คุณกำลังมองหาอะไร?

ข่า

ข่าวแจก "กรมอนามัยสร้างผู้ตรวจสอบอาหาร FSI รุ่นที่ 2 ตอกย้ำความมั่นใจอาหารสะอาด ปลอดภัยให้นักท่องเที่ยวรับ AEC"

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

20.03.2558
7
0
แชร์
20
มีนาคม
2558

ข่าวแจก "กรมอนามัยสร้างผู้ตรวจสอบอาหาร FSI รุ่นที่ 2 ตอกย้ำความมั่นใจอาหารสะอาด ปลอดภัยให้นักท่องเที่ยวรับ AEC"

       กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มอบประกาศนียบัตรและปิดการฝึกอบรมผู้ตรวจสอบสุขาภิบาลอาหาร (Food Sanitation Inspector : FSI) รุ่นที่ 2 สร้างเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานสุขาภิบาลอาหารแบบมืออาชีพตรวจสอบให้การสุขาภิบาลอาหาร มีมาตรฐานความสะอาด ปลอดภัย และคุ้มครองผู้บริโภค ตอกย้ำความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยว พร้อมรับ AEC
       วันนี้ (20 มีนาคม 2558) นายแพทย์ณรงค์ สายวงศ์ รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธาน มอบประกาศนียบัตรและปิดการฝึกอบรมผู้ตรวจสอบสุขาภิบาลอาหาร (Food Sanitation Inspector : FSI) รุ่นที่ 2 ณ ห้องประชุมอินทนิล ๑ ตึกอินทนิลเพลส วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี ว่า ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economic Community : AEC) ซึ่งผู้ประกอบกิจการด้านอาหารจะมีบทบาทสำคัญในการค้าขายอาหารให้กับชาวต่างชาติที่จะเข้ามาท่องเที่ยวและลงทุนธุรกิจ จึงจำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานสุขาภิบาลอาหารและน้ำแบบมืออาชีพ ที่ต้องผ่านการอบรมและสามารถเป็นผู้ตรวจสอบสุขาภิบาลอาหารซึ่งจะเป็นบุคลากรที่สามารถควบคุม กำกับ และดำเนินการตรวจสอบให้การสุขาภิบาลอาหารมีมาตรฐาน สะอาด ปลอดภัย และคุ้มครองผู้บริโภค กรมอนามัยจึงร่วมกับสมาคมอนามัยแห่งประเทศไทยได้เห็นความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงพยาบาล และศูนย์อนามัยเขต ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสุขาภิบาลอาหารจัดการฝึกอบรมผู้ตรวจสอบสุขาภิบาลอาหาร (Food Sanitation Inspector : FSI) รุ่นที่ 2 ประจำปี 2558 ขึ้น พร้อมมอบประกาศนียบัตรผู้ผ่านการอบรมหลักสูตร ผู้ตรวจสอบสุขาภิบาลอาหาร (Food Sanitation Inspector : FSI) จำนวน 36 คน ถือเป็นการพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ในระดับท้องถิ่นให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งผู้ประกอบกิจการด้านอาหารจะมีบทบาทสำคัญต่อการสนับสนุนนโยบายด้านเศรษฐกิจของประเทศ
       นายแพทย์ณรงค์ กล่าวต่อไปว่า หลักสูตรผู้ตรวจสอบสุขาภิบาลอาหาร (FSI) เป็นการสร้างเครือข่ายด้านสุขาภิบาลอาหารให้มีความเข้มแข็งอย่างต่อเนื่องในการคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภคหรือ Food Safety โดยเน้น 2 เรื่องหลักคือ ด้านมาตรฐานความสะอาดของตลาดสด ร้านอาหารและแผงลอยทั่วประเทศ ซึ่งการดำเนินงานตลาดสด น่าซื้อทั่วประเทศ จนถึงขณะนี้มีตลาดสดประเภทที่ 1 คือตลาดที่มีโครงสร้าง ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตลาดสดน่าซื้อทั่วประเทศ จำนวน 1,574 แห่ง คิดเป็น ร้อยละ 85.96 ส่วนร้านอาหารและแผงลอยทั่วประเทศ จำนวน 165,693 แห่ง ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารสะอาดรสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) จำนวน 139,108 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 83.96 และด้านการคุ้มครองความปลอดภัยอาหารบริโภค โดยมุ่งเน้นการตรวจหาการปนเปื้อนสารอันตรายต้องห้าม ได้แก่ สารเร่งเนื้อแดง สารบอแรกซ์ สารฟอกขาว สารกันรา ฟอร์มาลิน ยาฆ่าแมลง ตรวจน้ำมัน ทอดซ้ำ และการปนเปื้อนแบคทีเรียในน้ำแข็ง จำนวนกว่า 140,000 ตัวอย่างจาก ทุกจังหวัดพบว่าร้อยละ 96 ปลอดภัย พบการปนเปื้อนเกินมาตรฐาน 6,250 ตัวอย่างหรือร้อยละ 4 โดยพบน้ำบริโภคตกเกณฑ์มากที่สุด ร้อยละ 35 รองลงมาคือน้ำแข็งในร้านแผงลอย ร้อยละ 20 ส่วนประเภทผัก ผลไม้ พบมีการปนเปื้อนยาฆ่าแมลงร้อยละ 5 ซึ่งผักที่พบยาฆ่าแมลงตกค้างมากที่สุด ได้แก่ คะน้า กำหล่ำปลี กะหล่ำดอก และต้นหอม
        ทั้งนี้ ช่วงหน้าร้อน อุณหภูมิที่สูงขึ้น อาจทำให้เชื้อโรคและแบคทีเรียเติบโตได้ดี ประชาชนจึงต้องใส่ใจในความสะอาด ปลอดภัยอาหารเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันตนเองจากโรคที่มากับอาหารและน้ำไม่สะอาด เช่น โรคอุจจาระร่วง โรคอาหารเป็นพิษ โรคบิด โรคตับอักเสบจากไวรัสทางเดินอาหาร โรคอหิวาตกโรค และโรคไทฟอยด์ เป็นต้น ซึ่งผู้ตรวจสอบสุขาภิบาลอาหารจะมีส่วนสำคัญที่จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคและนักท่องเที่ยวในการเลือกบริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย จากร้านที่ได้มาตรฐาน ลดปัจจัยเสี่ยงของโรคที่เกิดจากอาหารและน้ำเป็นสื่อ? รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด
***
สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง/20 มีนาคม 2558
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มอบประกาศนียบัตรและปิดการฝึกอบรมผู้ตรวจสอบสุขาภิบาลอาหาร (Food Sanitation Inspector : FSI) รุ่นที่ 2 สร้างเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานสุขาภิบาลอาหารแบบมืออาชีพตรวจสอบให้การสุขาภิบาลอาหาร มีมาตรฐานความสะอาด ปลอดภัย และคุ้มครองผู้บริโภค ตอกย้ำความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยว พร้อมรับ AEC วันนี้ (20 มีนาคม 2558) นายแพทย์ณรงค์ สายวงศ์ รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธาน มอบประกาศนียบัตรและปิดการฝึกอบรมผู้ตรวจสอบสุขาภิบาลอาหาร (Food Sanitation Inspector : FSI) รุ่นที่ 2 ณ ห้องประชุมอินทนิล ๑ ตึกอินทนิลเพลส วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี ว่า ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economic Community : AEC) ซึ่งผู้ประกอบกิจการด้านอาหารจะมีบทบาทสำคัญในการค้าขายอาหารให้กับชาวต่างชาติที่จะเข้ามาท่องเที่ยวและลงทุนธุรกิจ จึงจำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานสุขาภิบาลอาหารและน้ำแบบมืออาชีพ ที่ต้องผ่านการอบรมและสามารถเป็นผู้ตรวจสอบสุขาภิบาลอาหารซึ่งจะเป็นบุคลากรที่สามารถควบคุม กำกับ และดำเนินการตรวจสอบให้การสุขาภิบาลอาหารมีมาตรฐาน สะอาด ปลอดภัย และคุ้มครองผู้บริโภค