ข่าวแจก "สธ. เตรียมรับสังคมสูงวัยปี68 จัดเวทีเรียนรู้ตำบลต้นแบบดูแลผู้สูงอายุระยะยาว"
กระทรวงสาธารณสุข เตรียมความพร้อมรับสังคมผู้สูงอายุในปี 2568 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการและเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตำบลต้นแบบดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวกับท้องถิ่นเข้มแข็ง หวังเป็นกลไกในการขับเคลื่อนการดำเนินงานดูแลสุขภาพผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
วันนี้ (27 กรกฎาคม 2555) นายแพทย์สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการและเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตำบลต้นแบบดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวกับท้องถิ่นเข้มแข็ง...ประชาชนแข็งแรง? ณ โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี ว่า จำนวนผู้สูงอายุของไทยได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจาก 7 ล้านคน หรือร้อยละ 10.7 ในปี 2550 เป็น 7.5 ล้านคนหรือร้อยละ 11.7 ในปี 2553 และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 14.5 ล้านคน หรือร้อยละ 20 ในปี 2568 เมื่อมองสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุพบว่าเพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับเช่นกัน โดยในปี 2550 ประมาณ 1 ใน 10 ของประชากรเป็นผู้สูงอายุ และมีแนวโน้มว่าสัดส่วนของประชากรสูงอายุวัยปลาย (ตั้งแต่ 80 ปี ขึ้นไป) เพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงกว่ากลุ่มอายุอื่น ๆ ในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมา ในขณะที่แนวโน้มผู้สูงอายุอยู่คนเดียวหรืออยู่ลำพังกับคู่สมรสเพิ่มมากขึ้น โดยพบว่าผู้สูงอายุอยู่คนเดียวเพิ่มจากร้อยละ 3.6 ในปี 2537 เป็น 7.6 ในปี 2550 ซึ่งอายุยิ่งเพิ่มก็ยิ่งเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง 3 ลำดับแรก ได้แก่ ความดันโลหิตสูง ร้อยละ 31.7 เบาหวาน ร้อยละ 13.3 และโรคหัวใจ ร้อยละ 7 อีกทั้งปัญหาด้านการมองเห็นมีผู้สูงอายุเพียง 1 ใน 4 ที่มองเห็นชัดเจน ปัญหาด้านการบดเคี้ยวอาหารและสุขภาพช่องปาก ซึ่งผู้สูงอายุร้อยละ 48.6 มีฟันแท้เหลือน้อยกว่า 20 ซี่ มีผลต่อการให้การดูแลทั้งร่างกายและจิตใจ
นายแพทย์สุรวิทย์ กล่าวต่อว่า การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเป็นนโยบายและแนวทางการดำเนินงานประเด็นยุทธศาสตร์การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ เน้นการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว (Long Term Care) อย่างเป็นระบบ พร้อมสนับสนุนการสร้างตำบลต้นแบบด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในภูมิภาคต่าง ๆ โดยองค์กรท้องถิ่นมีบทบาทเป็นเจ้าภาพหลัก ซึ่งขณะนี้มีตำบลที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 784ตำบล ผ่านเกณฑ์จำนวน 270 ตำบล โดยร่วมกันดำเนินงานภายใต้ศักยภาพของผู้สูงอายุโดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ติดสังคม เป็นกลุ่มที่มีศักยภาพดูแลตนอง พึ่งตนเองได้ มีประมาณร้อยละ 78 มุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพดี ยืดระยะเวลาการเจ็บป่วยเรื้อรังและภาวะทุพพลภาพ โดยการสร้างกิจกรรมชมรมผู้สูงอายุและกิจกรรมจิตอาสา กลุ่มที่ 2 กลุ่มพึ่งตนเองได้บ้างหรือเรียกว่ากลุ่มติดบ้าน มีประมาณร้อยละ 20 มุ่งเน้นกิจกรรมการเข้าถึงบริการสุขภาพ Home Care / Home Health Care และกลุ่มที่ 3 กลุ่มติดเตียงไม่สามารถดูแลช่วยเหลือตนเองได้ เป็นกลุ่มที่ต้องพึ่งพิงผู้อื่นมีประมาณร้อยละ 2 มุ่งเน้นการดูแลแบบ Home Care / Home Health Care และ การฟื้นฟูสุขภาพ รวมถึงกิจกรรมบำบัด
ทางด้าน ดร.นพ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า การดำเนินงานตำบลต้นแบบดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว เป็นโครงการสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประเด็นนโยบายที่ 6 จัดให้มีการดูแลกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ ได้แก่ กลุ่มเด็ก กลุ่มสตรี กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้พิการ รวมถึงกลุ่มเป้าหมายเฉพาะอื่น ๆ เช่น แรงงานข้ามชาติ ซึ่งการประชุมครั้งนี้เปิดโอกาสให้บุคลากรและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานตำบลต้นแบบและพร้อมขยายผลสู่ตำบลอื่น ๆ ในพื้นที่ข้างเคียง เพื่ออนาคตของผู้สูงอายุไทยและเป็นสังคมผู้สูงอายุที่น่าอยู่
