คุณกำลังมองหาอะไร?

รมอนามัย จับมือกรมควบคุมโรค กรมสุขภาพจิต หนุน อปท. สร้างสุขภาพดีให้เด็กไทย

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

04.06.2557
1
0
แชร์
04
มิถุนายน
2557

กรมอนามัย จับมือกรมควบคุมโรค กรมสุขภาพจิต หนุน อปท. สร้างสุขภาพดีให้เด็กไทย

        กรมอนามัย ร่วมกับกรมควบคุมโรคและกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เดินหน้าเสริมสร้างศักยภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อพัฒนาการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนและเยาวชนอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน 
        วันนี้ (3 มิถุนายน 2557) ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงานสัมมนาการเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาสุขภาพเด็กวัยเรียนและเยาวชน สานสัมพันธ์ท้องถิ่นภาคี สร้างสุขภาพดีเด็กไทย? ณ โรงเรียนสายปัญญารังสิต จังหวัดปทุมธานี ว่า กรมอนามัย ได้ดำเนินงานโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก (WHO) มากว่าสิบปี โดยได้รับความร่วมมือจากโรงเรียนและชุมชน และเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพเด็กวัยเรียนมากขึ้น จึงยกระดับ การพัฒนาโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพให้เป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร จากการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ส่งผลให้ขณะนี้มีโรงเรียนที่ผ่านการรับรองเป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร 388 แห่ง ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล ในฐานะหน่วยงานดูแลคุณภาพชีวิตของประชาชนในระดับพื้นที่ เป็นเครือข่าย ที่สนับสนุนกิจกรรมสุขภาพเด็กวัยเรียนมากที่สุดถึงร้อยละ 75.8 มีโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1,407 แห่ง แบ่งเป็น โรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด 347 แห่ง เทศบาล 923 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 137 แห่ง ที่มีการพัฒนาและได้รับการรับรองเป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร 21 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 1.5 ซึ่งนับว่ายังให้ความสำคัญน้อยมาก จึงเห็นควรให้ได้รับการพัฒนาให้นักเรียนมีภาวะสุขภาพดีตามเกณฑ์และก้าวสู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชรให้มากขึ้น
        ดร.นพ.พรเทพ กล่าวต่อไปว่า กรมอนามัย จึงร่วมกับกรมควบคุมโรคและกรมสุขภาพจิต เสริมสร้างศักยภาพบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาสุขภาพเด็กวัยเรียนและเยาวชน เพราะจากการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการเด็กวัยเรียน พ.ศ.2553 พบว่า เป็นโรคอ้วนร้อยละ 13.7 และใน พ.ศ.2554 พบว่า ร้อยละ 17.0 มีสาเหตุของโรคอ้วนมาจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม การบริโภคอาหารที่ไม่ได้สัดส่วนและปริมาณที่เหมาสมตามวัย เด็กกินผักเพียงวันละ 1.5 ช้อนโต๊ะ ทั้งๆ ที่ควรกินไม่ต่ำกว่าวันละ 12 ช้อนโต๊ะ รวมทั้งขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยพบว่า เด็กอายุ 6-9 ปี มีการออกกำลังกายครบเกณฑ์เพียงร้อยละ 59.4 ไม่ค่อยออกกำลังกาย ร้อยละ 32.7 และออกกำลังกายไม่ครบเกณฑ์ ร้อยละ 7.9 ในขณะที่เด็กอายุ 10-14 ปี มีการออกกำลังกายครบเกณฑ์สูงถึง ร้อยละ 77.3 ไม่ค่อยออกกำลังกาย ร้อยละ 18.5 และออกกำลังกายไม่ครบเกณฑ์ ร้อยละ 4.1 ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวจะนำไปสู่การเกิดโรค ไม่ติดต่อเรื้อรังได้ กรมอนามัยจึงดำเนินการแก้ไขปัญหาโดยร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียน ทั้งในในโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ภายใต้การบริหารจัดการร่วมกับกองทุนสุขภาพตำบล ที่มุ่งให้เด็กไทยมีสุขภาพแข็งแรงและมีอนามัยสิ่งแวดล้อม ทั้งด้านโภชนาการ สุขภาพปากและฟัน ส่งเสริมการออกกำลังกาย สุขภาพทางเพศ และสิ่งแวดล้อมที่ดีในโรงเรียน? อธิบดีกรมอนามัยกล่าว
        นายแพทย์โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ในการดำเนินงานพัฒนาสุขภาพเด็กวัยเรียนและเยาวชน กรมควบคุมโรคจะดูแลด้านระบาดวิทยา การเฝ้าระวังโรค การสอบสวนโรค กิจกรรมการป้องกันควบคุมโรค และติดตามประเมินผล โดยเน้นเฉพาะปัญหาที่สำคัญ เช่น โรคอาหารเป็นพิษ โดยใช้มาตรการที่ดำเนินการเพื่อสนับสนุนให้ครูและนักเรียนมีความรู้ กิจกรรม และการจัดการ เพื่อป้องกันโรคคอตีบและหัดด้วยการตรวจสอบประวัติการได้รับวัคซีนของเด็กนักเรียน เพื่อให้นักเรียนได้รับวัคซีนครบถ้วน โรคไข้เลือดออก มีการดำเนินงานโรงเรียนปลอดโรคไข้เลือดออก ซึ่งทำให้ลดจำนวนผู้ป่วยได้ถึง 10,000 ราย มีมาตรการเฝ้าระวังโรค ป้องกันโรคล่วงหน้า การควบคุมโรค และการสื่อสารความเสี่ยง การมีส่วนร่วมของเครือข่าย ปัญหาบุหรี่กับนักเรียน ดำเนินการโดยใช้กฎหมายห้ามขายบุหรี่ในโรงเรียนและบริเวณรอบโรงเรียน และการแก้ปัญหาเด็กจมน้ำด้วยหลักสูตรว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด ซึ่งช่วยให้เด็กมีทักษะในการเอาชีวิตรอดในน้ำสูงกว่าเด็กที่ไม่ได้เรียนสูงถึง 21 เท่า เป็นต้น โดยสนับสนุนด้านวิชาการให้กับหน่วยงานกระทรวงสาธารณสุขและโรงเรียนในพื้นที่ ซึ่งการดำเนินงานจะต้องบูรณาการร่วมกันระหว่าง กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้การดำเนินงานเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้เด็กและเยาวชนมีสุขภาพที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ
        นายแพทย์เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า กรมสุขภาพจิตมีนโยบายพัฒนางานส่งเสริมสุขภาพจิตตามกลุ่มวัย ซึ่งในวัยเรียน เน้นการพัฒนาความฉลาดทางสติปัญญญา (IQ) และความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ค้นหากลุ่มนักเรียนที่มีปัญหาการเรียนและปัญหาพฤติกรรมอารมณ์ โดยพัฒนาระบบการเฝ้าระวังปัญหา IQ-EQ ในเด็กวัยเรียน รวมทั้งผลักดันให้ระบบสาธารณสุขมีการเชื่อมโยงกับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน เพื่อให้เด็กวัยเรียนที่มีปัญหาการเรียนและปัญหาสุขภาพจิตได้รับการดูแล และเข้ารับการรักษาในระบบบริการสาธารณสุข โดยกลุ่มโรคที่ส่งผลต่อปัญหาการเรียน 4 กลุ่มโรค ได้แก่ โรคสมาธิสั้น (ADHD) โรคปัญหาการเรียน (LD) ร้อยละ 4-6 ภาวะสติปัญญาบกพร่อง (Intellectual Disabilities) ร้อยละ 6.81 และโรคออทิสติก (Autism Disorder) ร้อยละ 0.2-0.5 โดยมีแนวโน้มว่าปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดโรคเพิ่มขึ้นอาจมาจากสิ่งแวดล้อม ทั้งมลพิษและอาหาร ซึ่งมีผลต่อพัฒนาการทางสมองของเด็ก ซึ่งกรมสุขภาพจิตได้พยายามหาวิธีเฝ้าระวังเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา รวมทั้งค้นคว้าแนวทางส่งเสริมคุณภาพและศักยภาพของเด็กไทย ให้มีความฉลาดทั้งสติปัญญาและอารมณ์ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ตลอดจนมีศักยภาพสามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้ ซึ่งการพัฒนาภาวะทางอารมณ์ของเด็กและเยาวชนต้องได้รับความร่วมมือจากครอบครัว บ้าน โรงเรียน และชุมชน
 
