คุณกำลังมองหาอะไร?

ข่า

ข่าวแจก "กรมอนามัย ดึง 50 แกนนำ อสม. รู้ทันมะเร็งเต้านม ก่อนลงพื้นที่เฝ้าระวังในหญิงไทย"

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

07.06.2555
2
0
แชร์
07
มิถุนายน
2555

ข่าวแจก "กรมอนามัย ดึง 50 แกนนำ อสม. รู้ทันมะเร็งเต้านม ก่อนลงพื้นที่เฝ้าระวังในหญิงไทย"

                 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เร่งตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมในหญิงไทยดึงแกนนำ อสม. 50 คน จากทุกภาคอบรมสร้างความรู้เรื่องมะเร็งเต้านม วิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม เตรียมพร้อมก่อนนำไปถ่ายทอดให้กลุ่ม อสม.เพื่อส่งต่อความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบอย่างมีประสิทธิภาพ
                ดร.นพ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการอบรมเชิงปฏิบัติการแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขในการดำเนินงานเฝ้าระวังสตรีไทยจากโรคมะเร็งเต้านม ณ ห้องประชุมกำธร สุวรรณกิจ อาคาร 1 ชั้น 1 กรมอนามัย ว่า มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในสตรีไทย ในปี 2553 พบผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ 13,184 รายต่อปี และเสียชีวิตประมาณ 4,665 รายต่อปี หรือทุก 2 ชั่วโมง จะพบว่าสตรีไทยเสียชีวิตด้วยมะเร็งเต้านม 1 คน และ มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมาพบแพทย์ในระยะหลัง ๆ ซึ่งจะมีการลุกลามและแพร่กระจายไปแล้วประมาณร้อยละ 56 โดยขณะนี้ยังไม่ทราบถึงสาเหตุของมะเร็งเต้านมที่แน่ชัด แต่พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงคือ กลุ่มคนที่มีประจำเดือนมาเมื่ออายุยังน้อยหรือหมดประจำเดือน (Menopause) เมื่ออายุมาก ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารไขมันสูง สตรีที่มีญาติพี่น้องสายตรงเป็นมะเร็งเต้านม เช่น แม่ ป้า น้า เป็นต้น และมักพบในสตรีอายุ 40 ปีขึ้นไป แต่ในสตรีอายุ 20-30 ปี ก็พบได้บ่อยเช่นกัน ซึ่งผู้ป่วยมักมาด้วยอาการมีก้อนและแผลที่เต้านม หรือมีเลือด หรือน้ำเหลืองไหลจากหัวนม
             ดร.นพ.สมยศ กล่าวต่อว่า การป้องกันมะเร็งเต้านมในกลุ่มสตรีวิธีการหนึ่งที่กรมอนามัยจะดำเนินการคือการ ดึงแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขร่วมเฝ้าระวัง โดยสร้างความรู้และทักษะในการตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้องให้กับกลุ่มแกนนำ ซึ่งประกอบด้วย ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งประเทศไทย ประธานชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข 4 ภาค ประธานชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขระดับเขต 18 เขต ประธานชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพ และชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขภาค กรุงเทพมหานคร รวม 50 คน ในฐานะเป็นผู้ใกล้ชิดกับชุมชน ก่อนนำความรู้ดังกล่าวไปถ่ายทอดให้กับกลุ่ม อสม.ในพื้นที่ พร้อมส่งต่อความรู้ให้กับประชาชน ซึ่งหากมีการดำเนินงานเฝ้าระวังมะเร็งเต้านมอย่างเป็นระบบ จะทำให้สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้และเข้าใจในการดูแลและเฝ้าระวังตนเองเพื่อป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านม ได้มากยิ่งขึ้น
            ดร.นพ.สมยศ กล่าวต่อว่า การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม มีด้วยกัน 3 วิธี คือ การตรวจด้วยเครื่องเอ็กซ์เรย์ เต้านม (MAMMOGRAPHY)) การตรวจด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ซึ่งหากตรวจได้ถูกต้องและปฏิบัติเป็นประจำ จะคลำก้อนที่มีขนาดเล็กได้และนำไปสู่การวินิจฉัยในเบื้องต้นได้เร็วขึ้น สามารถรักษาและช่วยชีวิตผู้ป่วยได้ อีกทั้งยังลดการสูญเสียอวัยวะและค่าใช้จ่ายในการรักษาได้เป็นจำนวนมากอีกด้วย
            ทั้งนี้ การตรวจด้วยเครื่องเอ็กซ์เรย์เต้านม (MAMMOGRAPHY)) เป็นวิธีการที่แม่นยำที่สุดแต่มีค่าใช้จ่ายสูง โดยเฉพาะสตรีกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาส การเข้าถึงบริการเป็นไปได้ยาก กรมอนามัยจึงได้ดำเนินโครงการคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยเครื่องเอ็กซเรย์เต้านมเคลื่อนที่ (MAMMOGRAPHY) ในสตรีกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาสเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เจริญพระชนมายุครบ 5 รอบ ขึ้น โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพื่อลดอัตราป่วยและเสียชีวิตของหญิงไทยจากโรคมะเร็งเต้านม เป็นการระดมทุนจากภาคเอกชนและภาคประชาชน ด้วยการจัดสร้างวัตถุมงคลหลวงพ่อโสธร รุ่น เบญจนวมงคล? ๕๕๕๕๕๕๕๕๕ นำรายได้จัดซื้อเครื่องมือดังกล่าว ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถเช่าบูชาวัตถุมงคลชุดนี้ เพื่อสมทบทุนเข้าโครงการฯ สามารถสั่งจองได้ที่กรมอนามัย โทรศัพท์ 088?5055773, 088?5006854, 02-5904555, 02?9659244 หรือที่ ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือเว็บไซต์ http://sothorn.anamai.moph.go.th? อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด
 
