คุณกำลังมองหาอะไร?

ข่า

ข่าวแจก "กรมอนามัย เร่งพัฒนางานอนามัยแม่และเด็ก ประกาศรับรองหน่วยงานยุติการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีและซิฟิลิสในทารกแรกเกิดระดับจังหวัด"

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

01.03.2560
12
0
แชร์
01
มีนาคม
2560

ข่าวแจก "กรมอนามัย เร่งพัฒนางานอนามัยแม่และเด็ก ประกาศรับรองหน่วยงานยุติการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีและซิฟิลิสในทารกแรกเกิดระดับจังหวัด"

        กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จัดสัมมนาวิชาการอนามัยแม่และเด็กครั้งที่ 9 เปิดเวทีเรียนรู้ เสริมพลังคนทำงานด้านอนามัยแม่และเด็ก พร้อมมอบประกาศเกียรติคุณแก่หน่วยงานและองค์กรสนับสนุนยุติการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีและซิฟิลิสในทารกแรกเกิดระดับจังหวัด
        วันนี้ (1 มีนาคม 2560) นายแพทย์วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงานสัมมนาวิชาการอนามัยแม่และเด็กครั้งที่ 9 องค์กรยุติการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีและซิฟิลิสในทารกแรกเกิด และการพัฒนาเด็กปฐมวัยในยุคไทยแลนด์ 4.0 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร ว่า ในปี 2558 กรมอนามัยได้ร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมควบคุมโรค สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ศูนย์ความร่วมมือไทย- สหรัฐ ด้านสาธารณสุข (CDC/TUC) องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNICEF) องค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย (WHO) โครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย (UNAIDS) มูลนิธิเอดส์แห่งประเทศไทย มูลนิธิรักษ์ไทย เครือข่ายผู้หญิงที่อยู่ร่วมกับเอชไอวี ทบทวนกระบวนการทำงานป้องกันการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูกเพื่อการขอรับการรับรองการยุติการถ่ายทอดเชื้อ เอชไอวีและซิฟิลิสจากแม่สู่ลูกจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ส่งผลให้ประเทศไทยสามารถลดการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีและซิฟิลิสในทารกแรกเกิดได้ต่ำกว่าร้อยละ 2 และได้รับการรับรองการยุติการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีและซิฟิลิสในทารกแรกเกิดจากองค์การอนามัยโลก เป็นประเทศที่ 2 ของโลก และเป็นประเทศแรกของเอเซีย ดังนั้น เพื่อความยั่งยืนในการดำเนินงานกรมอนามัยจึงจัดให้มีการประเมินองค์กรยุติการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีและซิฟิลิสในทารกแรกเกิดในระดับจังหวัด โดยผลการประเมินปี 2559 มีสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดผ่านเกณฑ์ 53 จังหวัด ซึ่งการดำเนินงานจนประสบความสำเร็จในปัจจุบันนี้ มีหน่วยงานที่ให้การสนับสนุน ได้แก่ ศูนย์ความร่วมมือไทย- สหรัฐ ด้านสาธารณสุข องค์การอนามัยโลก (WHO) องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNICEF) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) โครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย (UNAIDS) และสภากาชาดไทย
         "ทั้งนี้ ประเทศไทยมีการรายงานผู้ป่วยเอดส์รายแรกในปี 2527 และระบาดอย่างต่อเนื่องเกือบ 30 ปี โดยสาเหตุหลักมาจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย นอกจากนี้ มีการรายงานการติดเชื้อเอชไอวีในหญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่ปี 2531กระทรวงสาธารณสุขจึงมีนโยบายให้สถานบริการสาธารณสุขดำเนินงานการป้องกันการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก โดยผสมผสานเข้ากับระบบบริการอนามัยแม่และเด็กของสถานบริการสาธารณสุข ตั้งแต่ปี 2536 โดยบริการตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอชไอวีในหญิงตั้งครรภ์ และให้นมผสมสำหรับทารกที่คลอดจากแม่ติดเชื้อเอชไอวี และปี 2543 เริ่มมีการให้ยาต้านไวรัสสูตร Zidovudine (AZT) ในแม่และทารกเพื่อป้องกันการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก พร้อมทั้งมีการปรับเปลี่ยนสูตรยาต้านไวรัสให้เป็นไปตามมาตรฐานการรักษาและข้อมูลหลักฐานการวิจัยที่เป็นปัจจุบัน การส่งเสริมการจัดบริการ ปรึกษาและตรวจเลือดแบบคู่สำหรับทารกที่เกิดจากหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวี จะได้รับการวินิจฉัยการติดเชื้อเอชไอวีโดยเร็ว (HIV PCR) และยังมีระบบกำกับติดตามการดำเนินงานที่เข้มแข็งที่ได้มาตรฐานเพื่อการเฝ้าระวังทั้งในระดับประเทศและระดับพื้นที่? นายแพทย์วชิระ กล่าว
        อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในตอนท้ายว่า งานสัมมนาวิชาการอนามัยแม่และเด็กครั้งที่ 9 องค์กรยุติการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีและซิฟิลิสในทารกแรกเกิดและการพัฒนาเด็กปฐมวัยในยุคไทยแลนด์ 4.0 ในครั้งนี้ถือเป็นการเพิ่มพูนความรู้และเป็นเวทีเผยแพร่ผลงานวิชาการด้านอนามัยแม่และเด็กของบุคลากรสาธารณสุข โดยมีผู้ร่วมสัมนาประกอบด้วย แพทย์พยาบาลนักวิชาการ จากโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและศูนย์บริการสาธารณสุขสังกัดกรุงเทพมหานคร ตัวแทนจากศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐ ด้านสาธารณสุข องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย องค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย โครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย และศูนย์วิจัยโรคเอดส์สภากาชาดไทย รวมทั้งสิ้นจำนวน 500 คน
 
