 84.93? นายแพทย์สุรวิทย์ กล่าว
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวในตอนท้ายว่า ตลาดมีนบุรีที่เยี่ยมชมครั้งนี้ ได้เข้าร่วมโครงการตลาดสด น่าซื้อ ของกรมอนามัยมาตั้งแต่ปี 2546 และประเมินผ่านเกณฑ์ตลาดสด น่าซื้อ ระดับ ดีมาก ต่อเนื่องมากว่า 9 ปี นับเป็นอีกหนึ่งตลาดต้นแบบที่ให้ความสำคัญด้านการจัดการด้วยวิธีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่จัดให้มีการล้างตลาดตามหลักสุขาภิบาล โดยทำความสะอาดตัวอาคาร แผงขายของในตลาด พื้น ผนัง เพดาน รางระบายน้ำ ห้องน้ำ ห้องสุขาและบริเวณต่าง ๆ รอบอาคารตลาดให้สะอาดปราศจาก สิ่งปฏิกูล จัดการขยะ น้ำเสีย มีการฆ่าเชื้อโรคและกำจัดพาหะนำโรคด้วยน้ำจุลินทรีย์ที่หมักจากเศษขยะอินทรีย์ในตลาด ซึ่งการใช้น้ำหมักชีวภาพนอกจากจะเป็นการลดปริมาณขยะที่จะต้องถูกขนไปกำจัดแล้ว ยังช่วยลดและควบคุมสัตว์แมลงพาหะนำโรค เช่น แมลงวัน แมลงสาบ ได้เป็นอย่างดี และเป็นการช่วยลดใช้สารเคมีในการล้างตลาดอีกด้วย
***
กลุ่มสื่อสารองค์กร / 26 กันยายน 2555
กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับกรุงเทพมหานคร รณรงค์อาหารปลอดภัยในตลาดมีนบุรี ตลาดที่ให้ความสำคัญในการรักษ์โลกร้อน เพื่อเน้นย้ำความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภคที่มาใช้บริการ รวมถึงตลาดอื่น ๆ ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานตลาดสด น่าซื้อ พร้อมสนับสนุนนโยบายรัฐบาลส่งเสริมครัวไทยสู่ครัวโลก วันนี้ (26 กันยายน 2555) นายแพทย์สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังในการตรวจเยี่ยมการดำเนินงานอาหารปลอดภัยในตลาดสด ณ ตลาดมีนบุรี กรุงเทพมหานคร ว่า รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมครัวไทย สู่ครัวโลก เพื่อยกระดับมาตรฐานอาหารไทยให้มีความปลอดภัย และสร้างความมั่นใจแก่ประชาชนที่จับจ่ายสินค้าและนักท่องเที่ยวที่มาเมืองไทย ให้เลือกซื้ออาหารได้อย่างมั่นใจ ซึ่งสินค้าที่วางจำหน่ายส่วนใหญ่มีทั้งประเภทอาหารสด อาหารแห้ง อาหารแปรรูป และอาหารปรุงสำเร็จ ซึ่งหากไม่มีการจัดการที่ดี ตลาดก็จะเป็นแหล่งแพร่กระจายโรคของชุมชนได้ นายแพทย์สุรวิทย์ กล่าวต่อไปว่า ปี 2542 กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ดำเนินการออกกฎกระทรวง และปรับปรุงเพิ่มเติมเป็นกฎกระทรวงว่าด้วยสุขลักษณะตลาด พ.ศ. 2551 เพื่อใช้ในการควบคุมกับการดำเนินกิจการตลาดสดให้ถูกสุขลักษณะ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค รวมทั้งเป็นการจัดการเพื่อป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมและเหตุรำคาญ \\ในปี 2545 กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมอนามัย ได้เริ่มดำเนินการโครงการตลาดสด น่าซื้อ เพื่อเป็นการส่งเสริม การสร้างแรงจูงใจ ในการพัฒนาตลาดสด ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง และดำเนินการต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ส่งผลให้ขณะนี้มีตลาดสดที่ผ่านเกณฑ์ตลาดสด น่าซื้อ ทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ด้านความปลอดภัยของอาหาร และด้านการคุ้มครองผู้บริโภค จำนวน 1,302 แห่ง จากจำนวนตลาดสด 1,533 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 84.93 นายแพทย์สุรวิทย์ กล่าว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวในตอนท้ายว่า ตลาดมีนบุรีที่เยี่ยมชมครั้งนี้ ได้เข้าร่วมโครงการตลาดสด น่าซื้อ ของกรมอนามัยมาตั้งแต่ปี 2546 และประเมินผ่านเกณฑ์ตลาดสด น่าซื้อ ระดับ ดีมาก ต่อเนื่องมากว่า 9 ปี นับเป็นอีกหนึ่งตลาดต้นแบบที่ให้ความสำคัญด้านการจัดการด้วยวิธีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่จัดให้มีการล้างตลาดตามหลักสุขาภิบาล โดยทำความสะอาดตัวอาคาร แผงขายของในตลาด พื้น ผนัง เพดาน รางระบายน้ำ ห้องน้ำ ห้องสุขาและบริเวณต่าง ๆ รอบอาคารตลาดให้สะอาดปราศจาก สิ่งปฏิกูล จัดการขยะ น้ำเสีย มีการฆ่าเชื้อโรคและกำจัดพาหะนำโรคด้วยน้ำจุลินทรีย์ที่หมักจากเศษขยะอินทรีย์ในตลาด ซึ่งการใช้น้ำหมักชีวภาพนอกจากจะเป็นการลดปริมาณขยะที่จะต้องถูกขนไปกำจัดแล้ว ยังช่วยลดและควบคุมสัตว์แมลงพาหะนำโรค เช่น แมลงวัน แมลงสาบ ได้เป็นอย่างดี และเป็นการช่วยลดใช้สารเคมีในการล้างตลาดอีกด้วย *** กลุ่มสื่อสารองค์กร / 26 กันยายน 2555