คุณกำลังมองหาอะไร?

ข่า

ข่าวแจก "สธ. เร่งพัฒนาตลาดสดให้ผ่านเกณฑ์ ย้ำความมั่นใจอาหารปลอดภัย หนุนครัวไทยสู่ครัวโลก"

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

15.08.2555
13
0
แชร์
15
สิงหาคม
2555

ข่าวแจก "สธ. เร่งพัฒนาตลาดสดให้ผ่านเกณฑ์ ย้ำความมั่นใจอาหารปลอดภัย หนุนครัวไทยสู่ครัวโลก"

        กระทรวงสาธารณสุขร่วมมือกับกรุงเทพมหานคร และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานอาหารปลอดภัยในตลาดสามย่าน เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค รวมถึงตลาดสดที่ผ่านการรับรองมาตรฐานตลาดสด น่าซื้อ ของกรมอนามัย ภายใต้สโลแกน ผู้บริโภคมั่นใจ อาหารปลอดภัย ในตลาดสด น่าซื้อ เพื่อส่งเสริมครัวไทยสู่ครัวโลก?
        วันนี้ (15 สิงหาคม 2555) นายแพทย์สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังจากการตรวจเยี่ยมการดำเนินงานอาหารปลอดภัยในตลาดสด ณ ตลาดสามย่าน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ว่า จากนโยบายของรัฐบาลที่จะส่งเสริมครัวไทย สู่ครัวโลก เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวเมืองไทย สามารถเลือกซื้อสินค้าอาหารได้อย่างมั่นใจ รวมทั้งเพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภคภายในประเทศที่นิยมใช้บริการตลาดตามวิถีไทย ซึ่งเป็นมาตรการที่สร้างให้เกิดความปลอดภัยด้านอาหารอย่างยั่งยืน ทั้งสินค้าที่ส่งออกจากประเทศไทยและสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ เช่น ผักผลไม้ ควรมีคุณภาพดี ปราศจากสารเคมี สารฆ่าแมลง นำมาจากแหล่งผลิตที่มีการรับรองหรือเชื่อถือได้
        นายแพทย์สุรวิทย์ กล่าวต่อไปว่า ตลาดสามย่านนับเป็นตลาดที่ให้ความสำคัญด้านความสะอาดของสถานที่ การจำหน่ายอาหารที่ปลอดภัย การคุ้มครองผู้บริโภค และแบ่งแยกสัดส่วนของตลาดไว้อย่างชัดเจน ซึ่งชั้นที่ 1 ประกอบด้วยแผงจำหน่ายสินค้า ชั้นที่ 2 เป็นร้านอาหารและร้านค้าพื้นที่พิเศษ ชั้นลอยเป็นสำนักงานและห้องประชุมเพื่อการพัฒนาตลาด ด้วยการจัดโครงสร้างและการบริหารจัดการที่ดีนี้ ตลาดสามย่านจึงได้รับรางวัลจากกรมอนามัยและหน่วยงานต่าง ๆ มากมาย อาทิ ผ่านเกณฑ์ตลาดสด น่าซื้อในระดับดีมาก การรับรองมาตรฐานอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) สำหรับศูนย์อาหาร การรับรองอาหารปลอดภัย (Food Safety) สำหรับแผงจำหน่ายสินค้า มาตรฐานส้วมสะอาด พอเพียง ปลอดภัย (HAS) รวมทั้งยังเป็นศูนย์การเรียนรู้ ตลาดสด น่าซื้อ รักษ์สิ่งแวดล้อม ด้านระบบบำบัดน้ำเสียที่ทันสมัย และการแยกขยะเพื่อนำมาย่อยสลายได้ก๊าชชีวภาพหรือไบโอแก๊ส นับว่าเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ตลาดอื่น ๆ ซึ่งสามารถนำไปปฏิบัติตามได้
        ทั้งนี้ การพัฒนาตลาดสดให้ได้เกณฑ์มาตรฐานตลาดสด น่าซื้อทั้ง 3 ด้านของกรมอนามัย ที่ได้กำหนดไว้ในกฏกระทรวง คือ
1) ด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม เช่น โครงสร้างตลาดมีความมั่นคงแข็งแรง การรักษาความสะอาด การระบายอากาศ การรวบรวมขยะ การกำจัดน้ำเสีย การจัดวางสินค้าให้เป็นระเบียบเรียบร้อย และ สุขวิทยาส่วนบุคคลของผู้ขายของ
2) ด้านความปลอดภัยของอาหาร แผงขายอาหารในตลาดผ่านเกณฑ์การตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหาร เช่น ตรวจไม่พบสารฟอร์มาลีน สารกันรา สารบอแรกซ์ สารฟอกขาว ยาฆ่าแมลง และตรวจไม่พบสารเร่งเนื้อแดงในเนื้อหมู และ
3) ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้ประกอบกิจการตลาด ต้องจัดให้มีกิจกรรมด้านการคุ้มครองผู้บริโภค เช่น การจัดบอร์ดให้ความรู้แก่ผู้บริโภคในเรื่องเกี่ยวกับอาหารปลอดภัย จัดให้มีจุดทดสอบสารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และจัดให้มีเครื่องชั่งกลางที่ได้มาตรฐานไว้บริการผู้บริโภค?รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าว
        นายแพทย์สุรวิทย์ กล่าวในตอนท้ายว่า จากการดำเนินงานตลาดสด น่าซื้อ ของกรมอนามัย ในปี 2554 พบว่า ตลาดประเภทที่ 1 (ตลาดที่มีโครงสร้างอาคาร) ทั่วประเทศมีจำนวน 1,533 แห่ง ผ่านเกณฑ์ตลาดสด น่าซื้อ จำนวน 1,302 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 84.93 แบ่งเป็นระดับดีมาก จำนวน 228 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 14.87 ระดับดี จำนวน 1,074 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 70.06 กระทรวงสาธารณสุขจึงต้องเร่งพัฒนาตลาดสดที่ยังไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานให้ถูกสุขลักษณะ เพื่อสร้างความมั่นใจด้านอาหารปลอดภัย หนุนครัวไทยสู่ครัวโลก รวมทั้งป้องกันการเกิดโรคระบาดต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นด้วย
 
