คุณกำลังมองหาอะไร?

ข่า

ข่าวแจก "กรมอนามัย Kick off ลด ละ เลิก ใช้โฟมใส่อาหารทั่วไทย สกัดกั้นสารสไตรีน ก่อมะเร็ง"

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

28.07.2557
15
0
แชร์
28
กรกฎาคม
2557

ข่าวแจก "กรมอนามัย Kick off ลด ละ เลิก ใช้โฟมใส่อาหารทั่วไทย สกัดกั้นสารสไตรีน ก่อมะเร็ง"

        กรมอนามัย Kick off ลด ละ เลิก ใช้โฟมใส่อาหารทั่วไทย สกัดกั้นสารสไตรีน ก่อมะเร็ง กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข Kick off ลด ละ เลิก ใช้โฟมใส่อาหารก่อนขยายครอบคลุมทั่วประเทศ โดยใช้ต้นแบบโครงการรณรงค์ลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟม (No Foam) บรรจุอาหารในกระทรวงสาธารณสุข หวั่นอาหารร้อนทำภาชนะละลาย ส่งผลให้มีสารสไตรีนปนเปื้อนในอาหาร เพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย
        วันนี้ (28 กรกฎาคม 2557) ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานแถลงข่าว Kick off ลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟม (No Foam) บรรจุอาหารทั่วไทย? ร่วมกับ นายแพทย์จิรเจษฎ์ สุขสุเพิ่ม ผู้อำนวยการศูนย์มะเร็ง โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 คุณสินชัย เทียนศิริ เลขานุการสมาคมสร้างสรรค์ไทย(ตาวิเศษ) นายแพทย์วีรฉัตร กิตติรัตนไพบูลย์ ผู้แทนบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม ณ ห้องประชุมกำธร สุวรรณกิจ อาคาร 1 ชั้น 1 กรมอนามัย ว่าพ่อค้าแม่ค้าที่จำหน่ายอาหารตามสั่ง อาหารสำเร็จรูปมักนิยมใช้กล่องโฟมบรรจุอาหารกันอย่างแพร่หลาย เพราะมีความสะดวก รวดเร็ว ซึ่งการนำภาชนะโฟม มาบรรจุอาหารร้อนต้องระมัดระวัง เนื่องจากการสัมผัสอาหารร้อนจัดเป็นเวลานาน อาจทำให้ภาชนะเสียรูปทรงและหลอมละลายจนมีสารสไตรีน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งออกมาปนเปื้อนกับอาหารได้ โดยปริมาณการละลายออกมาของสไตรีน จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 อย่างคือ ไขมันในอาหาร ระยะเวลา และอุณหภูมิระหว่างการสัมผัสอาหารกับภาชนะ ซึ่งอาหารที่มีไขมันสูงจะทำให้สไตรีนละลายออกมาได้มากกว่า อาจก่อให้เกิดการสะสมของสารพิษในร่างกายได้
        ดร.นพ.พรเทพ กล่าวต่อไปว่า จากการที่กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขเป็นหน่วยงานนำร่องในการลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟม (No Foam) บรรจุอาหารในกระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินการสำรวจการใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทโฟมในโรงอาหารและตลาดนัดภายในกระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2556 ถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2556 จำนวน 311 ร้าน แบ่งเป็นร้านอาหารจำนวน 111 ร้าน และตลาดนัดจำนวน 200 ร้าน พบว่า มีร้านอาหารและตลาดนัดใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทโฟมจำนวน 106 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 34.08 โดยแบ่งเป็นร้านอาหารจำนวน 45 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 40.54 และตลาดนัดจำนวน 61 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 30.50 ซึ่งใช้บรรจุอาหารตามสั่ง ก๋วยเตี๋ยวในขณะร้อนร้อยละ 41.51 และบรรจุข้าวราดแกง ผลไม้ ขนมต่างๆ ในขณะเย็น ร้อยละ 58.49 ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทกล่องร้อยละ 53.50 รองลงมาคือประเภทถ้วยร้อยละ 32.46 และถาดร้อยละ 14.04 โดยปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้โฟมบรรจุภัณฑ์คือ ความสะดวก คิดเป็นร้อยละ 58.49 รองลงมาคือ ราคาถูก คิดเป็นร้อยละ 52.83 และหาซื้อง่าย คิดเป็นร้อยละ 37.73
        ทั้งนี้ กรมอนามัยจึงขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการร้านอาหาร ผู้บริโภค เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ห้างสรรพสินค้า ซุปเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อ ร่วมกันรณรงค์ลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหารในพื้นที่ของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งจะใช้เป็นแนวทางการขับเคลื่อนการรณรงค์ทั่วประเทศ โดยในปี 2558 ได้ขอความร่วมมือจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศ เช่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาล ศูนย์อนามัย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สถานบริการสาธารณสุขต่างๆ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้นแบบนำร่อง 4 ภาค เช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลนคร เทศบาลเมือง เทศบาลตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบลให้เป็นหน่วยงานนำร่องต้นแบบในการรณรงค์ ลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหารทั่วไทย อีกทั้งยังได้รับความร่วมมือจากสมาคมผู้ประกอบการอาหาร สมาคมภัตตาคารไทย สมาคมร้านอาหารและแผงลอยแห่งประเทศไทย ชมรมผู้ประกอบการร้านอาหารทั่วประเทศร่วมรณรงค์ฯ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้คนไทยสุขภาพดี? อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด
 
