คุณกำลังมองหาอะไร?

ข่า

ข่าวแจก"กรมอนามัย ช่วยเด็กอีสานในถิ่นทุรกันดารมีส้วมสะอาดใช้ มอบเพิ่มให้ รร.ตชด. จ.สุรินทร์"

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

25.07.2559
6
0
แชร์
25
กรกฎาคม
2559

ข่าวแจก"กรมอนามัย ช่วยเด็กอีสานในถิ่นทุรกันดารมีส้วมสะอาดใช้ มอบเพิ่มให้ รร.ตชด. จ.สุรินทร์"

            กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข สร้างและส่งมอบส้วมสุขอนามัยในถิ่นทุรกันดาร ตามโครงการสุขอนามัย เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ให้กับพื้นที่ภาคอีสาน จังหวัดสุรินทร์ เพื่อให้มีส้วมใช้งานตามมาตรฐาน HAS สะอาด เพียงพอ และปลอดภัย
            วันนี้ (25 กรกฎาคม 2559) นางสาวสิริวรรณ จันทนจุลกะ ผู้อำนวยการสำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม เปิดเผยภายหลัง เป็นประธานเปิดงานพิธีส่งมอบและเปิดป้ายส้วมสุขอนามัยในโครงการสุขอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ระยะที่ 2 ปี 2559 ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนท่านผู้หญิงสุประภาดา เกษมสันต์ อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ ว่า กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่เป้าหมาย ให้ความสำคัญในกลุ่มเด็กและเยาวชนในโรงเรียนในถิ่นทุรกันดารในพื้นที่เป้าหมายตามพระราชดำริ มุ่งให้โรงเรียนเป็นฐานการพัฒนา พึ่งตนเอง สร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน และใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างประหยัดและเกิดประสิทธิผลสูงสุด ซึ่งที่ผ่านมาพบว่านักเรียนในโรงเรียนในถิ่นทุรกันดารมีปัญหาในเรื่องของส้วมไม่เพียงพอและไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น ชำรุด มีกลิ่นเหม็น และไม่สะอาด โดยพบว่ามีส้วมที่ชำรุดและไม่สามารถใช้งานได้ในโรงเรียนมากถึงร้อยละ 50 นับเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ส่งผลต่อการดำรงชีวิตประจำวัน รวมทั้งมีอัตราการใช้ส้วมไม่เหมาะสมและจำนวนส้วมไม่เพียงพอต่อความต้องการ ซึ่งตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารกำหนดว่านักเรียน 50 คน ต้องมีส้วม 1 ห้อง โดยกรมอนามัยได้กำหนดให้ควรมีส้วมทั้ง 2 แบบ ให้เลือกใช้คือแบบนั่งยองและแบบนั่งราบหรือแบบชักโครก เพื่อให้เหมาะสมกับผู้ใช้งาน เช่น หากเป็นเด็กจะให้มีส้วมทั้ง 2 แบบ เพราะเด็กส่วนใหญ่จะใช้ส้วมแบบนั่งยองจนเคยชิน แต่โรงเรียนจะต้องฝึกให้นักเรียนใช้ส้วมแบบนั่งราบด้วย