คุณกำลังมองหาอะไร?

ข่า

ข่าวแจก "กรมอนามัย เผยสตรีไทย 6 แสนราย ผ่านคัดกรองด้วยวิธี VIA สกัดเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก"

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

27.06.2557
0
0
แชร์
27
มิถุนายน
2557

ข่าวแจก "กรมอนามัย เผยสตรีไทย 6 แสนราย ผ่านคัดกรองด้วยวิธี VIA สกัดเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก"

        กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ดำเนินงานป้องกันและควบคุมมะเร็งปากมดลูกในประเทศไทย เพิ่มความครอบคลุมของการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกให้แก่ผู้รับผิดชอบงานของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด แพทย์และพยาบาล พร้อมเผยสตรีไทยกว่า 600,000 ราย ผ่านการคัดกรองด้วยวิธี VIA
        ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า การป้องกันและควบคุมมะเร็งปากมดลูกในประเทศไทย โดยการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยน้ำส้มสายชู หรือวิธี VIA (Visual Inspection with Acetic Acid) เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการป้องกันมะเร็งปากมดลูกที่ผู้รับบริการไม่ต้องใช้เวลามากในการรับบริการ และสามารถรักษาในเบื้องต้นได้เมื่อเกิดอาการผิดปกติ โดยมีสตรีไทยได้รับบริการคัดกรองด้วยวิธี VIA แล้วกว่า 600,000 ราย ซึ่งปัจจุบันแม้ว่าจะมีการพัฒนาวัคซีนสำหรับป้องกันไวรัสเอชพีวีได้แล้ว แต่วัคซีนก็สามารถป้องกันได้เฉพาะผู้ที่ไม่ติดเชื้อหรือกลุ่มที่ยังไม่มีเพศสัมพันธ์เท่านั้น นอกจากนี้วัคซีนยังป้องกันไวรัสเอชพีวีได้เพียงสองสายพันธุ์จากทั้งหมดสามสิบกว่าสายพันธุ์ที่ก่อมะเร็ง การตรวจคัดกรองจึงยังคงเป็นมาตราการหลักที่สำคัญในการป้องกันและควบคุมมะเร็งปากมดลูก
        ดร.นพ.พรเทพ กล่าวต่อไปว่า การดำเนินงานคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่ผ่านมานั้น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดส่วนใหญ่ต่างเห็นตรงกันว่าวิธี VIA นี้จะช่วยให้ผู้รับบริการมีทางเลือกในการรับบริการมากขึ้น สอดคล้องกับการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของกรมอนามัยและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดี อันจะส่งผลต่อการประหยัดงบประมาณด้านการรักษาพยาบาลของประเทศไทย ดังนั้น การฝึกอบรมพยาบาล ผู้ให้บริการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี VIA และการรักษาด้วยการจี้เย็นยังคงมีความสำคัญและมีความจำเป็น ซึ่งกรมอนามัยได้ขยายการดำเนินงานครอบคลุมใน 32 จังหวัด รวมจังหวัดพื้นที่ที่ตั้งศูนย์อนามัย โดยสามารถฝึกอบรมพยาบาลผู้ให้บริการได้ 1,386 คน และมีครูฝึก 149 คน กระจายอยู่ทั่วประเทศ
        ทั้งนี้ เพื่อป้องกันและลดอุบัติการณ์ของมะเร็งปากมดลูก สตรีอายุ 30-45 ปี จึงควรได้รับการตรวจคัดกรองด้วยวิธี VIA ทุก 10 ปี ร่วมกับการคัดกรองด้วยวิธี Pep Smear ทุก 10 ปี ในกลุ่มสตรีอายุ 50-60 ปี ซึ่งจะใช้งบประมาณน้อยกว่าการคัดกรองด้วยวิธี Pep Smear เพียงอย่างเดียวและช่วยยืดอายุเฉลี่ยของสตรีไทยได้ด้วย จึงอยากเชิญชวนให้สตรีอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรค? อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด
 
***
สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง/ 29 มิถุนายน 2557
 
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ดำเนินงานป้องกันและควบคุมมะเร็งปากมดลูกในประเทศไทย เพิ่มความครอบคลุมของการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกให้แก่ผู้รับผิดชอบงานของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด แพทย์และพยาบาล พร้อมเผยสตรีไทยกว่า 600,000 ราย ผ่านการคัดกรองด้วยวิธี VIA ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า การป้องกันและควบคุมมะเร็งปากมดลูกในประเทศไทย โดยการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยน้ำส้มสายชู หรือวิธี VIA (Visual Inspection with Acetic Acid) เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการป้องกันมะเร็งปากมดลูกที่ผู้รับบริการไม่ต้องใช้เวลามากในการรับบริการ และสามารถรักษาในเบื้องต้นได้เมื่อเกิดอาการผิดปกติ โดยมีสตรีไทยได้รับบริการคัดกรองด้วยวิธี VIA แล้วกว่า 600,000 ราย ซึ่งปัจจุบันแม้ว่าจะมีการพัฒนาวัคซีนสำหรับป้องกันไวรัสเอชพีวีได้แล้ว แต่วัคซีนก็สามารถป้องกันได้เฉพาะผู้ที่ไม่ติดเชื้อหรือกลุ่มที่ยังไม่มีเพศสัมพันธ์เท่านั้น นอกจากนี้วัคซีนยังป้องกันไวรัสเอชพีวีได้เพียงสองสายพันธุ์จากทั้งหมดสามสิบกว่าสายพันธุ์ที่ก่อมะเร็ง การตรวจคัดกรองจึงยังคงเป็นมาตราการหลักที่สำคัญในการป้องกันและควบคุมมะเร็งปากมดลูก ดร.นพ.พรเทพ กล่าวต่อไปว่า การดำเนินงานคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่ผ่านมานั้น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดส่วนใหญ่ต่างเห็นตรงกันว่าวิธี VIA นี้จะช่วยให้ผู้รับบริการมีทางเลือกในการรับบริการมากขึ้น สอดคล้องกับการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของกรมอนามัยและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดี อันจะส่งผลต่อการประหยัดงบประมาณด้านการรักษาพยาบาลของประเทศไทย ดังนั้น การฝึกอบรมพยาบาล ผู้ให้บริการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี VIA และการรักษาด้วยการจี้เย็นยังคงมีความสำคัญและมีความจำเป็น ซึ่งกรมอนามัยได้ขยายการดำเนินงานครอบคลุมใน 32 จังหวัด รวมจังหวัดพื้นที่ที่ตั้งศูนย์อนามัย โดยสามารถฝึกอบรมพยาบาลผู้ให้บริการได้ 1,386 คน และมีครูฝึก 149 คน กระจายอยู่ทั่วประเทศ \\ทั้งนี้ เพื่อป้องกันและลดอุบัติการณ์ของมะเร็งปากมดลูก สตรีอายุ 30-45 ปี จึงควรได้รับการตรวจคัดกรองด้วยวิธี VIA ทุก 10 ปี ร่วมกับการคัดกรองด้วยวิธี Pep Smear ทุก 10 ปี ในกลุ่มสตรีอายุ 50-60 ปี ซึ่งจะใช้งบประมาณน้อยกว่าการคัดกรองด้วยวิธี Pep Smear เพียงอย่างเดียวและช่วยยืดอายุเฉลี่ยของสตรีไทยได้ด้วย จึงอยากเชิญชวนให้สตรีอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรค อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด ***สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง/ 29 มิถุนายน 2557

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน