คุณกำลังมองหาอะไร?

ข่า

ข่าวแจก กรมอนามัย หนุนจังหวัดต้นแบบด้านอาหารและโภชนาการ หวังอีก 10 ปี มีเด็กอ้วนไม่เกินร้อยละ 11

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

30.04.2557
0
0
แชร์
30
เมษายน
2557

ข่าวแจก กรมอนามัย หนุนจังหวัดต้นแบบด้านอาหารและโภชนาการ หวังอีก 10 ปี มีเด็กอ้วนไม่เกินร้อยละ 11

        กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พัฒนาเครือข่ายจังหวัดต้นแบบการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านอาหารและโภชนาการ เพื่อเด็กไทยมีโภชนาการสมวัย หวังลดเด็กอ้วนในอีก 10ปี มีไม่เกินร้อยละ 11
        วันนี้ (30 เมษายน 2557) นายแพทย์ณรงค์ สายวงศ์ รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนาเครือข่ายจังหวัดต้นแบบการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านอาหารและโภชนาการเพื่อเด็กไทยมีโภชนาการสมวัย?ณ โรงแรมใบหยกสวีท กรุงเทพมหานคร ว่า การพัฒนาเครือข่ายจังหวัดต้นแบบเป็นหนึ่งในกิจกรรมสำคัญของการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านอาหารและโภชนาการ และพัฒนาระบบกลไกเพื่อเด็กไทยมีโภชนาการสมวัย ระหว่างปี 2551?2556 มาพัฒนาต่อยอดขยายผล และขับเคลื่อนให้เกิดการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องใน 3 ภารกิจหลัก คือ 1)การขยายผลแหล่งเรียนรู้ด้าน การจัดการอาหารและโภชนาการในชุมชนศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียน เพิ่มขึ้นจากเดิม 300 แห่ง โดยปี 2556 มีแหล่งเรียนรู้ฯ รวมทั้งสิ้น706 แห่ง 2)การพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านการจัดการอาหารและโภชนาการระดับท้องถิ่นเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติอย่างน้อย 1 จังหวัด 1 นโยบาย และร่วมกันประเมินความเป็นไปได้ในการผลักดันสู่นโยบายระดับชาติ และระดับสากล และ 3)การนำนโยบายสาธารณะระดับชาติ ประเด็นการเพิ่มค่าอาหารกลางวันนักเรียนจากอัตราละ 13บาท เป็น 20บาท สู่การปฏิบัติในระดับโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยใน 1 มื้อต้องจัดอาหารให้มีพลังงานสารอาหารครบถ้วน
         นายแพทย์ณรงค์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับการดำเนินงาน ในปี 2557 นี้ หวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีด้านการจัดการอาหารและโภชนาการอย่างน้อย 3เรื่อง คือ
1) การบริหารจัดการเชิงยุทธศาสตร์ที่มีการบูรณาการงานอย่างเป็นระบบในการพัฒนาเด็กไทยให้มีโภชนาการสมวัย และมีการใช้ทรัพยากรท้องถิ่นอย่างคุ้มค่า
2) เกิดความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพอย่างจริงจังและต่อเนื่อง อย่างน้อย 1มื้อที่เด็กอยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ได้กินอิ่มอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานโภชนาการ สุขาภิบาลอาหาร และอาหารปลอดภัย และ
3) เกิดการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้บริหาร   ผู้ปฏิบัติงาน ครอบครัว และชุมชน ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโภชนาการที่พึงประสงค์ทั้งในระดับบุคคลและองค์กร ซึ่งการขับเคลื่อนดังกล่าวจะส่งผลให้เด็กไทยประมาณ 6ล้านคน กินอิ่มอย่างมีคุณภาพ และมีโภชนาการสมวัย และคาดหวังว่าในปี 2567 รืออีก 10 ปีข้างหน้า จะสามารถลดภาวะอ้วนจากร้อยละ 17 เหลือไม่เกินร้อยละ 11 หรืออย่างน้อยลดลงได้ร้อยละ 0.5 ต่อปี เมื่อเทียบกับสถานการณ์เดิม
        ทั้งนี้ การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านอาหารและโภชนาการ ถือเป็นภารกิจสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับเด็กไทย โดยเฉพาะการพัฒนาด้านสติปัญญาและการเจริญเติบโตอย่างเต็มศักยภาพตามวัย โดยนำบทเรียนที่ดีมาขยายผลก่อให้เกิดการพัฒนาแบบก้าวกระโดด ดังเช่นเทศบาลตำบลเมืองแก จังหวัดสุรินทร์ ที่ร่วมเรียนรู้กับองค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำผึ้ง จังหวัดสมุทรปราการ ที่เป็นแหล่งเรียนรู้โภชนาการสมวัย ระดับยอดเยี่ยม และนำกลับไปพัฒนาชุมชนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้เกิดการจัดการด้านอาหารและโภชนาการได้ในระดับดีมาก และเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับพื้นที่ข้างเคียง โดยคาดหวังว่าเครือข่ายจังหวัดสุรินทร์จะร่วมใจกันพัฒนาต่อเนื่อง จนยกระดับเป็นจังหวัดต้นแบบด้านอาหารและโภชนาการต่อไป? รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด
 