ให้เด็กเกิดการเรียนรู้และสามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้เมื่อเจอส้วมแบบนั่งราบ แต่หากเป็นผู้ใหญ่โดยเฉพาะผู้สูงอายุจะเน้นการสร้างส้วมแบบนั่งราบเพื่อป้องกันปัญหาเรื่องข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยอันควร ที่สำคัญเด็กนักเรียน ครู และประชาชนในชุมชน ควรดูแลทำความสะอาดส้วมให้ถูกหลักสุขาภิบาล เพื่อไม่ให้กลายเป็นแหล่งแพร่กระจายเชื้อโรค โดยเฉพาะส้วมในโรงเรียนต้องมีความสะอาด ปลอดภัย เพียงพอ และควรปลูกฝังพฤติกรรมการใช้ส้วมที่ถูกวิธีควบคู่กันไปด้วย
          นางสาวสิริวรรณ กล่าวต่อไปว่า ในปี 2558 มีโรงเรียนเป้าหมายในถิ่นทุรกันดารได้รับส้วมสุขอนามัยในโครงการสุขอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา ฯ มาตรฐาน HAS ทั่วประเทศแล้ว จำนวน 81 แห่ง โดยได้ส่งมอบให้กับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนพิกัดกระจายทั่วพื้นที่ภาคอีสาน 11 แห่ง ใน 2 จังหวัด ๆ ละ 2 แห่ง คือ สุรินทร์ อุบลราชธานี และจังหวัดละ 1 แห่ง คือ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ นครพนม สกลนคร อุดรธานี และบึงกาฬ โดยครั้งนี้เป็นการส่งมอบส้วมสุขอนามัย ระยะที่ 2 ปี 2559 เพิ่มในโซนพื้นที่ภาคอีสานอีก 3 แห่ง คือ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนท่านผู้หญิง สุประภาดา เกษมสันต์ อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านตาเอ็ม อำเภอน้ำขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี และโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยเป้า อำเภอปากชม จังหวัดเลย เป็นการพัฒนาให้โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเป็นต้นแบบด้านสุขาภิบาลสุขอนามัยต่อไป "ทั้งนี้ การดำเนินงานโครงการสุขอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษาฯ ระยะที่ 2 ปี 2559 นี้ ได้รับพระราชทาน พระราชานุญาตให้สร้างและปรับปรุงส้วมโรงเรียนเป้าหมายในถิ่นทุรกันดารขยายผลตามความขาดแคลนและความจำเป็นของโรงเรียน ภายใต้การมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่ายอย่างเข้มแข็ง เช่น บริษัท องค์กร ภาคเอกชน และภาคประชาชน ที่ให้การสนับสนุนเงินบริจาคสมทบกองทุนกพด. ปูนซีเมนต์ สุขภัณฑ์ และวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ สำหรับใช้ในการสร้างและปรับปรุงส้วมให้กับโรงเรียนเป้าหมายในถิ่นทุรกันดาร และจะทำการทยอยส่งมอบส้วมสุขอนามัยให้กับโรงเรียนเป้าหมาย จนครบ 120 แห่ง ในโอกาสอันเป็นมงคลดังกล่าว? ผู้อำนวยการสำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กล่าวในที่สุด
 
 ***
 
สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง / 25 กรกฎาคม 2559
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข สร้างและส่งมอบส้วมสุขอนามัยในถิ่นทุรกันดาร ตามโครงการสุขอนามัย เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ให้กับพื้นที่ภาคอีสาน จังหวัดสุรินทร์ เพื่อให้มีส้วมใช้งานตามมาตรฐาน HAS สะอาด เพียงพอ และปลอดภัย วันนี้ (25 กรกฎาคม 2559) นางสาวสิริวรรณ จันทนจุลกะ ผู้อำนวยการสำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม เปิดเผยภายหลัง เป็นประธานเปิดงานพิธีส่งมอบและเปิดป้ายส้วมสุขอนามัยในโครงการสุขอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ระยะที่ 2 ปี 2559 ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนท่านผู้หญิงสุประภาดา เกษมสันต์ อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ ว่า กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่เป้าหมาย ให้ความสำคัญในกลุ่มเด็กและเยาวชนในโรงเรียนในถิ่นทุรกันดารในพื้นที่เป้าหมายตามพระราชดำริ มุ่งให้โรงเรียนเป็นฐานการพัฒนา พึ่งตนเอง สร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน และใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างประหยัดและเกิดประสิทธิผลสูงสุด ซึ่งที่ผ่านมาพบว่านักเรียนในโรงเรียนในถิ่นทุรกันดารมีปัญหาในเรื่องของส้วมไม่เพียงพอและไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น ชำรุด มีกลิ่นเหม็น และไม่สะอาด โดยพบว่ามีส้วมที่ชำรุดและไม่สามารถใช้งานได้ในโรงเรียนมากถึงร้อยละ 50 นับเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ส่งผลต่อการดำรงชีวิตประจำวัน รวมทั้งมีอัตราการใช้ส้วมไม่เหมาะสมและจำนวนส้วมไม่เพียงพอต่อความต้องการ ซึ่งตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารกำหนดว่านักเรียน 50 คน ต้องมีส้วม 1 ห้อง โดยกรมอนามัยได้กำหนดให้ควรมีส้วมทั้ง 2 แบบ ให้เลือกใช้คือแบบนั่งยองและแบบนั่งราบหรือแบบชักโครก เพื่อให้เหมาะสมกับผู้ใช้งาน เช่น หากเป็นเด็กจะให้มีส้วมทั้ง 2 แบบ เพราะเด็กส่วนใหญ่จะใช้ส้วมแบบนั่งยองจนเคยชิน แต่โรงเรียนจะต้องฝึกให้นักเรียนใช้ส้วมแบบนั่งราบด้วย ให้เด็กเกิดการเรียนรู้และสามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้เมื่อเจอส้วมแบบนั่งราบ แต่หากเป็นผู้ใหญ่โดยเฉพาะผู้สูงอายุจะเน้นการสร้างส้วมแบบนั่งราบเพื่อป้องกันปัญหาเรื่องข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยอันควร ที่สำคัญเด็กนักเรียน ครู และประชาชนในชุมชน ควรดูแลทำความสะอาดส้วมให้ถูกหลักสุขาภิบาล เพื่อไม่ให้กลายเป็นแหล่งแพร่กระจายเชื้อโรค โดยเฉพาะส้วมในโรงเรียนต้องมีความสะอาด ปลอดภัย เพียงพอ และควรปลูกฝังพฤติกรรมการใช้ส้วมที่ถูกวิธีควบคู่กันไปด้วย นางสาวสิริวรรณ กล่าวต่อไปว่า ในปี 2558 มีโรงเรียนเป้าหมายในถิ่นทุรกันดารได้รับส้วมสุขอนามัยในโครงการสุขอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา ฯ มาตรฐาน HAS ทั่วประเทศแล้ว จำนวน 81 แห่ง โดยได้ส่งมอบให้กับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนพิกัดกระจายทั่วพื้นที่ภาคอีสาน 11 แห่ง ใน 2 จังหวัด ๆ ละ 2 แห่ง คือ สุรินทร์ อุบลราชธานี และจังหวัดละ 1 แห่ง คือ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ นครพนม สกลนคร อุดรธานี และบึงกาฬ โดยครั้งนี้เป็นการส่งมอบส้วมสุขอนามัย ระยะที่ 2 ปี 2559 เพิ่มในโซนพื้นที่ภาคอีสานอีก 3 แห่ง คือ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนท่านผู้หญิง สุประภาดา เกษมสันต์ อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านตาเอ็ม อำเภอน้ำขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี และโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยเป้า อำเภอปากชม จังหวัดเลย เป็นการพัฒนาให้โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเป็นต้นแบบด้านสุขาภิบาลสุขอนามัยต่อไป ทั้งนี้ การดำเนินงานโครงการสุขอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษาฯ ระยะที่ 2 ปี 2559 นี้ ได้รับพระราชทาน พระราชานุญาตให้สร้างและปรับปรุงส้วมโรงเรียนเป้าหมายในถิ่นทุรกันดารขยายผลตามความขาดแคลนและความจำเป็นของโรงเรียน ภายใต้การมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่ายอย่างเข้มแข็ง เช่น บริษัท องค์กร ภาคเอกชน และภาคประชาชน ที่ให้การสนับสนุนเงินบริจาคสมทบกองทุนกพด. ปูนซีเมนต์ สุขภัณฑ์ และวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ สำหรับใช้ในการสร้างและปรับปรุงส้วมให้กับโรงเรียนเป้าหมายในถิ่นทุรกันดาร และจะทำการทยอยส่งมอบส้วมสุขอนามัยให้กับโรงเรียนเป้าหมาย จนครบ 120 แห่ง ในโอกาสอันเป็นมงคลดังกล่าว ผู้อำนวยการสำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กล่าวในที่สุด *** สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง / 25 กรกฎาคม 2559

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน

ติดตามข่าวสารได้ที่

แทงบอลออนไลน์ || ดูบอลสด UFABET