 
กลุ่มสื่อสารองค์กร / 7 มิถุนายน 2555
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เร่งตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมในหญิงไทยดึงแกนนำ อสม. 50 คน จากทุกภาคอบรมสร้างความรู้เรื่องมะเร็งเต้านม วิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม เตรียมพร้อมก่อนนำไปถ่ายทอดให้กลุ่ม อสม.เพื่อส่งต่อความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบอย่างมีประสิทธิภาพ ดร.นพ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการอบรมเชิงปฏิบัติการแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขในการดำเนินงานเฝ้าระวังสตรีไทยจากโรคมะเร็งเต้านม ณ ห้องประชุมกำธร สุวรรณกิจ อาคาร 1 ชั้น 1 กรมอนามัย ว่า มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในสตรีไทย ในปี 2553 พบผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ 13,184 รายต่อปี และเสียชีวิตประมาณ 4,665 รายต่อปี หรือทุก 2 ชั่วโมง จะพบว่าสตรีไทยเสียชีวิตด้วยมะเร็งเต้านม 1 คน และ มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมาพบแพทย์ในระยะหลัง ๆ ซึ่งจะมีการลุกลามและแพร่กระจายไปแล้วประมาณร้อยละ 56 โดยขณะนี้ยังไม่ทราบถึงสาเหตุของมะเร็งเต้านมที่แน่ชัด แต่พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงคือ กลุ่มคนที่มีประจำเดือนมาเมื่ออายุยังน้อยหรือหมดประจำเดือน (Menopause) เมื่ออายุมาก ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารไขมันสูง สตรีที่มีญาติพี่น้องสายตรงเป็นมะเร็งเต้านม เช่น แม่ ป้า น้า เป็นต้น และมักพบในสตรีอายุ 40 ปีขึ้นไป แต่ในสตรีอายุ 20-30 ปี ก็พบได้บ่อยเช่นกัน ซึ่งผู้ป่วยมักมาด้วยอาการมีก้อนและแผลที่เต้านม หรือมีเลือด หรือน้ำเหลืองไหลจากหัวนม ดร.นพ.สมยศ กล่าวต่อว่า การป้องกันมะเร็งเต้านมในกลุ่มสตรีวิธีการหนึ่งที่กรมอนามัยจะดำเนินการคือการ ดึงแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขร่วมเฝ้าระวัง โดยสร้างความรู้และทักษะในการตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้องให้กับกลุ่มแกนนำ ซึ่งประกอบด้วย ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งประเทศไทย ประธานชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข 4 ภาค ประธานชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขระดับเขต 18 เขต ประธานชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพ และชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขภาค กรุงเทพมหานคร รวม 50 คน ในฐานะเป็นผู้ใกล้ชิดกับชุมชน ก่อนนำความรู้ดังกล่าวไปถ่ายทอดให้กับกลุ่ม อสม.ในพื้นที่ พร้อมส่งต่อความรู้ให้กับประชาชน ซึ่งหากมีการดำเนินงานเฝ้าระวังมะเร็งเต้านมอย่างเป็นระบบ จะทำให้สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้และเข้าใจในการดูแลและเฝ้าระวังตนเองเพื่อป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านม ได้มากยิ่งขึ้น ดร.นพ.สมยศ กล่าวต่อว่า การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม มีด้วยกัน 3 วิธี คือ การตรวจด้วยเครื่องเอ็กซ์เรย์ เต้านม (MAMMOGRAPHY)) การตรวจด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ซึ่งหากตรวจได้ถูกต้องและปฏิบัติเป็นประจำ จะคลำก้อนที่มีขนาดเล็กได้และนำไปสู่การวินิจฉัยในเบื้องต้นได้เร็วขึ้น สามารถรักษาและช่วยชีวิตผู้ป่วยได้ อีกทั้งยังลดการสูญเสียอวัยวะและค่าใช้จ่ายในการรักษาได้เป็นจำนวนมากอีกด้วย \\ทั้งนี้ การตรวจด้วยเครื่องเอ็กซ์เรย์เต้านม (MAMMOGRAPHY)) เป็นวิธีการที่แม่นยำที่สุดแต่มีค่าใช้จ่ายสูง โดยเฉพาะสตรีกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาส การเข้าถึงบริการเป็นไปได้ยาก กรมอนามัยจึงได้ดำเนินโครงการคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยเครื่องเอ็กซเรย์เต้านมเคลื่อนที่ (MAMMOGRAPHY) ในสตรีกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาสเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เจริญพระชนมายุครบ 5 รอบ ขึ้น โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพื่อลดอัตราป่วยและเสียชีวิตของหญิงไทยจากโรคมะเร็งเต้านม เป็นการระดมทุนจากภาคเอกชนและภาคประชาชน ด้วยการจัดสร้างวัตถุมงคลหลวงพ่อโสธร รุ่น \\เบญจนวมงคล ๕๕๕๕๕๕๕๕๕ นำรายได้จัดซื้อเครื่องมือดังกล่าว ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถเช่าบูชาวัตถุมงคลชุดนี้ เพื่อสมทบทุนเข้าโครงการฯ สามารถสั่งจองได้ที่กรมอนามัย โทรศัพท์ 0885055773, 0885006854, 02-5904555, 029659244 หรือที่ ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือเว็บไซต์ http://sothorn.anamai.moph.go.th อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด กลุ่มสื่อสารองค์กร / 7 มิถุนายน 2555

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน

ติดตามข่าวสารได้ที่

แทงบอลออนไลน์ || ดูบอลสด UFABET