คุณกำลังมองหาอะไร?

ข่า

ข่าวแจก "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จทรงเปิดงาน การสัมมนาวิชาการเอดส์ในอนามัยแม่และเด็กแห่งชาติ ครั้งที่ 1 และทรงประทาน โล่ประกาศเกียรติคุณแก่หน่วยงานที่ดำเนินงานเอดส์ในอนามัยแม่และเด็กดีเด่น"

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

25.06.2557
2
0
แชร์
25
มิถุนายน
2557

ข่าวแจก "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จทรงเปิดงาน การสัมมนาวิชาการเอดส์ในอนามัยแม่และเด็กแห่งชาติ ครั้งที่ 1 และทรงประทาน โล่ประกาศเกียรติคุณแก่หน่วยงานที่ดำเนินงานเอดส์ในอนามัยแม่และเด็กดีเด่น"

        วันนี้ (25 มิถุนายน 2557) พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จทรงเปิดงาน การสัมมนาวิชาการเอดส์ในอนามัยแม่และเด็กแห่งชาติ ครั้งที่ 1?และประกาศเกียรติคุณแก่หน่วยงานที่ดำเนินงานเอดส์ในอนามัยแม่และเด็กดีเด่น ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร โดยมี นายแพทย์อำนวย กาจีนะ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย และผู้บริหารของกระทรวงสาธารณสุข เฝ้ารับเสด็จฯ
        นายแพทย์อำนวย กาจีนะ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กราบทูลรายงานว่า กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินงานการป้องกันการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก โดยกรมอนามัยมีบทบาทหน้าที่สนับสนุนให้สถานบริการสาธารณสุขดำเนินการครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ กิจกรรมหลักภายใต้การดำเนินงานประกอบด้วย การให้บริการปรึกษาและตรวจเลือดเอชไอวี สำหรับหญิงตั้งครรภ์และคู่สามีด้วยความสมัครใจ กรณีหญิงตั้งครรภ์ มีผลเลือดเอชไอวีบวกจะได้รับยาต้านไวรัส เพื่อลดการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก เด็กที่เกิดจากแม่ที่ติดเชื้อ เอชไอวี จะได้รับยาต้านไวรัสหลังคลอดทันที และจะได้รับนมผสมทดแทนนมแม่เป็นเวลา 12-18 เดือน แม่และลูกหลังคลอดจะได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง หญิงตั้งครรภ์และคู่สามีภรรยาที่มีผลเลือดเอชไอวีลบ จะได้รับการปรึกษาเพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงให้คงผลเลือดลบตลอดไป โดยอัตราการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ในประเทศไทย ร้อยละ 30-40 มาจากคู่สามีภรรยาที่มีผลเลือดต่าง
        จากผลการดำเนินงานของกรมอนามัยปี 2556 พบว่า ร้อยละ 99.8 หญิงตั้งครรภ์ได้รับการปรึกษาเพื่อตัดสินใจตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอชไอวี และมีผลเลือดเอชไอวีบวก 0.62 ซึ่งในปี 2555-2559 กระทรวงสาธารณสุขและUNAID กำหนดเป้าหมายที่เป็นศูนย์ (Getting to Zero) ซึ่งประมาณการกันว่า ปี 2559 จะไม่มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ลดลง 2 ใน 3 จากที่คาดประมาณ และไม่มีเด็กที่ติดเชื้อฯจากแม่และตายเนื่องจากเอดส์ลดลงมากกว่าร้อยละ 75 การจัดสัมมนาฯในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ แก่ผู้ปฏิบัติงานเอดส์ในแม่และเด็ก รวมทั้งพัฒนาแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และเด็กที่เกิดจากแม่ที่ติดเชื้อเอชไอวีแบบองค์รวม (Case Management) และเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจและเชิดชูเกียรติโรงพยาบาล หน่วยงาน ผู้ปฏิบัติงานที่ดำเนินงานเอดส์ในอนามัยแม่และเด็กดีเด่น ประจำปี 2557 จำนวนทั้งสิ้น 37 แห่ง พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ศึกษารูปแบบการจัดบริการที่ประสบความสำเร็จต่อไป?
 
***
สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง/ 25 มิถุนายน 2557
วันนี้ (25 มิถุนายน 2557) พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จทรงเปิดงาน \\การสัมมนาวิชาการเอดส์ในอนามัยแม่และเด็กแห่งชาติ ครั้งที่ 1และประกาศเกียรติคุณแก่หน่วยงานที่ดำเนินงานเอดส์ในอนามัยแม่และเด็กดีเด่น ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร โดยมี นายแพทย์อำนวย กาจีนะ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย และผู้บริหารของกระทรวงสาธารณสุข เฝ้ารับเสด็จฯ นายแพทย์อำนวย กาจีนะ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กราบทูลรายงานว่า กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินงานการป้องกันการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก โดยกรมอนามัยมีบทบาทหน้าที่สนับสนุนให้สถานบริการสาธารณสุขดำเนินการครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ กิจกรรมหลักภายใต้การดำเนินงานประกอบด้วย การให้บริการปรึกษาและตรวจเลือดเอชไอวี สำหรับหญิงตั้งครรภ์และคู่สามีด้วยความสมัครใจ กรณีหญิงตั้งครรภ์ มีผลเลือดเอชไอวีบวกจะได้รับยาต้านไวรัส เพื่อลดการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก เด็กที่เกิดจากแม่ที่ติดเชื้อ เอชไอวี จะได้รับยาต้านไวรัสหลังคลอดทันที และจะได้รับนมผสมทดแทนนมแม่เป็นเวลา 12-18 เดือน แม่และลูกหลังคลอดจะได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง หญิงตั้งครรภ์และคู่สามีภรรยาที่มีผลเลือดเอชไอวีลบ จะได้รับการปรึกษาเพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงให้คงผลเลือดลบตลอดไป โดยอัตราการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ในประเทศไทย ร้อยละ 30-40 มาจากคู่สามีภรรยาที่มีผลเลือดต่าง \\จากผลการดำเนินงานของกรมอนามัยปี 2556 พบว่า ร้อยละ 99.8 หญิงตั้งครรภ์ได้รับการปรึกษาเพื่อตัดสินใจตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอชไอวี และมีผลเลือดเอชไอวีบวก 0.62 ซึ่งในปี 2555-2559 กระทรวงสาธารณสุขและUNAID กำหนดเป้าหมายที่เป็นศูนย์ (Getting to Zero) ซึ่งประมาณการกันว่า ปี 2559 จะไม่มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ลดลง 2 ใน 3 จากที่คาดประมาณ และไม่มีเด็กที่ติดเชื้อฯจากแม่และตายเนื่องจากเอดส์ลดลงมากกว่าร้อยละ 75 การจัดสัมมนาฯในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ แก่ผู้ปฏิบัติงานเอดส์ในแม่และเด็ก รวมทั้งพัฒนาแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และเด็กที่เกิดจากแม่ที่ติดเชื้อเอชไอวีแบบองค์รวม (Case Management) และเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจและเชิดชูเกียรติโรงพยาบาล หน่วยงาน ผู้ปฏิบัติงานที่ดำเนินงานเอดส์ในอนามัยแม่และเด็กดีเด่น ประจำปี 2557 จำนวนทั้งสิ้น 37 แห่ง พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ศึกษารูปแบบการจัดบริการที่ประสบความสำเร็จต่อไป ***สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง/ 25 มิถุนายน 2557

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน