คุณกำลังมองหาอะไร?

ข่า

ข่าวแจก "กรมอนามัย นำ 10 เมนสุขภาพ ลดเค็ม ลดมัน เข้าตลาดรังสิต กระตุ้นพ่อค้าแม่ค้าปรุงอาหารสุขภาพ"

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

21.07.2557
5
0
แชร์
21
กรกฎาคม
2557

ข่าวแจก "กรมอนามัย นำ 10 เมนสุขภาพ ลดเค็ม ลดมัน เข้าตลาดรังสิต กระตุ้นพ่อค้าแม่ค้าปรุงอาหารสุขภาพ"

        กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ ตลาดรังสิต จังหวัดปทุมธานี จัดงานเมนูสุขภาพ ลดเค็ม ลดมัน เพื่อส่งเสริมการปรุงอาหารสุขภาพแก่พ่อค้าแม่ค้าผู้จำหน่ายอาหารและประชาชน ด้วยเมนูยอดนิยมของคนไทย 10 เมนู
        วันนี้ (21 กรกฎาคม 2557) ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงานเมนูสุขภาพ ลดเค็ม ลดมัน (Health Menu Low Salt & Low Fat) ณ ตลาดรังสิต จังหวัดปทุมธานี ว่า คนไทยกำลังประสบปัญหาโรคอ้วนและโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ทั้งโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน หลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจตีบหรือตัน ส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารรสหวาน มัน และเค็มเกินไป ซึ่งผลการสำรวจของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พบว่า คนไทยนิยมบริโภคอาหารนอกบ้านเพิ่มขึ้น ทำให้ได้รับโซเดียมในผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงรส และไขมันอิ่มตัวที่พบมาก ด้วยปริมาณที่เกินกว่าควรได้รับประจำวันถึง 2 เท่า ซึ่งถือว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
        ดร.นพ.พรเทพ กล่าวต่อไปว่า องค์การอนามัยโลก แนะนำให้บริโภคเกลือโซเดียมคลอไรด์ที่เป็นเกลือแกง รสเค็ม ไม่เกิน 5 กรัมต่อวัน คือ 1 ช้อนชา และแม้ว่าโซเดียมมีความสำคัญต่อร่างกาย โดยทำหน้าที่ส่งสัญญาณในระบบประสาทและกล้ามเนื้อ แต่หากบริโภคโซเดียมมากเกินไป ทำให้ไตขับออกได้ไม่หมด โซเดียมก็จะคั่ง ดึงน้ำไว้ในร่างกายมาก ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น เร่งให้ไตเสื่อมลง เกิดภาวะไตวาย และยังทำให้ขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะมากขึ้น เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุน สำหรับไขมันเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย เพราะการดูดซึมวิตามินบางตัวต้องใช้ไขมันร่วมด้วย แต่การบริโภคอาหารที่มีไขมันมากเกินไป ทำให้เกิดการสะสมในร่างกายมาก ส่งผลให้เป็นโรคอ้วน โดยเฉพาะการบริโภคไขมันอิ่มตัว ซึ่งพบมากในผลิตภัณฑ์สัตว์ เช่น หมูสามชั้น มันหมู หนังไก่ จะเพิ่มระดับคอเลสเตอรอล ดังนั้น การบริโภคไขมันที่ใช้ในการปรุงประกอบอาหาร จึงควรบริโภคไม่เกิน 6 ช้อนชา ใน 1 วัน ส่วนน้ำตาลให้รสหวาน บริโภคมากเกินไป ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น จนเกิดภาวะอ้วน และเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน
        การบริโภคอาหารที่ลดปริมาณเกลือ ไขมัน และน้ำตาล เป็นวิธีที่ง่ายและสะดวก สามารถทำได้โดยลดปริมาณลงเรื่อยๆ ทีละน้อย ซึ่งล่าสุด กรมอนามัยได้ร่วมกับตลาดรังสิต ส่งเสริมการปรุงอาหารสุขภาพแก่ผู้จำหน่ายอาหารและประชาชน ด้วยเมนูยอดนิยมของคนไทย 10 เมนูสุขภาพ ลดเค็ม ลดมัน เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคเกลือและไขมันในปริมาณที่พอเหมาะ แต่ยังคงรสชาติอร่อยและดีต่อสุขภาพด้วย ทั้งนี้ 10 เมนูยอดนิยม ได้แก่ ผัดไทยกุ้งสด ผัดกระเพราไก่ ก๋วยเตี๋ยวน้ำ แกงเหลือง น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง แกงเขียวหวานไก่ ส้มตำปลาร้า แกงลาว และกล้วยบวชชี? อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด
 