กรมอนามัยจึงร่วมกับสมาคมอนามัยแห่งประเทศไทยได้เห็นความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงพยาบาล และศูนย์อนามัยเขต ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสุขาภิบาลอาหารจัดการฝึกอบรมผู้ตรวจสอบสุขาภิบาลอาหาร (Food Sanitation Inspector : FSI) รุ่นที่ 2 ประจำปี 2558 ขึ้น พร้อมมอบประกาศนียบัตรผู้ผ่านการอบรมหลักสูตร ผู้ตรวจสอบสุขาภิบาลอาหาร (Food Sanitation Inspector : FSI) จำนวน 36 คน ถือเป็นการพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ในระดับท้องถิ่นให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งผู้ประกอบกิจการด้านอาหารจะมีบทบาทสำคัญต่อการสนับสนุนนโยบายด้านเศรษฐกิจของประเทศ นายแพทย์ณรงค์ กล่าวต่อไปว่า หลักสูตรผู้ตรวจสอบสุขาภิบาลอาหาร (FSI) เป็นการสร้างเครือข่ายด้านสุขาภิบาลอาหารให้มีความเข้มแข็งอย่างต่อเนื่องในการคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภคหรือ Food Safety โดยเน้น 2 เรื่องหลักคือ ด้านมาตรฐานความสะอาดของตลาดสด ร้านอาหารและแผงลอยทั่วประเทศ ซึ่งการดำเนินงานตลาดสด น่าซื้อทั่วประเทศ จนถึงขณะนี้มีตลาดสดประเภทที่ 1 คือตลาดที่มีโครงสร้าง ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตลาดสดน่าซื้อทั่วประเทศ จำนวน 1,574 แห่ง คิดเป็น ร้อยละ 85.96 ส่วนร้านอาหารและแผงลอยทั่วประเทศ จำนวน 165,693 แห่ง ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารสะอาดรสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) จำนวน 139,108 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 83.96 และด้านการคุ้มครองความปลอดภัยอาหารบริโภค โดยมุ่งเน้นการตรวจหาการปนเปื้อนสารอันตรายต้องห้าม ได้แก่ สารเร่งเนื้อแดง สารบอแรกซ์ สารฟอกขาว สารกันรา ฟอร์มาลิน ยาฆ่าแมลง ตรวจน้ำมัน ทอดซ้ำ และการปนเปื้อนแบคทีเรียในน้ำแข็ง จำนวนกว่า 140,000 ตัวอย่างจาก ทุกจังหวัดพบว่าร้อยละ 96 ปลอดภัย พบการปนเปื้อนเกินมาตรฐาน 6,250 ตัวอย่างหรือร้อยละ 4 โดยพบน้ำบริโภคตกเกณฑ์มากที่สุด ร้อยละ 35 รองลงมาคือน้ำแข็งในร้านแผงลอย ร้อยละ 20 ส่วนประเภทผัก ผลไม้ พบมีการปนเปื้อนยาฆ่าแมลงร้อยละ 5 ซึ่งผักที่พบยาฆ่าแมลงตกค้างมากที่สุด ได้แก่ คะน้า กำหล่ำปลี กะหล่ำดอก และต้นหอม \\ทั้งนี้ ช่วงหน้าร้อน อุณหภูมิที่สูงขึ้น อาจทำให้เชื้อโรคและแบคทีเรียเติบโตได้ดี ประชาชนจึงต้องใส่ใจในความสะอาด ปลอดภัยอาหารเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันตนเองจากโรคที่มากับอาหารและน้ำไม่สะอาด เช่น โรคอุจจาระร่วง โรคอาหารเป็นพิษ โรคบิด โรคตับอักเสบจากไวรัสทางเดินอาหาร โรคอหิวาตกโรค และโรคไทฟอยด์ เป็นต้น ซึ่งผู้ตรวจสอบสุขาภิบาลอาหารจะมีส่วนสำคัญที่จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคและนักท่องเที่ยวในการเลือกบริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย จากร้านที่ได้มาตรฐาน ลดปัจจัยเสี่ยงของโรคที่เกิดจากอาหารและน้ำเป็นสื่อ รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด ***สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง/20 มีนาคม 2558

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน

ติดตามข่าวสารได้ที่

แทงบอลออนไลน์ || ดูบอลสด UFABET