***
สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง/ 30 เมษายน 2557
 
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พัฒนาเครือข่ายจังหวัดต้นแบบการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านอาหารและโภชนาการ เพื่อเด็กไทยมีโภชนาการสมวัย หวังลดเด็กอ้วนในอีก 10ปี มีไม่เกินร้อยละ 11 วันนี้ (30 เมษายน 2557) นายแพทย์ณรงค์ สายวงศ์ รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง \\การพัฒนาเครือข่ายจังหวัดต้นแบบการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านอาหารและโภชนาการเพื่อเด็กไทยมีโภชนาการสมวัยณ โรงแรมใบหยกสวีท กรุงเทพมหานคร ว่า การพัฒนาเครือข่ายจังหวัดต้นแบบเป็นหนึ่งในกิจกรรมสำคัญของการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านอาหารและโภชนาการ และพัฒนาระบบกลไกเพื่อเด็กไทยมีโภชนาการสมวัย ระหว่างปี 25512556 มาพัฒนาต่อยอดขยายผล และขับเคลื่อนให้เกิดการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องใน 3 ภารกิจหลัก คือ 1)การขยายผลแหล่งเรียนรู้ด้าน การจัดการอาหารและโภชนาการในชุมชนศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียน เพิ่มขึ้นจากเดิม 300 แห่ง โดยปี 2556 มีแหล่งเรียนรู้ฯ รวมทั้งสิ้น706 แห่ง 2)การพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านการจัดการอาหารและโภชนาการระดับท้องถิ่นเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติอย่างน้อย 1 จังหวัด 1 นโยบาย และร่วมกันประเมินความเป็นไปได้ในการผลักดันสู่นโยบายระดับชาติ และระดับสากล และ 3)การนำนโยบายสาธารณะระดับชาติ ประเด็นการเพิ่มค่าอาหารกลางวันนักเรียนจากอัตราละ 13บาท เป็น 20บาท สู่การปฏิบัติในระดับโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยใน 1 มื้อต้องจัดอาหารให้มีพลังงานสารอาหารครบถ้วน นายแพทย์ณรงค์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับการดำเนินงาน ในปี 2557 นี้ หวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีด้านการจัดการอาหารและโภชนาการอย่างน้อย 3เรื่อง คือ1) การบริหารจัดการเชิงยุทธศาสตร์ที่มีการบูรณาการงานอย่างเป็นระบบในการพัฒนาเด็กไทยให้มีโภชนาการสมวัย และมีการใช้ทรัพยากรท้องถิ่นอย่างคุ้มค่า2) เกิดความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพอย่างจริงจังและต่อเนื่อง อย่างน้อย 1มื้อที่เด็กอยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ได้กินอิ่มอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานโภชนาการ สุขาภิบาลอาหาร และอาหารปลอดภัย และ3) เกิดการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน ครอบครัว และชุมชน ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโภชนาการที่พึงประสงค์ทั้งในระดับบุคคลและองค์กร ซึ่งการขับเคลื่อนดังกล่าวจะส่งผลให้เด็กไทยประมาณ 6ล้านคน กินอิ่มอย่างมีคุณภาพ และมีโภชนาการสมวัย และคาดหวังว่าในปี 2567 รืออีก 10 ปีข้างหน้า จะสามารถลดภาวะอ้วนจากร้อยละ 17 เหลือไม่เกินร้อยละ 11 หรืออย่างน้อยลดลงได้ร้อยละ 0.5 ต่อปี เมื่อเทียบกับสถานการณ์เดิม \\ทั้งนี้ การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านอาหารและโภชนาการ ถือเป็นภารกิจสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับเด็กไทย โดยเฉพาะการพัฒนาด้านสติปัญญาและการเจริญเติบโตอย่างเต็มศักยภาพตามวัย โดยนำบทเรียนที่ดีมาขยายผลก่อให้เกิดการพัฒนาแบบก้าวกระโดด ดังเช่นเทศบาลตำบลเมืองแก จังหวัดสุรินทร์ ที่ร่วมเรียนรู้กับองค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำผึ้ง จังหวัดสมุทรปราการ ที่เป็นแหล่งเรียนรู้โภชนาการสมวัย ระดับยอดเยี่ยม และนำกลับไปพัฒนาชุมชนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้เกิดการจัดการด้านอาหารและโภชนาการได้ในระดับดีมาก และเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับพื้นที่ข้างเคียง โดยคาดหวังว่าเครือข่ายจังหวัดสุรินทร์จะร่วมใจกันพัฒนาต่อเนื่อง จนยกระดับเป็นจังหวัดต้นแบบด้านอาหารและโภชนาการต่อไป รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด ***สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง/ 30 เมษายน 2557

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน