คุณกำลังมองหาอะไร?

รมอนามัย รุกต่อ จับมือ กฟภ. เขต 1 และการไฟฟ้าในภาคอีสาน 15 แห่ง ลงนาม MOU ลด ละ เลิก ใช้โฟม

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

26.05.2560
10
0
แชร์
26
พ.ค.
2560

กรมอนามัย รุกต่อ จับมือ กฟภ. เขต 1 และการไฟฟ้าในภาคอีสาน 15 แห่ง ลงนาม MOU ลด ละ เลิก ใช้โฟม

       กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต 1 (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) จังหวัดอุดรธานี และการไฟฟ้าในสังกัด รวม 15 แห่ง ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ลด ละ เลิกการใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร เพื่อสุขภาพที่ดีของพนักงาน
       วันนี้ (26 พฤษภาคม 2560) นายแพทย์ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังพิธีลงนาม ความร่วมมือ การลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร ณ ห้องสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 1 (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) จังหวัดอุดรธานี ว่า กรมอนามัยได้ดำเนินการตามข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ให้กระทรวงสาธารณสุขงดใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหารร้อนหรือมีไขมันเพื่อเป็นตัวอย่างให้ส่วนราชการอื่นและประชาชน โดยเริ่มจากผู้ประกอบการค้าอาหารในโรงอาหารและตลาดนัด รวม 311 ราย ซึ่งเลิกใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหารได้ร้อยละ 100 ในปี 2557 ต่อมาในปี 2558 ได้ขยายพื้นที่การรณรงค์ไปยังหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศ เช่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน ศูนย์วิชาการฯและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้นแบบนำร่อง 4 ภาค อีกทั้งยังได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายภาคเอกชน จำนวน 14 แห่ง ร่วมลงนามความร่วมมือ และในปี 2559 ได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายภาครัฐและเอกชนอีก 33 หน่วยงาน ซึ่งสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (สำนักงานใหญ่) เป็นองค์กรหนึ่งที่เห็นความสำคัญและดำเนินการลด ละ เลิก การใช้โฟมจนได้รับประกาศเกียรติคุณเป็นองค์กรปลอดโฟม 100 เปอร์เซ็นต์
       "ทั้งนี้ กรมอนามัยได้กำหนดการดำเนินงานลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร ภายใต้ 3 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) กำหนดพื้นที่ปลอดการใช้โฟมบรรจุอาหาร โดยให้ใช้ภาชนะที่ทำจากวัสดุธรรมชาติใช้แทน เช่น กระดาษ ชานอ้อย หรือกล่องพลาสติกชีวภาพ 2) การรณรงค์การใช้วัสดุธรรมชาติดั้งเดิม เช่น ใบตอง ใบบัว สำหรับห่อข้าวหรือขนม เช่น ชานอ้อย มันสำปะหลัง เนื่องจากวัสดุเหล่านี้ เป็นสารอินทรีย์ ย่อยสลายตามธรรมชาติในเวลา 45 วันหรือ อาจใช้บรรจุภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน มอก. และ 3) การปฏิเสธการใช้โฟมทุกรูปแบบ โดยใช้หลัก 2 ส. 1 ข. คือ เสริมความรู้เรื่องภัยจากการใช้โฟมบรรจุอาหาร สร้างองค์กรต้นแบบเลิกใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร และขยายพื้นที่ปลอดโฟม 100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งการลด ละ เลิกการใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร สามารถช่วยลดปริมาณขยะทำให้มีสิ่งแวดล้อมที่ดี ลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งขยะโฟม และการกำจัดขยะโฟม เนื่องจากโฟมใช้เวลาย่อยสลายนานถึง 1,000 ปี ซึ่งต่างกับผลิตภัณฑ์ที่ทำจากธรรมชาติเป็นสารอินทรีย์ย่อยสลายตามธรรมชาติที่ใช้เวลา 45 วัน ในการย่อยสลาย รวมถึงลดปัจจัยเสี่ยงต่อการรับสารพิษจากภาชนะโฟมที่บรรจุอาหารร้อนจัด อาหารมัน กรดหรือรสเปรี้ยว? รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าว
        ทางด้าน นายเจด็จ วิศรี ผู้อำนวยการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 1 (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) จังหวัดอุดรธานีกล่าวว่า ผู้ว่าการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (นายเสริมสกุล คล้ายแก้ว) ได้มีนโยบายให้ทุกหน่วยงานในสังกัดการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ลด ละ เลิกการใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหารเพื่อสุขภาพดีของพนักงาน และเป็นหนึ่งในองค์กรต้นแบบ ลด ละ เลิกการใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย โดยสำนักงานใหญ่และสำนักงานส่วนภูมิภาคเป็นพื้นที่ปลอดการใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร พร้อมทั้งสนับสนุน ส่งเสริมการเลือกใช้วัสดุที่ปลอดภัย การใช้วัสดุธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยต่อสุขภาพและย่อยสลายตามธรรมชาติ โดยปีนี้ได้รณรงค์ให้ร้านอาหารและเครื่องดื่มในสำนักงานทุกแห่งหันมาใช้วัสดุธรรมชาติดั้งเดิม ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากธรรมชาติ บรรจุภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน มอก. พร้อมขยายพื้นที่ปลอดโฟมให้ครอบคลุมการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคทั้ง 12 เขต เพื่อให้พนักงาน ผู้ประกอบการร้านอาหารและเครื่องดื่ม ได้ตระหนักถึงการดูแลสุขภาพของตนเองมากขึ้น
***
ศูนย์สื่อสารสาธารณะ/ 26 พฤษภาคม 2560








กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต 1 (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) จังหวัดอุดรธานี และการไฟฟ้าในสังกัด รวม 15 แห่ง ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ลด ละ เลิกการใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร เพื่อสุขภาพที่ดีของพนักงาน วันนี้ (26 พฤษภาคม 2560) นายแพทย์ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังพิธีลงนาม ความร่วมมือ การลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร ณ ห้องสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 1 (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) จังหวัดอุดรธานี ว่า กรมอนามัยได้ดำเนินการตามข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ให้กระทรวงสาธารณสุขงดใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหารร้อนหรือมีไขมันเพื่อเป็นตัวอย่างให้ส่วนราชการอื่นและประชาชน โดยเริ่มจากผู้ประกอบการค้าอาหารในโรงอาหารและตลาดนัด รวม 311 ราย ซึ่งเลิกใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหารได้ร้อยละ 100 ในปี 2557 ต่อมาในปี 2558 ได้ขยายพื้นที่การรณรงค์ไปยังหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศ เช่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน ศูนย์วิชาการฯและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้นแบบนำร่อง 4 ภาค อีกทั้งยังได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายภาคเอกชน จำนวน 14 แห่ง ร่วมลงนามความร่วมมือ และในปี 2559 ได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายภาครัฐและเอกชนอีก 33 หน่วยงาน ซึ่งสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (สำนักงานใหญ่) เป็นองค์กรหนึ่งที่เห็นความสำคัญและดำเนินการลด ละ เลิก การใช้โฟมจนได้รับประกาศเกียรติคุณเป็นองค์กรปลอดโฟม 100 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ กรมอนามัยได้กำหนดการดำเนินงานลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร ภายใต้ 3 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) กำหนดพื้นที่ปลอดการใช้โฟมบรรจุอาหาร โดยให้ใช้ภาชนะที่ทำจากวัสดุธรรมชาติใช้แทน เช่น กระดาษ ชานอ้อย หรือกล่องพลาสติกชีวภาพ 2) การรณรงค์การใช้วัสดุธรรมชาติดั้งเดิม เช่น ใบตอง ใบบัว สำหรับห่อข้าวหรือขนม เช่น ชานอ้อย มันสำปะหลัง เนื่องจากวัสดุเหล่านี้ เป็นสารอินทรีย์ ย่อยสลายตามธรรมชาติในเวลา 45 วันหรือ อาจใช้บรรจุภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน มอก. และ 3) การปฏิเสธการใช้โฟมทุกรูปแบบ โดยใช้หลัก 2 ส. 1 ข. คือ เสริมความรู้เรื่องภัยจากการใช้โฟมบรรจุอาหาร สร้างองค์กรต้นแบบเลิกใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร และขยายพื้นที่ปลอดโฟม 100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งการลด ละ เลิกการใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร สามารถช่วยลดปริมาณขยะทำให้มีสิ่งแวดล้อมที่ดี ลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งขยะโฟม และการกำจัดขยะโฟม เนื่องจากโฟมใช้เวลาย่อยสลายนานถึง 1,000 ปี ซึ่งต่างกับผลิตภัณฑ์ที่ทำจากธรรมชาติเป็นสารอินทรีย์ย่อยสลายตามธรรมชาติที่ใช้เวลา 45 วัน ในการย่อยสลาย รวมถึงลดปัจจัยเสี่ยงต่อการรับสารพิษจากภาชนะโฟมที่บรรจุอาหารร้อนจัด อาหารมัน กรดหรือรสเปรี้ยว รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าว ทางด้าน นายเจด็จ วิศรี ผู้อำนวยการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 1 (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) จังหวัดอุดรธานีกล่าวว่า ผู้ว่าการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (นายเสริมสกุล คล้ายแก้ว) ได้มีนโยบายให้ทุกหน่วยงานในสังกัดการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ลด ละ เลิกการใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหารเพื่อสุขภาพดีของพนักงาน และเป็นหนึ่งในองค์กรต้นแบบ ลด ละ เลิกการใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย โดยสำนักงานใหญ่และสำนักงานส่วนภูมิภาคเป็นพื้นที่ปลอดการใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร พร้อมทั้งสนับสนุน ส่งเสริมการเลือกใช้วัสดุที่ปลอดภัย การใช้วัสดุธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยต่อสุขภาพและย่อยสลายตามธรรมชาติ โดยปีนี้ได้รณรงค์ให้ร้านอาหารและเครื่องดื่มในสำนักงานทุกแห่งหันมาใช้วัสดุธรรมชาติดั้งเดิม ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากธรรมชาติ บรรจุภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน มอก. พร้อมขยายพื้นที่ปลอดโฟมให้ครอบคลุมการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคทั้ง 12 เขต เพื่อให้พนักงาน ผู้ประกอบการร้านอาหารและเครื่องดื่ม ได้ตระหนักถึงการดูแลสุขภาพของตนเองมากขึ้น *** ศูนย์สื่อสารสาธารณะ/ 26 พฤษภาคม 2560

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน

ติดตามข่าวสารได้ที่

แทงบอลออนไลน์ || ดูบอลสด UFABET