คุณกำลังมองหาอะไร?

ข่า

ข่าวแจก "กรมอนามัย เผย มะเร็งเต้านมภัยคุกคามสตรีไทยเสียชีวิตเฉลี่ย 2 ชั่วโมงต่อ 1 คน ชู เทคโนโลยี Mammography สร้างทางรอด"

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

17.08.2555
116
0
แชร์
17
สิงหาคม
2555

ข่าวแจก "กรมอนามัย เผย มะเร็งเต้านมภัยคุกคามสตรีไทยเสียชีวิตเฉลี่ย 2 ชั่วโมงต่อ 1 คน ชู เทคโนโลยี Mammography สร้างทางรอด"

        กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ชี้ มะเร็งเต้านมเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ของสตรีไทย ในปี 2553 พบผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ 13,184 ราย และเสียชีวิตประมาณ 4,665 ราย หรือทุก 2 ชั่วโมงจะพบว่าสตรีไทยเสียชีวิตด้วยมะเร็งเต้านม 1คน และมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ระดมทุนจัดรถหน่วยตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องเอ็กซเรย์เต้านมเคลื่อนที่ ช่วยสตรีไทยกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาส
        ดร.นพ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย กล่าวขณะนำทีมสื่อมวลชนศึกษาดูงานการคัดกรองมะเร็ง เต้านมด้วยเครื่องเอ็กซเรย์เต้านม (Mammography) ของศูนย์มะเร็ง จังหวัดชลบุรี ว่า แม้มะเร็งเต้านมจะพบน้อยกว่ามะเร็งปากมดลูก แต่อัตราการเสียชีวิตจะมากกว่า เพราะการเป็นมะเร็งเต้านมจะไม่รู้ล่วงหน้าและไม่มีอาการ บ่งบอก สาเหตุโดยตรงที่ทำให้เกิดมะเร็งเต้านมยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ประมาณร้อยละ 25 ของผู้ป่วยพบว่ามีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งเต้านม คือ กลุ่มคนที่มีประจำเดือนครั้งแรกเมื่ออายุยังน้อยหรือหมดประจำเดือนเมื่ออายุมาก ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ประวัติครอบครัวมีญาติพี่น้องสายตรงเป็นมะเร็ง เต้านม การรับประทานอาหารไขมันมาก การดื่มเหล้า เป็นต้น ส่วนอีกร้อยละ 75 ของผู้ป่วยยังไม่รู้สาเหตุแน่ชัดว่าเกี่ยวกับอะไร ประมาณว่าในช่วงชีวิตของผู้หญิง 1 ใน 10 คน จะมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมได้ และมักพบในสตรีอายุ 40 ปี ขึ้นไปแต่ในสตรีอายุ 20?30 ปี ก็พบได้บ่อยเช่นกัน ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมาพบแพทย์ด้วยอาการ มีก้อน และแผลที่เต้านม หรือมีเลือดหรือน้ำเหลืองไหลจากหัวนม ซึ่งจะมีการลุกลามและแพร่กระจายไปแล้วประมาณร้อยละ 56
        ดร.นพ.สมยศ กล่าวต่อไปว่า การป้องกันมะเร็งเต้านมคือ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานผักและผลไม้ให้มากขึ้น ลดอาหารไขมัน แต่ที่ดีที่สุดคือการตรวจพบให้เร็วที่สุดตั้งแต่ระยะเริ่มแรก เพราะสามารถรักษาโรคให้หายขาดได้ ซึ่งทำได้ 3 วิธีคือ
1) การตรวจเต้านมด้วยตนเอง และ
2) การตรวจเต้านมโดยแพทย์
