ข่าวแจก "สธ. มอบโล่การันตี 136 โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ปี57 มุ่งเน้นนักเรียนโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง"
กระทรวงสาธารณสุข มอบโล่เกียรติคุณโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ประจำปี 2557 จำนวน 136 โรงเรียน ย้ำแนวคิดพัฒนาโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ที่มุ่งให้นักเรียนมีภาวะโภชนาการดี มีสุขภาพแข็งแรง มีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการมีสุขภาพดี มีความเป็นอยู่ที่ดี
วันนี้ (24 กรกฎาคม 2558) นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยหลังเป็นประธานมอบโล่เกียรติคุณโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ประจำปี 2557 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร ว่า กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมอนามัย ได้ดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพตามแนวคิดโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ตั้งแต่ปี 2541 ภายใต้ความร่วมมือของฝ่ายการศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย และกรุงเทพมหานคร ทำให้โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพมีความก้าวหน้ามากขึ้นตามลำดับ ซึ่งจากเกณฑ์การประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพที่พัฒนายกระดับสู่การเน้นผลลัพธ์ทางภาวะสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียน รวมทั้งผลการดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการมาตั้งแต่ ปี 2551 ภายใต้ชื่อโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ซึ่งในปี 2557 มีโรงเรียนที่ผ่านเกณฑ์โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร จำนวนทั้งสิ้น 136 แห่ง อาทิ โรงเรียนคลองสำโรง จังหวัดสมุทรปราการ โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ จังหวัดมหาสารคาม โรงเรียนปางมะค่าวิทยาคม จังหวัดกำแพงเพชร โรงเรียนบ้านกรือซอ จังหวัดนราธิวาส เป็นต้น ปัจจุบันมีโรงเรียนทั่วประเทศผ่านเกณฑ์โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ระดับเพชรแล้วทั้งสิ้น 537 แห่ง
นพ.สมศักดิ์ กล่าวต่อว่า การพัฒนาโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพจะต้องมีองค์ประกอบ 10 ข้อ ได้แก่ 1) นโยบายของโรงเรียน 2) การบริหารจัดการในโรงเรียน 3) โครงการร่วมระหว่างโรงเรียนกับชุมชน 4) การจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนที่เอื้อต่อสุขภาพ 5) บริการอนามัยโรงเรียน 6) สุขศึกษาในโรงเรียน7) โภชนาการและอาหารที่ปลอดภัย 8) การออกกำลังกาย กีฬา และนันทนาการ 9) การให้คำปรึกษาและสนับสนุนทางสังคม และ 10) การส่งเสริมสุขภาพบุคลากรในโรงเรียน
"ทั้งนี้ จากการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการเด็กวัยเรียน พ.ศ. 2553 พบว่า เป็นโรคอ้วนร้อยละ 13.7 และใน พ.ศ. 2554 พบว่า ร้อยละ 17.0 มีสาเหตุของโรคอ้วนมาจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม การบริโภคอาหารที่ไม่ได้สัดส่วนและปริมาณที่เหมาะสมตามวัย เด็กกินผักเพียงวันละ 1.5 ช้อนโต๊ะ ทั้งๆ ที่ควรกินไม่ต่ำกว่าวันละ 12 ช้อนโต๊ะ รวมทั้งขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยพบว่าเด็กอายุ 6-9 ปี มีการออกกำลังกายครบเกณฑ์เพียงร้อยละ 59.4 ไม่ค่อยออกกำลังกายร้อยละ 32.7 และออกกำลังกายไม่ครบเกณฑ์ร้อยละ 7.9 ในขณะที่เด็กอายุ 10-14 ปี มีการออกกำลังกายครบเกณฑ์สูงถึงร้อยละ 77.3 ไม่ค่อยออกกำลังกายร้อยละ 18.5 และออกกำลังกายไม่ครบเกณฑ์ร้อยละ 4.1 ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวจะนำไปสู่การเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้? นพ.สมศักดิ์ กล่าว
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวในตอนท้ายว่า การดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพจึงมุ่งให้นักเรียนมีภาวะโภชนาการดี มีสุขภาพแข็งแรง มีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อสุขภาพดี มีความเป็นอยู่ที่ดี และมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน โดยส่งเสริมให้นักเรียนทุกคนได้ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงทุกเดือน ส่งเสริมให้มีน้ำดื่มน้ำใช้ที่สะอาด เพียงพอ มีการพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้ดี มีที่นั่งพักผ่อนและสวนหย่อมในบริเวณโรงเรียน ปราศจากมลพิษและปลอดภัย ส่งเสริมให้มีการสอนสุขศึกษาในโรงเรียนทุกรูปแบบ ทั้งแบบรายวิชา แบบบูรณาการและปฏิบัติจริง เป็นต้น
