ข่าวแจก "สธ. ร่วมกับภาคีเครือข่าย สร้างสรรค์นิทรรศการ สืบจากส้วม รวมแหล่งเรียนรู้แก่คนรุ่นหลัง"
สธ. ร่วมกับภาคีเครือข่าย สร้างสรรค์นิทรรศการ สืบจากส้วม? รวมแหล่งเรียนรู้แก่คนรุ่นหลัง
( 19 พฤศจิกายน 2553) กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ, กรมศิลปากร และบริษัทสยามซานิทารีแวร์ เปิดนิทรรศการ สืบจากส้วม? เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงการรักษาสุขภาวะและสาธารณสุขในการขับถ่ายของเสีย โดยมี นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน
สืบเนื่องจากสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก องค์พระบิดาแห่งการสาธารณสุขไทย ทรงเล็งเห็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยเป็นอย่างดี และทรงมีพระราชหฤทัยอย่างแน่วแน่ที่จะดำเนินการแก้ปัญหา ซึ่งพระองค์ทรงแบ่งประเภทของกิจการสาธารณสุขไว้โดยชัดเจน 3 ชนิด คือ สุขวิทยา เวชกรรมกันโรคและการปราบโรค (Prevention Medicine และ การสุขาภิบาล (Sanitation) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2467 เป็นต้นมา ประเทศไทยจึงได้ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานด้านสุขาภิบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีและใช้ส้วมเพื่อป้องกันการระบาดของโรคระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคอุจจาระร่วง บิด อหิวาห์ตกโรค และโรคหนอนพยาธิ
สำหรับการพัฒนาส้วมสาธารณะนั้น กระทรวงสาธารณสุขได้น้อมนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักสำคัญในการขับเคลื่อนงาน ส่งผลให้ปัจจุบันมีส้วมสาธารณะที่ได้มาตรฐาน HAS (Health Accessibility Safety) คือ สะอาด เพียงพอ ปลอดภัย หรือ ร้อยละ 40.37 ของกลุ่มเป้าหมาย โดยกลุ่มเป้าหมาย มี 12 ประเภท ได้แก่ 1.แหล่งท่องเที่ยว 2.ร้านจำหน่ายอาหาร 3.ตลาดสด 4.สถานีขนส่งทางบกและทางอากาศ 5.สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง 6.โรงเรียน 7.โรงพยาบาล/สถานีอนามัย 8.สถานที่ราชการ 9.สวนสาธารณะ 10.ศาสนสถาน 11.ส้วมสาธารณะริมทาง และ 12.ห้างสรรพสินค้า/ศูนย์การค้า/ดิสเคานต์สโตร์ ในจำนวนนี้มีส้วมที่ได้มาตรฐาน HAS สูงสุด 3 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ส้วมห้างสรรพสินค้า ร้อยละ 88.52 โรงพยาบาล ร้อยละ 83.11 และแหล่งท่องเที่ยว ร้อยละ 62.91 ตามลำดับ
แผนการดำเนินงานในปี 2553-2556 กระทรวงสาธารณสุขจึงได้นำแนวคิดการสุขาภิบาลอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาเป็นหลักในการดำเนินงาน โดยมีหลักการว่า ของเสียคือทรัพยากร? ให้นำของเสียมาใช้ประโยชน์ และเริ่มเน้นที่ครัวเรือนแล้วขยายสู่ชุมชน โดยในช่วงต้นของแผนฯ ได้ให้หน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงฯ คือ โรงพยาบาลเป็นหน่วยนำและเป็นต้นแบบในการดำเนินงาน เพื่อในระยะถัดไปจะมีการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีต่างๆ สู่ชุมชน เพื่อให้เกิดความยั่งยืน
ทั้งนี้ งานนิทรรศการ สืบจากส้วม? ซึ่งแสดงความเป็นมาของส้วมในประเทศไทยที่มีภาพเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของโลก โดยมีรายละเอียดแสดงถึงการขับถ่ายในแต่ละยุคสมัย เรื่มต้นจากการถ่ายอุจจาระในระบบปกติแบบสามัญ จนกระทั่งวิวัฒนาการมาเป็นคอห่าน แล้วมาเป็นส้วมสมัยใหม่ กระทรวงสาธารณสุขและสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ จึงขอเชิญชวนมาร่วมกันสืบค้นเรื่องราว ตำนาน ความเป็นมาของวัฒนธรรมการขับถ่ายของคนไทย และช่วยกันขยายองค์ความรู้ประวัติศาสตร์ของชนชาติไทยในมุมมองใหม่ที่เผยให้เห็นวิถีชีวิตและภูมิปัญญาเพื่อต่อยอดในการสร้างสรรค์งานส้วมในอนาคต โดยจัดแสดงที่มิวเซียมสยาม พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2553 ? 17 เมษายน 2554 ตั้งแต่เวลา 10.00 ? 18.00 น. (ปิดวันจันทร์)