***
 สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง / 3 พฤษภาคม 2557
 
กรมอนามัย ร่วมกับกรมควบคุมโรคและกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เดินหน้าเสริมสร้างศักยภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อพัฒนาการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนและเยาวชนอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน วันนี้ (3 มิถุนายน 2557) ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงานสัมมนาการเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาสุขภาพเด็กวัยเรียนและเยาวชน \\สานสัมพันธ์ท้องถิ่นภาคี สร้างสุขภาพดีเด็กไทย ณ โรงเรียนสายปัญญารังสิต จังหวัดปทุมธานี ว่า กรมอนามัย ได้ดำเนินงานโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก (WHO) มากว่าสิบปี โดยได้รับความร่วมมือจากโรงเรียนและชุมชน และเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพเด็กวัยเรียนมากขึ้น จึงยกระดับ การพัฒนาโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพให้เป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร จากการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ส่งผลให้ขณะนี้มีโรงเรียนที่ผ่านการรับรองเป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร 388 แห่ง ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล ในฐานะหน่วยงานดูแลคุณภาพชีวิตของประชาชนในระดับพื้นที่ เป็นเครือข่าย ที่สนับสนุนกิจกรรมสุขภาพเด็กวัยเรียนมากที่สุดถึงร้อยละ 75.8 มีโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1,407 แห่ง แบ่งเป็น โรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด 347 แห่ง เทศบาล 923 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 137 แห่ง ที่มีการพัฒนาและได้รับการรับรองเป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร 21 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 1.5 ซึ่งนับว่ายังให้ความสำคัญน้อยมาก จึงเห็นควรให้ได้รับการพัฒนาให้นักเรียนมีภาวะสุขภาพดีตามเกณฑ์และก้าวสู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชรให้มากขึ้น ดร.นพ.พรเทพ กล่าวต่อไปว่า กรมอนามัย จึงร่วมกับกรมควบคุมโรคและกรมสุขภาพจิต เสริมสร้างศักยภาพบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาสุขภาพเด็กวัยเรียนและเยาวชน เพราะจากการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการเด็กวัยเรียน พ.ศ.2553 พบว่า เป็นโรคอ้วนร้อยละ 13.7 และใน พ.ศ.2554 พบว่า ร้อยละ 17.0 มีสาเหตุของโรคอ้วนมาจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม การบริโภคอาหารที่ไม่ได้สัดส่วนและปริมาณที่เหมาสมตามวัย เด็กกินผักเพียงวันละ 1.5 ช้อนโต๊ะ ทั้งๆ ที่ควรกินไม่ต่ำกว่าวันละ 12 ช้อนโต๊ะ รวมทั้งขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยพบว่า เด็กอายุ 6-9 ปี มีการออกกำลังกายครบเกณฑ์เพียงร้อยละ 59.4 ไม่ค่อยออกกำลังกาย ร้อยละ 32.7 และออกกำลังกายไม่ครบเกณฑ์ ร้อยละ 7.9 ในขณะที่เด็กอายุ 10-14 ปี มีการออกกำลังกายครบเกณฑ์สูงถึง ร้อยละ 77.3 ไม่ค่อยออกกำลังกาย ร้อยละ 18.5 และออกกำลังกายไม่ครบเกณฑ์ ร้อยละ 4.1 ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวจะนำไปสู่การเกิดโรค ไม่ติดต่อเรื้อรังได้ \\กรมอนามัยจึงดำเนินการแก้ไขปัญหาโดยร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียน ทั้งในในโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ภายใต้การบริหารจัดการร่วมกับกองทุนสุขภาพตำบล ที่มุ่งให้เด็กไทยมีสุขภาพแข็งแรงและมีอนามัยสิ่งแวดล้อม ทั้งด้านโภชนาการ สุขภาพปากและฟัน ส่งเสริมการออกกำลังกาย สุขภาพทางเพศ และสิ่งแวดล้อมที่ดีในโรงเรียน อธิบดีกรมอนามัยกล่าว นายแพทย์โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ในการดำเนินงานพัฒนาสุขภาพเด็กวัยเรียนและเยาวชน กรมควบคุมโรคจะดูแลด้านระบาดวิทยา การเฝ้าระวังโรค การสอบสวนโรค กิจกรรมการป้องกันควบคุมโรค และติดตามประเมินผล โดยเน้นเฉพาะปัญหาที่สำคัญ เช่น โรคอาหารเป็นพิษ โดยใช้มาตรการที่ดำเนินการเพื่อสนับสนุนให้ครูและนักเรียนมีความรู้ กิจกรรม และการจัดการ เพื่อป้องกันโรคคอตีบและหัดด้วยการตรวจสอบประวัติการได้รับวัคซีนของเด็กนักเรียน เพื่อให้นักเรียนได้รับวัคซีนครบถ้วน โรคไข้เลือดออก มีการดำเนินงานโรงเรียนปลอดโรคไข้เลือดออก ซึ่งทำให้ลดจำนวนผู้ป่วยได้ถึง 10,000 ราย มีมาตรการเฝ้าระวังโรค ป้องกันโรคล่วงหน้า การควบคุมโรค และการสื่อสารความเสี่ยง การมีส่วนร่วมของเครือข่าย ปัญหาบุหรี่กับนักเรียน ดำเนินการโดยใช้กฎหมายห้ามขายบุหรี่ในโรงเรียนและบริเวณรอบโรงเรียน และการแก้ปัญหาเด็กจมน้ำด้วยหลักสูตรว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด ซึ่งช่วยให้เด็กมีทักษะในการเอาชีวิตรอดในน้ำสูงกว่าเด็กที่ไม่ได้เรียนสูงถึง 21 เท่า เป็นต้น โดยสนับสนุนด้านวิชาการให้กับหน่วยงานกระทรวงสาธารณสุขและโรงเรียนในพื้นที่ ซึ่งการดำเนินงานจะต้องบูรณาการร่วมกันระหว่าง กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้การดำเนินงานเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้เด็กและเยาวชนมีสุขภาพที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ นายแพทย์เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า กรมสุขภาพจิตมีนโยบายพัฒนางานส่งเสริมสุขภาพจิตตามกลุ่มวัย ซึ่งในวัยเรียน เน้นการพัฒนาความฉลาดทางสติปัญญญา (IQ) และความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ค้นหากลุ่มนักเรียนที่มีปัญหาการเรียนและปัญหาพฤติกรรมอารมณ์ โดยพัฒนาระบบการเฝ้าระวังปัญหา IQ-EQ ในเด็กวัยเรียน รวมทั้งผลักดันให้ระบบสาธารณสุขมีการเชื่อมโยงกับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน เพื่อให้เด็กวัยเรียนที่มีปัญหาการเรียนและปัญหาสุขภาพจิตได้รับการดูแล และเข้ารับการรักษาในระบบบริการสาธารณสุข โดยกลุ่มโรคที่ส่งผลต่อปัญหาการเรียน 4 กลุ่มโรค ได้แก่ โรคสมาธิสั้น (ADHD) โรคปัญหาการเรียน (LD) ร้อยละ 4-6 ภาวะสติปัญญาบกพร่อง (Intellectual Disabilities) ร้อยละ 6.81 และโรคออทิสติก (Autism Disorder) ร้อยละ 0.2-0.5 โดยมีแนวโน้มว่าปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดโรคเพิ่มขึ้นอาจมาจากสิ่งแวดล้อม ทั้งมลพิษและอาหาร ซึ่งมีผลต่อพัฒนาการทางสมองของเด็ก ซึ่งกรมสุขภาพจิตได้พยายามหาวิธีเฝ้าระวังเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา รวมทั้งค้นคว้าแนวทางส่งเสริมคุณภาพและศักยภาพของเด็กไทย ให้มีความฉลาดทั้งสติปัญญาและอารมณ์ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ตลอดจนมีศักยภาพสามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้ ซึ่งการพัฒนาภาวะทางอารมณ์ของเด็กและเยาวชนต้องได้รับความร่วมมือจากครอบครัว บ้าน โรงเรียน และชุมชน *** สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง / 3 พฤษภาคม 2557

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน