คุณกำลังมองหาอะไร?

ข่า

ข่าวแจก"กรมอนามัยหนุนตลาดสดส่งเสริมเกษตรกรปลูกผักผลไม้ปลอดภัย จำหน่ายให้ผู้บริโภค"

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

04.08.2558
18
0
แชร์
04
สิงหาคม
2558

ข่าวแจก"กรมอนามัยหนุนตลาดสดส่งเสริมเกษตรกรปลูกผักผลไม้ปลอดภัย จำหน่ายให้ผู้บริโภค"

           กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผยผลการตรวจยาฆ่าแมลงในผักในร้านอาหาร 77 ตัวอย่าง พบปนเปื้อน 20 ตัวอย่าง หรือร้อยละ 25.97 แนะ เลี่ยงกินผักนอกฤดู พร้อมลงตรวจเยี่ยมตลาดศรีเมือง เพื่อส่งเสริมตลาดที่มีการจัดการที่ถูกสุขลักษณะ และมอบเกียรติบัตรเกษตรกรต้นแบบที่ผลิตผักปลอดภัย ลดปัจจัยเสี่ยงปนเปื้อนยาฆ่าแมลง
           วันนี้ (3 สิงหาคม 2558) ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการตรวจเยี่ยมและมอบใบประกาศเกียรติบัตรเกษตรกรพืชผักปลอดภัย ณ ตลาดกลางผักและผลไม้ จังหวัดราชบุรี ว่า กรมอนามัยรณรงค์ให้ประชาชนคนไทยบริโภคผักผลไม้ให้ได้อย่างน้อย 400กรัมต่อวัน เพื่อช่วยในเรื่องระบบขับถ่าย ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ ไขมันในเส้นเลือดสูง แต่สิ่งที่สำคัญคือ ผักผลไม้ที่บริโภคนั้นต้องสะอาด ปราศจาก ยาฆ่าแมลง เนื่องจากการบริโภคอาหารที่มีการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลงเป็นระยะเวลานาน แม้จะในปริมาณที่น้อย ก็จะสะสมจนอาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็ง เช่น มะเร็งเต้านมในผู้หญิง มะเร็งตับ เป็นต้น โดยข้อมูลในปี 2558 กรมอนามัยได้สุ่มตรวจประเมินการตกค้างของยาฆ่าแมลงในผักที่ใช้ในการประกอบอาหารในร้านอาหาร พบว่า จากตัวอย่างผักที่พร้อมจะใช้งานจำนวน 77ตัวอย่าง ตรวจพบมีการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลงในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพถึง 20 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 25.97 ดังนั้น ในการบริโภคผักควรนำมาล้างน้ำให้สะอาด เพื่อกำจัดหรือลดสารเคมีและยาฆ่าแมลงตกค้างด้วยการลอกเปลือกด้านนอกออกล้างผ่านน้ำก๊อกที่ไหลนาน 2 นาที หรือแช่ในน้ำผสมเกลือ หรือ น้ำผสมน้ำส้มสายชูทิ้งไว้นาน 10-15 นาที หรือแช่ในน้ำผสมโซเดียมไบคาร์บอเนต 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 1 กะละมัง หรือ น้ำประมาณ 4 ลิตร จากนั้นนำมาผักมาล้างน้ำสะอาดอีก 2-3 ครั้ง เพื่อให้สารพิษที่ตกค้างออกให้หมดช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งโดยเฉพาะโรคมะเร็งเต้านม
         ดร.นพ.พรเทพ กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้กรมอนามัยได้เร่ง สร้างความตระหนักให้กับเกษตรกรผู้ปลูกผัก ให้มีการใช้สารธรรมชาติในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชแทนการใช้สารเคมี หรือหากจำเป็นต้องใช้ยาฆ่าแมลง ต้องมีการใช้ตามปริมาณ ที่กำหนด และเก็บเกี่ยวในเวลาที่ถูกต้องเพื่อจำหน่ายตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิต รวมถึงสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ ผู้มีหน้าที่ในการเตรียมวัตถุดิบสำหรับการปรุงประกอบอาหารให้มีการล้างผักที่ถูกวิธี เพื่อลดหรือกำจัดปริมาณตกค้าง ของสารเคมีให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อการบริโภค
        "สำหรับตลาดศรีเมืองที่ได้ตรวจเยี่ยมในครั้งนี้ นับเป็นแหล่งจำหน่ายผักและผลไม้ปลอดภัย เป็นศูนย์กลาง ตลาดค้าส่ง และตลาดค้าปลีกผลิตผลด้านการเกษตรแหล่งใหญ่อันดับต้นๆ ของภาคกลาง มีศูนย์ตรวจสอบคุณภาพผลผลิต เพื่อตรวจสอบคุณภาพสินค้าที่นำเข้ามาจำหน่ายในตลาดตามเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรมอนามัย ให้คำแนะนำแก่เกษตรกร รวมทั้งจัดอบรมให้ความรู้การผลิตผักปลอดภัยให้กับกลุ่มเกษตรกรของตลาด ซึ่งตลาดแห่งนี้ ได้เข้าร่วมโครงการตลาดสด น่าซื้อ ของกรมอนามัย ตั้งแต่ปี 2546จนถึงปัจจุบัน และได้ผ่านการประเมินมาตรฐาน ตลาดสด น่าซื้อ ระดับดีมาก 5ดาว มากว่าทศวรรษ และผลจากการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องในเรื่องเกษตรกรผลิต ผักปลอดภัย กรมอนามัยโดยศูนย์อนามัยที่ 4ราชบุรี และสำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ จึงได้ร่วมกับตลาดศรีเมือง จัดกิจกรรมมอบใบประกาศเกียรติบัตรแก่เกษตรกรที่ผลิตพืชผักปลอดภัยขึ้น เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติเกษตรกรที่มีการทำดีโดยผลิตผักและผลไม้ที่ปลอดภัยมาจำหน่ายให้กับผู้บริโภค อีกทั้งยังเป็นการสร้างกระแสการดำเนินงานตลาดสะอาด อาหารปลอดภัย สร้างความมั่นใจและรณรงค์ให้ผู้บริโภคเลือกซื้ออาหารจากแหล่งจำหน่ายที่เชื่อถือได้ หรือที่มีการรับรองจากหน่วยงานราชการ? อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด
 
