คุณกำลังมองหาอะไร?

ข่า

ข่าวแจกกรมอนามัย คาด เด็กไทย 260,000 คน สายตาแย่ ต้องใส่แว่น จับมือกรมการแพทย์ สร้างครู ก. คัดกรองสายตาเด็ก""

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

17.02.2559
23
0
แชร์
17
กุมภาพันธ์
2559

ข่าวแจกกรมอนามัย คาด เด็กไทย 260,000 คน สายตาแย่ ต้องใส่แว่น จับมือกรมการแพทย์ สร้างครู ก. คัดกรองสายตาเด็ก""

          กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับกรมการแพทย์ ประชุมพัฒนาศักยภาพบุคลากรสาธารณสุขระดับจังหวัด สร้างทีมครู ก. ร่วมคัดกรองสายตานักเรียนและแก้ไขภาวะสายตาผิดปกติ คาดว่า ทั่วประเทศมีนักเรียนประมาณ 260,000 คนต้องใส่แว่นสายตา
         วันนี้ (17 กุมภาพันธ์ 2559) นายแพทย์วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมพัฒนาศักยภาพบุคลากรสาธารณสุขระดับจังหวัดในการดำเนินงานตรวจสายตานักเรียน ภายใต้โครงการเด็กไทยสายตาดี เพื่อเพิ่มโอกาสการเรียนรู้ตามนโยบาย "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้? ณ โรงแรม แอมบาสเดอร์ สุขุมวิท 11 กรุงเทพมหานคร ว่า แนวโน้มสถานการณ์สุขภาพของเด็กวัยเรียนที่ส่งผลต่อการพัฒนาการเรียนรู้ และการเติบโต คือ หูตึง สายตาสั้น ความผิดปกติของสมอง สภาวะตาบอด ตาเลือนราง และ โรคตาที่เป็นสาเหตุสำคัญและเป็นปัญหาสาธารณสุขในกลุ่มประชากรเด็กไทย อายุ 1-14 ปี จากการคัดกรองภาวะสายตาผิดปกติโดยครูในกลุ่มเด็กก่อนประถมศึกษาและประถมศึกษาในโรงเรียน จำนวน 17 แห่ง ในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุมทรปราการ สุราษฎร์ธานี ลำพูน และนครพนม พบว่า เด็กมีภาวะสายตาผิดปกติ     ร้อยละ 6.6 และจำเป็นต้องใส่แว่นสายตา ร้อยละ 4.1 โดยประมาณการในภาพรวมของประเทศคาดว่าจะมีเด็กนักเรียนจำเป็นต้องใส่แว่นสายตา ประมาณ 260,000 คน เพื่อลดปัญหาตาบอดจากสภาวะสายตาผิดปกติ
          นายแพทย์วชิระ กล่าวต่อไปว่า กระบวนการสำคัญที่จะทำให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพและประสบผลสำเร็จนั้น กระทรวงสาธารณสุข      จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายหลายภาคส่วน ทั้งฝ่ายสาธารณสุข และฝ่ายการศึกษา ตั้งแต่การตรวจคัดกรอง และกระบวนการส่งต่อเพื่อทำการรักษา ช่วยเหลือและแก้ไข ซึ่งการประชุมพัฒนาศักยภาพบุคลากรสาธารณสุขระดับจังหวัดในการดำเนินงานตรวจสายตานักเรียนฯ ในครั้งนี้ เพื่อสร้างทีมวิทยากรระดับจังหวัด หรือครู ก. ที่จะเป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ ทักษะ และแนวทางการตรวจคัดกรองสายตานักเรียนและแก้ไขภาวะสายตาผิดปกติของนักเรียน สู่บุคลากรในระดับพื้นที่ได้อย่างมีคุณภาพต่อไป โดยขอให้บุคลากรสาธารณสุขทุกระดับเตรียมเด็กวัยเรียนให้มีความพร้อมเรียนรู้ สามารถมองเห็นได้ชัดเจน ด้วยการร่วมกับทางโรงเรียนตรวจคัดกรองสายตา และส่งต่อแก้ไขหากพบความผิดปกติ "ทั้งนี้ โครงการเด็กไทยสายตาดี ของกระทรวงสาธารณสุขเป็นความร่วมมือจากกรมอนามัย กรมการแพทย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินงานเพื่อสนับสนุนนโยบายรัฐบาล "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้? โดยให้ความสำคัญ ในเรื่องของสายตาและการมองเห็นของเด็ก ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นนำไปสู่การพัฒนาการทางสมองและการเรียนรู้ อย่างต่อเนื่อง ให้เกิดกระบวนการจดจำ คิด และสร้างสรรค์จนกลายเป็นการเรียนรู้ ความฉลาด และนำไปสู่พัฒนาการด้านอื่นตามมา โดยให้มีการตรวจวัดสายตานักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และแก้ไขความผิดปกติ อย่างเหมาะสมทันเวลา อันจะส่งผลให้ทั้งสามารถลดความชุกของภาวะตาบอดและตาเลือนรางในเด็กไทย และ ในปีการศึกษา 2560 กระทรวงสาธารณสุข มีเป้าหมายที่จะขยายผลในการตรวจวัดสายตานักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ต่อไป? อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด
 
