คุณกำลังมองหาอะไร?

ข่า

ข่าวแจก "กรมอนามัย ตั้งเป้า ปี58 ช่วยผู้สูงวัยได้ฟันคืน 35,000 คน เร่งขยายเครือข่ายฟันเทียมพระราชทาน"

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

11.12.2557
9
0
แชร์
11
ธันวาคม
2557

ข่าวแจก "กรมอนามัย ตั้งเป้า ปี58 ช่วยผู้สูงวัยได้ฟันคืน 35,000 คน เร่งขยายเครือข่ายฟันเทียมพระราชทาน"

        กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ตั้งเป้ามอบฟันเทียมให้ผู้สูงอายุ 35,000 คน ในปี 2558 พร้อมเร่งขยายเครือข่ายฟันเทียมพระราชทานและการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุระดับชุมชน ตำบล และอำเภอ เพื่อการดูแลตนเองและการป้องกันรักษาใกล้บ้านอย่างต่อเนื่อง
        วันนี้ (11 ธันวาคม 2557) ทันตแพทย์สุธา เจียรมณีโชติชัย รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ การขยายเครือข่ายฟันเทียมพระราชทานและการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ว่า จากการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 ในปี 2544 พบว่า ปัญหาสำคัญของกลุ่มผู้สูงอายุได้แก่ การสูญเสียฟันโดยเฉพาะการสูญเสียฟันทั้งปาก และพบโรคที่อาจทำให้สูญเสียฟันเพิ่มขึ้น อาทิ ฟันผุ รากฟันผุ ปริทันต์อักเสบ และรอยแผล ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ทั้งสุขภาพร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และการดำเนินชีวิตประจำวัน กระทรวงสาธารณสุขจึงร่วมกับบุคลากรในพื้นที่ดำเนินการแก้ไขปัญหาสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา เช่น โครงการฟันเทียมพระราชทานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ชมรมผู้สูงอายุด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก การจัดบริการส่งเสริม ป้องกันในหน่วยบริการระดับตำบล ส่งผลให้ปัจจุบันมีผู้สูงอายุจำนวน 383,708 คน ได้รับการใส่ฟันทั้งปากหรือเกือบทั้งปาก นอกจากนี้ กรมการแพทย์ยังผลักดันโครงการฝังรากฟันเทียม สำหรับฟันเทียมชิ้นล่าง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวอาหาร
        ทันตแพทย์สุธา กล่าวต่อไปว่า กรมอนามัยยังได้สนับสนุนให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลช่องปากของตนเอง และเข้าถึงบริการตามความจำเป็นได้ง่าย ทันเวลา พร้อมทั้งสนับสนุนการดำเนินงานเครือข่ายบริการปฐมภูมิซึ่งมีบทบาทหลัก ได้แก่
1) สนับสนุนให้ผู้สูงอายุดูแลตนเองผ่านชมรมผู้สูงอายุด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก หรือ อสม. หรือผู้ดูแล ทำให้ผู้สูงอายุจำนวนกว่า 730,000 คน สามารถดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเองผ่านแกนนำชมรมผู้สูงอายุซึ่งมีจำนวน 3,510 ชมรม
2) จัดบริการส่งเสริม ป้องกัน รักษาพื้นฐานในหน่วยบริการระดับตำบลซึ่งอยู่ใกล้บ้าน ปัจจุบันมีการจัดบริการแก่ผู้สูงอายุ 967 แห่ง และ
3) ประสานและส่งต่อเพื่อรับการรักษาและใส่ฟันเทียมตามความจำเป็น รวมทั้งติดตามผลการรักษาในชุมชนเพื่อดูแลอย่างต่อเนื่องตลอดอายุขัย ในการประชุมครั้งนี้ได้เตรียมการขยายเครือข่ายฟันเทียมพระราชทานและการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ทั้งในระดับชุมชน ตำบล และอำเภอ โดยมีเป้าหมายจำนวน 200 แห่งทั่วประเทศ
        ทั้งนี้ ในปี 2558 กระทรวงสาธารณสุขกำหนดเป้าหมายให้ผู้สูงอายุได้รับฟันเทียมพระราชทาน จำนวน 35,000 คน และรากฟันเทียมเฉลิมพระเกียรติฯ จำนวน 5,000 คน มอบเป็นของขวัญปีใหม่ให้แก่ประชาชน และจากการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 7 ปี 2555 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2544 ก่อนเริ่มโครงการ พบสภาวะช่องปากในกลุ่มผู้สูงอายุที่ดีขึ้น ผู้สูงอายุมีฟันใช้เคี้ยวอาหารเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 49.0 เป็นร้อยละ 57.8 การสูญเสียฟันทั้งปากลดลงจากร้อยละ 8.2 เป็นร้อยละ 5.3 ความจำเป็นในการใส่ฟันเทียมทั้งปากลดลง การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุจึงเตรียมการขับเคลื่อนผ่านแผนงานทันตสุขภาพผู้สูงอายุ พ.ศ.2558-2565 เพื่อควบคุมปัญหาการสูญเสียฟันและปัญหาด้านอื่นๆ ต่อไป? รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด
 
