ข่าวแจก"กรมอนามัย จับมือ 3 องค์กร ลงนามพัฒนาร้านอาหารสะอาด นำร่องท่าอากาศยาน 10 แห่ง"
กรมอนามัย ร่วมกับ กรมควบคุมโรค กรมการบินพลเรือน และบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ลงนามความร่วมมือพัฒนาร้านอาหารนำร่องท่าอากาศยาน 10 แห่ง พร้อมมอบป้าย Clean Food Good Taste เพิ่มความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์ความปลอดภัยด้านอาหาร
วันนี้ (10 กรกฎาคม 2558) ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือกับกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กรมการบินพลเรือน กระทรวงคมนาคม และบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ในการพัฒนาสถานประกอบการด้านอาหารในท่าอากาศยาน ณ ห้องประชุมคณะกรรมการ ทอท. สำนักงานใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) กรุงเทพมหานคร ว่า ปีนี้องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้เป็นปีความปลอดภัยของอาหาร ซึ่งจะต้องมีการควบคุมอาหารตั้งแต่แหล่งผลิตไปจนถึงผู้บริโภคให้ปลอดภัย กระทรวงสาธารณสุขจึงมีนโยบายในการดำเนินงานอาหารปลอดภัยเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงของโรคที่เกิดจากอาหารและน้ำเป็นสื่อ จากข้อมูลรายงานการเฝ้าระวังโรคของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 6 กรกฎาคม 2558 พบผูปวยโรคอุจจาระร่วง 549,523 ราย เสียชีวิต 6 ราย ผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษ 66,042 ราย ยังไม่พบผู้เสียชีวิต การสร้างความมั่นใจในด้านความสะอาด ปลอดภัยของอาหารให้กับผู้บริโภคจึงเป็นสิ่งสำคัญ กรมอนามัยจึงร่วมกับกรมควบคุมโรค กรมการบินพลเรือน และบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ลงนามบันทึกความร่วมมือในการพัฒนาสถานประกอบการด้านอาหารในท่าอากาศยานโดยมีเป้าหมายจำนวน 10 แห่ง แบ่งเป็นท่าอากาศยานในสังกัดบริษัท การท่าอากาศยานไทย จำกัด มหาชน จำนวน 6 แห่ง ได้แก่ 1) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ 2) ท่าอากาศยานดอนเมือง กรุงเทพมหานคร 3) ท่าอากาศยานเชียงใหม่ 4) ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย 5) ท่าอากาศยานหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 6) ท่าอากาศยานภูเก็ต และท่าอากาศยานในสังกัดกรมการบิน พลเรือน จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ 1) ท่าอากาศยานอุดรธานี 2) ท่าอากาศยานขอนแก่น 3) ท่าอากาศยานอุบลราชธานีและ 4) ท่าอากาศยานกระบี่
ดร.นพ.พรเทพ กล่าวต่อไปว่า ท่าอากาศยานเป็นด่านแรกที่ต้อนรับนักท่องเที่ยว และมีนักท่องเที่ยวจำนวนมากมาใช้บริการสถานที่จำหน่ายอาหารก่อนจะเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางอื่นๆ ต่อไป ดังนั้น จึงต้องเข้มงวดและให้ความสำคัญกับการจัดบริการหรือจำหน่ายอาหารภายในท่าอากาศยานเป็นพิเศษ และให้เป็นไปตามกฎการบิน พลเรือน กฎอนามัยระหว่างประเทศขององค์การอนามัยโลก และพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ด้วยการดำเนินการพัฒนาสถานประกอบการค้าอาหารให้ถูกหลักสุขาภิบาลอาหารตามหลักเกณฑ์มาตรฐานอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) ของกรมอนามัย อาทิ สถานที่รับประทานอาหาร สถานที่เตรียมปรุงประกอบอาหาร ต้องสะอาดเป็นระเบียบจัดเป็นสัดส่วน ผู้สัมผัสอาหารแต่งกายสะอาด สวมเสื้อมีแขน สวมผ้ากันเปื้อน สวมหมวกหรือเน็ทคลุมผม ใช้อุปกรณ์ในการหยิบจับอาหาร เป็นต้น พร้อมทั้งมอบป้ายสัญลักษณ์อาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) เพื่อบ่งบอกถึงความสะอาด ปลอดภัยของสถานที่จำหน่ายอาหาร