***
กลุ่มสื่อสารองค์กร / 27 กรกฎาคม 2555
กระทรวงสาธารณสุข เตรียมความพร้อมรับสังคมผู้สูงอายุในปี 2568 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการและเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตำบลต้นแบบดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวกับท้องถิ่นเข้มแข็ง หวังเป็นกลไกในการขับเคลื่อนการดำเนินงานดูแลสุขภาพผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี วันนี้ (27 กรกฎาคม 2555) นายแพทย์สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการและเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ \\ตำบลต้นแบบดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวกับท้องถิ่นเข้มแข็ง...ประชาชนแข็งแรง ณ โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี ว่า จำนวนผู้สูงอายุของไทยได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจาก 7 ล้านคน หรือร้อยละ 10.7 ในปี 2550 เป็น 7.5 ล้านคนหรือร้อยละ 11.7 ในปี 2553 และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 14.5 ล้านคน หรือร้อยละ 20 ในปี 2568 เมื่อมองสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุพบว่าเพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับเช่นกัน โดยในปี 2550 ประมาณ 1 ใน 10 ของประชากรเป็นผู้สูงอายุ และมีแนวโน้มว่าสัดส่วนของประชากรสูงอายุวัยปลาย (ตั้งแต่ 80 ปี ขึ้นไป) เพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงกว่ากลุ่มอายุอื่น ๆ ในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมา ในขณะที่แนวโน้มผู้สูงอายุอยู่คนเดียวหรืออยู่ลำพังกับคู่สมรสเพิ่มมากขึ้น โดยพบว่าผู้สูงอายุอยู่คนเดียวเพิ่มจากร้อยละ 3.6 ในปี 2537 เป็น 7.6 ในปี 2550 ซึ่งอายุยิ่งเพิ่มก็ยิ่งเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง 3 ลำดับแรก ได้แก่ ความดันโลหิตสูง ร้อยละ 31.7 เบาหวาน ร้อยละ 13.3 และโรคหัวใจ ร้อยละ 7 อีกทั้งปัญหาด้านการมองเห็นมีผู้สูงอายุเพียง 1 ใน 4 ที่มองเห็นชัดเจน ปัญหาด้านการบดเคี้ยวอาหารและสุขภาพช่องปาก ซึ่งผู้สูงอายุร้อยละ 48.6 มีฟันแท้เหลือน้อยกว่า 20 ซี่ มีผลต่อการให้การดูแลทั้งร่างกายและจิตใจ นายแพทย์สุรวิทย์ กล่าวต่อว่า การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเป็นนโยบายและแนวทางการดำเนินงานประเด็นยุทธศาสตร์การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ เน้นการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว (Long Term Care) อย่างเป็นระบบ พร้อมสนับสนุนการสร้างตำบลต้นแบบด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในภูมิภาคต่าง ๆ โดยองค์กรท้องถิ่นมีบทบาทเป็นเจ้าภาพหลัก ซึ่งขณะนี้มีตำบลที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 784ตำบล ผ่านเกณฑ์จำนวน 270 ตำบล โดยร่วมกันดำเนินงานภายใต้ศักยภาพของผู้สูงอายุโดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ติดสังคม เป็นกลุ่มที่มีศักยภาพดูแลตนอง พึ่งตนเองได้ มีประมาณร้อยละ 78 มุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพดี ยืดระยะเวลาการเจ็บป่วยเรื้อรังและภาวะทุพพลภาพ โดยการสร้างกิจกรรมชมรมผู้สูงอายุและกิจกรรมจิตอาสา กลุ่มที่ 2 กลุ่มพึ่งตนเองได้บ้างหรือเรียกว่ากลุ่มติดบ้าน มีประมาณร้อยละ 20 มุ่งเน้นกิจกรรมการเข้าถึงบริการสุขภาพ Home Care / Home Health Care และกลุ่มที่ 3 กลุ่มติดเตียงไม่สามารถดูแลช่วยเหลือตนเองได้ เป็นกลุ่มที่ต้องพึ่งพิงผู้อื่นมีประมาณร้อยละ 2 มุ่งเน้นการดูแลแบบ Home Care / Home Health Care และ การฟื้นฟูสุขภาพ รวมถึงกิจกรรมบำบัด ทางด้าน ดร.นพ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า การดำเนินงานตำบลต้นแบบดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว เป็นโครงการสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประเด็นนโยบายที่ 6 จัดให้มีการดูแลกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ ได้แก่ กลุ่มเด็ก กลุ่มสตรี กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้พิการ รวมถึงกลุ่มเป้าหมายเฉพาะอื่น ๆ เช่น แรงงานข้ามชาติ ซึ่งการประชุมครั้งนี้เปิดโอกาสให้บุคลากรและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานตำบลต้นแบบและพร้อมขยายผลสู่ตำบลอื่น ๆ ในพื้นที่ข้างเคียง เพื่ออนาคตของผู้สูงอายุไทยและเป็นสังคมผู้สูงอายุที่น่าอยู่ *** กลุ่มสื่อสารองค์กร / 27 กรกฎาคม 2555