ข่าวแจก"กรมอนามัยร่วมกับภาคีเครือข่าย ผลักดันนโยบายสาธารณะด้านอาหารและโภชนาการ หวังลด เด็กอ้วน เตี้ย ภายใน 10 ปี"
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จัดประชุมเชิงปฏิบัติการการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประกวดสื่อ นวัตกรรมโภชนาการสมวัยและรับฟังความคิดเห็นภาคประชาชน โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านอาหารและโภชนาการ เพื่อเด็กไทยมีโภชนาการสมวัย โดยร่วมกับภาคีเครือข่ายพัฒนา และผลักดันการจัดการด้านอาหารและโภชนาการของประเทศไทยสู่ความยั่งยืน
วันนี้ (1 กุมภาพันธ์ 2559) นายแพทย์ณัฐพร วงษ์ศุทธิภากร รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประกวดสื่อ นวัตกรรมโภชนาการสมวัยและรับฟังความคิดเห็นภาคประชาชน โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านอาหารและโภชนาการ เพื่อเด็กไทยมีโภชนาการสมวัย ณ โรงแรมเอเชีย แอร์พอร์ต จังหวัดปทุมธานีว่า ในปี 2559 กรมอนามัยและเครือข่ายโภชนาการสมวัยได้ร่วมกันพัฒนาจังหวัดต้นแบบการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านอาหารและโภชนาการนั้น โดยมีภารกิจสำคัญที่ต้องผลักดันให้เกิดการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมด้วยกัน 4 เรื่อง คือ 1) นำนโยบายเพิ่มค่าอาหารกลางวันนักเรียนตามงบประมาณที่เพิ่มขึ้นจาก 13 บาท เป็น 20 บาท สู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้ความสำคัญกับกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างที่โปร่งใส มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับวัตถุดิบอาหาร โดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เช่น ผู้แทนเครือข่ายผู้ปกครอง ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แกนนำชุมชน และนักโภชนาการหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข รวมถึงการส่งเสริม สนับสนุนให้มีการนำมาตรฐานโภชนาการมาใช้ในการจัดบริการอาหารกลางวันนักเรียน 2) บรรจุนักโภชนาการประจำตำบล โดยใช้งบประมาณท้องถิ่น 3) ผลักดันให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและโรงเรียนมีการจัดบริการอาหาร ในรูปแบบครัวกลาง 1 ตำบล 1 ครัวกลาง เน้นการใช้วัตถุดิบอาหารและผลผลิตทางการเกษตรปลอดภัยในชุมชน เพื่อควบคุมคุณภาพ ณ จุดเดียว ลดต้นทุนและสร้างเศรษฐกิจชุมชน และ 4) มีระบบควบคุม กำกับ ติดตาม ประเมินผลการจัดการคุณภาพอาหาร โดยระดับพื้นที่ ได้แก่ ชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียน ทำการประเมินตนเองปีละ 2 ครั้ง ระดับจังหวัด/เขต และมีการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กปฐมวัย และเด็กวัยเรียนต่อเนื่อง โดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง สำหรับเด็กกลุ่มเสี่ยงได้รับการแก้ไขปัญหาโดยมีการติดตามเดือนละครั้ง
นายแพทย์ณัฐพร กล่าวต่อไปว่า สำหรับการประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประกวดสื่อ นวัตกรรมโภชนาการสมวัย และรับฟังความคิดเห็นภาคประชาชน ภายใต้โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านอาหารและโภชนาการ ซึ่งเป็นผลจากการดำเนินงานที่มีความต่อเนื่องมาตั้งแต่ ปี 2556 ถึงปัจจุบัน โดยมีจังหวัดที่ร่วมโครงการ ฯ จำนวน 13 จังหวัด ใน 4 ภาค โดยภาคกลาง มี 3 จังหวัด คือ นนทบุรี สมุทรปราการ และเพชรบุรี ภาคอีสานมี 4 จังหวัด คือ อุดรธานี ขอนแก่น สุรินทร์ และสกลนคร ภาคเหนือมี 4 จังหวัด คือ เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง และเพชรบูรณ์ ภาคใต้มี 2 จังหวัด คือ สงขลา และภูเก็ต และขยายผลไปยังจังหวัดอื่นที่ร่วมเป็นเครือข่าย คือ สุพรรณบุรี และพิษณุโลก ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นอกจากนี้ ได้ขยายผลแหล่งเรียนรู้ด้านการ จัดการอาหารและโภชนาการในชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ครอบคลุมทั่วประเทศ จำนวน ๗๐๖ แห่ง และผลักดันนโยบายสาธารณะระดับชาติ ประเด็นการเพิ่มค่าอาหารกลางวันนักเรียนตามงบประมาณที่เพิ่มขึ้น ใน ปี พ.ศ. 2556 จากวันละ 13 บาท เป็นวันละ 20 บาท สู่การปฏิบัติในระดับโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยขับเคลื่อนนโยบายในท้องถิ่นและประกาศพันธะสัญญาความร่วมมือในการจัดการด้านอาหารและโภชนาการ ณ เทศบาลตำบลหางดง จังหวัดเชียงใหม่ และเทศบาลตำบลเมืองแก จังหวัดสุรินทร์
"ทั้งนี้ การดำเนินงานดังกล่าว ถ้าสามารถขยายผลได้ทั่วประเทศ นอกจากจะส่งผลให้เด็กไทยประมาณหกล้านคน ได้กินอิ่มอย่างมีคุณภาพแล้ว ยังคาดหวังว่าภายในระยะ 10 ปี (พ.ศ. 2568) จะสามารถลดภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนในเด็กวัยเรียนเหลือไม่เกินร้อยละ 10 หรือลดลงอย่างน้อย 0.5 ต่อปีเมื่อเทียบกับสถานการณ์เดิม ภาวะเตี้ย ลดลงเหลือไม่เกินร้อยละ 5 และส่งเสริมให้เด็กไทยเพศหญิงและเพศชาย มีความสูงเฉลี่ย 165 และ 175 เซนติเมตรตามลำดับ มีไอคิวเฉลี่ย มากกว่า 100 จุด? รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด
***
สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง/ 1 กุมภาพันธ์ 2559
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จัดประชุมเชิงปฏิบัติการการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประกวดสื่อ นวัตกรรมโภชนาการสมวัยและรับฟังความคิดเห็นภาคประชาชน โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านอาหารและโภชนาการ เพื่อเด็กไทยมีโภชนาการสมวัย โดยร่วมกับภาคีเครือข่ายพัฒนา และผลักดันการจัดการด้านอาหารและโภชนาการของประเทศไทยสู่ความยั่งยืน วันนี้ (1 กุมภาพันธ์ 2559) นายแพทย์ณัฐพร วงษ์ศุทธิภากร รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประกวดสื่อ นวัตกรรมโภชนาการสมวัยและรับฟังความคิดเห็นภาคประชาชน โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านอาหารและโภชนาการ เพื่อเด็กไทยมีโภชนาการสมวัย ณ โรงแรมเอเชีย แอร์พอร์ต จังหวัดปทุมธานีว่า ในปี 2559 กรมอนามัยและเครือข่ายโภชนาการสมวัยได้ร่วมกันพัฒนาจังหวัดต้นแบบการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านอาหารและโภชนาการนั้น โดยมีภารกิจสำคัญที่ต้องผลักดันให้เกิดการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมด้วยกัน 4 เรื่อง คือ 1) นำนโยบายเพิ่มค่าอาหารกลางวันนักเรียนตามงบประมาณที่เพิ่มขึ้นจาก 13 บาท เป็น 20 บาท สู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้ความสำคัญกับกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างที่โปร่งใส มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับวัตถุดิบอาหาร โดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เช่น ผู้แทนเครือข่ายผู้ปกครอง ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แกนนำชุมชน และนักโภชนาการหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข รวมถึงการส่งเสริม สนับสนุนให้มีการนำมาตรฐานโภชนาการมาใช้ในการจัดบริการอาหารกลางวันนักเรียน 2) บรรจุนักโภชนาการประจำตำบล โดยใช้งบประมาณท้องถิ่น 3) ผลักดันให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและโรงเรียนมีการจัดบริการอาหาร ในรูปแบบครัวกลาง 1 ตำบล 1 ครัวกลาง เน้นการใช้วัตถุดิบอาหารและผลผลิตทางการเกษตรปลอดภัยในชุมชน เพื่อควบคุมคุณภาพ ณ จุดเดียว ลดต้นทุนและสร้างเศรษฐกิจชุมชน และ 4) มีระบบควบคุม กำกับ ติดตาม ประเมินผลการจัดการคุณภาพอาหาร โดยระดับพื้นที่ ได้แก่ ชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียน ทำการประเมินตนเองปีละ 2 ครั้ง ระดับจังหวัด/เขต และมีการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กปฐมวัย และเด็กวัยเรียนต่อเนื่อง โดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง สำหรับเด็กกลุ่มเสี่ยงได้รับการแก้ไขปัญหาโดยมีการติดตามเดือนละครั้ง นายแพทย์ณัฐพร กล่าวต่อไปว่า สำหรับการประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประกวดสื่อ นวัตกรรมโภชนาการสมวัย และรับฟังความคิดเห็นภาคประชาชน ภายใต้โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านอาหารและโภชนาการ ซึ่งเป็นผลจากการดำเนินงานที่มีความต่อเนื่องมาตั้งแต่ ปี 2556 ถึงปัจจุบัน โดยมีจังหวัดที่ร่วมโครงการ ฯ จำนวน 13 จังหวัด ใน 4 ภาค โดยภาคกลาง มี 3 จังหวัด คือ นนทบุรี สมุทรปราการ และเพชรบุรี ภาคอีสานมี 4 จังหวัด คือ อุดรธานี ขอนแก่น สุรินทร์ และสกลนคร ภาคเหนือมี 4 จังหวัด คือ เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง และเพชรบูรณ์ ภาคใต้มี 2 จังหวัด คือ สงขลา และภูเก็ต และขยายผลไปยังจังหวัดอื่นที่ร่วมเป็นเครือข่าย คือ สุพรรณบุรี และพิษณุโลก ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นอกจากนี้ ได้ขยายผลแหล่งเรียนรู้ด้านการ จัดการอาหารและโภชนาการในชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ครอบคลุมทั่วประเทศ จำนวน ๗๐๖ แห่ง และผลักดันนโยบายสาธารณะระดับชาติ ประเด็นการเพิ่มค่าอาหารกลางวันนักเรียนตามงบประมาณที่เพิ่มขึ้น ใน ปี พ.ศ. 2556 จากวันละ 13 บาท เป็นวันละ 20 บาท สู่การปฏิบัติในระดับโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยขับเคลื่อนนโยบายในท้องถิ่นและประกาศพันธะสัญญาความร่วมมือในการจัดการด้านอาหารและโภชนาการ ณ เทศบาลตำบลหางดง จังหวัดเชียงใหม่ และเทศบาลตำบลเมืองแก จังหวัดสุรินทร์ ทั้งนี้ การดำเนินงานดังกล่าว ถ้าสามารถขยายผลได้ทั่วประเทศ นอกจากจะส่งผลให้เด็กไทยประมาณหกล้านคน ได้กินอิ่มอย่างมีคุณภาพแล้ว ยังคาดหวังว่าภายในระยะ 10 ปี (พ.ศ. 2568) จะสามารถลดภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนในเด็กวัยเรียนเหลือไม่เกินร้อยละ 10 หรือลดลงอย่างน้อย 0.5 ต่อปีเมื่อเทียบกับสถานการณ์เดิม ภาวะเตี้ย ลดลงเหลือไม่เกินร้อยละ 5 และส่งเสริมให้เด็กไทยเพศหญิงและเพศชาย มีความสูงเฉลี่ย 165 และ 175 เซนติเมตรตามลำดับ มีไอคิวเฉลี่ย มากกว่า 100 จุด รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด *** สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง/ 1 กุมภาพันธ์ 2559