***
กลุ่มสื่อสารองค์กร / 15 สิงหาคม 2555
 
กระทรวงสาธารณสุขร่วมมือกับกรุงเทพมหานคร และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานอาหารปลอดภัยในตลาดสามย่าน เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค รวมถึงตลาดสดที่ผ่านการรับรองมาตรฐานตลาดสด น่าซื้อ ของกรมอนามัย ภายใต้สโลแกน \\ผู้บริโภคมั่นใจ อาหารปลอดภัย ในตลาดสด น่าซื้อ เพื่อส่งเสริมครัวไทยสู่ครัวโลก วันนี้ (15 สิงหาคม 2555) นายแพทย์สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังจากการตรวจเยี่ยมการดำเนินงานอาหารปลอดภัยในตลาดสด ณ ตลาดสามย่าน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ว่า จากนโยบายของรัฐบาลที่จะส่งเสริมครัวไทย สู่ครัวโลก เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวเมืองไทย สามารถเลือกซื้อสินค้าอาหารได้อย่างมั่นใจ รวมทั้งเพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภคภายในประเทศที่นิยมใช้บริการตลาดตามวิถีไทย ซึ่งเป็นมาตรการที่สร้างให้เกิดความปลอดภัยด้านอาหารอย่างยั่งยืน ทั้งสินค้าที่ส่งออกจากประเทศไทยและสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ เช่น ผักผลไม้ ควรมีคุณภาพดี ปราศจากสารเคมี สารฆ่าแมลง นำมาจากแหล่งผลิตที่มีการรับรองหรือเชื่อถือได้ นายแพทย์สุรวิทย์ กล่าวต่อไปว่า ตลาดสามย่านนับเป็นตลาดที่ให้ความสำคัญด้านความสะอาดของสถานที่ การจำหน่ายอาหารที่ปลอดภัย การคุ้มครองผู้บริโภค และแบ่งแยกสัดส่วนของตลาดไว้อย่างชัดเจน ซึ่งชั้นที่ 1 ประกอบด้วยแผงจำหน่ายสินค้า ชั้นที่ 2 เป็นร้านอาหารและร้านค้าพื้นที่พิเศษ ชั้นลอยเป็นสำนักงานและห้องประชุมเพื่อการพัฒนาตลาด ด้วยการจัดโครงสร้างและการบริหารจัดการที่ดีนี้ ตลาดสามย่านจึงได้รับรางวัลจากกรมอนามัยและหน่วยงานต่าง ๆ มากมาย อาทิ ผ่านเกณฑ์ตลาดสด น่าซื้อในระดับดีมาก การรับรองมาตรฐานอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) สำหรับศูนย์อาหาร การรับรองอาหารปลอดภัย (Food Safety) สำหรับแผงจำหน่ายสินค้า มาตรฐานส้วมสะอาด พอเพียง ปลอดภัย (HAS) รวมทั้งยังเป็นศูนย์การเรียนรู้ ตลาดสด น่าซื้อ รักษ์สิ่งแวดล้อม ด้านระบบบำบัดน้ำเสียที่ทันสมัย และการแยกขยะเพื่อนำมาย่อยสลายได้ก๊าชชีวภาพหรือไบโอแก๊ส นับว่าเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ตลาดอื่น ๆ ซึ่งสามารถนำไปปฏิบัติตามได้ \\ทั้งนี้ การพัฒนาตลาดสดให้ได้เกณฑ์มาตรฐานตลาดสด น่าซื้อทั้ง 3 ด้านของกรมอนามัย ที่ได้กำหนดไว้ในกฏกระทรวง คือ1) ด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม เช่น โครงสร้างตลาดมีความมั่นคงแข็งแรง การรักษาความสะอาด การระบายอากาศ การรวบรวมขยะ การกำจัดน้ำเสีย การจัดวางสินค้าให้เป็นระเบียบเรียบร้อย และ สุขวิทยาส่วนบุคคลของผู้ขายของ2) ด้านความปลอดภัยของอาหาร แผงขายอาหารในตลาดผ่านเกณฑ์การตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหาร เช่น ตรวจไม่พบสารฟอร์มาลีน สารกันรา สารบอแรกซ์ สารฟอกขาว ยาฆ่าแมลง และตรวจไม่พบสารเร่งเนื้อแดงในเนื้อหมู และ3) ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้ประกอบกิจการตลาด ต้องจัดให้มีกิจกรรมด้านการคุ้มครองผู้บริโภค เช่น การจัดบอร์ดให้ความรู้แก่ผู้บริโภคในเรื่องเกี่ยวกับอาหารปลอดภัย จัดให้มีจุดทดสอบสารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และจัดให้มีเครื่องชั่งกลางที่ได้มาตรฐานไว้บริการผู้บริโภครัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าว นายแพทย์สุรวิทย์ กล่าวในตอนท้ายว่า จากการดำเนินงานตลาดสด น่าซื้อ ของกรมอนามัย ในปี 2554 พบว่า ตลาดประเภทที่ 1 (ตลาดที่มีโครงสร้างอาคาร) ทั่วประเทศมีจำนวน 1,533 แห่ง ผ่านเกณฑ์ตลาดสด น่าซื้อ จำนวน 1,302 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 84.93 แบ่งเป็นระดับดีมาก จำนวน 228 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 14.87 ระดับดี จำนวน 1,074 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 70.06 กระทรวงสาธารณสุขจึงต้องเร่งพัฒนาตลาดสดที่ยังไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานให้ถูกสุขลักษณะ เพื่อสร้างความมั่นใจด้านอาหารปลอดภัย หนุนครัวไทยสู่ครัวโลก รวมทั้งป้องกันการเกิดโรคระบาดต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นด้วย *** กลุ่มสื่อสารองค์กร / 15 สิงหาคม 2555

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน

ติดตามข่าวสารได้ที่

แทงบอลออนไลน์ || ดูบอลสด