คุณกำลังมองหาอะไร?

ข่า

ข่าวแจก "กรมอนามัย ประกาศ Countdown To Zero Elimination Mother to Child HIV Transmission ตั้งเป้าปี59 ลดเชื้อเอดส์จากแม่สู่ลูกกว่าร้อยละ 75"

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

26.06.2557
2
0
แชร์
26
มิถุนายน
2557

ข่าวแจก "กรมอนามัย ประกาศ Countdown To Zero Elimination Mother to Child HIV Transmission ตั้งเป้าปี59 ลดเชื้อเอดส์จากแม่สู่ลูกกว่าร้อยละ 75"

        กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ประกาศ Countdown To Zero Elimination Mother to Child HIV Transmission?มุ่งหวังไม่มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ ตั้งเป้าหมายภายใน พ.ศ. 2559 จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ลดลง 2 ใน 3 จากที่คาดประมาณ และไม่มีเด็กที่ติดเชื้อจากแม่และตายเนื่องจากเอดส์ลดลงมากกว่าร้อยละ 75
        วันนี้ (26 มิถุนายน 2557) ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีประกาศ Countdown To Zero Elimination Mother to Child HIV Transmission? ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร ว่า จากนโยบายและยุทธศาสตร์ป้องกันและแก้ปัญหาเอดส์แห่งชาติปี 2555-2559 มีเป้าหมายและวิสัยทัศน์ของยุทธศาสตร์ที่เป็นไปในแนวเดียวกับยุทธศาสตร์ของUNAID คือ สู่เป้าหมายที่เป็นศูนย์ (Getting to Zero) โดยตัวที่หนึ่งไม่มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ ตั้งเป้าหมายภายใน พ.ศ. 2559 จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ลดลง 2 ใน 3 จากที่คาดประมาณ และไม่มีเด็กที่ติดเชื้อจากแม่และตายเนื่องจากเอดส์ลดลงมากกว่าร้อยละ 75 ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศนโยบายการป้องการการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก ประกอบด้วย
1) สถานบริการสาธารณสุขทุกเครือข่ายควรจัดให้มีการบริการปรึกษาทั้งก่อนและหลังการตรวจหาเอชไอวีอย่างมีคุณภาพ ควรให้คำปรึกษาแบบคู่และเก็บผลการตรวจเป็นความลับอย่างเคร่งครัดโดยแจ้งให้ทราบเฉพาะบุคคลและผู้ที่ได้รับการตรวจหาเชื้อเอชไอวีอนุญาตเท่านั้น
2) หญิงตั้งครรภ์ทุกคนและสามีหรือคู่ครองจะได้รับการปรึกษาแบบคู่และตรวจหาเชื้อเอชไอวีด้วยความสมัครใจ หญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวีจะได้รับการตรวจเซลล์ CD4 และได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสที่มีฤทธิ์สูงหรือรักษาด้วยยาต้านไวรัสอื่น ๆ ตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข
3) เด็กที่เกิดจากแม่ที่ติดเชื้อเอชไอวีจะได้รับ ยาต้านไวรัส เมื่อแรกเกิดจะได้รับนมผสมสำหรับเลี้ยงเด็กทารก และได้รับการตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข และ
