ข่าวแจก"กรมอนามัย เร่งเพิ่มศักยภาพบุคลากรในการพัฒนาสุขภาพนักเรียน กทม. ในโครงการตามพระราชดำริ ปี 59"
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ห่วงสุขภาพเด็กนักเรียน เร่งระดมสมอง หวังเพิ่มศักยภาพบุคลากรในการพัฒนาสุขภาพนักเรียนโรงเรียนในกรุงเทพมหานครในโครงการตามพระราชดำริ ปี 2559
วันนี้ (1 มีนาคม 2559) นายแพทย์ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรในการพัฒนาสุขภาพนักเรียนโรงเรียนในกรุงเทพมหานครในโครงการตามพระราชดำริ ปี 2559ณ โรงแรมอมารี แอร์พอร์ท กรุงเทพมหานคร ว่า กรมอนามัยได้ดำเนินงานโครงการตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโครงการส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ร่วมกับหน่วยงานสาธารณสุขในเขตพื้นที่ที่ดูแลโรงเรียนเป้าหมาย โดยมีการอบรมถ่ายทอดให้ความรู้ พัฒนาศักยภาพ ถ่ายทอด และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพเด็กนักเรียนและอนามัยสิ่งแวดล้อมโรงเรียนแก่ครู นักเรียนแกนนำ และท้องถิ่นชุมชนมาอย่างต่อเนื่องในโรงเรียนในพื้นที่ ซึ่งมีหลายสังกัด ได้แก่ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน โรงเรียนพระปริยัติธรรม ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขาแม่ฟ้าหลวง โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่ทรงรับไว้ในพระราชูปถัมภ์ และโรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร โดยตั้งแต่ปี 2550 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสริมสร้างศักยภาพเด็กและเยาวชนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 25 โรงเรียน ซึ่งเป็นโรงเรียนในเขตเมืองตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชนที่มีวิถีการดำเนินชีวิตความเป็นอยู่ และพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชาชนหลายประการไม่เหมาะสม โดยเฉพาะเด็กกลุ่มวัยเรียน ซึ่งส่งผลกระทบต่อปัญหาด้านสุขภาพของนักเรียนมาก ทั้งด้านการบริโภค สภาพความเป็นอยู่ และการดูแลสุขภาพที่ไม่ถูกสุขลักษณะที่อาจนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ด้อยลง
นายแพทย์ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวต่อไปว่า จากรายงานภาวะโภชนาการนักเรียนโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครในโครงการตามพระราชดำริ ของสำนักงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พบว่า ในปี 2556 นักเรียนในโรงเรียนส่วนใหญ่มีภาวะอ้วนและเริ่มอ้วน เฉลี่ยร้อยละ 12 บางโรงเรียนมีนักเรียนภาวะอ้วนและเริ่มอ้วน สูงสุดร้อยละ 19 สอดคล้องกับรายงานการสำรวจภาวะโภชนาการของเด็กวัยเรียนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยกรมอนามัย แสดงให้เห็นว่าอัตราความชุกของภาวะท้วมและอ้วนรวมกันสูงถึง ร้อยละ 19.9 ภาวะผอมและเตี้ยอยู่ในเกณฑ์ปกติ ทั้งยังพบการขาดธาตุเหล็กสูง ร้อยละ 14.2
"ทั้งนี้ การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรในการพัฒนาสุขภาพนักเรียนโรงเรียนในกรุงเทพมหานครในโครงการตามพระราชดำริ ปี 2559ในครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียนและครูอนามัยโรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดภาคกลาง รวมถึงนักวิชาการที่เกี่ยวข้องจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เขตพื้นที่การศึกษา สำนักอนามัยและสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร จำนวนกว่า 200คน โดยทุกภาคส่วนจะได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้นิทรรศการ ผลงานเด่นและสื่อความรู้ เพื่อให้บุคลากรฝ่ายการศึกษาและฝ่ายสาธารณสุขที่ดูแลโรงเรียนมีความรู้ความเข้าใจแนวทางการปฏิบัติด้านการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนและการพัฒนาด้านสภาพแวดล้อมของโรงเรียนที่เอื้อต่อสุขภาพ โดยการเฝ้าระวังและสนับสนุนการบริโภคอาหารกลางวันที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ให้เด็กรับประทานอาหารครบ 5หมู่ ได้แก่ ข้าว ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ และนม ส่งเสริมให้เด็กออกกำลังกายตามความเหมาสม คือ เด็กอายุ 4 -5 ปี เป็นวัยที่ชอบวิ่ง กระโดด ปีนป่าย เตะลูกบอล ซึ่งจะช่วยพัฒนาระบบประสาทและกล้ามเนื้อได้ดี ส่วนเด็กอายุ 6?12 ปี เป็นวัยที่สามารถออกกำลังกายได้ทุกชนิด โดยเฉพาะกีฬาที่เล่นเป็นทีมซึ่งมีกฎและกติกาที่ไม่ซับซ้อน แต่ต้องอยู่ในความดูแลอย่างใกล้ชิดของครูหรือผู้ปกครอง การส่งเสริมทันตสุขภาพในเด็กด้วยการแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน การพัฒนาส้วมในโรงเรียนให้สะอาด ได้มาตรฐาน และใช้งานอย่างถูกต้อง รวมทั้งการดูแลสุขภาพทั่วไปที่เหมาะสมตามวัย? รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด
***
สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง/1 มีนาคม 2559
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ห่วงสุขภาพเด็กนักเรียน เร่งระดมสมอง หวังเพิ่มศักยภาพบุคลากรในการพัฒนาสุขภาพนักเรียนโรงเรียนในกรุงเทพมหานครในโครงการตามพระราชดำริ ปี 2559 วันนี้ (1 มีนาคม 2559) นายแพทย์ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรในการพัฒนาสุขภาพนักเรียนโรงเรียนในกรุงเทพมหานครในโครงการตามพระราชดำริ ปี 2559ณ โรงแรมอมารี แอร์พอร์ท กรุงเทพมหานคร ว่า กรมอนามัยได้ดำเนินงานโครงการตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโครงการส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ร่วมกับหน่วยงานสาธารณสุขในเขตพื้นที่ที่ดูแลโรงเรียนเป้าหมาย โดยมีการอบรมถ่ายทอดให้ความรู้ พัฒนาศักยภาพ ถ่ายทอด และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพเด็กนักเรียนและอนามัยสิ่งแวดล้อมโรงเรียนแก่ครู นักเรียนแกนนำ และท้องถิ่นชุมชนมาอย่างต่อเนื่องในโรงเรียนในพื้นที่ ซึ่งมีหลายสังกัด ได้แก่ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน โรงเรียนพระปริยัติธรรม ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขาแม่ฟ้าหลวง โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่ทรงรับไว้ในพระราชูปถัมภ์ และโรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร โดยตั้งแต่ปี 2550 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสริมสร้างศักยภาพเด็กและเยาวชนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 25 โรงเรียน ซึ่งเป็นโรงเรียนในเขตเมืองตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชนที่มีวิถีการดำเนินชีวิตความเป็นอยู่ และพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชาชนหลายประการไม่เหมาะสม โดยเฉพาะเด็กกลุ่มวัยเรียน ซึ่งส่งผลกระทบต่อปัญหาด้านสุขภาพของนักเรียนมาก ทั้งด้านการบริโภค สภาพความเป็นอยู่ และการดูแลสุขภาพที่ไม่ถูกสุขลักษณะที่อาจนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ด้อยลง นายแพทย์ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวต่อไปว่า จากรายงานภาวะโภชนาการนักเรียนโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครในโครงการตามพระราชดำริ ของสำนักงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พบว่า ในปี 2556 นักเรียนในโรงเรียนส่วนใหญ่มีภาวะอ้วนและเริ่มอ้วน เฉลี่ยร้อยละ 12 บางโรงเรียนมีนักเรียนภาวะอ้วนและเริ่มอ้วน สูงสุดร้อยละ 19 สอดคล้องกับรายงานการสำรวจภาวะโภชนาการของเด็กวัยเรียนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยกรมอนามัย แสดงให้เห็นว่าอัตราความชุกของภาวะท้วมและอ้วนรวมกันสูงถึง ร้อยละ 19.9 ภาวะผอมและเตี้ยอยู่ในเกณฑ์ปกติ ทั้งยังพบการขาดธาตุเหล็กสูง ร้อยละ 14.2 ทั้งนี้ การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรในการพัฒนาสุขภาพนักเรียนโรงเรียนในกรุงเทพมหานครในโครงการตามพระราชดำริ ปี 2559ในครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียนและครูอนามัยโรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดภาคกลาง รวมถึงนักวิชาการที่เกี่ยวข้องจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เขตพื้นที่การศึกษา สำนักอนามัยและสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร จำนวนกว่า 200คน โดยทุกภาคส่วนจะได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้นิทรรศการ ผลงานเด่นและสื่อความรู้ เพื่อให้บุคลากรฝ่ายการศึกษาและฝ่ายสาธารณสุขที่ดูแลโรงเรียนมีความรู้ความเข้าใจแนวทางการปฏิบัติด้านการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนและการพัฒนาด้านสภาพแวดล้อมของโรงเรียนที่เอื้อต่อสุขภาพ โดยการเฝ้าระวังและสนับสนุนการบริโภคอาหารกลางวันที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ให้เด็กรับประทานอาหารครบ 5หมู่ ได้แก่ ข้าว ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ และนม ส่งเสริมให้เด็กออกกำลังกายตามความเหมาสม คือ เด็กอายุ 4 -5 ปี เป็นวัยที่ชอบวิ่ง กระโดด ปีนป่าย เตะลูกบอล ซึ่งจะช่วยพัฒนาระบบประสาทและกล้ามเนื้อได้ดี ส่วนเด็กอายุ 612 ปี เป็นวัยที่สามารถออกกำลังกายได้ทุกชนิด โดยเฉพาะกีฬาที่เล่นเป็นทีมซึ่งมีกฎและกติกาที่ไม่ซับซ้อน แต่ต้องอยู่ในความดูแลอย่างใกล้ชิดของครูหรือผู้ปกครอง การส่งเสริมทันตสุขภาพในเด็กด้วยการแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน การพัฒนาส้วมในโรงเรียนให้สะอาด ได้มาตรฐาน และใช้งานอย่างถูกต้อง รวมทั้งการดูแลสุขภาพทั่วไปที่เหมาะสมตามวัย รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด *** สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง/1 มีนาคม 2559