***
 สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง /21 กรกฎาคม 2557
 
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ ตลาดรังสิต จังหวัดปทุมธานี จัดงานเมนูสุขภาพ ลดเค็ม ลดมัน เพื่อส่งเสริมการปรุงอาหารสุขภาพแก่พ่อค้าแม่ค้าผู้จำหน่ายอาหารและประชาชน ด้วยเมนูยอดนิยมของคนไทย 10 เมนู วันนี้ (21 กรกฎาคม 2557) ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงานเมนูสุขภาพ ลดเค็ม ลดมัน (Health Menu Low Salt & Low Fat) ณ ตลาดรังสิต จังหวัดปทุมธานี ว่า คนไทยกำลังประสบปัญหาโรคอ้วนและโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ทั้งโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน หลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจตีบหรือตัน ส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารรสหวาน มัน และเค็มเกินไป ซึ่งผลการสำรวจของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พบว่า คนไทยนิยมบริโภคอาหารนอกบ้านเพิ่มขึ้น ทำให้ได้รับโซเดียมในผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงรส และไขมันอิ่มตัวที่พบมาก ด้วยปริมาณที่เกินกว่าควรได้รับประจำวันถึง 2 เท่า ซึ่งถือว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ดร.นพ.พรเทพ กล่าวต่อไปว่า องค์การอนามัยโลก แนะนำให้บริโภคเกลือโซเดียมคลอไรด์ที่เป็นเกลือแกง รสเค็ม ไม่เกิน 5 กรัมต่อวัน คือ 1 ช้อนชา และแม้ว่าโซเดียมมีความสำคัญต่อร่างกาย โดยทำหน้าที่ส่งสัญญาณในระบบประสาทและกล้ามเนื้อ แต่หากบริโภคโซเดียมมากเกินไป ทำให้ไตขับออกได้ไม่หมด โซเดียมก็จะคั่ง ดึงน้ำไว้ในร่างกายมาก ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น เร่งให้ไตเสื่อมลง เกิดภาวะไตวาย และยังทำให้ขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะมากขึ้น เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุน สำหรับไขมันเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย เพราะการดูดซึมวิตามินบางตัวต้องใช้ไขมันร่วมด้วย แต่การบริโภคอาหารที่มีไขมันมากเกินไป ทำให้เกิดการสะสมในร่างกายมาก ส่งผลให้เป็นโรคอ้วน โดยเฉพาะการบริโภคไขมันอิ่มตัว ซึ่งพบมากในผลิตภัณฑ์สัตว์ เช่น หมูสามชั้น มันหมู หนังไก่ จะเพิ่มระดับคอเลสเตอรอล ดังนั้น การบริโภคไขมันที่ใช้ในการปรุงประกอบอาหาร จึงควรบริโภคไม่เกิน 6 ช้อนชา ใน 1 วัน ส่วนน้ำตาลให้รสหวาน บริโภคมากเกินไป ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น จนเกิดภาวะอ้วน และเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน \\การบริโภคอาหารที่ลดปริมาณเกลือ ไขมัน และน้ำตาล เป็นวิธีที่ง่ายและสะดวก สามารถทำได้โดยลดปริมาณลงเรื่อยๆ ทีละน้อย ซึ่งล่าสุด กรมอนามัยได้ร่วมกับตลาดรังสิต ส่งเสริมการปรุงอาหารสุขภาพแก่ผู้จำหน่ายอาหารและประชาชน ด้วยเมนูยอดนิยมของคนไทย 10 เมนูสุขภาพ ลดเค็ม ลดมัน เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคเกลือและไขมันในปริมาณที่พอเหมาะ แต่ยังคงรสชาติอร่อยและดีต่อสุขภาพด้วย ทั้งนี้ 10 เมนูยอดนิยม ได้แก่ ผัดไทยกุ้งสด ผัดกระเพราไก่ ก๋วยเตี๋ยวน้ำ แกงเหลือง น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง แกงเขียวหวานไก่ ส้มตำปลาร้า แกงลาว และกล้วยบวชชี อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด *** สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง /21 กรกฎาคม 2557

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน

ติดตามข่าวสารได้ที่

แทงบอลออนไลน์ || ดูบอลสด