คุณกำลังมองหาอะไร?

ข่า

ข่าวแจก "กรมอนามัย ชู 51 เทศบาล สุดยอดคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมดีเยี่ยม"

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

16.06.2557
1
0
แชร์
16
มิถุนายน
2557

ข่าวแจก "กรมอนามัย ชู 51 เทศบาล สุดยอดคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมดีเยี่ยม"

        กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น รับรองคุณภาพเทศบาล 51 แห่ง ที่มีระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับดีเยี่ยมตามมาตรฐาน 9 ระบบ พร้อมกระตุ้นอีกร้อยละ 20 จาก 2,000 แห่งทัวประเทศ พัฒนาให้ได้มาตรฐานในปี 2558
        วันนี้ (16 มิถุนายน 2557) นายแพทย์ณรงค์ สายวงศ์ รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงานประชุมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Environmental Health Accreditation :EHA) ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ ซิตี้ จอมเทียน จังหวัดชลบุรี ว่า กรมอนามัยร่วมกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นดำเนินงานพัฒนารับรองระบบคุณภาพบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีเทศบาลนครและเทศบาลเมืองทั่วประเทศ ประมาณ 202 เทศบาล สมัครเข้าร่วมการประเมินรับรองจำนวน 181 เทศบาล คิดเป็นร้อยละ 90 ผ่านการประเมินพื้นฐานจำนวน 101 เทศบาล คิดเป็นร้อยละ 50 ผ่านการประเมินดีเยี่ยมจนได้รับเกียรติบัตร จำนวน 51 เทศบาล คิดเป็นร้อยละ 25 โดยในแต่ละเทศบาลมีความโดดเด่นในด้านต่างๆ อาทิ เทศบาลเมืองวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว เด่นด้านการจัดการสุขาภิบาลอาหาร เทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี เด่นด้านการจัดการคุณภาพน้ำบริโภค เทศบาลเมืองทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช เด่นด้านการจัดการสิ่งปฏิกูล เทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี เด่นด้านการจัดการมูลฝอยทั่วไป และเทศบาลเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร เด่นด้านการจัดการเหตุรำคาญ
        นายแพทย์ณรงค์ กล่าวต่อไปว่า มาตรฐานระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 9 ระบบ ได้แก่
1. ระบบการจัดการสุขาภิบาลอาหาร
2. ระบบการจัดการคุณภาพน้ำบริโภค
3. ระบบการจัดการสิ่งปฏิกูล
4. ระบบการจัดการมูลฝอย
5. ระบบการรองรับภาวะฉุกเฉินและภัยพิบัติ
6. ระบบการจัดการเหตุรำคาญ
7. ระบบการจัดการกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
8. ระบบการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ และ
9. ระบบการบังคับใช้กฎหมาย โดยในปี 2558 กรมอนามัยมีเป้าหมายที่จะสนับสนุนให้เทศบาลทุกระดับสมัครเข้ารับการประเมินระบบคุณภาพไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของเทศบาลทั่วประเทศที่มีประมาณ 2,000 กว่าแห่ง
        ทั้งนี้ กรมอนามัยได้รับการสนับสนุนจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับ และร่วมกันพัฒนาระบบคุณภาพบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมตามหลัก 5 ยุทธศาสตร์ของกรมอนามัย ดังนี้
1) การแยกขยะครัวเรือน หรือการแยกทิ้งขยะ ณ แหล่งกำเนิด
2) การเก็บค่ากำจัดขยะ ตาม พรบ.สาธารณสุขท้องถิ่นสามารถเก็บค่าธรรมเนียมได้เฉพาะค่าเก็บขนเท่านั้น ส่วนค่ากำจัดเก็บไม่ได้ และขณะนี้กรมอนามัยกำลังดำเนินการออกกฎหมาย เพื่อให้ท้องถิ่นหรือเทศบาลสามารถเก็บค่าธรรมเนียมการกำจัดขยะได้
3) ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อลดการเคลื่อนย้าย ขยะติดเชื้อ เน้นหลักการบำบัด หรือกำจัดที่แหล่งกำเนิด
4) การสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการจัดการขยะให้ถูกสุขลักษณะ และเข้มงวดการทิ้งและกำจัดขยะอันตรายจากอุตสาหกรรมและบ้านเรือน และ
5) สำรวจกองขยะเก่าเพื่อทำสวนสาธารณะ กรมอนามัยจะเสนอให้เจ้าของหรือท้องถิ่นดำเนินการฝังกลบทำเป็นสวนสาธารณะโดยจะนำเสนอให้คณะรัฐมนตรีสั่งการ ซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพประชาชนในความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เนื่องจากระบบ EHA เป็นระบบที่คุ้มครองสิทธิด้านสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมของประชาชนตามสิทธิและกฎหมายกำหนด? รองอธิบดีกรมอนามัยกล่าว
        รองอธิบดีกรมอนามัยกล่าวในตอนท้ายว่า การประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาคุณภาพระบบอนามัยสิ่งแวดล้อม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมกว่า 800 คน จากเทศบาลต่างๆ ทั่วประเทศ โดยภายในงานมีการจัดนิทรรศการเทศบาลที่ผ่านการประเมินระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเป็นตัวอย่างให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอิ่นๆ ในการดำเนินงานต่อไป
 
 ***
สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง / 16 มิถุนายน 2557
 
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น รับรองคุณภาพเทศบาล 51 แห่ง ที่มีระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับดีเยี่ยมตามมาตรฐาน 9 ระบบ พร้อมกระตุ้นอีกร้อยละ 20 จาก 2,000 แห่งทัวประเทศ พัฒนาให้ได้มาตรฐานในปี 2558 วันนี้ (16 มิถุนายน 2557) นายแพทย์ณรงค์ สายวงศ์ รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงานประชุมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Environmental Health Accreditation :EHA) ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ ซิตี้ จอมเทียน จังหวัดชลบุรี ว่า กรมอนามัยร่วมกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นดำเนินงานพัฒนารับรองระบบคุณภาพบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีเทศบาลนครและเทศบาลเมืองทั่วประเทศ ประมาณ 202 เทศบาล สมัครเข้าร่วมการประเมินรับรองจำนวน 181 เทศบาล คิดเป็นร้อยละ 90 ผ่านการประเมินพื้นฐานจำนวน 101 เทศบาล คิดเป็นร้อยละ 50 ผ่านการประเมินดีเยี่ยมจนได้รับเกียรติบัตร จำนวน 51 เทศบาล คิดเป็นร้อยละ 25 โดยในแต่ละเทศบาลมีความโดดเด่นในด้านต่างๆ อาทิ เทศบาลเมืองวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว เด่นด้านการจัดการสุขาภิบาลอาหาร เทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี เด่นด้านการจัดการคุณภาพน้ำบริโภค เทศบาลเมืองทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช เด่นด้านการจัดการสิ่งปฏิกูล เทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี เด่นด้านการจัดการมูลฝอยทั่วไป และเทศบาลเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร เด่นด้านการจัดการเหตุรำคาญ นายแพทย์ณรงค์ กล่าวต่อไปว่า มาตรฐานระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 9 ระบบ ได้แก่1. ระบบการจัดการสุขาภิบาลอาหาร2. ระบบการจัดการคุณภาพน้ำบริโภค3. ระบบการจัดการสิ่งปฏิกูล4. ระบบการจัดการมูลฝอย5. ระบบการรองรับภาวะฉุกเฉินและภัยพิบัติ6. ระบบการจัดการเหตุรำคาญ7. ระบบการจัดการกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ8. ระบบการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ และ9. ระบบการบังคับใช้กฎหมาย โดยในปี 2558 กรมอนามัยมีเป้าหมายที่จะสนับสนุนให้เทศบาลทุกระดับสมัครเข้ารับการประเมินระบบคุณภาพไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของเทศบาลทั่วประเทศที่มีประมาณ 2,000 กว่าแห่ง \\ทั้งนี้ กรมอนามัยได้รับการสนับสนุนจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับ และร่วมกันพัฒนาระบบคุณภาพบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมตามหลัก 5 ยุทธศาสตร์ของกรมอนามัย ดังนี้1) การแยกขยะครัวเรือน หรือการแยกทิ้งขยะ ณ แหล่งกำเนิด2) การเก็บค่ากำจัดขยะ ตาม พรบ.สาธารณสุขท้องถิ่นสามารถเก็บค่าธรรมเนียมได้เฉพาะค่าเก็บขนเท่านั้น ส่วนค่ากำจัดเก็บไม่ได้ และขณะนี้กรมอนามัยกำลังดำเนินการออกกฎหมาย เพื่อให้ท้องถิ่นหรือเทศบาลสามารถเก็บค่าธรรมเนียมการกำจัดขยะได้3) ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อลดการเคลื่อนย้าย ขยะติดเชื้อ เน้นหลักการบำบัด หรือกำจัดที่แหล่งกำเนิด4) การสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการจัดการขยะให้ถูกสุขลักษณะ และเข้มงวดการทิ้งและกำจัดขยะอันตรายจากอุตสาหกรรมและบ้านเรือน และ5) สำรวจกองขยะเก่าเพื่อทำสวนสาธารณะ กรมอนามัยจะเสนอให้เจ้าของหรือท้องถิ่นดำเนินการฝังกลบทำเป็นสวนสาธารณะโดยจะนำเสนอให้คณะรัฐมนตรีสั่งการ ซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพประชาชนในความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เนื่องจากระบบ EHA เป็นระบบที่คุ้มครองสิทธิด้านสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมของประชาชนตามสิทธิและกฎหมายกำหนด รองอธิบดีกรมอนามัยกล่าว รองอธิบดีกรมอนามัยกล่าวในตอนท้ายว่า การประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาคุณภาพระบบอนามัยสิ่งแวดล้อม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมกว่า 800 คน จากเทศบาลต่างๆ ทั่วประเทศ โดยภายในงานมีการจัดนิทรรศการเทศบาลที่ผ่านการประเมินระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเป็นตัวอย่างให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอิ่นๆ ในการดำเนินงานต่อไป *** สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง / 16 มิถุนายน 2557

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน