ข่าวแจก"กรมอนามัย เผย ร.ร. พระปริยัติธรรม พื้นที่ จ.ศรีสะเกษ ขาดแคลนส้วม จับมือเครือข่ายสร้างและส่งมอบส้วมมาตรฐาน HAS"
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับภาคีภาคเอกชน ประชาชน สร้างและมอบส้วมสุขอนามัยในถิ่นทุรกันดาร ให้โรงเรียนพระปริยัติธรรมพื้นที่ จ.ศรีสะเกษ หลังพบขาดแคลนส้วมสะอาด หวังให้มีส้วมใช้ตามมาตรฐาน HAS สะอาด เพียงพอ และปลอดภัย
วันนี้ (1 สิงหาคม 2559) นายแพทย์วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงาน พิธีส่งมอบและเปิดป้ายส้วมสุขอนามัยในโครงการสุขอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ระยะที่ 2 ปี 2559 ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ณ โรงเรียนดวนใหญ่วิทยา อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ ว่า ในปี 2557-2558 กรมอนามัยได้จัดทำโครงการสุขอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ภายใต้การมี ส่วนร่วมกับภาคีเครือข่าย เพื่อสร้างและปรับปรุงส้วมโรงเรียนเป้าหมายในถิ่นทุรกันดารจนบรรลุผลสำเร็จเรียบร้อยแล้ว จึงขยายผลโครงการในระยะที่ 2 ปี 2559 ตามความขาดแคลนและความจำเป็นของโรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสภาพของส้วมโรงเรียนพระปริยัติธรรม พบว่าไม่สะอาด ร้อยละ 16 มีกลิ่นเหม็น ร้อยละ 51 มีส้วมไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ส่วนใหญ่เป็น ส้วมชาย 1 ห้อง ไม่มีที่ปัสสาวะชาย มีทั้งส้วมแบบนั่งยองและนั่งราบ ร้อยละ 45 ไม่แยกชายหญิง ร้อยละ 43 และมีสภาพ ไม่ปลอดภัย ประตูชำรุด พื้นมีน้ำขัง ลื่น เปียกชื้น
นายแพทย์วชิระ กล่าวต่อไปว่า การดำเนินงานโครงการสุขอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษาฯ ระยะที่ 2 ปี 2559 ได้รับพระราชทานพระราชานุญาตให้สร้างและปรับปรุงส้วมโรงเรียนเป้าหมายในถิ่นทุรกันดารขยายผลตามความขาดแคลนและความจำเป็นของโรงเรียน ซึ่งโรงเรียนพระปริยัติธรรมที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารห่างไกลในเขตพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ เข้าร่วมในโครงการตามพระราชดำริ เพียง 2ปี มีความขาดแคลนส้วมที่ได้มาตรฐาน ดังนั้น กรมอนามัยภายใต้การมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่ายอย่างเข้มแข็ง เช่น บริษัทองค์กร ภาคเอกชน และภาคประชาชน ที่ให้การสนับสนุนเงินบริจาคสมทบกองทุน กพด. ปูนซีเมนต์ สุขภัณฑ์ และวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับใช้ในการสร้างและปรับปรุงส้วมให้กับโรงเรียนเป้าหมายในถิ่นทุรกันดาร จึงได้ส่งมอบส้วมสุขอนามัยให้กับโรงเรียนพระปริยัติธรรม 5 แห่ง คือ โรงเรียนกันทรลักษ์ธรรมวิทย์ อำเภอกันทรลักษ์ โรงเรียนปรางค์กู่วิทยา อำเภอปรางค์กู่ โรงเรียนวัดสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย โรงเรียนพระปริยัติธรรมสามัญ วัดบ้านโนนคูณ อำเภอโนนคูณ และโรงเรียนดวนใหญ่วิทยา อำเภอวังหิน โดยจะทยอยส่งมอบในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป
"ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารกำหนดว่านักเรียน 50 คน ต้องมีส้วม 1 ห้อง โดยกรมอนามัยได้กำหนดให้ควรมีส้วมทั้ง 2 แบบ ให้เลือกใช้ คือแบบนั่งยอง และแบบนั่งราบหรือแบบชักโครก เพื่อให้เหมาะสมกับผู้ใช้งาน เช่น หากเป็นเด็กจะให้มีส้วมทั้ง 2 แบบ เพราะเด็กส่วนใหญ่จะใช้ส้วมแบบนั่งยองจนเคยชิน แต่โรงเรียนจะต้องฝึกให้นักเรียนใช้ส้วมแบบ นั่งราบด้วย ให้เด็กเกิดการเรียนรู้และสามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้เมื่อเจอส้วมแบบนั่งราบ แต่หากเป็นผู้ใหญ่โดยเฉพาะผู้สูงอายุจะเน้นการสร้างส้วมแบบนั่งราบเพื่อป้องกันปัญหาเรื่องข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยอันควร?
นายแพทย์วชิระ กล่าว อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในตอนท้ายว่า หากไม่มีการจัดการส้วมที่ถูกหลักสุขาภิบาล รวมทั้งการปลูกฝังพฤติกรรม การใช้ส้วมที่ถูกวิธี ส้วมก็จะกลายเป็นแหล่งแพร่กระจายเชื้อโรคได้ ซึ่งที่ผ่านมากรมอนามัยได้ดำเนินการพัฒนาสุขภาพเด็ก สามเณร และจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม พร้อมทั้งสนับสนุนการใช้ส้วมที่มีมาตรฐาน HAS คือ สะอาด (Health) เพียงพอ (Accessibility) และปลอดภัย (Safety) และมีพฤติกรรมการใช้ส้วมที่ถูกสุขลักษณะ คือ ไม่ขึ้นไปเหยียบบนโถส้วมแบบชักโครก ไม่ทิ้งวัสดุอื่นใดนอกจากกระดาษชำระลงโถส้วม ราดน้ำหรือกดชักโครกทุกครั้งหลังการใช้ส้วม และ ล้างมือทุกครั้งหลังการใช้ส้วม เพื่อช่วยกันดูแลรักษาความสะอาดส้วมในโรงเรียนและลดจุดเสี่ยงของการเกิดโรค
***
สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง /1 สิงหาคม 2559
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับภาคีภาคเอกชน ประชาชน สร้างและมอบส้วมสุขอนามัยในถิ่นทุรกันดาร ให้โรงเรียนพระปริยัติธรรมพื้นที่ จ.ศรีสะเกษ หลังพบขาดแคลนส้วมสะอาด หวังให้มีส้วมใช้ตามมาตรฐาน HAS สะอาด เพียงพอ และปลอดภัย วันนี้ (1 สิงหาคม 2559) นายแพทย์วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงาน พิธีส่งมอบและเปิดป้ายส้วมสุขอนามัยในโครงการสุขอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ระยะที่ 2 ปี 2559 ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ณ โรงเรียนดวนใหญ่วิทยา อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ ว่า ในปี 2557-2558 กรมอนามัยได้จัดทำโครงการสุขอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ภายใต้การมี ส่วนร่วมกับภาคีเครือข่าย เพื่อสร้างและปรับปรุงส้วมโรงเรียนเป้าหมายในถิ่นทุรกันดารจนบรรลุผลสำเร็จเรียบร้อยแล้ว จึงขยายผลโครงการในระยะที่ 2 ปี 2559 ตามความขาดแคลนและความจำเป็นของโรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสภาพของส้วมโรงเรียนพระปริยัติธรรม พบว่าไม่สะอาด ร้อยละ 16 มีกลิ่นเหม็น ร้อยละ 51 มีส้วมไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ส่วนใหญ่เป็น ส้วมชาย 1 ห้อง ไม่มีที่ปัสสาวะชาย มีทั้งส้วมแบบนั่งยองและนั่งราบ ร้อยละ 45 ไม่แยกชายหญิง ร้อยละ 43 และมีสภาพ ไม่ปลอดภัย ประตูชำรุด พื้นมีน้ำขัง ลื่น เปียกชื้น นายแพทย์วชิระ กล่าวต่อไปว่า การดำเนินงานโครงการสุขอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษาฯ ระยะที่ 2 ปี 2559 ได้รับพระราชทานพระราชานุญาตให้สร้างและปรับปรุงส้วมโรงเรียนเป้าหมายในถิ่นทุรกันดารขยายผลตามความขาดแคลนและความจำเป็นของโรงเรียน ซึ่งโรงเรียนพระปริยัติธรรมที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารห่างไกลในเขตพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ เข้าร่วมในโครงการตามพระราชดำริ เพียง 2ปี มีความขาดแคลนส้วมที่ได้มาตรฐาน ดังนั้น กรมอนามัยภายใต้การมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่ายอย่างเข้มแข็ง เช่น บริษัทองค์กร ภาคเอกชน และภาคประชาชน ที่ให้การสนับสนุนเงินบริจาคสมทบกองทุน กพด. ปูนซีเมนต์ สุขภัณฑ์ และวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับใช้ในการสร้างและปรับปรุงส้วมให้กับโรงเรียนเป้าหมายในถิ่นทุรกันดาร จึงได้ส่งมอบส้วมสุขอนามัยให้กับโรงเรียนพระปริยัติธรรม 5 แห่ง คือ โรงเรียนกันทรลักษ์ธรรมวิทย์ อำเภอกันทรลักษ์ โรงเรียนปรางค์กู่วิทยา อำเภอปรางค์กู่ โรงเรียนวัดสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย โรงเรียนพระปริยัติธรรมสามัญ วัดบ้านโนนคูณ อำเภอโนนคูณ และโรงเรียนดวนใหญ่วิทยา อำเภอวังหิน โดยจะทยอยส่งมอบในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารกำหนดว่านักเรียน 50 คน ต้องมีส้วม 1 ห้อง โดยกรมอนามัยได้กำหนดให้ควรมีส้วมทั้ง 2 แบบ ให้เลือกใช้ คือแบบนั่งยอง และแบบนั่งราบหรือแบบชักโครก เพื่อให้เหมาะสมกับผู้ใช้งาน เช่น หากเป็นเด็กจะให้มีส้วมทั้ง 2 แบบ เพราะเด็กส่วนใหญ่จะใช้ส้วมแบบนั่งยองจนเคยชิน แต่โรงเรียนจะต้องฝึกให้นักเรียนใช้ส้วมแบบ นั่งราบด้วย ให้เด็กเกิดการเรียนรู้และสามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้เมื่อเจอส้วมแบบนั่งราบ แต่หากเป็นผู้ใหญ่โดยเฉพาะผู้สูงอายุจะเน้นการสร้างส้วมแบบนั่งราบเพื่อป้องกันปัญหาเรื่องข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยอันควร นายแพทย์วชิระ กล่าว อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในตอนท้ายว่า หากไม่มีการจัดการส้วมที่ถูกหลักสุขาภิบาล รวมทั้งการปลูกฝังพฤติกรรม การใช้ส้วมที่ถูกวิธี ส้วมก็จะกลายเป็นแหล่งแพร่กระจายเชื้อโรคได้ ซึ่งที่ผ่านมากรมอนามัยได้ดำเนินการพัฒนาสุขภาพเด็ก สามเณร และจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม พร้อมทั้งสนับสนุนการใช้ส้วมที่มีมาตรฐาน HAS คือ สะอาด (Health) เพียงพอ (Accessibility) และปลอดภัย (Safety) และมีพฤติกรรมการใช้ส้วมที่ถูกสุขลักษณะ คือ ไม่ขึ้นไปเหยียบบนโถส้วมแบบชักโครก ไม่ทิ้งวัสดุอื่นใดนอกจากกระดาษชำระลงโถส้วม ราดน้ำหรือกดชักโครกทุกครั้งหลังการใช้ส้วม และ ล้างมือทุกครั้งหลังการใช้ส้วม เพื่อช่วยกันดูแลรักษาความสะอาดส้วมในโรงเรียนและลดจุดเสี่ยงของการเกิดโรค *** สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง /1 สิงหาคม 2559