ข่าวแจก กรมอนามัย ถวายโล่วัดส่งเสริมสุขภาพดีเด่นปี 57 แก่วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร วัดยอดเยี่ยมอันดับ 1 จาก UNESCO
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ถวายโล่ประกาศเกียรติคุณวัดส่งเสริมสุขภาพดีเด่นปี 2557 ที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานการดำเนินงานวัดส่งเสริมสุขภาพแก่วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร วัดพัฒนาตัวอย่างดีเด่น และได้รับรางวัลยอดเยี่ยมอันดับ 1จากองค์การยูเนสโก พร้อมแนะประชาชนใส่ใจสุขภาพพระสงฆ์ ด้วยการทำบุญตักบาตรด้วยเมนูชูสุขภาพ
วันนี้ (13 พฤษภาคม 2557) ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังพิธีถวายโล่ประกาศเกียรติคุณ วัดส่งเสริมสุขภาพดีเด่น ปี 2557 ณ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร กรุงเทพมหานคร ว่า การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ วัด? ถือเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมมาแต่เดิม อีกทั้งเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ สร้างพลังศรัทธาของชาวบ้าน การพัฒนาวัดสู่วัดส่งเสริมสุขภาพ พระสงฆ์เป็นแกนหลักในด้านการพัฒนาชุมชน ความช่วยเหลือเกื้อกูลด้านต่างๆ โดยมีการจัดกิจกรรมเพื่อประชาชนมีความพร้อมที่ จะให้ความสุขกายสุขใจแก่ประชาชนและผู้สูงอายุที่เข้าวัด ซึ่งกรมอนามัยได้สนับสนุนการดำเนินงานวัดส่งเสริมสุขภาพมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยมีวัดที่ผ่านเกณฑ์ประเมินเป็นวัดส่งเสริมสุขภาพดีเด่น จำนวน 924 วัด และผ่านเกณฑ์ประเมินขั้นพื้นฐานของวัด ส่งเสริมสุขภาพ จำนวน 2,120 วัด รวมทั้งหมดจำนวน 3,047 วัด และในวันนี้ได้มีการถวายโล่ประกาศเกียรติคุณวัดส่งเสริมสุขภาพดีเด่น ปี 2557 แก่วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ที่เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างดีเด่น และได้รับรางวัลยอดเยี่ยมอันดับ 1 จากองค์การ ยูเนสโกเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2557 และผ่านเกณฑ์มาตรฐานการดำเนินงานวัดส่งเสริมสุขภาพ ปี 2557
ดร.นพ.พรเทพ กล่าวต่อไปว่า พระสงฆ์ถือเป็นแกนนำสำคัญในการเผยแพร่ข้อมูลด้านการส่งเสริมสุขภาพร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ในพื้นที่เพื่อสุขภาพที่ดีทุกกลุ่มอายุ และเป็นเครือข่ายในการส่งเสริมสุขภาพที่ยั่งยืน เกิดแนวทางการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว อย่างต่อเนื่อง โดยมีกลยุทธ์ 3 ประการ คือ
1) การชี้นำ
2) การเพิ่มความรู้ ความสามารถ ทักษะ และ
3) การขับเคลื่อนของภาคีเครือข่ายร่วมให้เกิดผลดี และประโยชน์ที่เอื้อต่อกัน โดยพระสงฆ์จะเป็นแกนหลักดำเนินงานร่วมกันกับชุมชนในการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตให้ลดเสี่ยง ลดโรค ลดภาวะแทรกซ้อนของโรคและก้าวสู่วิถีชีวิตที่พอเพียง สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน
นอกจากนี้ สุขภาพของพระสงฆ์ประชาชนก็ควรให้ความใส่ใจ เพราะเนื่องจากพระสงฆ์ไม่สามารถที่จะเลือกฉันอาหารได้ตามใจ ต้องฉันอาหารตามที่ฆราวาสจะตักบาตรหรือนำอาหารมาถวาย และสถานภาพของพระสงฆ์ไม่เอื้อต่อการออกกำลังกาย ซึ่งอาจก่อให้ เกิดโรคต่างๆ ตามมาได้ จากผลการศึกษาของกระทรวงสาธารณสุขปี 2554 ในกลุ่มพระภิกษุ สามเณร จำนวน 98,561 รูป หรือประมาณร้อยละ 30 พบว่า สุขภาพปกติ ร้อยละ 55 ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดสูงและเบาหวาน พระสงฆ์บางรูปป่วยมากกว่า 1 โรค พระสงฆ์ร้อยละ 5 หรือ 5,381 รูป อยู่ในภาวะอ้วน? ดร.นพ.พรเทพ กล่าว
อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในตอนท้ายว่า ประชาชนผู้ใจบุญทั้งหลายจึงควรสร้างสุขภาพที่ดีให้แก่พระสงฆ์ด้วยอาหารเมนู ชูสุขภาพที่ประกอบด้วยกลุ่มที่ให้ใยอาหารสูง ประเภทข้าวกล้อง ผักต่าง ๆ เพื่อจะได้มีกากอาหารช่วยในการขับถ่าย กลุ่มที่ให้แคลเซียม สูง ประเภทผักใบเขียวเข้ม ปลาที่กินได้ทั้งตัว นมจืดหรือนมพร่องมันเนย เพื่อช่วยเสริมสร้างกระดูกไม่ให้เปราะบาง แตกหรือหักง่าย กลุ่มที่มีไขมันต่ำ ประเภทเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ปลา เพื่อลดพลังงานส่วนเกินที่จะไปสะสมในร่างกายซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคอ้วน เบาหวาน และความดันโลหิตสูง โดยอาหารที่ปรุงนั้นต้องมีรสที่ไม่หวานจัด มันจัด และเค็มจัด เน้นการต้ม นึ่ง อบ หรือทำเป็นน้ำพริก แต่หากต้องการปรุงอาหารประเภทผัดหรือกะทิก็ต้องใช้น้ำมันและกะทิแต่น้อย และให้ปรุงด้วยเนื้อสัตว์ที่มี ไขมันต่ำ เช่น ปลาหรือเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน อาทิ เมนูลาบปลา ปลานึ่งผัก แกงส้ม แกงเลียง แกงเหลือ ต้มยำปลา ยำมะม่วง ยำสมุนไพร เป็นต้น ที่สำคัญควรมีผักสดและผลไม้สดด้วยทุกครั้ง เพื่อให้ครบคุณค่าทั้ง 5 หมู่ นอกจากนี้พระสงฆ์สามารถสร้างสุขอนามัยที่ดีด้วยการใช้ช้อนกลางขณะฉันภัตตาหารทุกครั้ง
***
สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง / 13 พฤษภาคม 2557
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ถวายโล่ประกาศเกียรติคุณวัดส่งเสริมสุขภาพดีเด่นปี 2557 ที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานการดำเนินงานวัดส่งเสริมสุขภาพแก่วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร วัดพัฒนาตัวอย่างดีเด่น และได้รับรางวัลยอดเยี่ยมอันดับ 1จากองค์การยูเนสโก พร้อมแนะประชาชนใส่ใจสุขภาพพระสงฆ์ ด้วยการทำบุญตักบาตรด้วยเมนูชูสุขภาพ วันนี้ (13 พฤษภาคม 2557) ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังพิธีถวายโล่ประกาศเกียรติคุณ วัดส่งเสริมสุขภาพดีเด่น ปี 2557 ณ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร กรุงเทพมหานคร ว่า การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ \\วัด ถือเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมมาแต่เดิม อีกทั้งเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ สร้างพลังศรัทธาของชาวบ้าน การพัฒนาวัดสู่วัดส่งเสริมสุขภาพ พระสงฆ์เป็นแกนหลักในด้านการพัฒนาชุมชน ความช่วยเหลือเกื้อกูลด้านต่างๆ โดยมีการจัดกิจกรรมเพื่อประชาชนมีความพร้อมที่ จะให้ความสุขกายสุขใจแก่ประชาชนและผู้สูงอายุที่เข้าวัด ซึ่งกรมอนามัยได้สนับสนุนการดำเนินงานวัดส่งเสริมสุขภาพมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยมีวัดที่ผ่านเกณฑ์ประเมินเป็นวัดส่งเสริมสุขภาพดีเด่น จำนวน 924 วัด และผ่านเกณฑ์ประเมินขั้นพื้นฐานของวัด ส่งเสริมสุขภาพ จำนวน 2,120 วัด รวมทั้งหมดจำนวน 3,047 วัด และในวันนี้ได้มีการถวายโล่ประกาศเกียรติคุณวัดส่งเสริมสุขภาพดีเด่น ปี 2557 แก่วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ที่เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างดีเด่น และได้รับรางวัลยอดเยี่ยมอันดับ 1 จากองค์การ ยูเนสโกเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2557 และผ่านเกณฑ์มาตรฐานการดำเนินงานวัดส่งเสริมสุขภาพ ปี 2557 ดร.นพ.พรเทพ กล่าวต่อไปว่า พระสงฆ์ถือเป็นแกนนำสำคัญในการเผยแพร่ข้อมูลด้านการส่งเสริมสุขภาพร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ในพื้นที่เพื่อสุขภาพที่ดีทุกกลุ่มอายุ และเป็นเครือข่ายในการส่งเสริมสุขภาพที่ยั่งยืน เกิดแนวทางการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว อย่างต่อเนื่อง โดยมีกลยุทธ์ 3 ประการ คือ1) การชี้นำ2) การเพิ่มความรู้ ความสามารถ ทักษะ และ3) การขับเคลื่อนของภาคีเครือข่ายร่วมให้เกิดผลดี และประโยชน์ที่เอื้อต่อกัน โดยพระสงฆ์จะเป็นแกนหลักดำเนินงานร่วมกันกับชุมชนในการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตให้ลดเสี่ยง ลดโรค ลดภาวะแทรกซ้อนของโรคและก้าวสู่วิถีชีวิตที่พอเพียง สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน \\นอกจากนี้ สุขภาพของพระสงฆ์ประชาชนก็ควรให้ความใส่ใจ เพราะเนื่องจากพระสงฆ์ไม่สามารถที่จะเลือกฉันอาหารได้ตามใจ ต้องฉันอาหารตามที่ฆราวาสจะตักบาตรหรือนำอาหารมาถวาย และสถานภาพของพระสงฆ์ไม่เอื้อต่อการออกกำลังกาย ซึ่งอาจก่อให้ เกิดโรคต่างๆ ตามมาได้ จากผลการศึกษาของกระทรวงสาธารณสุขปี 2554 ในกลุ่มพระภิกษุ สามเณร จำนวน 98,561 รูป หรือประมาณร้อยละ 30 พบว่า สุขภาพปกติ ร้อยละ 55 ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดสูงและเบาหวาน พระสงฆ์บางรูปป่วยมากกว่า 1 โรค พระสงฆ์ร้อยละ 5 หรือ 5,381 รูป อยู่ในภาวะอ้วน ดร.นพ.พรเทพ กล่าว อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในตอนท้ายว่า ประชาชนผู้ใจบุญทั้งหลายจึงควรสร้างสุขภาพที่ดีให้แก่พระสงฆ์ด้วยอาหารเมนู ชูสุขภาพที่ประกอบด้วยกลุ่มที่ให้ใยอาหารสูง ประเภทข้าวกล้อง ผักต่าง ๆ เพื่อจะได้มีกากอาหารช่วยในการขับถ่าย กลุ่มที่ให้แคลเซียม สูง ประเภทผักใบเขียวเข้ม ปลาที่กินได้ทั้งตัว นมจืดหรือนมพร่องมันเนย เพื่อช่วยเสริมสร้างกระดูกไม่ให้เปราะบาง แตกหรือหักง่าย กลุ่มที่มีไขมันต่ำ ประเภทเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ปลา เพื่อลดพลังงานส่วนเกินที่จะไปสะสมในร่างกายซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคอ้วน เบาหวาน และความดันโลหิตสูง โดยอาหารที่ปรุงนั้นต้องมีรสที่ไม่หวานจัด มันจัด และเค็มจัด เน้นการต้ม นึ่ง อบ หรือทำเป็นน้ำพริก แต่หากต้องการปรุงอาหารประเภทผัดหรือกะทิก็ต้องใช้น้ำมันและกะทิแต่น้อย และให้ปรุงด้วยเนื้อสัตว์ที่มี ไขมันต่ำ เช่น ปลาหรือเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน อาทิ เมนูลาบปลา ปลานึ่งผัก แกงส้ม แกงเลียง แกงเหลือ ต้มยำปลา ยำมะม่วง ยำสมุนไพร เป็นต้น ที่สำคัญควรมีผักสดและผลไม้สดด้วยทุกครั้ง เพื่อให้ครบคุณค่าทั้ง 5 หมู่ นอกจากนี้พระสงฆ์สามารถสร้างสุขอนามัยที่ดีด้วยการใช้ช้อนกลางขณะฉันภัตตาหารทุกครั้ง *** สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง / 13 พฤษภาคม 2557