*** กลุ่มสื่อสารองค์กร / 19 พฤศจิกายน 2553
สธ. ร่วมกับภาคีเครือข่าย สร้างสรรค์นิทรรศการ \\สืบจากส้วม รวมแหล่งเรียนรู้แก่คนรุ่นหลัง ( 19 พฤศจิกายน 2553) กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ, กรมศิลปากร และบริษัทสยามซานิทารีแวร์ เปิดนิทรรศการ \\สืบจากส้วม เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงการรักษาสุขภาวะและสาธารณสุขในการขับถ่ายของเสีย โดยมี นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน สืบเนื่องจากสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก องค์พระบิดาแห่งการสาธารณสุขไทย ทรงเล็งเห็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยเป็นอย่างดี และทรงมีพระราชหฤทัยอย่างแน่วแน่ที่จะดำเนินการแก้ปัญหา ซึ่งพระองค์ทรงแบ่งประเภทของกิจการสาธารณสุขไว้โดยชัดเจน 3 ชนิด คือ สุขวิทยา เวชกรรมกันโรคและการปราบโรค (Prevention Medicine และ การสุขาภิบาล (Sanitation) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2467 เป็นต้นมา ประเทศไทยจึงได้ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานด้านสุขาภิบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีและใช้ส้วมเพื่อป้องกันการระบาดของโรคระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคอุจจาระร่วง บิด อหิวาห์ตกโรค และโรคหนอนพยาธิ สำหรับการพัฒนาส้วมสาธารณะนั้น กระทรวงสาธารณสุขได้น้อมนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักสำคัญในการขับเคลื่อนงาน ส่งผลให้ปัจจุบันมีส้วมสาธารณะที่ได้มาตรฐาน HAS (Health Accessibility Safety) คือ สะอาด เพียงพอ ปลอดภัย หรือ ร้อยละ 40.37 ของกลุ่มเป้าหมาย โดยกลุ่มเป้าหมาย มี 12 ประเภท ได้แก่ 1.แหล่งท่องเที่ยว 2.ร้านจำหน่ายอาหาร 3.ตลาดสด 4.สถานีขนส่งทางบกและทางอากาศ 5.สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง 6.โรงเรียน 7.โรงพยาบาล/สถานีอนามัย 8.สถานที่ราชการ 9.สวนสาธารณะ 10.ศาสนสถาน 11.ส้วมสาธารณะริมทาง และ 12.ห้างสรรพสินค้า/ศูนย์การค้า/ดิสเคานต์สโตร์ ในจำนวนนี้มีส้วมที่ได้มาตรฐาน HAS สูงสุด 3 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ส้วมห้างสรรพสินค้า ร้อยละ 88.52 โรงพยาบาล ร้อยละ 83.11 และแหล่งท่องเที่ยว ร้อยละ 62.91 ตามลำดับ แผนการดำเนินงานในปี 2553-2556 กระทรวงสาธารณสุขจึงได้นำแนวคิดการสุขาภิบาลอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาเป็นหลักในการดำเนินงาน โดยมีหลักการว่า \\ของเสียคือทรัพยากร ให้นำของเสียมาใช้ประโยชน์ และเริ่มเน้นที่ครัวเรือนแล้วขยายสู่ชุมชน โดยในช่วงต้นของแผนฯ ได้ให้หน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงฯ คือ โรงพยาบาลเป็นหน่วยนำและเป็นต้นแบบในการดำเนินงาน เพื่อในระยะถัดไปจะมีการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีต่างๆ สู่ชุมชน เพื่อให้เกิดความยั่งยืน ทั้งนี้ งานนิทรรศการ \\สืบจากส้วม ซึ่งแสดงความเป็นมาของส้วมในประเทศไทยที่มีภาพเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของโลก โดยมีรายละเอียดแสดงถึงการขับถ่ายในแต่ละยุคสมัย เรื่มต้นจากการถ่ายอุจจาระในระบบปกติแบบสามัญ จนกระทั่งวิวัฒนาการมาเป็นคอห่าน แล้วมาเป็นส้วมสมัยใหม่ กระทรวงสาธารณสุขและสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ จึงขอเชิญชวนมาร่วมกันสืบค้นเรื่องราว ตำนาน ความเป็นมาของวัฒนธรรมการขับถ่ายของคนไทย และช่วยกันขยายองค์ความรู้ประวัติศาสตร์ของชนชาติไทยในมุมมองใหม่ที่เผยให้เห็นวิถีชีวิตและภูมิปัญญาเพื่อต่อยอดในการสร้างสรรค์งานส้วมในอนาคต โดยจัดแสดงที่มิวเซียมสยาม พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2553 17 เมษายน 2554 ตั้งแต่เวลา 10.00 18.00 น. (ปิดวันจันทร์) *** กลุ่มสื่อสารองค์กร / 19 พฤศจิกายน 2553