3) การตรวจด้วยเครื่องเอ็กซเรย์เต้านม (Mammography) ซึ่งสามารถตรวจพบความผิดปกติต่าง ๆ ของเต้านมได้ แม้กระทั่งผลึกแคลเซียมที่มีการแตกเซลล์ผิดปกติ เป็นวิธีเดียวที่สามารถตรวจหามะเร็งของเต้านมที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่า 1 เซนติเมตรได้ หากพบในระยะนี้มีโอกาสที่จะรักษาให้หายขาดได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่การเอ็กซเรย์เต้านมด้วยเครื่องเอ็กซเรย์เต้านม (Mammography) ในประเทศไทยนั้น จะมีให้บริการอยู่ไม่กี่แห่ง ส่วนมากจะเป็นโรงพยาบาลศูนย์หรือโรงพยาบาลในหัวเมืองใหญ่ ๆ การตรวจแต่ละครั้ง ผู้ป่วยต้องเสียค่าใช้จ่ายไม่ต่ำกว่า 2,000?3,000 บาท เพราะไม่อยู่ในสิทธิประโยชน์ตามหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
        อธิบดีกรมอนามัย กล่าวต่อว่า เพื่อให้สตรีกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาสที่อยู่ห่างไกล ได้รับบริการการตรวจ คัดกรองมะเร็งเต้านมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย มูลนิธิกาญจนบารมีได้ร่วมกับกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จัดทำ โครงการคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยเครื่องเอ็กซเรย์เต้านมเคลื่อนที่ (Mammography) ในสตรีกลุ่มเสี่ยงและ ด้อยโอกาสเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร จะเจริญพระชนมายุครบ 5 รอบ ในปี 2555 ด้วยการจัดตั้งหน่วยคัดกรองมะเร็งเต้านมเคลื่อนที่ทั่วประเทศจำนวน 5 หน่วย 1 หน่วย จะดูแล 1 ภาค ประกอบด้วยรถให้สุขศึกษา ประชาสัมพันธ์ รถนิทรรศการเคลื่อนที่ รถสาธิตตรวจมะเร็งเต้านมพร้อมอุปกรณ์และเจ้าหน้าที่ ซึ่งจะเดินทางเข้าไปถึงพื้นที่เพื่อให้หญิงไทยทั่วประเทศ ได้รับความรู้และเข้าใจวิธีการป้องกันโรคมะเร็งเต้านม และตรวจเต้านมด้วยตนเอง ส่วนสตรีที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงจะได้รับการตรวจด้วยเครื่องเอ็กซเรย์เต้านม (Mammography)เพื่อค้นหามะเร็งเต้านมระยะเริ่มแรก หากพบก็จะส่งต่อเข้ารับการรักษาตามระบบหลักประกันสุขภาพ เป็นการให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมได้อย่างครบวงจร โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น
        โครงการคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยเครื่องเอ็กซเรย์เต้านมเคลื่อนที่ (Mammography) ในสตรีกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาสฯ จะเริ่มดำเนินการตั้งแต่มกราคม 2556 ถึง ธันวาคม 2560 โดยแต่ละหน่วยจะออกให้บริการพร้อมกันทุกวัน ๆ ละ 1อำเภอ ตั้งเป้าหมายให้สตรีกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาสในแต่ละภาคได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็ง เต้านมด้วยเครื่องเอ็กซเรย์เต้านมเคลื่อนที่ (Mammography) ปีละไม่น้อยกว่า 10,000 ราย รวม 5 ภาค เป็นจำนวน 50,000 ราย และภายในเวลา 5 ปี จะมีผู้ได้รับบริการทั่วประทศทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 250,000 ราย? อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
        ด้าน นพ.กิติศักดิ์ เทพสุวรรณ ผู้อำนวยการศูนย์มะเร็งชลบุรี กล่าวว่า ศูนย์มะเร็งจังหวัดชลบุรีดูแลรับผิดชอบพื้นที่ใน 6 จังหวัดเขตภาคตะวันออก ได้แก่ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ฉะเชิงเทรา สระแก้ว และรับผิดชอบเพิ่มอีก 2 จังหวัดในระบบหลักประกันสุขภาพคือ สมุทรปราการและปราจีนบุรี เปิดให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป ทั้งการตรวจ วินิจฉัยโรคมะเร็ง ทุกระบบของร่างกาย บำบัด รักษา ฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งอย่างครบวงจร ในแต่ละวันจะมีคนไข้มารับบริการฉายรังสีรักษาโรคมะเร็งชนิดต่างๆไม่น้อยกว่า 60-100 ราย คนไข้ส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 60 เป็นผู้ใช้สิทธิประกันสุขภาพ ร้อยละ 15 เป็นผู้ใช้สิทธิประกันสังคม ร้อยละ 20 เป็นผู้ใช้สิทธิในระบบราชการ และร้อยละ 5 จะเป็นผู้ใช้เงินสดและเป็นชาวต่างชาติที่มาจากพัทยา
        ปัจจุบันทางศูนย์ให้บริการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องเอ็กซเรย์เคลื่อนที่ (Mammography) เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่สามารถตรวจพบความผิดปกติต่าง ๆ ของเต้านมได้อย่างรวดเร็ว ใช้เวลาในการตรวจไม่เกิน 20 นาที ปริมาณรังสีที่ได้รับต่ำไม่มีอันตราย สามารถแยกความแตกต่างของไขมันและเนื้อเยื่อชนิดต่าง ๆ ของเต้านมได้อย่างชัดเจน สามารถมองเห็นเนื้อเยื่อที่เป็นมะเร็งระยะเริ่มต้นได้เป็นอย่างดี ให้ผลถูกต้องและแม่นยำ สามารถตรวจหามะเร็งเต้านมที่มีขนาดเล็ก คลำไม่ได้ หรืออยู่ลึกในเนื้อเต้านมคลำได้ไม่ชัดเจน โดยเครื่องจะเอ็กซเรย์ผ่านเข้าไปในเนื้อของเต้านม จะทำให้มองเห็นร่องรอยที่มีลักษณะผิดปกติของผลึกแคลเซียมที่มาเกาะเป็นฝุ่นเล็ก ๆ ปรากฏในเอ็กซเรย์ ก่อนที่ระยะเซลล์จะเริ่มเปลี่ยนเป็นมะเร็งระยะที่ 1 มีประโยชน์มากในการวินิจฉัยโรค และการรักษาก็ไม่ยุ่งยากเพราะมะเร็งมีขนาดเล็กมาก ยังไม่แพร่ไปที่อื่น ไม่ต้องใช้ยาเคมีบำบัด สามารถรักษาให้หายขาดได้ถึง 100 เปอร์เซ็นต์ และมีโอกาสรอดชีวิตสูง ขณะที่ถ้ามีอาการและตรวจพบก้อนขนาด 2-5 เซนติเมตร โอกาสรอดชีวิตมีร้อยละ 75-90 หากคลำพบก้อนขนาด 5 เซนติเมตรขึ้นไป โอกาสรอดชีวิตมีเพียงร้อยละ 15-30 เท่านั้น ซึ่งการเสียชีวิตที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เป็นเพราะมาตรวจรักษาช้าเกินไป? ผู้อำนวยการศูนย์มะเร็งชลบุรี กล่าว
        อธิบดีกรมอนามัย กล่าวเสริมในตอนท้ายว่า เนื่องจากการดำเนินงานโครงการคัดกรองมะเร็งเต้านม โดยเครื่องเอ็กซเรย์เต้านมเคลื่อนที่ทั่วประเทศนี้ ต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก กระทรวงสาธารณสุขและมูลนิธิ กาญจนบารมี จึงได้จัดสร้างวัตถุมงคล หลวงพ่อโสธร รุ่น เบญจนวมงคล ๕๕๕๕๕๕๕๕๕? ขึ้น เพื่อระดมทุนร่วมสมทบทุนโครงการดังกล่าว ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถร่วมบริจาคเงินสมทบทุนโครงการฯหรือติดต่อเช่าบูชาวัตถุมงคลได้ที่ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และมูลนิธิกาญจนบารมี โทร.0-2965-9244, 0-2590-4001-3, 088 - 505-5773, 088 - 500-6854หรือที่ธนาคารกรุงไทยและที่เซเว่นอีเลฟเว่นทุกสาขาทั่วประเทศหรือที่เว็บไซต์ http://sothorn.anamai.moph.go.th
 