 ***
สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง/17 กุมภาพันธ์ 2559
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับกรมการแพทย์ ประชุมพัฒนาศักยภาพบุคลากรสาธารณสุขระดับจังหวัด สร้างทีมครู ก. ร่วมคัดกรองสายตานักเรียนและแก้ไขภาวะสายตาผิดปกติ คาดว่า ทั่วประเทศมีนักเรียนประมาณ 260,000 คนต้องใส่แว่นสายตา วันนี้ (17 กุมภาพันธ์ 2559) นายแพทย์วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมพัฒนาศักยภาพบุคลากรสาธารณสุขระดับจังหวัดในการดำเนินงานตรวจสายตานักเรียน ภายใต้โครงการเด็กไทยสายตาดี เพื่อเพิ่มโอกาสการเรียนรู้ตามนโยบาย ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ณ โรงแรม แอมบาสเดอร์ สุขุมวิท 11 กรุงเทพมหานคร ว่า แนวโน้มสถานการณ์สุขภาพของเด็กวัยเรียนที่ส่งผลต่อการพัฒนาการเรียนรู้ และการเติบโต คือ หูตึง สายตาสั้น ความผิดปกติของสมอง สภาวะตาบอด ตาเลือนราง และ โรคตาที่เป็นสาเหตุสำคัญและเป็นปัญหาสาธารณสุขในกลุ่มประชากรเด็กไทย อายุ 1-14 ปี จากการคัดกรองภาวะสายตาผิดปกติโดยครูในกลุ่มเด็กก่อนประถมศึกษาและประถมศึกษาในโรงเรียน จำนวน 17 แห่ง ในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุมทรปราการ สุราษฎร์ธานี ลำพูน และนครพนม พบว่า เด็กมีภาวะสายตาผิดปกติ ร้อยละ 6.6 และจำเป็นต้องใส่แว่นสายตา ร้อยละ 4.1 โดยประมาณการในภาพรวมของประเทศคาดว่าจะมีเด็กนักเรียนจำเป็นต้องใส่แว่นสายตา ประมาณ 260,000 คน เพื่อลดปัญหาตาบอดจากสภาวะสายตาผิดปกติ นายแพทย์วชิระ กล่าวต่อไปว่า กระบวนการสำคัญที่จะทำให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพและประสบผลสำเร็จนั้น กระทรวงสาธารณสุข จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายหลายภาคส่วน ทั้งฝ่ายสาธารณสุข และฝ่ายการศึกษา ตั้งแต่การตรวจคัดกรอง และกระบวนการส่งต่อเพื่อทำการรักษา ช่วยเหลือและแก้ไข ซึ่งการประชุมพัฒนาศักยภาพบุคลากรสาธารณสุขระดับจังหวัดในการดำเนินงานตรวจสายตานักเรียนฯ ในครั้งนี้ เพื่อสร้างทีมวิทยากรระดับจังหวัด หรือครู ก. ที่จะเป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ ทักษะ และแนวทางการตรวจคัดกรองสายตานักเรียนและแก้ไขภาวะสายตาผิดปกติของนักเรียน สู่บุคลากรในระดับพื้นที่ได้อย่างมีคุณภาพต่อไป โดยขอให้บุคลากรสาธารณสุขทุกระดับเตรียมเด็กวัยเรียนให้มีความพร้อมเรียนรู้ สามารถมองเห็นได้ชัดเจน ด้วยการร่วมกับทางโรงเรียนตรวจคัดกรองสายตา และส่งต่อแก้ไขหากพบความผิดปกติ ทั้งนี้ โครงการเด็กไทยสายตาดี ของกระทรวงสาธารณสุขเป็นความร่วมมือจากกรมอนามัย กรมการแพทย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินงานเพื่อสนับสนุนนโยบายรัฐบาล ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ โดยให้ความสำคัญ ในเรื่องของสายตาและการมองเห็นของเด็ก ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นนำไปสู่การพัฒนาการทางสมองและการเรียนรู้ อย่างต่อเนื่อง ให้เกิดกระบวนการจดจำ คิด และสร้างสรรค์จนกลายเป็นการเรียนรู้ ความฉลาด และนำไปสู่พัฒนาการด้านอื่นตามมา โดยให้มีการตรวจวัดสายตานักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และแก้ไขความผิดปกติ อย่างเหมาะสมทันเวลา อันจะส่งผลให้ทั้งสามารถลดความชุกของภาวะตาบอดและตาเลือนรางในเด็กไทย และ ในปีการศึกษา 2560 กระทรวงสาธารณสุข มีเป้าหมายที่จะขยายผลในการตรวจวัดสายตานักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ต่อไป อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด *** สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง/17 กุมภาพันธ์ 2559

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน

ติดตามข่าวสารได้ที่

แทงบอลออนไลน์ || ดูบอลสด UFABET