4) แม่ ลูก และสามีหรือคู่ครองที่ติดเชื้อ เอชไอวีจะได้รับยาต้านไวรัสตามสภาพของการติดเชื้อ การส่งเสริมสุขภาพ และติดตามการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง
        ดร.นพ.พรเทพ กล่าวต่อไปว่า ปัจจุบันมีการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ในประเทศไทยประมาณ ร้อยละ 30-40 มาจากคู่สามีภรรยาที่มีผลเลือดต่างกัน โดยในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์แต่ละปีมีจำนวนประมาณ 800,000 ราย ซึ่งมากกว่าร้อยละ 95 มารับบริการฝากครรภ์ที่สถานบริการ จากรายงานผลการดำเนินงานของกรมอนามัย ปี 2556 พบว่า หญิงตั้งครรภ์ได้รับการปรึกษาตัดสินใจตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอชไอวี ร้อยละ 99.7 ถึงแม้ว่าอัตราการให้การปรึกษาเพื่อตรวจเลือดเอชไอวี ด้วยความสมัครใจในหญิงตั้งครรภ์สูง แต่พบว่าโรงพยาบาลยังคงเน้นให้บริการเฉพาะหญิงตั้งครรภ์เป็นหลัก ขาดความตระหนักและความพร้อมในการจัดบริการให้เอื้อต่อการเข้าถึงบริการให้การปรึกษากับคู่สามีของหญิงตั้งครรภ์ ส่งผลให้พลาดโอกาสในการพูดคุยประเมินพฤติกรรมเสี่ยงระหว่างคู่และการส่งเสริมให้สามีมีส่วนร่วมในการดูแลภรรยาขณะตั้งครรภ์
        ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมอนามัยได้ดำเนินงานป้องกันการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก โดยสนับสนุนให้สถานบริการสาธารณสุขดำเนินการให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ และมีการพัฒนาเครื่องมือเทคโนโลยีการให้คำปรึกษาแบบคู่เพื่อตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีของหญิงตั้งครรภ์และสามี ด้วยระบบโปรแกรม PHIMS ซึ่งเป็นระบบกำกับติดตามการดำเนินงาน โดยในปี 2556 มีสถานบริการที่ให้บริการปรึกษาแบบคู่ คิดเป็นร้อยละ 42 หญิงคลอดที่ได้รับการตรวจเลือด เอชไอวี ร้อยละ 99.20 และมีผลเลือดเอชไอวีบวก ร้อยละ 0.61 เด็กได้รับยาต้านไวรัสร้อยละ 99 เด็กได้รับนมผสมก่อนออกจากโรงพยาบาลร้อยละ 77 สำหรับในกรณีหญิงตั้งครรภ์มีผลเลือดเอชไอวีบวกจะได้รับยาต้านไวรัสเพื่อลดการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก เด็กที่ติดเชื้อเอชไอวีจะได้รับยาต้านไวรัสหลังคลอดทันที และจะได้รับนมผสมทดแทนนมแม่เป็นเวลา12-18 เดือน โดยแม่และลูกหลังคลอดจะได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง สำหรับหญิงตั้งครรภ์และคู่สามีที่มีผลเลือดเอชไอวีลบ จะได้รับการปรึกษาเพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงให้คงผลเลือดลบต่อไป? อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด
 