***
กลุ่มสื่อสารองค์กร / 17 สิงหาคม 2555
 
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ชี้ มะเร็งเต้านมเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ของสตรีไทย ในปี 2553 พบผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ 13,184 ราย และเสียชีวิตประมาณ 4,665 ราย หรือทุก 2 ชั่วโมงจะพบว่าสตรีไทยเสียชีวิตด้วยมะเร็งเต้านม 1คน และมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ระดมทุนจัดรถหน่วยตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องเอ็กซเรย์เต้านมเคลื่อนที่ ช่วยสตรีไทยกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาส ดร.นพ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย กล่าวขณะนำทีมสื่อมวลชนศึกษาดูงานการคัดกรองมะเร็ง เต้านมด้วยเครื่องเอ็กซเรย์เต้านม (Mammography) ของศูนย์มะเร็ง จังหวัดชลบุรี ว่า แม้มะเร็งเต้านมจะพบน้อยกว่ามะเร็งปากมดลูก แต่อัตราการเสียชีวิตจะมากกว่า เพราะการเป็นมะเร็งเต้านมจะไม่รู้ล่วงหน้าและไม่มีอาการ บ่งบอก สาเหตุโดยตรงที่ทำให้เกิดมะเร็งเต้านมยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ประมาณร้อยละ 25 ของผู้ป่วยพบว่ามีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งเต้านม คือ กลุ่มคนที่มีประจำเดือนครั้งแรกเมื่ออายุยังน้อยหรือหมดประจำเดือนเมื่ออายุมาก ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ประวัติครอบครัวมีญาติพี่น้องสายตรงเป็นมะเร็ง เต้านม การรับประทานอาหารไขมันมาก การดื่มเหล้า เป็นต้น ส่วนอีกร้อยละ 75 ของผู้ป่วยยังไม่รู้สาเหตุแน่ชัดว่าเกี่ยวกับอะไร ประมาณว่าในช่วงชีวิตของผู้หญิง 1 ใน 10 คน จะมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมได้ และมักพบในสตรีอายุ 40 ปี ขึ้นไปแต่ในสตรีอายุ 2030 ปี ก็พบได้บ่อยเช่นกัน ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมาพบแพทย์ด้วยอาการ มีก้อน และแผลที่เต้านม หรือมีเลือดหรือน้ำเหลืองไหลจากหัวนม ซึ่งจะมีการลุกลามและแพร่กระจายไปแล้วประมาณร้อยละ 56 ดร.นพ.สมยศ กล่าวต่อไปว่า การป้องกันมะเร็งเต้านมคือ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานผักและผลไม้ให้มากขึ้น ลดอาหารไขมัน แต่ที่ดีที่สุดคือการตรวจพบให้เร็วที่สุดตั้งแต่ระยะเริ่มแรก เพราะสามารถรักษาโรคให้หายขาดได้ ซึ่งทำได้ 3 วิธีคือ1) การตรวจเต้านมด้วยตนเอง และ2) การตรวจเต้านมโดยแพทย์3) การตรวจด้วยเครื่องเอ็กซเรย์เต้านม (Mammography) ซึ่งสามารถตรวจพบความผิดปกติต่าง ๆ ของเต้านมได้ แม้กระทั่งผลึกแคลเซียมที่มีการแตกเซลล์ผิดปกติ เป็นวิธีเดียวที่สามารถตรวจหามะเร็งของเต้านมที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่า 1 เซนติเมตรได้ หากพบในระยะนี้มีโอกาสที่จะรักษาให้หายขาดได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่การเอ็กซเรย์เต้านมด้วยเครื่องเอ็กซเรย์เต้านม (Mammography) ในประเทศไทยนั้น จะมีให้บริการอยู่ไม่กี่แห่ง ส่วนมากจะเป็นโรงพยาบาลศูนย์หรือโรงพยาบาลในหัวเมืองใหญ่ ๆ การตรวจแต่ละครั้ง ผู้ป่วยต้องเสียค่าใช้จ่ายไม่ต่ำกว่า 2,0003,000 บาท เพราะไม่อยู่ในสิทธิประโยชน์ตามหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวต่อว่า เพื่อให้สตรีกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาสที่อยู่ห่างไกล ได้รับบริการการตรวจ คัดกรองมะเร็งเต้านมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย มูลนิธิกาญจนบารมีได้ร่วมกับกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จัดทำ โครงการคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยเครื่องเอ็กซเรย์เต้านมเคลื่อนที่ (Mammography) ในสตรีกลุ่มเสี่ยงและ ด้อยโอกาสเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร จะเจริญพระชนมายุครบ 5 รอบ ในปี 2555 ด้วยการจัดตั้งหน่วยคัดกรองมะเร็งเต้านมเคลื่อนที่ทั่วประเทศจำนวน 5 หน่วย 1 หน่วย จะดูแล 1 ภาค ประกอบด้วยรถให้สุขศึกษา ประชาสัมพันธ์ รถนิทรรศการเคลื่อนที่ รถสาธิตตรวจมะเร็งเต้านมพร้อมอุปกรณ์และเจ้าหน้าที่ ซึ่งจะเดินทางเข้าไปถึงพื้นที่เพื่อให้หญิงไทยทั่วประเทศ ได้รับความรู้และเข้าใจวิธีการป้องกันโรคมะเร็งเต้านม และตรวจเต้านมด้วยตนเอง ส่วนสตรีที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงจะได้รับการตรวจด้วยเครื่องเอ็กซเรย์เต้านม (Mammography)เพื่อค้นหามะเร็งเต้านมระยะเริ่มแรก หากพบก็จะส่งต่อเข้ารับการรักษาตามระบบหลักประกันสุขภาพ เป็นการให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมได้อย่างครบวงจร โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น \\โครงการคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยเครื่องเอ็กซเรย์เต้านมเคลื่อนที่ (Mammography) ในสตรีกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาสฯ จะเริ่มดำเนินการตั้งแต่มกราคม 2556 ถึง ธันวาคม 2560 โดยแต่ละหน่วยจะออกให้บริการพร้อมกันทุกวัน ๆ ละ 1อำเภอ ตั้งเป้าหมายให้สตรีกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาสในแต่ละภาคได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็ง เต้านมด้วยเครื่องเอ็กซเรย์เต้านมเคลื่อนที่ (Mammography) ปีละไม่น้อยกว่า 10,000 ราย รวม 5 ภาค เป็นจำนวน 50,000 ราย และภายในเวลา 5 ปี จะมีผู้ได้รับบริการทั่วประทศทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 250,000 ราย อธิบดีกรมอนามัย กล่าว ด้าน นพ.กิติศักดิ์ เทพสุวรรณ ผู้อำนวยการศูนย์มะเร็งชลบุรี กล่าวว่า ศูนย์มะเร็งจังหวัดชลบุรีดูแลรับผิดชอบพื้นที่ใน 6 จังหวัดเขตภาคตะวันออก ได้แก่ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ฉะเชิงเทรา สระแก้ว และรับผิดชอบเพิ่มอีก 2 จังหวัดในระบบหลักประกันสุขภาพคือ สมุทรปราการและปราจีนบุรี เปิดให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป ทั้งการตรวจ วินิจฉัยโรคมะเร็ง ทุกระบบของร่างกาย บำบัด รักษา ฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งอย่างครบวงจร ในแต่ละวันจะมีคนไข้มารับบริการฉายรังสีรักษาโรคมะเร็งชนิดต่างๆไม่น้อยกว่า 60-100 ราย คนไข้ส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 60 เป็นผู้ใช้สิทธิประกันสุขภาพ ร้อยละ 15 เป็นผู้ใช้สิทธิประกันสังคม ร้อยละ 20 เป็นผู้ใช้สิทธิในระบบราชการ และร้อยละ 5 จะเป็นผู้ใช้เงินสดและเป็นชาวต่างชาติที่มาจากพัทยา \\ปัจจุบันทางศูนย์ให้บริการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องเอ็กซเรย์เคลื่อนที่ (Mammography) เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่สามารถตรวจพบความผิดปกติต่าง ๆ ของเต้านมได้อย่างรวดเร็ว ใช้เวลาในการตรวจไม่เกิน 20 นาที ปริมาณรังสีที่ได้รับต่ำไม่มีอันตราย สามารถแยกความแตกต่างของไขมันและเนื้อเยื่อชนิดต่าง ๆ ของเต้านมได้อย่างชัดเจน สามารถมองเห็นเนื้อเยื่อที่เป็นมะเร็งระยะเริ่มต้นได้เป็นอย่างดี ให้ผลถูกต้องและแม่นยำ สามารถตรวจหามะเร็งเต้านมที่มีขนาดเล็ก คลำไม่ได้ หรืออยู่ลึกในเนื้อเต้านมคลำได้ไม่ชัดเจน โดยเครื่องจะเอ็กซเรย์ผ่านเข้าไปในเนื้อของเต้านม จะทำให้มองเห็นร่องรอยที่มีลักษณะผิดปกติของผลึกแคลเซียมที่มาเกาะเป็นฝุ่นเล็ก ๆ ปรากฏในเอ็กซเรย์ ก่อนที่ระยะเซลล์จะเริ่มเปลี่ยนเป็นมะเร็งระยะที่ 1 มีประโยชน์มากในการวินิจฉัยโรค และการรักษาก็ไม่ยุ่งยากเพราะมะเร็งมีขนาดเล็กมาก ยังไม่แพร่ไปที่อื่น ไม่ต้องใช้ยาเคมีบำบัด สามารถรักษาให้หายขาดได้ถึง 100 เปอร์เซ็นต์ และมีโอกาสรอดชีวิตสูง ขณะที่ถ้ามีอาการและตรวจพบก้อนขนาด 2-5 เซนติเมตร โอกาสรอดชีวิตมีร้อยละ 75-90 หากคลำพบก้อนขนาด 5 เซนติเมตรขึ้นไป โอกาสรอดชีวิตมีเพียงร้อยละ 15-30 เท่านั้น ซึ่งการเสียชีวิตที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เป็นเพราะมาตรวจรักษาช้าเกินไป ผู้อำนวยการศูนย์มะเร็งชลบุรี กล่าว อธิบดีกรมอนามัย กล่าวเสริมในตอนท้ายว่า เนื่องจากการดำเนินงานโครงการคัดกรองมะเร็งเต้านม โดยเครื่องเอ็กซเรย์เต้านมเคลื่อนที่ทั่วประเทศนี้ ต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก กระทรวงสาธารณสุขและมูลนิธิ กาญจนบารมี จึงได้จัดสร้างวัตถุมงคล หลวงพ่อโสธร รุ่น \\เบญจนวมงคล ๕๕๕๕๕๕๕๕๕ ขึ้น เพื่อระดมทุนร่วมสมทบทุนโครงการดังกล่าว ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถร่วมบริจาคเงินสมทบทุนโครงการฯหรือติดต่อเช่าบูชาวัตถุมงคลได้ที่ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และมูลนิธิกาญจนบารมี โทร.0-2965-9244, 0-2590-4001-3, 088 - 505-5773, 088 - 500-6854หรือที่ธนาคารกรุงไทยและที่เซเว่นอีเลฟเว่นทุกสาขาทั่วประเทศหรือที่เว็บไซต์ http://sothorn.anamai.moph.go.th *** กลุ่มสื่อสารองค์กร / 17 สิงหาคม 2555

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน

ติดตามข่าวสารได้ที่

แทงบอลออนไลน์ || ดูบอลสด