 ***
 
สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง/ 3 สิงหาคม 2558
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผยผลการตรวจยาฆ่าแมลงในผักในร้านอาหาร 77 ตัวอย่าง พบปนเปื้อน 20 ตัวอย่าง หรือร้อยละ 25.97 แนะ เลี่ยงกินผักนอกฤดู พร้อมลงตรวจเยี่ยมตลาดศรีเมือง เพื่อส่งเสริมตลาดที่มีการจัดการที่ถูกสุขลักษณะ และมอบเกียรติบัตรเกษตรกรต้นแบบที่ผลิตผักปลอดภัย ลดปัจจัยเสี่ยงปนเปื้อนยาฆ่าแมลง วันนี้ (3 สิงหาคม 2558) ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการตรวจเยี่ยมและมอบใบประกาศเกียรติบัตรเกษตรกรพืชผักปลอดภัย ณ ตลาดกลางผักและผลไม้ จังหวัดราชบุรี ว่า กรมอนามัยรณรงค์ให้ประชาชนคนไทยบริโภคผักผลไม้ให้ได้อย่างน้อย 400กรัมต่อวัน เพื่อช่วยในเรื่องระบบขับถ่าย ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ ไขมันในเส้นเลือดสูง แต่สิ่งที่สำคัญคือ ผักผลไม้ที่บริโภคนั้นต้องสะอาด ปราศจาก ยาฆ่าแมลง เนื่องจากการบริโภคอาหารที่มีการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลงเป็นระยะเวลานาน แม้จะในปริมาณที่น้อย ก็จะสะสมจนอาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็ง เช่น มะเร็งเต้านมในผู้หญิง มะเร็งตับ เป็นต้น โดยข้อมูลในปี 2558 กรมอนามัยได้สุ่มตรวจประเมินการตกค้างของยาฆ่าแมลงในผักที่ใช้ในการประกอบอาหารในร้านอาหาร พบว่า จากตัวอย่างผักที่พร้อมจะใช้งานจำนวน 77ตัวอย่าง ตรวจพบมีการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลงในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพถึง 20 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 25.97 ดังนั้น ในการบริโภคผักควรนำมาล้างน้ำให้สะอาด เพื่อกำจัดหรือลดสารเคมีและยาฆ่าแมลงตกค้างด้วยการลอกเปลือกด้านนอกออกล้างผ่านน้ำก๊อกที่ไหลนาน 2 นาที หรือแช่ในน้ำผสมเกลือ หรือ น้ำผสมน้ำส้มสายชูทิ้งไว้นาน 10-15 นาที หรือแช่ในน้ำผสมโซเดียมไบคาร์บอเนต 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 1 กะละมัง หรือ น้ำประมาณ 4 ลิตร จากนั้นนำมาผักมาล้างน้ำสะอาดอีก 2-3 ครั้ง เพื่อให้สารพิษที่ตกค้างออกให้หมดช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งโดยเฉพาะโรคมะเร็งเต้านม ดร.นพ.พรเทพ กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้กรมอนามัยได้เร่ง สร้างความตระหนักให้กับเกษตรกรผู้ปลูกผัก ให้มีการใช้สารธรรมชาติในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชแทนการใช้สารเคมี หรือหากจำเป็นต้องใช้ยาฆ่าแมลง ต้องมีการใช้ตามปริมาณ ที่กำหนด และเก็บเกี่ยวในเวลาที่ถูกต้องเพื่อจำหน่ายตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิต รวมถึงสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ ผู้มีหน้าที่ในการเตรียมวัตถุดิบสำหรับการปรุงประกอบอาหารให้มีการล้างผักที่ถูกวิธี เพื่อลดหรือกำจัดปริมาณตกค้าง ของสารเคมีให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อการบริโภค สำหรับตลาดศรีเมืองที่ได้ตรวจเยี่ยมในครั้งนี้ นับเป็นแหล่งจำหน่ายผักและผลไม้ปลอดภัย เป็นศูนย์กลาง ตลาดค้าส่ง และตลาดค้าปลีกผลิตผลด้านการเกษตรแหล่งใหญ่อันดับต้นๆ ของภาคกลาง มีศูนย์ตรวจสอบคุณภาพผลผลิต เพื่อตรวจสอบคุณภาพสินค้าที่นำเข้ามาจำหน่ายในตลาดตามเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรมอนามัย ให้คำแนะนำแก่เกษตรกร รวมทั้งจัดอบรมให้ความรู้การผลิตผักปลอดภัยให้กับกลุ่มเกษตรกรของตลาด ซึ่งตลาดแห่งนี้ ได้เข้าร่วมโครงการตลาดสด น่าซื้อ ของกรมอนามัย ตั้งแต่ปี 2546จนถึงปัจจุบัน และได้ผ่านการประเมินมาตรฐาน ตลาดสด น่าซื้อ ระดับดีมาก 5ดาว มากว่าทศวรรษ และผลจากการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องในเรื่องเกษตรกรผลิต ผักปลอดภัย กรมอนามัยโดยศูนย์อนามัยที่ 4ราชบุรี และสำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ จึงได้ร่วมกับตลาดศรีเมือง จัดกิจกรรมมอบใบประกาศเกียรติบัตรแก่เกษตรกรที่ผลิตพืชผักปลอดภัยขึ้น เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติเกษตรกรที่มีการทำดีโดยผลิตผักและผลไม้ที่ปลอดภัยมาจำหน่ายให้กับผู้บริโภค อีกทั้งยังเป็นการสร้างกระแสการดำเนินงานตลาดสะอาด อาหารปลอดภัย สร้างความมั่นใจและรณรงค์ให้ผู้บริโภคเลือกซื้ออาหารจากแหล่งจำหน่ายที่เชื่อถือได้ หรือที่มีการรับรองจากหน่วยงานราชการ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด *** สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง/ 3 สิงหาคม 2558

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน

ติดตามข่าวสารได้ที่

แทงบอลออนไลน์ || ดูบอลสด UFABET