ข่าวแจก "สธ. เผยคนไทย 17 ล้านคน น้ำหนักเกิน-อ้วน เร่งสกัดอ้วนอันตรายสลายพุง ลดเสียชีวิตปีละ 2 หมื่นคน"
กระทรวงสาธารณสุข เผยคนไทยกว่า 17 ล้านคน เข้าข่ายน้ำหนักเกินถึงอ้วน และเสียชีวิตจากโรคอ้วนปีละ 20,000 คน จับมือสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย สมาคมโรคความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย โรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี และโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ จัดกิจกรรมรวมใจสลายพุง เน้นกลุ่มอ้วนอันตรายสร้างพันธะร่วมกัน เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ ความดันหลอดเลือด และเบาหวาน พร้อมติดตามผลในอีก 6 เดือน
วันนี้ (16 มิถุนายน 2555) นายแพทย์สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมเสวนาเรื่อง รวมใจสลายพุง ปี 2555? ณ ห้องประชุมราชเทวี แกรนด์ โรงแรมเอเชีย กรุงเทพมหานคร ว่า กระทรวงสาธารณสุขได้เล็งเห็นความสำคัญของการสร้างสุขภาพและควบคุมป้องกัน โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งพบว่าคนไทยป่วยด้วยโรคหัวใจขาดเลือดเพิ่มขึ้นชั่วโมงละ 2 คน ตายชั่วโมงละคน นับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่ต้องเร่งดำเนินการป้องกันและรักษา เพราะผู้ป่วยโรคหัวใจประมาณร้อยละ 70 มักจะมีปัญหาโรคอ้วนหรือมีไขมันในเลือดสูงมาก่อน ซึ่งจากข้อมูลการสำรวจสภาวะสุขภาพคนไทยคาดประมาณได้ว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินจนถึงระดับอ้วนมากกว่า 17 ล้านคน และพบอีกว่าในแต่ละปีคนไทยเป็นโรคอ้วนเพิ่มขึ้นร้อยละ 25 จากประชากรทั้งหมด เสียชีวิตจากโรคอ้วนถึงปีละประมาณ 20,000 คน ส่งผลให้รัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคอ้วนและโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วนมากกว่าปีละ 1 แสนล้านบาท
นายแพทย์สุรวิทย์ กล่าวต่อว่า กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายเร่งลดปัญหาและป้องกันไม่ให้คนไทยป่วยเป็นโรคอ้วน 2 ประการคือ 1. นโยบายเร่งรัดมาตรการสร้างสุขภาพ โดยให้มีการรณรงค์สร้างความตระหนักถึงอันตราย และปัจจัยเสี่ยงของโรคอ้วนลงพุงและโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การให้ความรู้ในวงกว้าง การรณรงค์เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านการบริโภค และการเคลื่อนไหวออกแรงออกกำลังกาย เพื่อลดผลกระทบจากโรคดังกล่าวข้างต้น และนโยบายที่ 2 คือการป้องกันเพื่อลดจำนวนผู้ป่วย โดยลดอ้วนอย่างถูกวิธี ลดอาหารประเภทหวาน มัน เค็ม เพิ่มกินผัก ผลไม้ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
ดร.นพ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า จากนโยบายเร่งรัดมาตรการสร้างสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อลดผลกระทบจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เบาหวาน ความดัน หัวใจ หลอดเลือดสมองและมะเร็ง ภายใต้แนวคิดประชาชนสุขภาพดีไม่ต้องกินยา ซึ่งตลอดระยะเวลา 5ปีที่ผ่านมา กรมอนามัยกำหนดให้มียุทธศาสตร์ การแก้ไขปัญหาโรคอ้วนคนไทย ส่งเสริมให้ประชาชนอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการ ออกกำลังกายที่เหมาะสมตามวัย และในปี 2555 นี้ กรมอนามัยร่วมกับสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย สมาคมโรคความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย โรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี และโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ จัดกิจกรรมรณรงค์รวมใจสลายพุง โดยเปิดรับสมัครประชาชนที่เข้าข่ายอ้วนอันตรายคือ ผู้หญิงที่มีน้ำหนักตัวมากกว่า 80 กิโลกรัม และชายน้ำหนักตัวมากกว่า 90 กิโลกรัม เทียบเท่ากับดัชนีมวลกาย 33 กิโลกรัมต่อตารางเมตร
ทั้งนี้ มีผู้ที่สนใจสมัครเข้าร่วมทั้งสิ้น 236 คน แบ่งเป็นชาย 104 คน หญิง 132 คน และในกลุ่มคนเหล่านี้ ผู้ที่มีอายุมากที่สุดคือ 77 ปี อายุน้อยที่สุด 12 ปี มีน้ำหนักตัวมากที่สุด 180 กิโลกรัม คิดเป็นค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกายมากที่สุดในผู้หญิง 64.2กิโลกรัมต่อตารางเมตร ในผู้ชาย 53.8 กิโลกรัมต่อตารางเมตร และถ้ารวมน้ำหนักตัวของผู้เข้าร่วมประชุมครั้งนี้รวมได้ทั้งสิ้น 23,114กิโลกรัม โดยทุกคนที่เข้าร่วมสลายพุงจะพร้อมใจกันลงชื่อเป็น ลายลักษณ์อักษรในใบพันธะสัญญาที่ได้กำหนดเป้าหมายน้ำหนักที่จะลดให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 10 ของน้ำหนัก ที่เริ่มต้น ภายใน 6 เดือนนับจากนี้ ซึ่งกรมอนามัยจะติดตามผลการลดน้ำหนักเป็นระยะ ๆ ต่อไป? อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด
***
กลุ่มสื่อสารองค์กร / 16 มิถุนายน 2555
กระทรวงสาธารณสุข เผยคนไทยกว่า 17 ล้านคน เข้าข่ายน้ำหนักเกินถึงอ้วน และเสียชีวิตจากโรคอ้วนปีละ 20,000 คน จับมือสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย สมาคมโรคความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย โรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี และโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ จัดกิจกรรมรวมใจสลายพุง เน้นกลุ่มอ้วนอันตรายสร้างพันธะร่วมกัน เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ ความดันหลอดเลือด และเบาหวาน พร้อมติดตามผลในอีก 6 เดือน วันนี้ (16 มิถุนายน 2555) นายแพทย์สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมเสวนาเรื่อง \\รวมใจสลายพุง ปี 2555 ณ ห้องประชุมราชเทวี แกรนด์ โรงแรมเอเชีย กรุงเทพมหานคร ว่า กระทรวงสาธารณสุขได้เล็งเห็นความสำคัญของการสร้างสุขภาพและควบคุมป้องกัน โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งพบว่าคนไทยป่วยด้วยโรคหัวใจขาดเลือดเพิ่มขึ้นชั่วโมงละ 2 คน ตายชั่วโมงละคน นับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่ต้องเร่งดำเนินการป้องกันและรักษา เพราะผู้ป่วยโรคหัวใจประมาณร้อยละ 70 มักจะมีปัญหาโรคอ้วนหรือมีไขมันในเลือดสูงมาก่อน ซึ่งจากข้อมูลการสำรวจสภาวะสุขภาพคนไทยคาดประมาณได้ว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินจนถึงระดับอ้วนมากกว่า 17 ล้านคน และพบอีกว่าในแต่ละปีคนไทยเป็นโรคอ้วนเพิ่มขึ้นร้อยละ 25 จากประชากรทั้งหมด เสียชีวิตจากโรคอ้วนถึงปีละประมาณ 20,000 คน ส่งผลให้รัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคอ้วนและโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วนมากกว่าปีละ 1 แสนล้านบาท นายแพทย์สุรวิทย์ กล่าวต่อว่า กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายเร่งลดปัญหาและป้องกันไม่ให้คนไทยป่วยเป็นโรคอ้วน 2 ประการคือ 1. นโยบายเร่งรัดมาตรการสร้างสุขภาพ โดยให้มีการรณรงค์สร้างความตระหนักถึงอันตราย และปัจจัยเสี่ยงของโรคอ้วนลงพุงและโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การให้ความรู้ในวงกว้าง การรณรงค์เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านการบริโภค และการเคลื่อนไหวออกแรงออกกำลังกาย เพื่อลดผลกระทบจากโรคดังกล่าวข้างต้น และนโยบายที่ 2 คือการป้องกันเพื่อลดจำนวนผู้ป่วย โดยลดอ้วนอย่างถูกวิธี ลดอาหารประเภทหวาน มัน เค็ม เพิ่มกินผัก ผลไม้ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ดร.นพ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า จากนโยบายเร่งรัดมาตรการสร้างสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อลดผลกระทบจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เบาหวาน ความดัน หัวใจ หลอดเลือดสมองและมะเร็ง ภายใต้แนวคิดประชาชนสุขภาพดีไม่ต้องกินยา ซึ่งตลอดระยะเวลา 5ปีที่ผ่านมา กรมอนามัยกำหนดให้มียุทธศาสตร์ การแก้ไขปัญหาโรคอ้วนคนไทย ส่งเสริมให้ประชาชนอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการ ออกกำลังกายที่เหมาะสมตามวัย และในปี 2555 นี้ กรมอนามัยร่วมกับสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย สมาคมโรคความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย โรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี และโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ จัดกิจกรรมรณรงค์รวมใจสลายพุง โดยเปิดรับสมัครประชาชนที่เข้าข่ายอ้วนอันตรายคือ ผู้หญิงที่มีน้ำหนักตัวมากกว่า 80 กิโลกรัม และชายน้ำหนักตัวมากกว่า 90 กิโลกรัม เทียบเท่ากับดัชนีมวลกาย 33 กิโลกรัมต่อตารางเมตร \\ทั้งนี้ มีผู้ที่สนใจสมัครเข้าร่วมทั้งสิ้น 236 คน แบ่งเป็นชาย 104 คน หญิง 132 คน และในกลุ่มคนเหล่านี้ ผู้ที่มีอายุมากที่สุดคือ 77 ปี อายุน้อยที่สุด 12 ปี มีน้ำหนักตัวมากที่สุด 180 กิโลกรัม คิดเป็นค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกายมากที่สุดในผู้หญิง 64.2กิโลกรัมต่อตารางเมตร ในผู้ชาย 53.8 กิโลกรัมต่อตารางเมตร และถ้ารวมน้ำหนักตัวของผู้เข้าร่วมประชุมครั้งนี้รวมได้ทั้งสิ้น 23,114กิโลกรัม โดยทุกคนที่เข้าร่วมสลายพุงจะพร้อมใจกันลงชื่อเป็น ลายลักษณ์อักษรในใบพันธะสัญญาที่ได้กำหนดเป้าหมายน้ำหนักที่จะลดให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 10 ของน้ำหนัก ที่เริ่มต้น ภายใน 6 เดือนนับจากนี้ ซึ่งกรมอนามัยจะติดตามผลการลดน้ำหนักเป็นระยะ ๆ ต่อไป อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด *** กลุ่มสื่อสารองค์กร / 16 มิถุนายน 2555