***
 สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง/ 26 มิถุนายน 2557
 
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ประกาศ Countdown To Zero \\Elimination Mother to Child HIV Transmissionมุ่งหวังไม่มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ ตั้งเป้าหมายภายใน พ.ศ. 2559 จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ลดลง 2 ใน 3 จากที่คาดประมาณ และไม่มีเด็กที่ติดเชื้อจากแม่และตายเนื่องจากเอดส์ลดลงมากกว่าร้อยละ 75 วันนี้ (26 มิถุนายน 2557) ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีประกาศ Countdown To Zero \\Elimination Mother to Child HIV Transmission ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร ว่า จากนโยบายและยุทธศาสตร์ป้องกันและแก้ปัญหาเอดส์แห่งชาติปี 2555-2559 มีเป้าหมายและวิสัยทัศน์ของยุทธศาสตร์ที่เป็นไปในแนวเดียวกับยุทธศาสตร์ของUNAID คือ สู่เป้าหมายที่เป็นศูนย์ (Getting to Zero) โดยตัวที่หนึ่งไม่มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ ตั้งเป้าหมายภายใน พ.ศ. 2559 จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ลดลง 2 ใน 3 จากที่คาดประมาณ และไม่มีเด็กที่ติดเชื้อจากแม่และตายเนื่องจากเอดส์ลดลงมากกว่าร้อยละ 75 ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศนโยบายการป้องการการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก ประกอบด้วย1) สถานบริการสาธารณสุขทุกเครือข่ายควรจัดให้มีการบริการปรึกษาทั้งก่อนและหลังการตรวจหาเอชไอวีอย่างมีคุณภาพ ควรให้คำปรึกษาแบบคู่และเก็บผลการตรวจเป็นความลับอย่างเคร่งครัดโดยแจ้งให้ทราบเฉพาะบุคคลและผู้ที่ได้รับการตรวจหาเชื้อเอชไอวีอนุญาตเท่านั้น2) หญิงตั้งครรภ์ทุกคนและสามีหรือคู่ครองจะได้รับการปรึกษาแบบคู่และตรวจหาเชื้อเอชไอวีด้วยความสมัครใจ หญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวีจะได้รับการตรวจเซลล์ CD4 และได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสที่มีฤทธิ์สูงหรือรักษาด้วยยาต้านไวรัสอื่น ๆ ตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข3) เด็กที่เกิดจากแม่ที่ติดเชื้อเอชไอวีจะได้รับ ยาต้านไวรัส เมื่อแรกเกิดจะได้รับนมผสมสำหรับเลี้ยงเด็กทารก และได้รับการตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข และ4) แม่ ลูก และสามีหรือคู่ครองที่ติดเชื้อ เอชไอวีจะได้รับยาต้านไวรัสตามสภาพของการติดเชื้อ การส่งเสริมสุขภาพ และติดตามการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง ดร.นพ.พรเทพ กล่าวต่อไปว่า ปัจจุบันมีการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ในประเทศไทยประมาณ ร้อยละ 30-40 มาจากคู่สามีภรรยาที่มีผลเลือดต่างกัน โดยในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์แต่ละปีมีจำนวนประมาณ 800,000 ราย ซึ่งมากกว่าร้อยละ 95 มารับบริการฝากครรภ์ที่สถานบริการ จากรายงานผลการดำเนินงานของกรมอนามัย ปี 2556 พบว่า หญิงตั้งครรภ์ได้รับการปรึกษาตัดสินใจตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอชไอวี ร้อยละ 99.7 ถึงแม้ว่าอัตราการให้การปรึกษาเพื่อตรวจเลือดเอชไอวี ด้วยความสมัครใจในหญิงตั้งครรภ์สูง แต่พบว่าโรงพยาบาลยังคงเน้นให้บริการเฉพาะหญิงตั้งครรภ์เป็นหลัก ขาดความตระหนักและความพร้อมในการจัดบริการให้เอื้อต่อการเข้าถึงบริการให้การปรึกษากับคู่สามีของหญิงตั้งครรภ์ ส่งผลให้พลาดโอกาสในการพูดคุยประเมินพฤติกรรมเสี่ยงระหว่างคู่และการส่งเสริมให้สามีมีส่วนร่วมในการดูแลภรรยาขณะตั้งครรภ์ \\ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมอนามัยได้ดำเนินงานป้องกันการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก โดยสนับสนุนให้สถานบริการสาธารณสุขดำเนินการให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ และมีการพัฒนาเครื่องมือเทคโนโลยีการให้คำปรึกษาแบบคู่เพื่อตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีของหญิงตั้งครรภ์และสามี ด้วยระบบโปรแกรม PHIMS ซึ่งเป็นระบบกำกับติดตามการดำเนินงาน โดยในปี 2556 มีสถานบริการที่ให้บริการปรึกษาแบบคู่ คิดเป็นร้อยละ 42 หญิงคลอดที่ได้รับการตรวจเลือด เอชไอวี ร้อยละ 99.20 และมีผลเลือดเอชไอวีบวก ร้อยละ 0.61 เด็กได้รับยาต้านไวรัสร้อยละ 99 เด็กได้รับนมผสมก่อนออกจากโรงพยาบาลร้อยละ 77 สำหรับในกรณีหญิงตั้งครรภ์มีผลเลือดเอชไอวีบวกจะได้รับยาต้านไวรัสเพื่อลดการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก เด็กที่ติดเชื้อเอชไอวีจะได้รับยาต้านไวรัสหลังคลอดทันที และจะได้รับนมผสมทดแทนนมแม่เป็นเวลา12-18 เดือน โดยแม่และลูกหลังคลอดจะได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง สำหรับหญิงตั้งครรภ์และคู่สามีที่มีผลเลือดเอชไอวีลบ จะได้รับการปรึกษาเพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงให้คงผลเลือดลบต่อไป อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด *** สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง/ 26 มิถุนายน 2557

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน