คุณกำลังมองหาอะไร?

ข่า

ข่าวแจก "กรมอนามัย เผย โฟม ย่อยสลายนาน 1,000 ปีจับมือภาคีเครือข่าย ลงนาม ลด ละ เลิก ใช้บรรจุอาหาร"

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

17.02.2559
33
0
แชร์
17
กุมภาพันธ์
2559

ข่าวแจก "กรมอนามัย เผย โฟม ย่อยสลายนาน 1,000 ปีจับมือภาคีเครือข่าย ลงนาม ลด ละ เลิก ใช้บรรจุอาหาร"

        กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผย การใช้โฟมใส่อาหารกว่าจะย่อยสลายใช้เวลาถึง 1,000 ปี ร่วมกับภาคีเครือข่าย 34 หน่วยงาน ลงนามความร่วมมือ ลด ละ เลิกการใช้เพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย
        วันนี้ (17 กุมภาพันธ์ 2559) นายแพทย์ดนัย ธีวันดารองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังพิธีลงนาม ความร่วมมือ การลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย ณ โรงแรมอมารี ดอนเมือง แอร์พอร์ต กรุงเทพมหานคร ว่า กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย กรมประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค บริษัท ขนส่ง จำกัดเทศบาลนครนนทบุรี เทศบาลนครปากเกร็ด เทศบาลนครรังสิต Top ซุปเปอร์มาเก็ตห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ แม็คโคร บิ๊กซี ฟู้ดแลนด์ ตั้งฮั่วเส็ง ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล สถานีบริการน้ำมันปตท. บางจาก เอ็นเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์เซเว่นอีลีฟเว่น แฟมิลี่มาร์ท KFC Pizza-Hut ร้านนิตยาไก่ย่างอิมแพ็คเมืองทองธานี ศูนย์การประชุมสิริกิตติ์ คิสซาเนียและกลุ่มสมาคมผู้ประกอบการร้านอาหารและตลาดสด ลงนามความร่วมมือเพื่อ การลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร เพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย ภายใต้ 3 กลยุทธ ได้แก่ 1) กำหนดพื้นที่ปลอดการใช้โฟมใส่อาหาร โดยให้ใช้ภาชนะที่ทำจากวัสดุธรรมชาติใช้แทน เช่น กระดาษชานอ้อย หรือกล่องพลาสติกชีวภาพ เป็นต้น 2) การรณรงค์การใช้วัสดุธรรมชาติดั้งเดิม เช่น ใบตอง ใบบัว สำหรับห่อข้าวหรือขนม ทดแทนด้วยผลิตภัณฑ์ที่ทำจากธรรมชาติ เช่น ชานอ้อย ชานอ้อยผสมเยื่อไผ่ มันสำปะหลัง เนื่องจากวัสดุเหล่านี้ เป็นสารอินทรีย์ ย่อยสลายตามธรรมชาติในเวลา 45 วัน ต่างจากโฟมที่ใช้เวลาย่อยสลายนานถึง 1,000 ปี หรืออาจใช้บรรจุภัณฑ์ที่ได้มอก. และ 3) การปฏิเสธการใช้โฟมทุกรูปแบบ โดยใช้หลัก 2 ส. 1 ข. คือ เสริมความรู้เรื่องภัยจากการใช้โฟมบรรจุอาหาร สร้างองค์กรต้นแบบเลิกใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร และขยายพื้นที่ปลอดโฟม 100 เปอร์เซนต์
        นายแพทย์ดนัย กล่าวต่อไปว่า ที่ผ่านมากรมอนามัยได้ดำเนินการตามข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ให้กระทรวงสาธารณสุขงดใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหารร้อนหรือมีไขมันเพื่อเป็นตัวอย่างให้ส่วนราชการอื่นและประชาชน โดยเริ่มจากผู้ประกอบการค้าอาหารในโรงอาหารและตลาดนัด รวม 311 ราย และเลิกใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหารได้ร้อยละ 100 ในปี 2557 ต่อมาในปี 2558 ได้ขยายพื้นที่การรณรงค์ไปยังหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศ เช่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน ศูนย์วิชาการฯและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้นแบบนำร่อง 4 ภาค อีกทั้งยังได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายภาคเอกชน จำนวน 14 แห่งร่วมลงนามความร่วมมือ ส่งผลให้ปัจจุบันกรมอนามัยได้มอบประกาศเกียรติคุณองค์กรปลอดโฟม 100 เปอร์เซนต์ จำนวน 9,492 แห่งทั่วประเทศ จาก 130 องค์กร