***
สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง / 28 กรกฎาคม 2557
 
กรมอนามัย Kick off ลด ละ เลิก ใช้โฟมใส่อาหารทั่วไทย สกัดกั้นสารสไตรีน ก่อมะเร็ง กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข Kick off ลด ละ เลิก ใช้โฟมใส่อาหารก่อนขยายครอบคลุมทั่วประเทศ โดยใช้ต้นแบบโครงการรณรงค์ลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟม (No Foam) บรรจุอาหารในกระทรวงสาธารณสุข หวั่นอาหารร้อนทำภาชนะละลาย ส่งผลให้มีสารสไตรีนปนเปื้อนในอาหาร เพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย วันนี้ (28 กรกฎาคม 2557) ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานแถลงข่าว \\Kick off ลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟม (No Foam) บรรจุอาหารทั่วไทย ร่วมกับ นายแพทย์จิรเจษฎ์ สุขสุเพิ่ม ผู้อำนวยการศูนย์มะเร็ง โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 คุณสินชัย เทียนศิริ เลขานุการสมาคมสร้างสรรค์ไทย(ตาวิเศษ) นายแพทย์วีรฉัตร กิตติรัตนไพบูลย์ ผู้แทนบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม ณ ห้องประชุมกำธร สุวรรณกิจ อาคาร 1 ชั้น 1 กรมอนามัย ว่าพ่อค้าแม่ค้าที่จำหน่ายอาหารตามสั่ง อาหารสำเร็จรูปมักนิยมใช้กล่องโฟมบรรจุอาหารกันอย่างแพร่หลาย เพราะมีความสะดวก รวดเร็ว ซึ่งการนำภาชนะโฟม มาบรรจุอาหารร้อนต้องระมัดระวัง เนื่องจากการสัมผัสอาหารร้อนจัดเป็นเวลานาน อาจทำให้ภาชนะเสียรูปทรงและหลอมละลายจนมีสารสไตรีน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งออกมาปนเปื้อนกับอาหารได้ โดยปริมาณการละลายออกมาของสไตรีน จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 อย่างคือ ไขมันในอาหาร ระยะเวลา และอุณหภูมิระหว่างการสัมผัสอาหารกับภาชนะ ซึ่งอาหารที่มีไขมันสูงจะทำให้สไตรีนละลายออกมาได้มากกว่า อาจก่อให้เกิดการสะสมของสารพิษในร่างกายได้ ดร.นพ.พรเทพ กล่าวต่อไปว่า จากการที่กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขเป็นหน่วยงานนำร่องในการลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟม (No Foam) บรรจุอาหารในกระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินการสำรวจการใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทโฟมในโรงอาหารและตลาดนัดภายในกระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2556 ถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2556 จำนวน 311 ร้าน แบ่งเป็นร้านอาหารจำนวน 111 ร้าน และตลาดนัดจำนวน 200 ร้าน พบว่า มีร้านอาหารและตลาดนัดใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทโฟมจำนวน 106 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 34.08 โดยแบ่งเป็นร้านอาหารจำนวน 45 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 40.54 และตลาดนัดจำนวน 61 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 30.50 ซึ่งใช้บรรจุอาหารตามสั่ง ก๋วยเตี๋ยวในขณะร้อนร้อยละ 41.51 และบรรจุข้าวราดแกง ผลไม้ ขนมต่างๆ ในขณะเย็น ร้อยละ 58.49 ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทกล่องร้อยละ 53.50 รองลงมาคือประเภทถ้วยร้อยละ 32.46 และถาดร้อยละ 14.04 โดยปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้โฟมบรรจุภัณฑ์คือ ความสะดวก คิดเป็นร้อยละ 58.49 รองลงมาคือ ราคาถูก คิดเป็นร้อยละ 52.83 และหาซื้อง่าย คิดเป็นร้อยละ 37.73 \\ทั้งนี้ กรมอนามัยจึงขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการร้านอาหาร ผู้บริโภค เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ห้างสรรพสินค้า ซุปเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อ ร่วมกันรณรงค์ลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหารในพื้นที่ของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งจะใช้เป็นแนวทางการขับเคลื่อนการรณรงค์ทั่วประเทศ โดยในปี 2558 ได้ขอความร่วมมือจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศ เช่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาล ศูนย์อนามัย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สถานบริการสาธารณสุขต่างๆ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้นแบบนำร่อง 4 ภาค เช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลนคร เทศบาลเมือง เทศบาลตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบลให้เป็นหน่วยงานนำร่องต้นแบบในการรณรงค์ ลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหารทั่วไทย อีกทั้งยังได้รับความร่วมมือจากสมาคมผู้ประกอบการอาหาร สมาคมภัตตาคารไทย สมาคมร้านอาหารและแผงลอยแห่งประเทศไทย ชมรมผู้ประกอบการร้านอาหารทั่วประเทศร่วมรณรงค์ฯ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้คนไทยสุขภาพดี อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด *** สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง / 28 กรกฎาคม 2557

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน

ติดตามข่าวสารได้ที่

แทงบอลออนไลน์ || ดูบอลสด UFABET