***
สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง /11 ธันวาคม 2557
 
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ตั้งเป้ามอบฟันเทียมให้ผู้สูงอายุ 35,000 คน ในปี 2558 พร้อมเร่งขยายเครือข่ายฟันเทียมพระราชทานและการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุระดับชุมชน ตำบล และอำเภอ เพื่อการดูแลตนเองและการป้องกันรักษาใกล้บ้านอย่างต่อเนื่อง วันนี้ (11 ธันวาคม 2557) ทันตแพทย์สุธา เจียรมณีโชติชัย รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ การขยายเครือข่ายฟันเทียมพระราชทานและการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ว่า จากการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 ในปี 2544 พบว่า ปัญหาสำคัญของกลุ่มผู้สูงอายุได้แก่ การสูญเสียฟันโดยเฉพาะการสูญเสียฟันทั้งปาก และพบโรคที่อาจทำให้สูญเสียฟันเพิ่มขึ้น อาทิ ฟันผุ รากฟันผุ ปริทันต์อักเสบ และรอยแผล ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ทั้งสุขภาพร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และการดำเนินชีวิตประจำวัน กระทรวงสาธารณสุขจึงร่วมกับบุคลากรในพื้นที่ดำเนินการแก้ไขปัญหาสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา เช่น โครงการฟันเทียมพระราชทานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ชมรมผู้สูงอายุด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก การจัดบริการส่งเสริม ป้องกันในหน่วยบริการระดับตำบล ส่งผลให้ปัจจุบันมีผู้สูงอายุจำนวน 383,708 คน ได้รับการใส่ฟันทั้งปากหรือเกือบทั้งปาก นอกจากนี้ กรมการแพทย์ยังผลักดันโครงการฝังรากฟันเทียม สำหรับฟันเทียมชิ้นล่าง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวอาหาร ทันตแพทย์สุธา กล่าวต่อไปว่า กรมอนามัยยังได้สนับสนุนให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลช่องปากของตนเอง และเข้าถึงบริการตามความจำเป็นได้ง่าย ทันเวลา พร้อมทั้งสนับสนุนการดำเนินงานเครือข่ายบริการปฐมภูมิซึ่งมีบทบาทหลัก ได้แก่1) สนับสนุนให้ผู้สูงอายุดูแลตนเองผ่านชมรมผู้สูงอายุด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก หรือ อสม. หรือผู้ดูแล ทำให้ผู้สูงอายุจำนวนกว่า 730,000 คน สามารถดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเองผ่านแกนนำชมรมผู้สูงอายุซึ่งมีจำนวน 3,510 ชมรม2) จัดบริการส่งเสริม ป้องกัน รักษาพื้นฐานในหน่วยบริการระดับตำบลซึ่งอยู่ใกล้บ้าน ปัจจุบันมีการจัดบริการแก่ผู้สูงอายุ 967 แห่ง และ3) ประสานและส่งต่อเพื่อรับการรักษาและใส่ฟันเทียมตามความจำเป็น รวมทั้งติดตามผลการรักษาในชุมชนเพื่อดูแลอย่างต่อเนื่องตลอดอายุขัย ในการประชุมครั้งนี้ได้เตรียมการขยายเครือข่ายฟันเทียมพระราชทานและการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ทั้งในระดับชุมชน ตำบล และอำเภอ โดยมีเป้าหมายจำนวน 200 แห่งทั่วประเทศ \\ทั้งนี้ ในปี 2558 กระทรวงสาธารณสุขกำหนดเป้าหมายให้ผู้สูงอายุได้รับฟันเทียมพระราชทาน จำนวน 35,000 คน และรากฟันเทียมเฉลิมพระเกียรติฯ จำนวน 5,000 คน มอบเป็นของขวัญปีใหม่ให้แก่ประชาชน และจากการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 7 ปี 2555 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2544 ก่อนเริ่มโครงการ พบสภาวะช่องปากในกลุ่มผู้สูงอายุที่ดีขึ้น ผู้สูงอายุมีฟันใช้เคี้ยวอาหารเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 49.0 เป็นร้อยละ 57.8 การสูญเสียฟันทั้งปากลดลงจากร้อยละ 8.2 เป็นร้อยละ 5.3 ความจำเป็นในการใส่ฟันเทียมทั้งปากลดลง การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุจึงเตรียมการขับเคลื่อนผ่านแผนงานทันตสุขภาพผู้สูงอายุ พ.ศ.2558-2565 เพื่อควบคุมปัญหาการสูญเสียฟันและปัญหาด้านอื่นๆ ต่อไป รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด *** สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง /11 ธันวาคม 2557

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน

ติดตามข่าวสารได้ที่

แทงบอลออนไลน์ || ดูบอลสด UFABET