        "ทั้งนี้ การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหารร้อนจัด จะทำโฟมให้เสียรูปทรง เกิดการหลอมละลาย และมีสารเคมีที่อยู่ในเนื้อโฟมซึ่งมองไม่เห็นปนเปื้อนออกมาอยู่ในอาหาร โดยสารเคมีที่พบในภาชนะโฟมบรรจุอาหารที่สำคัญ ได้แก่สารสไตรีน (Styrene) เป็นสารก่อมะเร็ง เพิ่มความเสี่ยงเกิดมะเร็งเต้านม และมะเร็งต่อมลูกหมาก มีผลต่อสมองและเส้นประสาท ทำให้อ่อนเพลีย หงุดหงิดง่าย นอนหลับยาก ระบบฮอร์โมนในร่างกายผิดปกติ ทำให้มีปัญหาต่อมไทรอยด์และประจำเดือนในสตรีผิดปกติสารเบนซิน (Benzene) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งเช่นกัน สารชนิดนี้ละลายได้ดีในน้ำมัน เมื่อเข้าสู่ร่างกายทำให้เกิดอาการวิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน หัวใจเต้นแรง หากได้รับสารชนิดนี้เป็นเวลานาน ทำให้เป็นโรคโลหิตจาง เนื่องจากสารเบนซินจะทำลายไขกระดูก ทำให้จำนวนเม็ดเลือดลดลง และสารพทาเลท (Phthalate) เป็นสารที่มีพิษต่อระบบสืบพันธุ์ ทำให้ผู้ชายเป็นหมัน หากเป็นหญิงมีครรภ์ลูกอาจมีอาการดาวน์ซินโดรมและอายุสั้นได้ ซึ่งการละลายของสารเคมีทั้ง 3 ชนิดนี้ จะมากน้อยขั้นอยู่กับปัจจัย 3 ประการ ได้แก่ อุณหภูมิอาหาร ไขมันในอาหารและระยะเวลาที่อาหารสัมผัสกับภาชนะโฟม โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันสูง เช่น อาหารประเภทผัด ทอด จะทำให้สารสไตรีนละลายออกมาได้มากกว่า? รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด
***
สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง/17 กุมภาพันธ์ 2559
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผย การใช้โฟมใส่อาหารกว่าจะย่อยสลายใช้เวลาถึง 1,000 ปี ร่วมกับภาคีเครือข่าย 34 หน่วยงาน ลงนามความร่วมมือ ลด ละ เลิกการใช้เพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย วันนี้ (17 กุมภาพันธ์ 2559) นายแพทย์ดนัย ธีวันดารองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังพิธีลงนาม ความร่วมมือ การลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย ณ โรงแรมอมารี ดอนเมือง แอร์พอร์ต กรุงเทพมหานคร ว่า กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย กรมประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค บริษัท ขนส่ง จำกัดเทศบาลนครนนทบุรี เทศบาลนครปากเกร็ด เทศบาลนครรังสิต Top ซุปเปอร์มาเก็ตห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ แม็คโคร บิ๊กซี ฟู้ดแลนด์ ตั้งฮั่วเส็ง ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล สถานีบริการน้ำมันปตท. บางจาก เอ็นเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์เซเว่นอีลีฟเว่น แฟมิลี่มาร์ท KFC Pizza-Hut ร้านนิตยาไก่ย่างอิมแพ็คเมืองทองธานี ศูนย์การประชุมสิริกิตติ์ คิสซาเนียและกลุ่มสมาคมผู้ประกอบการร้านอาหารและตลาดสด ลงนามความร่วมมือเพื่อ การลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร เพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย ภายใต้ 3 กลยุทธ ได้แก่ 1) กำหนดพื้นที่ปลอดการใช้โฟมใส่อาหาร โดยให้ใช้ภาชนะที่ทำจากวัสดุธรรมชาติใช้แทน เช่น