ข่าวแจก "สธ มอบประกาศเกียรติบัตร Care Manager ผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุรุ่นแรกของประเทศ"
กระทรวงสาธารณสุข จัดอบรมหลักสูตรผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุ และผู้ดูแลผู้สูงอายุในชุมชน เพื่อการดูแลให้ผู้สุงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยวางเป้ามีผู้ดูแลในชุมชน 1 คนต่อผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง 5-7 คน และผู้จัดการดูแลผู้สงอายุ 1 คน ต่อผู้ดูแลผู้สูงอายุในชุมชน 5-7 คน
วันนี้ (14 พฤศจิกายน 2557) ที่ โรงแรมโกลเด้นดราก้อน จังหวัดนนทบุรี นายแพทย์สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานมอบเกียรติบัตรผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุ (Care manager) โดยมีผู้เข้าอบรมจำนวน 71 คน ซึ่งเป็นรุ่นแรกของประเทศ เพื่อการดูแลผู้สูงอายุได้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยเฉพาะผู้ป่วยติดเตียง ตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข
นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ กล่าวว่า จากแนวทางการทำงานของนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา คือ ทำทันที ทำจริง ทำให้เห็นผลสัมฤทธิ์ ทำต่อเนื่อง? เน้นประโยชน์ที่เกิดกับประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม เสมอภาค โดยจะต้องดำเนินการให้เสร็จภายใน 1 ปี และมีผลต่อเนื่องในระยะยาวอย่างยั่งยืน ให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม และพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพ สามารถทำงานได้อย่างมีความสุขและภาคภูมิใจและนโยบายสำคัญ 1 ใน 10 ประการของกระทรวงสาธารณสุขคือการสร้างเสริมสุขภาวะสำหรับผู้สูงอายุ และผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง
นพ.สมศักดิ์ กล่าวต่อว่า ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างรวดเร็ว เนื่องจากคนไทยเกิดน้อยลง และอายุยืนยาวขึ้นจากสถิติในปี 2553 ประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุถึง 8.5 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 13 ของประชากรไทย และคาดว่าในปี 2573 ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุมากถึง 17 ล้านคน และสังคมไทยยังมีผู้สูงอายุวัยปลาย ที่มีอายุเกินกว่า 80 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนอีกด้วย ซึ่งจะพบปัญหาที่ติดตามมาคือปัญหาด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาโรคเรื้อรังที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ข้อเข่าเสื่อม ซึมเศร้า พึ่งตนเองได้น้อยลงจนอาจถึงทุพพลภาพติดเตียงซึ่งมักจะพบว่าผู้สูงอายุไม่สามารถเข้าถึงบริการสุขภาพได้
นายแพทย์สมศักดิ์ กล่าวอีกว่า กระทรวงสาธารณสุขมีการพัฒนาระบบการสร้างเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุและจัดให้เป็นนโยบายเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ โดยให้ค้นหาผู้สูงอายุที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ และจัดบริการด้านสุขภาพและสังคม รวมถึงการมีผู้ดูแลในชุมชน (Care giver) และผู้จัดการดูแลผู้สูงอายุ (Care manager) อย่างพอเพียงในสัดส่วน Care giver 1 คน ต่อผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง 5-7 คนและ Care manager 1 คน ต่อ Care giver 5-7 คน เพื่อให้สามารถดูแลสุขภาพผู้สูงอายุได้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ
ด้านดร. นายแพทย์พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า การจัดอบรมแบ่งออกเป็น 2 หลักสูตร สำหรับผู้จัดการและผู้ดูแล สำหรับหลักสูตรผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุ เน้นการบริหารจัดการผู้ดูแลผู้สูงอายุให้เกิดการบริการผู้สูงอายุเชิงรุกอย่างครบวงจรในชุมชน ตั้งแต่ผู้สูงอายุยังไม่เจ็บป่วยกำหนดเป้าหมายการดำเนินการ 20 จังหวัดภายในเดือนธันวาคม 2557 โดยคาดว่าจะมีผู้ผ่านการอบรมกว่า 150 คน นอกจากนี้ กรมอนามัยได้จัดทำสมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุมอบให้แก่ผู้สูงอายุไทยทุกคนเป็นสมุดประจำตัว เพื่อให้ผู้สูงอายุและครอบครัว สามารถประเมินและดูแลสุขภาพได้ด้วยตนเอง
***
สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง / 14 พฤศจิกายน 2557
กระทรวงสาธารณสุข จัดอบรมหลักสูตรผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุ และผู้ดูแลผู้สูงอายุในชุมชน เพื่อการดูแลให้ผู้สุงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยวางเป้ามีผู้ดูแลในชุมชน 1 คนต่อผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง 5-7 คน และผู้จัดการดูแลผู้สงอายุ 1 คน ต่อผู้ดูแลผู้สูงอายุในชุมชน 5-7 คน วันนี้ (14 พฤศจิกายน 2557) ที่ โรงแรมโกลเด้นดราก้อน จังหวัดนนทบุรี นายแพทย์สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานมอบเกียรติบัตรผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุ (Care manager) โดยมีผู้เข้าอบรมจำนวน 71 คน ซึ่งเป็นรุ่นแรกของประเทศ เพื่อการดูแลผู้สูงอายุได้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยเฉพาะผู้ป่วยติดเตียง ตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ กล่าวว่า จากแนวทางการทำงานของนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา คือ \\ทำทันที ทำจริง ทำให้เห็นผลสัมฤทธิ์ ทำต่อเนื่อง เน้นประโยชน์ที่เกิดกับประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม เสมอภาค โดยจะต้องดำเนินการให้เสร็จภายใน 1 ปี และมีผลต่อเนื่องในระยะยาวอย่างยั่งยืน ให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม และพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพ สามารถทำงานได้อย่างมีความสุขและภาคภูมิใจและนโยบายสำคัญ 1 ใน 10 ประการของกระทรวงสาธารณสุขคือการสร้างเสริมสุขภาวะสำหรับผู้สูงอายุ และผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง นพ.สมศักดิ์ กล่าวต่อว่า ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างรวดเร็ว เนื่องจากคนไทยเกิดน้อยลง และอายุยืนยาวขึ้นจากสถิติในปี 2553 ประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุถึง 8.5 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 13 ของประชากรไทย และคาดว่าในปี 2573 ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุมากถึง 17 ล้านคน และสังคมไทยยังมีผู้สูงอายุวัยปลาย ที่มีอายุเกินกว่า 80 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนอีกด้วย ซึ่งจะพบปัญหาที่ติดตามมาคือปัญหาด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาโรคเรื้อรังที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ข้อเข่าเสื่อม ซึมเศร้า พึ่งตนเองได้น้อยลงจนอาจถึงทุพพลภาพติดเตียงซึ่งมักจะพบว่าผู้สูงอายุไม่สามารถเข้าถึงบริการสุขภาพได้ นายแพทย์สมศักดิ์ กล่าวอีกว่า กระทรวงสาธารณสุขมีการพัฒนาระบบการสร้างเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุและจัดให้เป็นนโยบายเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ โดยให้ค้นหาผู้สูงอายุที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ และจัดบริการด้านสุขภาพและสังคม รวมถึงการมีผู้ดูแลในชุมชน (Care giver) และผู้จัดการดูแลผู้สูงอายุ (Care manager) อย่างพอเพียงในสัดส่วน Care giver 1 คน ต่อผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง 5-7 คนและ Care manager 1 คน ต่อ Care giver 5-7 คน เพื่อให้สามารถดูแลสุขภาพผู้สูงอายุได้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ ด้านดร. นายแพทย์พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า การจัดอบรมแบ่งออกเป็น 2 หลักสูตร สำหรับผู้จัดการและผู้ดูแล สำหรับหลักสูตรผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุ เน้นการบริหารจัดการผู้ดูแลผู้สูงอายุให้เกิดการบริการผู้สูงอายุเชิงรุกอย่างครบวงจรในชุมชน ตั้งแต่ผู้สูงอายุยังไม่เจ็บป่วยกำหนดเป้าหมายการดำเนินการ 20 จังหวัดภายในเดือนธันวาคม 2557 โดยคาดว่าจะมีผู้ผ่านการอบรมกว่า 150 คน นอกจากนี้ กรมอนามัยได้จัดทำสมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุมอบให้แก่ผู้สูงอายุไทยทุกคนเป็นสมุดประจำตัว เพื่อให้ผู้สูงอายุและครอบครัว สามารถประเมินและดูแลสุขภาพได้ด้วยตนเอง ***สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง / 14 พฤศจิกายน 2557