คุณกำลังมองหาอะไร?

ข่าวแจก"กรมอนามัย ชู 146 องค์กรท้องถิ่น พัฒนาระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม"

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

15.07.2559
5
0
แชร์
15
กรกฎาคม
2559

ข่าวแจก"กรมอนามัย ชู 146 องค์กรท้องถิ่น พัฒนาระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม"

       กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มอบเกียรติบัตรให้ 146 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พัฒนาคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมดีหรือ EHA (Environmental Health Accreditation)
       วันนี้ (15 กรกฎาคม 2559) นายแพทย์วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยหลังเป็นประธานเปิดโครงการประชุม เชิงปฏิบัติการการพัฒนาคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (EHA Forum 2016) ณ โรงแรม เดอะ รีเจนท์ ชะอำ บีช รีสอร์ท จังหวัดเพชรบุรี ว่า กรมอนามัย ได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2555-2559 ยุทธศาสตร์ที่ 4 การส่งเสริมบทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดำจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นส่งเสริมบทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดำเนินงานอนามัยสิ่งแวดล้อม ภายใต้หลักการกระจายอำนาจ เสริมสร้างศักยภาพบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาระบบงานอนามัยสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น ให้สามารถเชื่อมโยงกับส่วนภูมิภาคและส่วนกลางได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งครอบคลุมการดำเนินงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมทั้ง 9 ประเด็นงาน ได้แก่ 1) ระบบการจัดการสุขาภิบาลอาหาร 2) ระบบการจัดการคุณภาพน้ำบริโภค 3) ระบบการจัดการสิ่งปฏิกูล 4) ระบบการจัดการมูลฝอย 5) ระบบการรองรับภาวะฉุกเฉินและภัยพิบัติ 6) ระบบการจัดการเหตุรำคาญ 7) ระบบการจัดการกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ 8) ระบบการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ และ 9) ระบบการบังคับใช้กฎหมาย
        นายแพทย์วชิระ กล่าวต่อว่า 1 ใน 9 ระบบ ประเด็นการดำเนินงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัญหาสาธารณะและจำเป็นต้องดำเนินการเป็นลำดับต้นๆ ได้แก่ ระบบการจัดการสิ่งปฏิกูลและระบบการจัดการมูลฝอย ซึ่งกรมอนามัยได้รับการสนับสนุนจากกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับ ร่วมกันพัฒนาระบบคุณภาพบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมตาม 4 ยุทธศาสตร์หลัก คือ 1) จัดให้มีการคัดแยกตั้งแต่ครัวเรือนหรือแหล่งกำเนิดเพื่อนำไปใช้ประโยชน์และจัดการตามประเภทของขยะนั้น ๆ ปัจจุบันมีหลาย ๆ ชุมชนมีการคัดแยกในครัวเรือนโดยแยกขยะนำกลับมาใช้ใหม่หรือขยะรีไซเคิล และนำไปใช้ประโยชน์ เช่น ขยะย่อยสลายได้ประเภทเศษอาหาร เปลือกผลไม้ นำไปทำน้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยน้ำ หรือนำไปเป็นอาหารสัตว์ การแยกขยะในครัวเรือนทำได้ง่ายและช่วยลดภาระในการกำจัด โดยการคัดแยกที่มีประสิทธิภาพจะทำให้ได้ขยะที่มีคุณภาพต่อการนำไปใช้งานและกำจัด 2) การบังคับใช้กฎหมายเพื่อสนับสนุน การคัดแยก ณ แหล่งกำเนิด ทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการลดปริมาณและการคัดแยกขยะ 3) การสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการจัดการขยะให้ถูกสุขลักษณะ เพื่อให้ใช้งบประมาณน้อยที่สุด และ 4) การควบคุมตรวจสอบอย่างจริงจัง โดยท้องถิ่นจะต้องมีการควบคุมอย่างจริงจังไม่ให้มีการลักลอบทิ้งขยะอันตรายจากอุตสาหกรรมรวมไปกับขยะทั่วไป ตลอดจนขอความร่วมมือจากประชาชนในการทิ้งขยะให้เป็นที่เป็นทางเพื่อให้ประเทศไทยสะอาด
        "ทั้งนี้ กรมอนามัยและกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้ประสานความร่วมมือกันในการผลักดันให้เกิดการพัฒนาคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยบูรณาการเกณฑ์ประเมินมาตรฐานคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมร่วมกับแบบประเมินมาตรฐานการปฏิบัติราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยในปี 2559 นี้ ได้กำหนดพื้นที่เป้าหมายการดำเนินงานครอบคลุมเทศบาลในทุกระดับ ซึ่งขณะนี้มีเทศบาลสมัครเข้าร่วมการประเมินรับรองแล้ว มากกว่า 50 จังหวัด มากกว่า 500 แห่ง ซึ่งเป็นภาคที่สมัครใจ โดยมีผู้ผ่านการประเมินระดับเกียรติบัตร 9 ด้าน อาทิ ด้านการจัดการสุขาภิบาลอาหาร การจัดการคุณภาพน้ำบริโภค การจัดการสิ่งปฏิกูล เป็นต้น รวมทั้งหมด จำนวน 146 แห่ง? อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด
 ***
สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง / 15 กรกฎาคม 2559
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มอบเกียรติบัตรให้ 146 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พัฒนาคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมดีหรือ EHA (Environmental Health Accreditation) วันนี้ (15 กรกฎาคม 2559) นายแพทย์วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยหลังเป็นประธานเปิดโครงการประชุม เชิงปฏิบัติการการพัฒนาคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (EHA Forum 2016) ณ โรงแรม เดอะ รีเจนท์ ชะอำ บีช รีสอร์ท จังหวัดเพชรบุรี ว่า กรมอนามัย ได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2555-2559 ยุทธศาสตร์ที่ 4 การส่งเสริมบทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดำจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นส่งเสริมบทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดำเนินงานอนามัยสิ่งแวดล้อม ภายใต้หลักการกระจายอำนาจ เสริมสร้างศักยภาพบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาระบบงานอนามัยสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น ให้สามารถเชื่อมโยงกับส่วนภูมิภาคและส่วนกลางได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งครอบคลุมการดำเนินงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมทั้ง 9 ประเด็นงาน ได้แก่ 1) ระบบการจัดการสุขาภิบาลอาหาร 2) ระบบการจัดการคุณภาพน้ำบริโภค 3) ระบบการจัดการสิ่งปฏิกูล 4) ระบบการจัดการมูลฝอย 5) ระบบการรองรับภาวะฉุกเฉินและภัยพิบัติ 6) ระบบการจัดการเหตุรำคาญ 7) ระบบการจัดการกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ 8) ระบบการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ และ 9) ระบบการบังคับใช้กฎหมาย นายแพทย์วชิระ กล่าวต่อว่า 1 ใน 9 ระบบ ประเด็นการดำเนินงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัญหาสาธารณะและจำเป็นต้องดำเนินการเป็นลำดับต้นๆ ได้แก่ ระบบการจัดการสิ่งปฏิกูลและระบบการจัดการมูลฝอย ซึ่งกรมอนามัยได้รับการสนับสนุนจากกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับ ร่วมกันพัฒนาระบบคุณภาพบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมตาม 4 ยุทธศาสตร์หลัก คือ 1) จัดให้มีการคัดแยกตั้งแต่ครัวเรือนหรือแหล่งกำเนิดเพื่อนำไปใช้ประโยชน์และจัดการตามประเภทของขยะนั้น ๆ ปัจจุบันมีหลาย ๆ ชุมชนมีการคัดแยกในครัวเรือนโดยแยกขยะนำกลับมาใช้ใหม่หรือขยะรีไซเคิล และนำไปใช้ประโยชน์ เช่น ขยะย่อยสลายได้ประเภทเศษอาหาร เปลือกผลไม้ นำไปทำน้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยน้ำ หรือนำไปเป็นอาหารสัตว์ การแยกขยะในครัวเรือนทำได้ง่ายและช่วยลดภาระในการกำจัด โดยการคัดแยกที่มีประสิทธิภาพจะทำให้ได้ขยะที่มีคุณภาพต่อการนำไปใช้งานและกำจัด 2) การบังคับใช้กฎหมายเพื่อสนับสนุน การคัดแยก ณ แหล่งกำเนิด ทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการลดปริมาณและการคัดแยกขยะ 3) การสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการจัดการขยะให้ถูกสุขลักษณะ เพื่อให้ใช้งบประมาณน้อยที่สุด และ 4) การควบคุมตรวจสอบอย่างจริงจัง โดยท้องถิ่นจะต้องมีการควบคุมอย่างจริงจังไม่ให้มีการลักลอบทิ้งขยะอันตรายจากอุตสาหกรรมรวมไปกับขยะทั่วไป ตลอดจนขอความร่วมมือจากประชาชนในการทิ้งขยะให้เป็นที่เป็นทางเพื่อให้ประเทศไทยสะอาด ทั้งนี้ กรมอนามัยและกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้ประสานความร่วมมือกันในการผลักดันให้เกิดการพัฒนาคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยบูรณาการเกณฑ์ประเมินมาตรฐานคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมร่วมกับแบบประเมินมาตรฐานการปฏิบัติราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยในปี 2559 นี้ ได้กำหนดพื้นที่เป้าหมายการดำเนินงานครอบคลุมเทศบาลในทุกระดับ ซึ่งขณะนี้มีเทศบาลสมัครเข้าร่วมการประเมินรับรองแล้ว มากกว่า 50 จังหวัด มากกว่า 500 แห่ง ซึ่งเป็นภาคที่สมัครใจ โดยมีผู้ผ่านการประเมินระดับเกียรติบัตร 9 ด้าน อาทิ ด้านการจัดการสุขาภิบาลอาหาร การจัดการคุณภาพน้ำบริโภค การจัดการสิ่งปฏิกูล เป็นต้น รวมทั้งหมด จำนวน 146 แห่ง อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด *** สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง / 15 กรกฎาคม 2559

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน

ติดตามข่าวสารได้ที่

แทงบอลออนไลน์ || ดูบอลสด UFABET