คุณกำลังมองหาอะไร?

ข่า

ข่าวแจก"กรมอนามัย ส่งมอบส้วมในถิ่นทุรกันดารแห่งที่ 60 หนุนเด็กไทยใช้ส้วมมาตรฐาน สร้างสุขอนามัยดี"

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

27.03.2558
4
0
แชร์
27
มีนาคม
2558

ข่าวแจก"กรมอนามัย ส่งมอบส้วมในถิ่นทุรกันดารแห่งที่ 60 หนุนเด็กไทยใช้ส้วมมาตรฐาน สร้างสุขอนามัยดี"

             กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข สร้างและส่งมอบส้วมในถิ่นทุรกันดาร ตามโครงการสุขอนามัยเฉลิม พระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จำนวน 60 แห่ง 600 ห้องส้วม เพื่อให้มีส้วมใช้งานตามมาตรฐาน HAS
            วันนี้ (26 มีนาคม 2558) นายพิษณุ แสนประเสริฐ รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการส่งมอบและเปิดป้ายส้วมสุขอนามัยในโครงการสุขอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสมหามงคลทรงพระเจริญพระชนมายุครบ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านโคกแสลง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ ว่า กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่เป้าหมาย ให้ความสำคัญในกลุ่มเด็กและเยาวชนในโรงเรียนในถิ่นทุรกันดารในพื้นที่เป้าหมายตามพระราชดำริ มุ่งให้โรงเรียนเป็นฐานการพัฒนา พึ่งตนเอง สร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน และใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างประหยัดและเกิดประสิทธิผลสูงสุด ที่ผ่านมาพบว่านักเรียนในโรงเรียนในถิ่นทุรกันดารมีปัญหาในเรื่องของส้วมไม่เพียงพอและไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น ชำรุด มีกลิ่นเหม็น และไม่สะอาด โดยพบว่ามีส้วมที่ชำรุดและไม่สามารถใช้งานได้ในโรงเรียน มากถึงร้อยละ 50 นับเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ส่งผลต่อการดำรงชีวิตประจำวัน รวมทั้งมีอัตราการใช้ส้วมไม่เหมาะสม กล่าวคือ จำนวนส้วมไม่เพียงพอต่อความต้องการ ซึ่งตาม พรบ.ควบคุมอาคารกำหนดว่านักเรียน 50 คน ต้องมีส้วม 1 ห้องส้วม กรมอนามัยได้กำหนดว่าควรมีส้วมทั้ง 2 แบบให้เลือกใช้ คือ แบบนั่งยองและแบบนั่งราบหรือแบบชักโครก เพื่อให้เหมาะสมกับผู้ใช้งาน เช่น หากเป็นเด็กจะให้มีส้วมทั้ง 2 แบบ เพราะเด็กส่วนใหญ่จะใช้ส้วมแบบนั่งยองจนเคยชิน แต่โรงเรียนจะต้องฝึกให้นักเรียนใช้ส้วมแบบนั่งราบด้วย ให้เด็กเกิดการเรียนรู้และสามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้เมื่อเจอส้วมแบบนั่งราบ แต่หากเป็นผู้ใหญ่โดยเฉพาะผู้สูงอายุจะเน้นการสร้างส้วมแบบนั่งราบ เพื่อป้องกันปัญหาเรื่องข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยอันควร
             นายพิษณุ กล่าวต่อไปว่า ในปี 2557-2558 กรมอนามัย ได้จัดทำโครงการสุขอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อสร้างและปรับปรุงส้วมโรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร โดยการมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เข้มแข็ง เช่น บริษัทห้างร้าน ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ในการสนับสนุนเงินบริจาค สุขภัณฑ์ และวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อใช้ในการสร้างส้วม จำนวน 60 แห่ง 600 ห้องส้วม และต่อมาได้มีโรงเรียนสมัครเข้าร่วมโครงการเป็น 81 แห่ง แบ่งเป็นส้วมในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน 49 แห่ง โรงเรียนพระปริยัติธรรม 10 แห่ง โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม 11 แห่ง และศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขาแม่ฟ้าหลวง 10 แห่ง และโรงเรียนสังกัด อบจ.ระนอง 1 แห่ง ซึ่งขณะนี้ดำเนินการได้เสร็จสิ้น ส่งมอบและเปิดป้ายส้วมสุขอนามัยแล้ว รวม 62 แห่ง คาดเสร็จสิ้น 81 แห่ง ภายในปี 2558
             "สำหรับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 21-24 ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะได้รับมอบส้วมทั้งสิ้น 10 แห่ง รวมเป็นแห่งที่ 60 ตามเป้าหมาย ซึ่งตลอดระยะเวลาการดำเนินงานที่ผ่านมาได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายเป็นอย่างดีเยี่ยม โดยได้รับการสนับสนุนเงินบริจาคและทอดผ้าป่าจากประชาชน ภาคเอกชน และภาคีเครือข่ายจังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ นครพนม บึงกาฬ และอุดรธานี นอกจากนี้กรมอนามัยจะมีการเพิ่มความรู้แก่บุคลากรในท้องถิ่นด้วย เช่น เด็กนักเรียน ครู และประชาชนในชุมชน เพื่อให้ความรู้ในเรื่องโภชนาการ อาหารปลอดภัย น้ำดื่มสะอาด ทันตสุขภาพ และการรักษาส้วมให้สะอาดอย่างสม่ำเสมอเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น? รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด
 ***
สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง / 26 มีนาคม 2558
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข สร้างและส่งมอบส้วมในถิ่นทุรกันดาร ตามโครงการสุขอนามัยเฉลิม พระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จำนวน 60 แห่ง 600 ห้องส้วม เพื่อให้มีส้วมใช้งานตามมาตรฐาน HAS วันนี้ (26 มีนาคม 2558) นายพิษณุ แสนประเสริฐ รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการส่งมอบและเปิดป้ายส้วมสุขอนามัยในโครงการสุขอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสมหามงคลทรงพระเจริญพระชนมายุครบ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านโคกแสลง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ ว่า กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่เป้าหมาย ให้ความสำคัญในกลุ่มเด็กและเยาวชนในโรงเรียนในถิ่นทุรกันดารในพื้นที่เป้าหมายตามพระราชดำริ มุ่งให้โรงเรียนเป็นฐานการพัฒนา พึ่งตนเอง สร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน และใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างประหยัดและเกิดประสิทธิผลสูงสุด ที่ผ่านมาพบว่านักเรียนในโรงเรียนในถิ่นทุรกันดารมีปัญหาในเรื่องของส้วมไม่เพียงพอและไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น ชำรุด มีกลิ่นเหม็น และไม่สะอาด โดยพบว่ามีส้วมที่ชำรุดและไม่สามารถใช้งานได้ในโรงเรียน มากถึงร้อยละ 50 นับเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ส่งผลต่อการดำรงชีวิตประจำวัน รวมทั้งมีอัตราการใช้ส้วมไม่เหมาะสม กล่าวคือ จำนวนส้วมไม่เพียงพอต่อความต้องการ ซึ่งตาม พรบ.ควบคุมอาคารกำหนดว่านักเรียน 50 คน ต้องมีส้วม 1 ห้องส้วม กรมอนามัยได้กำหนดว่าควรมีส้วมทั้ง 2 แบบให้เลือกใช้ คือ แบบนั่งยองและแบบนั่งราบหรือแบบชักโครก เพื่อให้เหมาะสมกับผู้ใช้งาน เช่น หากเป็นเด็กจะให้มีส้วมทั้ง 2 แบบ เพราะเด็กส่วนใหญ่จะใช้ส้วมแบบนั่งยองจนเคยชิน แต่โรงเรียนจะต้องฝึกให้นักเรียนใช้ส้วมแบบนั่งราบด้วย ให้เด็กเกิดการเรียนรู้และสามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้เมื่อเจอส้วมแบบนั่งราบ แต่หากเป็นผู้ใหญ่โดยเฉพาะผู้สูงอายุจะเน้นการสร้างส้วมแบบนั่งราบ เพื่อป้องกันปัญหาเรื่องข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยอันควร นายพิษณุ กล่าวต่อไปว่า ในปี 2557-2558 กรมอนามัย ได้จัดทำโครงการสุขอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อสร้างและปรับปรุงส้วมโรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร โดยการมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เข้มแข็ง เช่น บริษัทห้างร้าน ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ในการสนับสนุนเงินบริจาค สุขภัณฑ์ และวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อใช้ในการสร้างส้วม จำนวน 60 แห่ง 600 ห้องส้วม และต่อมาได้มีโรงเรียนสมัครเข้าร่วมโครงการเป็น 81 แห่ง แบ่งเป็นส้วมในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน 49 แห่ง โรงเรียนพระปริยัติธรรม 10 แห่ง โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม 11 แห่ง และศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขาแม่ฟ้าหลวง 10 แห่ง และโรงเรียนสังกัด อบจ.ระนอง 1 แห่ง ซึ่งขณะนี้ดำเนินการได้เสร็จสิ้น ส่งมอบและเปิดป้ายส้วมสุขอนามัยแล้ว รวม 62 แห่ง คาดเสร็จสิ้น 81 แห่ง ภายในปี 2558 สำหรับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 21-24 ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะได้รับมอบส้วมทั้งสิ้น 10 แห่ง รวมเป็นแห่งที่ 60 ตามเป้าหมาย ซึ่งตลอดระยะเวลาการดำเนินงานที่ผ่านมาได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายเป็นอย่างดีเยี่ยม โดยได้รับการสนับสนุนเงินบริจาคและทอดผ้าป่าจากประชาชน ภาคเอกชน และภาคีเครือข่ายจังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ นครพนม บึงกาฬ และอุดรธานี นอกจากนี้กรมอนามัยจะมีการเพิ่มความรู้แก่บุคลากรในท้องถิ่นด้วย เช่น เด็กนักเรียน ครู และประชาชนในชุมชน เพื่อให้ความรู้ในเรื่องโภชนาการ อาหารปลอดภัย น้ำดื่มสะอาด ทันตสุขภาพ และการรักษาส้วมให้สะอาดอย่างสม่ำเสมอเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด *** สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง / 26 มีนาคม 2558

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน

ติดตามข่าวสารได้ที่

แทงบอลออนไลน์ || ดูบอลสด UFABET