ข่าวแจก"กรมอนามัย เผย ผู้สูงวัยยะลาเหลือฟันบดเคี้ยว 4 คู่สบ ไม่ถึงร้อยละ 60 มอบฟันเทียมพระราชทาน คืนรอยยิ้ม"
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา มูลนิธิโอสถสภา และภาคีเครือข่ายจังหวัดยะลา จัดงานมหกรรมคืนความสุข คืนรอยยิ้มผู้สูงวัยจังหวัดยะลา โดยพบผู้สูงอายุมีฟันบดเคี้ยว 4 คู่สบ ไม่ถึงร้อยละ 60 ดำเนินการมอบฟันเทียมพระราชทาน พร้อมส่งเสริมการมีสุขภาพช่องปากที่ดีและมีฟันใช้งานอย่างเหมาะสม
วันนี้ (27สิงหาคม 2558) ทันตแพทย์สุธา เจียรมณีโชติชัย รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีมอบฟันเทียมพระราชทานในงานมหกรรม "คืนความสุข คืนรอยยิ้มผู้สูงวัยจังหวัดยะลา? ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ว่า ปัญหาสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุที่ พบบ่อยมี 7 ประเด็น ได้แก่ การสูญเสียฟัน ฟันผุและรากฟันผุ เหงือกอักเสบ ภาวะน้ำลายแห้ง แผลและมะเร็ง ช่องปาก ฟันสึก และโรคช่องปากที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง เนื่องจากพฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปากไม่เหมาะสม เข้าไม่ถึงบริการเพื่อการเก็บรักษาฟัน สำหรับปัญหาการสูญเสียฟันจากผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุทั่วประเทศในปี 2555 พบผู้สูงอายุมีการสูญเสียฟันอย่างน้อย 1 ซี่ ร้อยละ 83 สูญเสียฟัน ทั้งปาก ร้อยละ 7.2 ผู้สูงอายุไทยที่สูญเสียฟันจึงจำเป็นต้องรับบริการใส่ฟันเทียมโดยเฉพาะฟันเทียมทั้งปากทดแทนเพื่อให้เคี้ยวอาหารได้ และลดการสูญเสียฟันด้วยการจัดมาตรการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากอย่างเหมาะสม ซึ่งในปี 2558 มีผู้สูงอายุทั่วประเทศที่ได้รับฟันเทียมพระราชทานแล้วจำนวน 41,538 คน และหากนับตั้งแต่เริ่มโครงการในปี 2548 จนถึงปัจจุบันหรือในระยะเวลา 10 ปี มีผู้สูงอายุได้รับฟันเทียมพระราชทานแล้วทั้งสิ้นจำนวน 417,363 คน
ทันตแพทย์สุธา กล่าวต่อไปว่า เนื่องจากจังหวัดยะลาเป็นจังหวัดที่มีประชากร 448,250 คน มีผู้สูงอายุ 49,510 คน คิดเป็นร้อยละ 11.18 ของประชากรทั้งหมด และพบว่าผู้สูงอายุในจังหวัดยะลาไม่ถึงร้อยละ 60 มีฟัน บดเคี้ยวน้อยกว่า 4 คู่สบ ตามเกณฑ์มาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกกำหนด ดังนั้น เพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการ ใส่ฟันเทียมพระราชทานแก่ผู้สูงวัย กรมอนามัยจึงร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา มูลนิธิโอสถสภา ทันตบุคลากร ชมรมผู้สูงอายุและเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง จัดมหกรรมคืนความสุข คืนรอยยิ้มผู้สูงวัยจังหวัดยะลา โดยมีผู้สูงอายุได้รับฟันเทียมพระราชทานในครั้งนี้จำนวน 459 คน ซึ่งที่ผ่านมามีผู้สูงอายุในจังหวัดยะลาได้รับฟันเทียมพระราชทานไปแล้วทั้งสิ้นจำนวน 696 คน นอกจากนี้ภายในงานดังกล่าวยังมีการมอบโล่ประกาศเกียรติคุณแก่ผู้สูงอายุฟันดีศรียะลา จำนวน 11 คน ด้วย รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวต่อว่า จากการดำเนินงานโครงการฟันเทียมพระราชทานทั่วประเทศอย่างต่อเนื่องนั้น