***
 ศูนย์สื่อสารสาธารณะ / 1 มีนาคม 2560
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จัดสัมมนาวิชาการอนามัยแม่และเด็กครั้งที่ 9 เปิดเวทีเรียนรู้ เสริมพลังคนทำงานด้านอนามัยแม่และเด็ก พร้อมมอบประกาศเกียรติคุณแก่หน่วยงานและองค์กรสนับสนุนยุติการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีและซิฟิลิสในทารกแรกเกิดระดับจังหวัด วันนี้ (1 มีนาคม 2560) นายแพทย์วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงานสัมมนาวิชาการอนามัยแม่และเด็กครั้งที่ 9 องค์กรยุติการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีและซิฟิลิสในทารกแรกเกิด และการพัฒนาเด็กปฐมวัยในยุคไทยแลนด์ 4.0 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร ว่า ในปี 2558 กรมอนามัยได้ร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมควบคุมโรค สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ศูนย์ความร่วมมือไทย- สหรัฐ ด้านสาธารณสุข (CDC/TUC) องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNICEF) องค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย (WHO) โครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย (UNAIDS) มูลนิธิเอดส์แห่งประเทศไทย มูลนิธิรักษ์ไทย เครือข่ายผู้หญิงที่อยู่ร่วมกับเอชไอวี ทบทวนกระบวนการทำงานป้องกันการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูกเพื่อการขอรับการรับรองการยุติการถ่ายทอดเชื้อ เอชไอวีและซิฟิลิสจากแม่สู่ลูกจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ส่งผลให้ประเทศไทยสามารถลดการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีและซิฟิลิสในทารกแรกเกิดได้ต่ำกว่าร้อยละ 2 และได้รับการรับรองการยุติการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีและซิฟิลิสในทารกแรกเกิดจากองค์การอนามัยโลก เป็นประเทศที่ 2 ของโลก และเป็นประเทศแรกของเอเซีย ดังนั้น เพื่อความยั่งยืนในการดำเนินงานกรมอนามัยจึงจัดให้มีการประเมินองค์กรยุติการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีและซิฟิลิสในทารกแรกเกิดในระดับจังหวัด โดยผลการประเมินปี 2559 มีสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดผ่านเกณฑ์ 53 จังหวัด ซึ่งการดำเนินงานจนประสบความสำเร็จในปัจจุบันนี้ มีหน่วยงานที่ให้การสนับสนุน ได้แก่ ศูนย์ความร่วมมือไทย- สหรัฐ ด้านสาธารณสุข องค์การอนามัยโลก (WHO) องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNICEF) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) โครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย (UNAIDS) และสภากาชาดไทย ทั้งนี้ ประเทศไทยมีการรายงานผู้ป่วยเอดส์รายแรกในปี 2527 และระบาดอย่างต่อเนื่องเกือบ 30 ปี โดยสาเหตุหลักมาจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย นอกจากนี้ มีการรายงานการติดเชื้อเอชไอวีในหญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่ปี 2531กระทรวงสาธารณสุขจึงมีนโยบายให้สถานบริการสาธารณสุขดำเนินงานการป้องกันการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก โดยผสมผสานเข้ากับระบบบริการอนามัยแม่และเด็กของสถานบริการสาธารณสุข ตั้งแต่ปี 2536 โดยบริการตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอชไอวีในหญิงตั้งครรภ์ และให้นมผสมสำหรับทารกที่คลอดจากแม่ติดเชื้อเอชไอวี และปี 2543 เริ่มมีการให้ยาต้านไวรัสสูตร Zidovudine (AZT) ในแม่และทารกเพื่อป้องกันการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก พร้อมทั้งมีการปรับเปลี่ยนสูตรยาต้านไวรัสให้เป็นไปตามมาตรฐานการรักษาและข้อมูลหลักฐานการวิจัยที่เป็นปัจจุบัน การส่งเสริมการจัดบริการ ปรึกษาและตรวจเลือดแบบคู่สำหรับทารกที่เกิดจากหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวี จะได้รับการวินิจฉัยการติดเชื้อเอชไอวีโดยเร็ว (HIV PCR) และยังมีระบบกำกับติดตามการดำเนินงานที่เข้มแข็งที่ได้มาตรฐานเพื่อการเฝ้าระวังทั้งในระดับประเทศและระดับพื้นที่ นายแพทย์วชิระ กล่าว อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในตอนท้ายว่า งานสัมมนาวิชาการอนามัยแม่และเด็กครั้งที่ 9 องค์กรยุติการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีและซิฟิลิสในทารกแรกเกิดและการพัฒนาเด็กปฐมวัยในยุคไทยแลนด์ 4.0 ในครั้งนี้ถือเป็นการเพิ่มพูนความรู้และเป็นเวทีเผยแพร่ผลงานวิชาการด้านอนามัยแม่และเด็กของบุคลากรสาธารณสุข โดยมีผู้ร่วมสัมนาประกอบด้วย แพทย์พยาบาลนักวิชาการ จากโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและศูนย์บริการสาธารณสุขสังกัดกรุงเทพมหานคร ตัวแทนจากศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐ ด้านสาธารณสุข องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย องค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย โครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย และศูนย์วิจัยโรคเอดส์สภากาชาดไทย รวมทั้งสิ้นจำนวน 500 คน *** ศูนย์สื่อสารสาธารณะ / 1 มีนาคม 2560

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน

ติดตามข่าวสารได้ที่

แทงบอลออนไลน์ || ดูบอลสด UFABET