"อีกประเด็นหนึ่งที่ท่าอากาศยานต้องเร่งดำเนินการคือการลดปริมาณขยะจากกล่องโฟมบรรจุอาหาร เพราะนอกจากจะเป็นขยะที่ย่อยสลายยากแล้วยังก่อให้เกิดอันตรายจากการนำไปบรรจุอาหารร้อน อาหารมัน และอาหารที่มีความเป็นกรดสูง ซึ่งจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการได้รับสารก่อมะเร็งสะสมในร่างกาย เช่น สไตรีน (Styrene) เบนซิน (Benzene) ดังนั้น อยากจะให้ท่าอากาศยานผนวกเรื่องนี้เข้าไปด้วยถือเป็นมาตรการจัดการขยะจากภาชนะโฟมที่ได้ผลและถือเป็นการปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานในเรื่องภาชนะอุปกรณ์ที่ต้องสะอาด ปลอดภัยอีกด้วย โดยเปลี่ยนจากการใช้ภาชนะโฟมมาเป็นภาชนะที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ เช่น กระดาษกล่องชานอ้อย กล่องพลาสติกชีวภาพ หรือวัสดุธรรมชาติดั้งเดิม เช่น ใบตอง ใบบัวจะดีกว่า? ดร.นพ.พรเทพ กล่าว
อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในตอนท้ายว่า กรมอนามัย กรมควบคุมโรค กรมการบินพลเรือน และบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) จะร่วมกันในการพัฒนาสถานประกอบการด้านอาหารในบริเวณท่าอากาศยานเป้าหมาย ซึ่งศูนย์อนามัยทั้ง 12 แห่งของกรมอนามัย จะร่วมดำเนินงานกับด่านควบคุมโรคของกรมควบคุมโรค และบุคลากรของท่าอากาศยานนั้นๆ โดยประสานงานกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้สัมผัสอาหาร และส่งเสริม พัฒนาให้มีการปรับปรุง ยกระดับมาตรฐานการปรุง ประกอบ และจำหน่ายอาหารให้มีมาตรฐานตามหลักการสุขาภิบาลอาหารต่อไป
สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง/10 กรกฎาคม 2558
กรมอนามัย ร่วมกับ กรมควบคุมโรค กรมการบินพลเรือน และบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ลงนามความร่วมมือพัฒนาร้านอาหารนำร่องท่าอากาศยาน 10 แห่ง พร้อมมอบป้าย Clean Food Good Taste เพิ่มความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์ความปลอดภัยด้านอาหาร วันนี้ (10 กรกฎาคม 2558) ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือกับกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กรมการบินพลเรือน กระทรวงคมนาคม และบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ในการพัฒนาสถานประกอบการด้านอาหารในท่าอากาศยาน ณ ห้องประชุมคณะกรรมการ ทอท. สำนักงานใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) กรุงเทพมหานคร ว่า ปีนี้องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้เป็นปีความปลอดภัยของอาหาร ซึ่งจะต้องมีการควบคุมอาหารตั้งแต่แหล่งผลิตไปจนถึงผู้บริโภคให้ปลอดภัย กระทรวงสาธารณสุขจึงมีนโยบายในการดำเนินงานอาหารปลอดภัยเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงของโรคที่เกิดจากอาหารและน้ำเป็นสื่อ จากข้อมูลรายงานการเฝ้าระวังโรคของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 6 กรกฎาคม 2558 พบผูปวยโรคอุจจาระร่วง 549,523 ราย เสียชีวิต 6 ราย ผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษ 66,042 ราย ยังไม่พบผู้เสียชีวิต การสร้างความมั่นใจในด้านความสะอาด ปลอดภัยของอาหารให้กับผู้บริโภคจึงเป็นสิ่งสำคัญ กรมอนามัยจึงร่วมกับกรมควบคุมโรค กรมการบินพลเรือน และบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ลงนามบันทึกความร่วมมือในการพัฒนาสถานประกอบการด้านอาหารในท่าอากาศยานโดยมีเป้าหมายจำนวน 10 แห่ง แบ่งเป็นท่าอากาศยานในสังกัดบริษัท การท่าอากาศยานไทย จำกัด มหาชน จำนวน 6 แห่ง ได้แก่ 1) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ 2) ท่าอากาศยานดอนเมือง กรุงเทพมหานคร 3) ท่าอากาศยานเชียงใหม่ 4) ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย 5) ท่าอากาศยานหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 6) ท่าอากาศยานภูเก็ต และท่าอากาศยานในสังกัดกรมการบิน พลเรือน จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ 1) ท่าอากาศยานอุดรธานี 2) ท่าอากาศยานขอนแก่น 3) ท่าอากาศยานอุบลราชธานีและ 4) ท่าอากาศยานกระบี่ ดร.นพ.พรเทพ กล่าวต่อไปว่า ท่าอากาศยานเป็นด่านแรกที่ต้อนรับนักท่องเที่ยว และมีนักท่องเที่ยวจำนวนมากมาใช้บริการสถานที่จำหน่ายอาหารก่อนจะเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางอื่นๆ ต่อไป ดังนั้น จึงต้องเข้มงวดและให้ความสำคัญกับการจัดบริการหรือจำหน่ายอาหารภายในท่าอากาศยานเป็นพิเศษ และให้เป็นไปตามกฎการบิน พลเรือน กฎอนามัยระหว่างประเทศขององค์การอนามัยโลก และพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ด้วยการดำเนินการพัฒนาสถานประกอบการค้าอาหารให้ถูกหลักสุขาภิบาลอาหารตามหลักเกณฑ์มาตรฐานอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) ของกรมอนามัย อาทิ สถานที่รับประทานอาหาร สถานที่เตรียมปรุงประกอบอาหาร ต้องสะอาดเป็นระเบียบจัดเป็นสัดส่วน ผู้สัมผัสอาหารแต่งกายสะอาด สวมเสื้อมีแขน สวมผ้ากันเปื้อน สวมหมวกหรือเน็ทคลุมผม ใช้อุปกรณ์ในการหยิบจับอาหาร เป็นต้น พร้อมทั้งมอบป้ายสัญลักษณ์อาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) เพื่อบ่งบอกถึงความสะอาด ปลอดภัยของสถานที่จำหน่ายอาหาร อีกประเด็นหนึ่งที่ท่าอากาศยานต้องเร่งดำเนินการคือการลดปริมาณขยะจากกล่องโฟมบรรจุอาหาร เพราะนอกจากจะเป็นขยะที่ย่อยสลายยากแล้วยังก่อให้เกิดอันตรายจากการนำไปบรรจุอาหารร้อน อาหารมัน และอาหารที่มีความเป็นกรดสูง ซึ่งจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการได้รับสารก่อมะเร็งสะสมในร่างกาย เช่น สไตรีน (Styrene) เบนซิน (Benzene) ดังนั้น อยากจะให้ท่าอากาศยานผนวกเรื่องนี้เข้าไปด้วยถือเป็นมาตรการจัดการขยะจากภาชนะโฟมที่ได้ผลและถือเป็นการปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานในเรื่องภาชนะอุปกรณ์ที่ต้องสะอาด ปลอดภัยอีกด้วย โดยเปลี่ยนจากการใช้ภาชนะโฟมมาเป็นภาชนะที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ เช่น กระดาษกล่องชานอ้อย กล่องพลาสติกชีวภาพ หรือวัสดุธรรมชาติดั้งเดิม เช่น ใบตอง ใบบัวจะดีกว่า ดร.นพ.พรเทพ กล่าว อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในตอนท้ายว่า กรมอนามัย กรมควบคุมโรค กรมการบินพลเรือน และบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) จะร่วมกันในการพัฒนาสถานประกอบการด้านอาหารในบริเวณท่าอากาศยานเป้าหมาย ซึ่งศูนย์อนามัยทั้ง 12 แห่งของกรมอนามัย จะร่วมดำเนินงานกับด่านควบคุมโรคของกรมควบคุมโรค และบุคลากรของท่าอากาศยานนั้นๆ โดยประสานงานกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้สัมผัสอาหาร และส่งเสริม พัฒนาให้มีการปรับปรุง ยกระดับมาตรฐานการปรุง ประกอบ และจำหน่ายอาหารให้มีมาตรฐานตามหลักการสุขาภิบาลอาหารต่อไป สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง/10 กรกฎาคม 2558