คุณกำลังมองหาอะไร?

ข่า

ข่าวแจก"กรมอนามัยชู 23 จังหวัดต้นแบบพัฒนาการดูแลทันตสุขภาพ เพิ่มรอยยิ้มผู้สูงวัย"

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

14.08.2558
7
0
แชร์
14
สิงหาคม
2558

ข่าวแจก"กรมอนามัยชู 23 จังหวัดต้นแบบพัฒนาการดูแลทันตสุขภาพ เพิ่มรอยยิ้มผู้สูงวัย"

        กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนารูปแบบบริการทางทันตสุขภาพผู้สูงอายุในจังหวัดต้นแบบที่มีการดำเนินการในพื้นที่ 23 จังหวัด ตามนโยบายแผนงานทันตสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุประเทศไทย พ.ศ.2558-2565 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพช่องปากที่ดีและมีฟันใช้งานได้อย่างเหมาะสม
         วันนี้ (14 สิงหาคม 2558) ศาสตราจารย์(พิเศษ) ทันตแพทย์หญิงท่านผู้หญิงเพ็ชรา เตชะกัมพุช ผู้อำนวยการหน่วยทันตกรรมพระราชทาน ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และประธานมูลนิธิทันตนวัตกรรมในพระบรมราชูปถัมภ์ ฯ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการเชิงประชุมปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนารูปแบบบริการทางทันตสุขภาพผู้สูงอายุในจังหวัดต้นแบบ ณ โรงแรมเอบีน่า เฮ้าส์ กรุงเทพมหานครว่า ประเทศไทยมีผู้สูงอายุประมาณ 10 ล้านคน หรือร้อยละ 15 สัดส่วนและจำนวนประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว คาดว่าในปี 2563 จะมีประชากรเด็กเท่ากับประชากรผู้สูงอายุ และในปี 2593 ประชากรสูงอายุจะเพิ่มเป็นร้อยละ 31.8 หรือกว่า 2 เท่าของประชากรเด็ก กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับมูลนิธิทันตนวัตกรรมในพระบรมราชูปถัมภ์ฯ จึงได้จัดทำและเสนอแผนงานทันตสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุประเทศไทย โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการของแผนงานทันตสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุประเทศไทย พ.ศ.2558-2565 เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2558 และเห็นชอบแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารแผนงานทันตสุขภาพ สำหรับผู้สูงอายุประเทศไทย โดยมีตัวแทนจากทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ด้านการส่งเสริมและดูแลรักษาสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปและผู้ที่มีอายุ 40-59 ปี เพื่อเตรียม ความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุให้เข้าถึงบริการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสภาพช่องปากเพิ่มขึ้น และมีส่วนร่วมในกิจกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเอง มีการพัฒนาเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมด้านทันตสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ พัฒนาศักยภาพบุคลากร และเพิ่มสัดส่วนที่เหมาะสมต่อการดูแลแก้ปัญหาสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ รวมถึงมีระบบการบริหารจัดการ งบประมาณ การสนับสนุน การกำกับติดตาม และการประเมินผลที่ชัดเจน
         "การดำเนินการในระยะที่ 1 ปี 2558-2561 แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 ดำเนินการแก้ปัญหาการสูญเสียฟัน ตามกิจกรรมเดิมในทุกจังหวัดทั่วประเทศต่อเนื่อง และส่วนที่ 2 พัฒนารูปแบบการแก้ไขปัญหาสุขภาพช่องปากด้านอื่นๆ ได้แก่ ปัญหาสภาวะช่องปากที่สัมพันธ์กับโรคทางระบบปัญหาน้ำลายแห้ง ปัญหาแผล มะเร็งช่องปาก และปัญหาการสูญเสียฟันที่ชัดเจนให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของพื้นที่ จึงกำหนดให้มีการดำเนินการระยะต้นในพื้นที่ต้นแบบ 23 จังหวัดที่สมัครใจ ได้แก่ ลำปาง เชียงราย พิษณุโลก ตาก ชัยนาท อ่างทอง นครนายก สมุทรสาคร นครปฐม สมุทรปราการ ชลบุรี จันทบุรี ร้อยเอ็ด อุดรธานี หนองคาย บุรีรัมย์ มุกดาหาร ระนอง นครศรีธรรมราช กระบี่ ตรัง พัทลุง และกรุงเทพมหานครใน 13 เขตสุขภาพ เพื่อพัฒนารูปแบบ ระบบการเข้าถึงบริการทันตสุขภาพที่จะส่งผลให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพช่องปากที่ดี มีฟันใช้งานได้อย่างเหมาะสม เพื่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ?
         ด้านทันตแพทย์สุธา เจียรมณีโชติชัย รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ปัญหาสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ มี 7 ประเด็น ได้แก่ 1) การสูญเสียฟัน 2) ฟันผุและรากฟันผุ 3) ปริทันต์ 4) ภาวะน้ำลายแห้ง 5) แผล/มะเร็งช่องปาก 6) ฟันสึก 7) สภาวะช่องปากที่สัมพันธ์กับโรคทางระบบ ที่ผ่านมานับตั้งแต่ปี 2548 กรมอนามัยมุ่งเน้นแก้ปัญหาการสูญเสียฟันทั้งปาก จนไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้ ทั้งฟันเทียมพระราชทาน ชมรมผู้สูงอายุด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก การจัดบริการส่งเสริมป้องกันในหน่วยบริการใกล้บ้าน ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีฟันใช้เคี้ยวอาหารเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 48 ในปี 2548 เป็นร้อยละ 57 ในปี 2555 ผู้สูงอายุที่สูญเสียฟันทั้งปากลดลงจากร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 7.2 แผนงาน ทันตสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุประเทศไทย พ.ศ.2558-2565 จะทำให้เกิดการพัฒนาการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ในอีก 6 ประเด็นนอกเหนือจากประเด็นการสูญเสียฟัน ซึ่งจะส่งผลให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น
         "การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนารูปแบบบริการทางทันตสุขภาพผู้สูงอายุในจังหวัดต้นแบบในครั้งนี้ จะช่วยเพิ่มการเข้าถึงบริการ และพัฒนาบุคลากรให้สามารถดูแลผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพตามแผนงานทันตสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุประเทศไทย พ.ศ.2558-2565 ในการทบทวนองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพช่องปากโดยได้รับความอนุเคราะห์วิทยากรจากมูลนิธิทันตนวัตกรรมในพระบรมราชูปถัมภ์ฯ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสำนักทันตสาธารณสุข นอกจากนี้จะกำหนดแนวทางการดำเนินงาน เพื่อนำไปประกอบการจัดทำแผนปฏิบัติการ โดยกำหนดเป้าหมาย เมื่อสิ้นสุดโครงการฯ ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงบริการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสภาพร้อยละ 80? รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด
 
สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง/ 14 สิงหาคม 2558
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนารูปแบบบริการทางทันตสุขภาพผู้สูงอายุในจังหวัดต้นแบบที่มีการดำเนินการในพื้นที่ 23 จังหวัด ตามนโยบายแผนงานทันตสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุประเทศไทย พ.ศ.2558-2565 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพช่องปากที่ดีและมีฟันใช้งานได้อย่างเหมาะสม วันนี้ (14 สิงหาคม 2558) ศาสตราจารย์(พิเศษ) ทันตแพทย์หญิงท่านผู้หญิงเพ็ชรา เตชะกัมพุช ผู้อำนวยการหน่วยทันตกรรมพระราชทาน ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และประธานมูลนิธิทันตนวัตกรรมในพระบรมราชูปถัมภ์ ฯ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการเชิงประชุมปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนารูปแบบบริการทางทันตสุขภาพผู้สูงอายุในจังหวัดต้นแบบ ณ โรงแรมเอบีน่า เฮ้าส์ กรุงเทพมหานครว่า ประเทศไทยมีผู้สูงอายุประมาณ 10 ล้านคน หรือร้อยละ 15 สัดส่วนและจำนวนประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว คาดว่าในปี 2563 จะมีประชากรเด็กเท่ากับประชากรผู้สูงอายุ และในปี 2593 ประชากรสูงอายุจะเพิ่มเป็นร้อยละ 31.8 หรือกว่า 2 เท่าของประชากรเด็ก กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับมูลนิธิทันตนวัตกรรมในพระบรมราชูปถัมภ์ฯ จึงได้จัดทำและเสนอแผนงานทันตสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุประเทศไทย โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการของแผนงานทันตสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุประเทศไทย พ.ศ.2558-2565 เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2558 และเห็นชอบแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารแผนงานทันตสุขภาพ สำหรับผู้สูงอายุประเทศไทย โดยมีตัวแทนจากทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ด้านการส่งเสริมและดูแลรักษาสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปและผู้ที่มีอายุ 40-59 ปี เพื่อเตรียม ความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุให้เข้าถึงบริการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสภาพช่องปากเพิ่มขึ้น และมีส่วนร่วมในกิจกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเอง มีการพัฒนาเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมด้านทันตสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ พัฒนาศักยภาพบุคลากร และเพิ่มสัดส่วนที่เหมาะสมต่อการดูแลแก้ปัญหาสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ รวมถึงมีระบบการบริหารจัดการ งบประมาณ การสนับสนุน การกำกับติดตาม และการประเมินผลที่ชัดเจน การดำเนินการในระยะที่ 1 ปี 2558-2561 แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 ดำเนินการแก้ปัญหาการสูญเสียฟัน ตามกิจกรรมเดิมในทุกจังหวัดทั่วประเทศต่อเนื่อง และส่วนที่ 2 พัฒนารูปแบบการแก้ไขปัญหาสุขภาพช่องปากด้านอื่นๆ ได้แก่ ปัญหาสภาวะช่องปากที่สัมพันธ์กับโรคทางระบบปัญหาน้ำลายแห้ง ปัญหาแผล มะเร็งช่องปาก และปัญหาการสูญเสียฟันที่ชัดเจนให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของพื้นที่ จึงกำหนดให้มีการดำเนินการระยะต้นในพื้นที่ต้นแบบ 23 จังหวัดที่สมัครใจ ได้แก่ ลำปาง เชียงราย พิษณุโลก ตาก ชัยนาท อ่างทอง นครนายก สมุทรสาคร นครปฐม สมุทรปราการ ชลบุรี จันทบุรี ร้อยเอ็ด อุดรธานี หนองคาย บุรีรัมย์ มุกดาหาร ระนอง นครศรีธรรมราช กระบี่ ตรัง พัทลุง และกรุงเทพมหานครใน 13 เขตสุขภาพ เพื่อพัฒนารูปแบบ ระบบการเข้าถึงบริการทันตสุขภาพที่จะส่งผลให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพช่องปากที่ดี มีฟันใช้งานได้อย่างเหมาะสม เพื่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ ด้านทันตแพทย์สุธา เจียรมณีโชติชัย รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ปัญหาสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ มี 7 ประเด็น ได้แก่ 1) การสูญเสียฟัน 2) ฟันผุและรากฟันผุ 3) ปริทันต์ 4) ภาวะน้ำลายแห้ง 5) แผล/มะเร็งช่องปาก 6) ฟันสึก 7) สภาวะช่องปากที่สัมพันธ์กับโรคทางระบบ ที่ผ่านมานับตั้งแต่ปี 2548 กรมอนามัยมุ่งเน้นแก้ปัญหาการสูญเสียฟันทั้งปาก จนไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้ ทั้งฟันเทียมพระราชทาน ชมรมผู้สูงอายุด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก การจัดบริการส่งเสริมป้องกันในหน่วยบริการใกล้บ้าน ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีฟันใช้เคี้ยวอาหารเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 48 ในปี 2548 เป็นร้อยละ 57 ในปี 2555 ผู้สูงอายุที่สูญเสียฟันทั้งปากลดลงจากร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 7.2 แผนงาน ทันตสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุประเทศไทย พ.ศ.2558-2565 จะทำให้เกิดการพัฒนาการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ในอีก 6 ประเด็นนอกเหนือจากประเด็นการสูญเสียฟัน ซึ่งจะส่งผลให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนารูปแบบบริการทางทันตสุขภาพผู้สูงอายุในจังหวัดต้นแบบในครั้งนี้ จะช่วยเพิ่มการเข้าถึงบริการ และพัฒนาบุคลากรให้สามารถดูแลผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพตามแผนงานทันตสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุประเทศไทย พ.ศ.2558-2565 ในการทบทวนองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพช่องปากโดยได้รับความอนุเคราะห์วิทยากรจากมูลนิธิทันตนวัตกรรมในพระบรมราชูปถัมภ์ฯ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสำนักทันตสาธารณสุข นอกจากนี้จะกำหนดแนวทางการดำเนินงาน เพื่อนำไปประกอบการจัดทำแผนปฏิบัติการ โดยกำหนดเป้าหมาย เมื่อสิ้นสุดโครงการฯ ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงบริการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสภาพร้อยละ 80 รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง/ 14 สิงหาคม 2558

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน

ติดตามข่าวสารได้ที่

แทงบอลออนไลน์ || ดูบอลสด UFABET