***
สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง/ 24 กรกฎาคม 2558
กระทรวงสาธารณสุข มอบโล่เกียรติคุณโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ประจำปี 2557 จำนวน 136 โรงเรียน ย้ำแนวคิดพัฒนาโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ที่มุ่งให้นักเรียนมีภาวะโภชนาการดี มีสุขภาพแข็งแรง มีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการมีสุขภาพดี มีความเป็นอยู่ที่ดี วันนี้ (24 กรกฎาคม 2558) นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยหลังเป็นประธานมอบโล่เกียรติคุณโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ประจำปี 2557 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร ว่า กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมอนามัย ได้ดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพตามแนวคิดโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ตั้งแต่ปี 2541 ภายใต้ความร่วมมือของฝ่ายการศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย และกรุงเทพมหานคร ทำให้โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพมีความก้าวหน้ามากขึ้นตามลำดับ ซึ่งจากเกณฑ์การประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพที่พัฒนายกระดับสู่การเน้นผลลัพธ์ทางภาวะสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียน รวมทั้งผลการดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการมาตั้งแต่ ปี 2551 ภายใต้ชื่อโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ซึ่งในปี 2557 มีโรงเรียนที่ผ่านเกณฑ์โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร จำนวนทั้งสิ้น 136 แห่ง อาทิ โรงเรียนคลองสำโรง จังหวัดสมุทรปราการ โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ จังหวัดมหาสารคาม โรงเรียนปางมะค่าวิทยาคม จังหวัดกำแพงเพชร โรงเรียนบ้านกรือซอ จังหวัดนราธิวาส เป็นต้น ปัจจุบันมีโรงเรียนทั่วประเทศผ่านเกณฑ์โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ระดับเพชรแล้วทั้งสิ้น 537 แห่ง นพ.สมศักดิ์ กล่าวต่อว่า การพัฒนาโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพจะต้องมีองค์ประกอบ 10 ข้อ ได้แก่ 1) นโยบายของโรงเรียน 2) การบริหารจัดการในโรงเรียน 3) โครงการร่วมระหว่างโรงเรียนกับชุมชน 4) การจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนที่เอื้อต่อสุขภาพ 5) บริการอนามัยโรงเรียน 6) สุขศึกษาในโรงเรียน7) โภชนาการและอาหารที่ปลอดภัย 8) การออกกำลังกาย กีฬา และนันทนาการ 9) การให้คำปรึกษาและสนับสนุนทางสังคม และ 10) การส่งเสริมสุขภาพบุคลากรในโรงเรียน ทั้งนี้ จากการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการเด็กวัยเรียน พ.ศ. 2553 พบว่า เป็นโรคอ้วนร้อยละ 13.7 และใน พ.ศ. 2554 พบว่า ร้อยละ 17.0 มีสาเหตุของโรคอ้วนมาจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม การบริโภคอาหารที่ไม่ได้สัดส่วนและปริมาณที่เหมาะสมตามวัย เด็กกินผักเพียงวันละ 1.5 ช้อนโต๊ะ ทั้งๆ ที่ควรกินไม่ต่ำกว่าวันละ 12 ช้อนโต๊ะ รวมทั้งขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยพบว่าเด็กอายุ 6-9 ปี มีการออกกำลังกายครบเกณฑ์เพียงร้อยละ 59.4 ไม่ค่อยออกกำลังกายร้อยละ 32.7 และออกกำลังกายไม่ครบเกณฑ์ร้อยละ 7.9 ในขณะที่เด็กอายุ 10-14 ปี มีการออกกำลังกายครบเกณฑ์สูงถึงร้อยละ 77.3 ไม่ค่อยออกกำลังกายร้อยละ 18.5 และออกกำลังกายไม่ครบเกณฑ์ร้อยละ 4.1 ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวจะนำไปสู่การเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้ นพ.สมศักดิ์ กล่าว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวในตอนท้ายว่า การดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพจึงมุ่งให้นักเรียนมีภาวะโภชนาการดี มีสุขภาพแข็งแรง มีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อสุขภาพดี มีความเป็นอยู่ที่ดี และมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน โดยส่งเสริมให้นักเรียนทุกคนได้ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงทุกเดือน ส่งเสริมให้มีน้ำดื่มน้ำใช้ที่สะอาด เพียงพอ มีการพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้ดี มีที่นั่งพักผ่อนและสวนหย่อมในบริเวณโรงเรียน ปราศจากมลพิษและปลอดภัย ส่งเสริมให้มีการสอนสุขศึกษาในโรงเรียนทุกรูปแบบ ทั้งแบบรายวิชา แบบบูรณาการและปฏิบัติจริง เป็นต้น *** สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง/ 24 กรกฎาคม 2558