กระดาษชานอ้อย หรือกล่องพลาสติกชีวภาพ เป็นต้น 2) การรณรงค์การใช้วัสดุธรรมชาติดั้งเดิม เช่น ใบตอง ใบบัว สำหรับห่อข้าวหรือขนม ทดแทนด้วยผลิตภัณฑ์ที่ทำจากธรรมชาติ เช่น ชานอ้อย ชานอ้อยผสมเยื่อไผ่ มันสำปะหลัง เนื่องจากวัสดุเหล่านี้ เป็นสารอินทรีย์ ย่อยสลายตามธรรมชาติในเวลา 45 วัน ต่างจากโฟมที่ใช้เวลาย่อยสลายนานถึง 1,000 ปี หรืออาจใช้บรรจุภัณฑ์ที่ได้มอก. และ 3) การปฏิเสธการใช้โฟมทุกรูปแบบ โดยใช้หลัก 2 ส. 1 ข. คือ เสริมความรู้เรื่องภัยจากการใช้โฟมบรรจุอาหาร สร้างองค์กรต้นแบบเลิกใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร และขยายพื้นที่ปลอดโฟม 100 เปอร์เซนต์ นายแพทย์ดนัย กล่าวต่อไปว่า ที่ผ่านมากรมอนามัยได้ดำเนินการตามข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ให้กระทรวงสาธารณสุขงดใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหารร้อนหรือมีไขมันเพื่อเป็นตัวอย่างให้ส่วนราชการอื่นและประชาชน โดยเริ่มจากผู้ประกอบการค้าอาหารในโรงอาหารและตลาดนัด รวม 311 ราย และเลิกใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหารได้ร้อยละ 100 ในปี 2557 ต่อมาในปี 2558 ได้ขยายพื้นที่การรณรงค์ไปยังหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศ เช่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน ศูนย์วิชาการฯและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้นแบบนำร่อง 4 ภาค อีกทั้งยังได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายภาคเอกชน จำนวน 14 แห่งร่วมลงนามความร่วมมือ ส่งผลให้ปัจจุบันกรมอนามัยได้มอบประกาศเกียรติคุณองค์กรปลอดโฟม 100 เปอร์เซนต์ จำนวน 9,492 แห่งทั่วประเทศ จาก 130 องค์กร ทั้งนี้ การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหารร้อนจัด จะทำโฟมให้เสียรูปทรง เกิดการหลอมละลาย และมีสารเคมีที่อยู่ในเนื้อโฟมซึ่งมองไม่เห็นปนเปื้อนออกมาอยู่ในอาหาร โดยสารเคมีที่พบในภาชนะโฟมบรรจุอาหารที่สำคัญ ได้แก่สารสไตรีน (Styrene) เป็นสารก่อมะเร็ง เพิ่มความเสี่ยงเกิดมะเร็งเต้านม และมะเร็งต่อมลูกหมาก มีผลต่อสมองและเส้นประสาท ทำให้อ่อนเพลีย หงุดหงิดง่าย นอนหลับยาก ระบบฮอร์โมนในร่างกายผิดปกติ ทำให้มีปัญหาต่อมไทรอยด์และประจำเดือนในสตรีผิดปกติสารเบนซิน (Benzene) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งเช่นกัน สารชนิดนี้ละลายได้ดีในน้ำมัน เมื่อเข้าสู่ร่างกายทำให้เกิดอาการวิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน หัวใจเต้นแรง หากได้รับสารชนิดนี้เป็นเวลานาน ทำให้เป็นโรคโลหิตจาง เนื่องจากสารเบนซินจะทำลายไขกระดูก ทำให้จำนวนเม็ดเลือดลดลง และสารพทาเลท (Phthalate) เป็นสารที่มีพิษต่อระบบสืบพันธุ์ ทำให้ผู้ชายเป็นหมัน หากเป็นหญิงมีครรภ์ลูกอาจมีอาการดาวน์ซินโดรมและอายุสั้นได้ ซึ่งการละลายของสารเคมีทั้ง 3 ชนิดนี้ จะมากน้อยขั้นอยู่กับปัจจัย 3 ประการ ได้แก่ อุณหภูมิอาหาร ไขมันในอาหารและระยะเวลาที่อาหารสัมผัสกับภาชนะโฟม โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันสูง เช่น อาหารประเภทผัด ทอด จะทำให้สารสไตรีนละลายออกมาได้มากกว่า รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด *** สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง/17 กุมภาพันธ์ 2559

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน

ติดตามข่าวสารได้ที่

แทงบอลออนไลน์ || ดูบอลสด UFABET