ส่งผลให้ผู้สูงอายุที่จำเป็นต้องใส่ฟันทั้งปากลดลงเหลือร้อยละ 2.5 แต่หากคิดเป็นจำนวนยังคงสูงถึง 250,000 คน และจากการติดตามประเมินผลหลังการจัดบริการพบว่า ร้อยละ 97 ของผู้สูงอายุที่ได้รับบริการมีความพึงพอใจ ส่งผลต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุอย่างชัดเจนทั้งด้านกายภาพ อารมณ์ สังคม ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศเดียวที่ให้สิทธิ์ประชาชนได้ใส่ฟันเทียมโดยไม่มีค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะการใส่ฟันเทียมทั้งปากให้กับผู้สูงอายุที่มีต้นทุนประมาณ 6,000 บาทต่อคน
"ทั้งนี้ ผู้ที่ใส่ฟันเทียมจะต้องใส่ใจทำความสะอาดฟันเทียมทุกซอกทุกมุม ไม่ว่าจะเป็นบริเวณตะขอและฐานฟันเทียม และก่อนทำความสะอาดฟันเทียมควรหาภาชนะรอง เช่น ขันน้ำ เพราะขณะที่แปรงอยู่นั้น ฟันเทียมอาจหลุดตกจากมือ หากไม่มีภาชนะรองจะทำให้แตกหักได้ง่าย อายุการใช้งานสั้นลง และก่อนนอนทุกครั้งอย่าลืมถอดฟันเทียมออกมาแช่น้ำเพื่อให้เนื้อเยื่อในช่องปากได้พักจากการกดทับบ้าง โดยต้องนำฟันเทียมแช่น้ำสะอาดทุกครั้งห้ามวางทิ้งไว้เฉย ๆ เด็ดขาด เพราะจะทำให้ฟันเทียมแห้งและหดตัว และไม่ควรใช้น้ำร้อนในการแช่เพราะจะทำให้ฟันเทียมเกิดการบิดเบี้ยวจนใช้งานไม่ได้ ที่สำคัญนอกจากทำความสะอาดฟันเทียมแล้ว อย่าลืมทำความสะอาดฟันแท้และช่องปากด้วย เพื่อยืดอายุการใช้งานทั้งฟันแท้และฟันเทียมไปพร้อม ๆ กัน? รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด
***
สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง/ 27 สิงหาคม 2558
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา มูลนิธิโอสถสภา และภาคีเครือข่ายจังหวัดยะลา จัดงานมหกรรมคืนความสุข คืนรอยยิ้มผู้สูงวัยจังหวัดยะลา โดยพบผู้สูงอายุมีฟันบดเคี้ยว 4 คู่สบ ไม่ถึงร้อยละ 60 ดำเนินการมอบฟันเทียมพระราชทาน พร้อมส่งเสริมการมีสุขภาพช่องปากที่ดีและมีฟันใช้งานอย่างเหมาะสม วันนี้ (27สิงหาคม 2558) ทันตแพทย์สุธา เจียรมณีโชติชัย รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีมอบฟันเทียมพระราชทานในงานมหกรรม คืนความสุข คืนรอยยิ้มผู้สูงวัยจังหวัดยะลา ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ว่า ปัญหาสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุที่ พบบ่อยมี 7 ประเด็น ได้แก่ การสูญเสียฟัน ฟันผุและรากฟันผุ เหงือกอักเสบ ภาวะน้ำลายแห้ง แผลและมะเร็ง ช่องปาก ฟันสึก และโรคช่องปากที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง เนื่องจากพฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปากไม่เหมาะสม เข้าไม่ถึงบริการเพื่อการเก็บรักษาฟัน สำหรับปัญหาการสูญเสียฟันจากผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุทั่วประเทศในปี 2555 พบผู้สูงอายุมีการสูญเสียฟันอย่างน้อย 1 ซี่ ร้อยละ 83 สูญเสียฟัน ทั้งปาก ร้อยละ 7.2 ผู้สูงอายุไทยที่สูญเสียฟันจึงจำเป็นต้องรับบริการใส่ฟันเทียมโดยเฉพาะฟันเทียมทั้งปากทดแทนเพื่อให้เคี้ยวอาหารได้ และลดการสูญเสียฟันด้วยการจัดมาตรการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากอย่างเหมาะสม ซึ่งในปี 2558 มีผู้สูงอายุทั่วประเทศที่ได้รับฟันเทียมพระราชทานแล้วจำนวน 41,538 คน และหากนับตั้งแต่เริ่มโครงการในปี 2548 จนถึงปัจจุบันหรือในระยะเวลา 10 ปี มีผู้สูงอายุได้รับฟันเทียมพระราชทานแล้วทั้งสิ้นจำนวน 417,363 คน ทันตแพทย์สุธา กล่าวต่อไปว่า เนื่องจากจังหวัดยะลาเป็นจังหวัดที่มีประชากร 448,250 คน มีผู้สูงอายุ 49,510 คน คิดเป็นร้อยละ 11.18 ของประชากรทั้งหมด และพบว่าผู้สูงอายุในจังหวัดยะลาไม่ถึงร้อยละ 60 มีฟัน บดเคี้ยวน้อยกว่า 4 คู่สบ ตามเกณฑ์มาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกกำหนด ดังนั้น เพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการ ใส่ฟันเทียมพระราชทานแก่ผู้สูงวัย กรมอนามัยจึงร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา มูลนิธิโอสถสภา ทันตบุคลากร ชมรมผู้สูงอายุและเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง จัดมหกรรมคืนความสุข คืนรอยยิ้มผู้สูงวัยจังหวัดยะลา โดยมีผู้สูงอายุได้รับฟันเทียมพระราชทานในครั้งนี้จำนวน 459 คน ซึ่งที่ผ่านมามีผู้สูงอายุในจังหวัดยะลาได้รับฟันเทียมพระราชทานไปแล้วทั้งสิ้นจำนวน 696 คน นอกจากนี้ภายในงานดังกล่าวยังมีการมอบโล่ประกาศเกียรติคุณแก่ผู้สูงอายุฟันดีศรียะลา จำนวน 11 คน ด้วย รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวต่อว่า จากการดำเนินงานโครงการฟันเทียมพระราชทานทั่วประเทศอย่างต่อเนื่องนั้น ส่งผลให้ผู้สูงอายุที่จำเป็นต้องใส่ฟันทั้งปากลดลงเหลือร้อยละ 2.5 แต่หากคิดเป็นจำนวนยังคงสูงถึง 250,000 คน และจากการติดตามประเมินผลหลังการจัดบริการพบว่า ร้อยละ 97 ของผู้สูงอายุที่ได้รับบริการมีความพึงพอใจ ส่งผลต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุอย่างชัดเจนทั้งด้านกายภาพ อารมณ์ สังคม ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศเดียวที่ให้สิทธิ์ประชาชนได้ใส่ฟันเทียมโดยไม่มีค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะการใส่ฟันเทียมทั้งปากให้กับผู้สูงอายุที่มีต้นทุนประมาณ 6,000 บาทต่อคน ทั้งนี้ ผู้ที่ใส่ฟันเทียมจะต้องใส่ใจทำความสะอาดฟันเทียมทุกซอกทุกมุม ไม่ว่าจะเป็นบริเวณตะขอและฐานฟันเทียม และก่อนทำความสะอาดฟันเทียมควรหาภาชนะรอง เช่น ขันน้ำ เพราะขณะที่แปรงอยู่นั้น ฟันเทียมอาจหลุดตกจากมือ หากไม่มีภาชนะรองจะทำให้แตกหักได้ง่าย อายุการใช้งานสั้นลง และก่อนนอนทุกครั้งอย่าลืมถอดฟันเทียมออกมาแช่น้ำเพื่อให้เนื้อเยื่อในช่องปากได้พักจากการกดทับบ้าง โดยต้องนำฟันเทียมแช่น้ำสะอาดทุกครั้งห้ามวางทิ้งไว้เฉย ๆ เด็ดขาด เพราะจะทำให้ฟันเทียมแห้งและหดตัว และไม่ควรใช้น้ำร้อนในการแช่เพราะจะทำให้ฟันเทียมเกิดการบิดเบี้ยวจนใช้งานไม่ได้ ที่สำคัญนอกจากทำความสะอาดฟันเทียมแล้ว อย่าลืมทำความสะอาดฟันแท้และช่องปากด้วย เพื่อยืดอายุการใช้งานทั้งฟันแท้และฟันเทียมไปพร้อม ๆ กัน รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด*** สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง/ 27 สิงหาคม 2558