ข่าวแจกกรมอนามัย ขยาย Care manager รวม 5 รุ่น ลงพื้นที่ ส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ""
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และภาคีเครือข่าย ดำเนินโครงการพัฒนาระบบบริการการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวและผู้สูงอายุที่ต้องการพึ่งพิง (Longterm care) ด้านสุขภาพ ปี 2558 และพัฒนา Care manager รุ่น 5 ที่มีคุณภาพให้ครอบคลุมทุกจังหวัดเพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบบริการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวและผู้สูงอายุที่ต้องการการพึ่งพิง (Long term care) ด้านสุขภาพให้เป็นรูปธรรม เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน
วันนี้ (19 มิถุนายน 2558) ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีมอบเกียรติบัตรผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุ (Care manager) รุ่นที่ 5 ณ โรงแรมเอเชียร์ แอร์พอร์ต จังหวัดปทุมธานี ว่า จากความก้าวหน้าด้านการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศไทยทำให้อัตราการเกิดน้อยลงประชากรมีอายุยืนยาวมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ประชากรไทยหยุดโต มีการคาดการณ์ว่า อีก 20 ปีข้างหน้าประเทศไทยจะเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอด ซึ่งหมายถึงมีสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ 20 ขึ้นไป หรืออาจกล่าวได้ว่าในปี พ.ศ.2564 ประเทศไทยจะกลายเป็นสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ : Aged Society) และจากนั้นอีก 10 ปี ประเทศไทยจะกลายเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอด จากปัญหาดังกล่าวทำให้แนวโน้มผู้สูงอายุในประเทศไทยจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยร้อยละ 95 ของผู้สูงอายุมีความเจ็บป่วยด้วยโรคอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน เข่าเสื่อม โรคซึมเศร้า และทุพพลภาพติดเตียง ขณะที่มีเพียงร้อยละ 5 เท่านั้นที่ไม่เป็นโรค และผู้สูงอายุเข้าถึงระบบบริการสุขภาพเพียงร้อยละ 56
ดร.นพ.พรเทพ กล่าวต่อไปว่า การรองรับสังคมผู้สูงอายุ กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้มีการสร้างเสริมสุขภาวะสำหรับผู้สูงอายุและผู้อยู่ในภาวะพึ่งพิง โดยมีการบูรณาการด้านการแพทย์แผนไทย เป็นนโยบายสำคัญเร่งด่วน โดยกำหนดกิจกรรม คือ 1) การคัดกรองเพื่อจำแนกกลุ่มผู้สูงอายุตามภาวะพึ่งพิง และประเมินความจำเป็นด้านการสนับสนุนบริการและจัดบริการด้านสุขภาพและสังคม และ 2) การจัดบริการด้านสุขภาพและสังคมรวมถึงมี Care giver และ Care manager อย่างพอเพียงในสัดส่วน Care manager 1 คน ต่อ Care giver 5 ถึง 7 คน ช่วยดูแลผู้สูงอายุและผู้อยู่ในภาวะพึ่งพิง เพื่อให้ผู้สูงอายุและผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้รับการดูแลสุขภาพอย่างมีคุณภาพ ไม่เลือกปฏิบัติ ซึ่งกลไกขับเคลื่อนการดำเนินงานในชุมชนที่สำคัญ คือ การสร้างและพัฒนา Care manager ให้ครอบคลุมทุกจังหวัดเพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบบริการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวและผู้สูงอายุที่ต้องการการพึ่งพิง (Long term care) ด้านสุขภาพให้เป็นรูปธรรม เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน ซึ่งขณะนี้ กรมอนามัยได้ดำเนินการการอบรมหลักสูตร Care manager มาอย่างต่อเนื่องมาแล้วทั้งสิ้น 5 รุ่น จำนวน 545 คน ซึ่งจะสามารถให้การดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ติดเตียงได้อย่างมีคุณภาพ ส่งเสริมดูแลสุขภาพช่องปากและมีระบบการดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
"ทั้งนี้ การพัฒนาระบบบริการการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวและผู้สูงอายุที่ต้องการพึ่งพิง (Long term care) ด้านสุขภาพ ปี 2558 จะเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพเท่าเทียม ให้มีสุขภาพดี ไม่ป่วย และยืดระยะเวลาของการมีสุขภาพดีให้ยาวนานที่สุด อีกทั้งส่งเสริมสุขภาพและการดูแลสุขภาพในผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรังมีภาวะทุพพลภาพให้หายหรือทุเลา โดยเน้นการดำเนินงานแบบครอบครัว ชุมชน ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุกลไกที่สำคัญคือการพัฒนาตำบลต้นแบบดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญคือจะต้องมีข้อมูลผู้สูงอายุเพื่อวางแผนการดูแลช่วยเหลือ มีผู้ดูแลผู้สูงอายุในชุมชน มีชมรมผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ มีการเยี่ยมดูแลผู้สูงอายุที่บ้านโดยบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อให้ผู้สูงอายุเข้าถึงบริการสุขภาพอย่างถ้วนหน้า เท่าเทียม และมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป? อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด
***
สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง/19 มิถุนายน 2558
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และภาคีเครือข่าย ดำเนินโครงการพัฒนาระบบบริการการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวและผู้สูงอายุที่ต้องการพึ่งพิง (Longterm care) ด้านสุขภาพ ปี 2558 และพัฒนา Care manager รุ่น 5 ที่มีคุณภาพให้ครอบคลุมทุกจังหวัดเพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบบริการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวและผู้สูงอายุที่ต้องการการพึ่งพิง (Long term care) ด้านสุขภาพให้เป็นรูปธรรม เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน วันนี้ (19 มิถุนายน 2558) ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีมอบเกียรติบัตรผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุ (Care manager) รุ่นที่ 5 ณ โรงแรมเอเชียร์ แอร์พอร์ต จังหวัดปทุมธานี ว่า จากความก้าวหน้าด้านการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศไทยทำให้อัตราการเกิดน้อยลงประชากรมีอายุยืนยาวมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ประชากรไทยหยุดโต มีการคาดการณ์ว่า อีก 20 ปีข้างหน้าประเทศไทยจะเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอด ซึ่งหมายถึงมีสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ 20 ขึ้นไป หรืออาจกล่าวได้ว่าในปี พ.ศ.2564 ประเทศไทยจะกลายเป็นสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ : Aged Society) และจากนั้นอีก 10 ปี ประเทศไทยจะกลายเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอด จากปัญหาดังกล่าวทำให้แนวโน้มผู้สูงอายุในประเทศไทยจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยร้อยละ 95 ของผู้สูงอายุมีความเจ็บป่วยด้วยโรคอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน เข่าเสื่อม โรคซึมเศร้า และทุพพลภาพติดเตียง ขณะที่มีเพียงร้อยละ 5 เท่านั้นที่ไม่เป็นโรค และผู้สูงอายุเข้าถึงระบบบริการสุขภาพเพียงร้อยละ 56 ดร.นพ.พรเทพ กล่าวต่อไปว่า การรองรับสังคมผู้สูงอายุ กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้มีการสร้างเสริมสุขภาวะสำหรับผู้สูงอายุและผู้อยู่ในภาวะพึ่งพิง โดยมีการบูรณาการด้านการแพทย์แผนไทย เป็นนโยบายสำคัญเร่งด่วน โดยกำหนดกิจกรรม คือ 1) การคัดกรองเพื่อจำแนกกลุ่มผู้สูงอายุตามภาวะพึ่งพิง และประเมินความจำเป็นด้านการสนับสนุนบริการและจัดบริการด้านสุขภาพและสังคม และ 2) การจัดบริการด้านสุขภาพและสังคมรวมถึงมี Care giver และ Care manager อย่างพอเพียงในสัดส่วน Care manager 1 คน ต่อ Care giver 5 ถึง 7 คน ช่วยดูแลผู้สูงอายุและผู้อยู่ในภาวะพึ่งพิง เพื่อให้ผู้สูงอายุและผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้รับการดูแลสุขภาพอย่างมีคุณภาพ ไม่เลือกปฏิบัติ ซึ่งกลไกขับเคลื่อนการดำเนินงานในชุมชนที่สำคัญ คือ การสร้างและพัฒนา Care manager ให้ครอบคลุมทุกจังหวัดเพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบบริการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวและผู้สูงอายุที่ต้องการการพึ่งพิง (Long term care) ด้านสุขภาพให้เป็นรูปธรรม เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน ซึ่งขณะนี้ กรมอนามัยได้ดำเนินการการอบรมหลักสูตร Care manager มาอย่างต่อเนื่องมาแล้วทั้งสิ้น 5 รุ่น จำนวน 545 คน ซึ่งจะสามารถให้การดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ติดเตียงได้อย่างมีคุณภาพ ส่งเสริมดูแลสุขภาพช่องปากและมีระบบการดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ทั้งนี้ การพัฒนาระบบบริการการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวและผู้สูงอายุที่ต้องการพึ่งพิง (Long term care) ด้านสุขภาพ ปี 2558 จะเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพเท่าเทียม ให้มีสุขภาพดี ไม่ป่วย และยืดระยะเวลาของการมีสุขภาพดีให้ยาวนานที่สุด อีกทั้งส่งเสริมสุขภาพและการดูแลสุขภาพในผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรังมีภาวะทุพพลภาพให้หายหรือทุเลา โดยเน้นการดำเนินงานแบบครอบครัว ชุมชน ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุกลไกที่สำคัญคือการพัฒนาตำบลต้นแบบดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญคือจะต้องมีข้อมูลผู้สูงอายุเพื่อวางแผนการดูแลช่วยเหลือ มีผู้ดูแลผู้สูงอายุในชุมชน มีชมรมผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ มีการเยี่ยมดูแลผู้สูงอายุที่บ้านโดยบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อให้ผู้สูงอายุเข้าถึงบริการสุขภาพอย่างถ้วนหน้า เท่าเทียม และมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด *** สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง/19 มิถุนายน 2558