คุณกำลังมองหาอะไร?

ข่า

ข่าวแจก "กรมอนามัย รณรงค์สงกรานต์ปลอดโรค คุมเข้มสุขอนามัยการกิน"

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

11.04.2557
1
0
แชร์
11
เมษายน
2557

ข่าวแจก "กรมอนามัย รณรงค์สงกรานต์ปลอดโรค คุมเข้มสุขอนามัยการกิน"

        กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขคุมเข้มร้านอาหารช่วงเทศกาลสงกรานต์เพื่อให้ประชาชนปลอดโรค ย้ำผู้ประกอบการต้องมีสุขอนามัยที่ดี แนะประชาชนหมั่นล้างมือเพื่อป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่หวั่นระบาดในสถานที่แออัด
        วันนี้ (11 เมษายน 2557) ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังการจัดกิจกรรมรณรงค์ ท่องเที่ยวปลอดภัย ไร้โรค รับเทศกาลสงกรานต์? ณ สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ว่าช่วงเทศกาลสงกรานต์ประชาชนส่วนใหญ่จะเดินทางไปท่องเที่ยวในสถานที่ต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารจะเป็นสถานที่ที่ประชาชนใช้บริการมากที่สุด กรมอนามัยจึงคุมเข้มร้านอาหารต่าง ๆ ให้มีสุขอนามัยที่ดี เพื่อเป็นการป้องกันโรคที่เกิดจากอาหารและน้ำเป็นสื่อ ได้แก่ โรคท้องร่วง โรคอาหารเป็นพิษ โรคบิด โรคไทฟอยด์และอหิวาตกโรค ย้ำผู้ประกอบการปฏิบัติตามมาตรฐานของกรมอนามัย โดยเลือกอาหารที่สะอาด สด ใหม่มาปรุงประกอบและจำหน่ายให้ประชาชน ไม่ปรุงอาหารแบบสุกๆ ดิบๆ สวมผ้ากันเปื้อนและหมวกคลุมผมเวลาปรุงประกอบและจำหน่ายอาหาร ใช้ภาชนะหรืออุปกรณ์สำหรับหยิบจับหรือตักอาหาร แยกเขียงที่ใช้หั่นระหว่างเขียงอาหารสุก เขียงอาหารดิบ เขียงผักสดและผลไม้ ไม่เก็บอาหารสุกและอาหารดิบไว้ด้วยกัน ที่สำคัญอาหารที่ปรุงสุกแล้วพร้อมจำหน่ายต้องมีฝาปิดหรืออยู่ในตู้มิดชิดเพื่อป้องกันแมลงวัน สัตว์นำโรคอื่น ๆ และฝุ่นละออง สำหรับประชาชนที่นิยมซื้ออาหารมาปรุงประกอบเองที่บ้านหรือเลือกรับประทานอาหารนอกบ้าน ควรเลือกใช้บริการจาก ตลาดสดที่ผ่านเกณฑ์ ตลาดสด น่าซื้อ? และร้านอาหารที่ผ่านการรับรองมาตรฐานร้านอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) ของกรมอนามัย
        ดร.นพ.พรเทพ กล่าวต่อไปว่า สำหรับการเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ผู้คนจะแออัดเป็นพิเศษ โดยเฉพาะสถานที่ท่องเที่ยวและสถานีขนส่ง อาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคทางเดินหายใจ เช่น โรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม วัณโรคซึ่งสามารถติดต่อกันได้ด้วยการไอ จามรดกัน หรือสัมผัสกับสิ่งของที่ปนเปื้อนน้ำมูก น้ำลาย และเสมหะของผู้ป่วย เช่น โทรศัพท์ ลูกบิดประตู ราวบันได เป็นต้น การล้างมือให้สะอาดบ่อย ๆ ทุกครั้งหลังสัมผัสกับสิ่งของสาธารณะ ก่อนและหลังรับประทานอาหาร จะช่วยป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้ รวมทั้งควรใช้กระดาษทิชชู หรือผ้าปิดปาก ปิดจมูก เวลาไอจาม และสำหรับผู้ที่ป่วยด้วยโรคดังกล่าว เมื่อต้องอยู่ในที่สาธารณะหรืออยู่รวมกับผู้อื่น ควรใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค
        ทั้งนี้ เพื่อสุขภาพที่ดีประชาชนอย่าลืมกินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ คือ กินอาหารที่ปรุงสุกใหม่ หรือหากเป็นอาหารค้างมื้อต้องเก็บไว้ในตู้เย็นและนำมาอุ่นด้วยความร้อนอย่างทั่วถึงทุกครั้งก่อนรับประทาน ใช้ช้อนกลางทุกครั้งเมื่อต้องรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น และล้างมือทุกครั้งก่อนและหลังรับประทานอาหารและหลังใช้ส้วม รวมทั้งหลีกเลี่ยงอาหารที่เสี่ยงบูดเสียง่าย และปนเปื้อนสารเคมีหรือพิษตกค้าง ได้แก่ อาหารทะเลหรือเนื้อสัตว์ที่มีปรุงแบบสุกๆ ดิบๆ เช่น ลาบ น้ำตก ก้อย อาหารที่ไม่ผ่านกระบวนการปรุงด้วยความ ร้อน เช่น ส้มตำ สลัด และอาหารประเภทยำต่างๆ อาหารที่มีส่วนผสมของกะทิ ไอศกรีม หรือนมสด เช่น แกงเขียวหวาน ต้มข่าไก่ แกงเทโพ แกงบวดและข้าวต้มมัด อาหารที่ผู้ปรุงมักจะใช้มือในการสัมผัสอาหารก่อนนำมาเสิร์ฟ เช่น ข้าวมันไก่ ข้าวหมูแดง ข้าวหมูกรอบ และขนมจีน อาหารที่มีแมงวันตอมหรืออาหารที่ทิ้งไว้ค้างคืนโดยไม่แช่เย็นหรืออุ่นก่อนการรับประทาน และน้ำ น้ำแข็งที่ไม่สะอาดและไม่ได้มาตรฐาน? ดร.นพ.พรเทพ กล่าว อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในตอนท้ายว่า สำหรับการรงค์ ท่องเที่ยวปลอดภัย ไร้โรค รับเทศกาลสงกรานต์? ในครั้งนี้ กรมอนามัยได้มีการให้ความรู้แก่ประชาชน พร้อมทั้งตรวจเยี่ยมร้านอาหารภายในสถานีสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนที่เดินทางได้กินอาหารที่สะอาด ปลอดภัย ลดเสี่ยงโรคจากอาหารและน้ำเป็นสื่อ
 
***
 สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง / 11 เมษายน 2557
 
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขคุมเข้มร้านอาหารช่วงเทศกาลสงกรานต์เพื่อให้ประชาชนปลอดโรค ย้ำผู้ประกอบการต้องมีสุขอนามัยที่ดี แนะประชาชนหมั่นล้างมือเพื่อป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่หวั่นระบาดในสถานที่แออัด วันนี้ (11 เมษายน 2557) ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังการจัดกิจกรรมรณรงค์ \\ท่องเที่ยวปลอดภัย ไร้โรค รับเทศกาลสงกรานต์ ณ สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ว่าช่วงเทศกาลสงกรานต์ประชาชนส่วนใหญ่จะเดินทางไปท่องเที่ยวในสถานที่ต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารจะเป็นสถานที่ที่ประชาชนใช้บริการมากที่สุด กรมอนามัยจึงคุมเข้มร้านอาหารต่าง ๆ ให้มีสุขอนามัยที่ดี เพื่อเป็นการป้องกันโรคที่เกิดจากอาหารและน้ำเป็นสื่อ ได้แก่ โรคท้องร่วง โรคอาหารเป็นพิษ โรคบิด โรคไทฟอยด์และอหิวาตกโรค ย้ำผู้ประกอบการปฏิบัติตามมาตรฐานของกรมอนามัย โดยเลือกอาหารที่สะอาด สด ใหม่มาปรุงประกอบและจำหน่ายให้ประชาชน ไม่ปรุงอาหารแบบสุกๆ ดิบๆ สวมผ้ากันเปื้อนและหมวกคลุมผมเวลาปรุงประกอบและจำหน่ายอาหาร ใช้ภาชนะหรืออุปกรณ์สำหรับหยิบจับหรือตักอาหาร แยกเขียงที่ใช้หั่นระหว่างเขียงอาหารสุก เขียงอาหารดิบ เขียงผักสดและผลไม้ ไม่เก็บอาหารสุกและอาหารดิบไว้ด้วยกัน ที่สำคัญอาหารที่ปรุงสุกแล้วพร้อมจำหน่ายต้องมีฝาปิดหรืออยู่ในตู้มิดชิดเพื่อป้องกันแมลงวัน สัตว์นำโรคอื่น ๆ และฝุ่นละออง สำหรับประชาชนที่นิยมซื้ออาหารมาปรุงประกอบเองที่บ้านหรือเลือกรับประทานอาหารนอกบ้าน ควรเลือกใช้บริการจาก ตลาดสดที่ผ่านเกณฑ์ \\ตลาดสด น่าซื้อ และร้านอาหารที่ผ่านการรับรองมาตรฐานร้านอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) ของกรมอนามัย ดร.นพ.พรเทพ กล่าวต่อไปว่า สำหรับการเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ผู้คนจะแออัดเป็นพิเศษ โดยเฉพาะสถานที่ท่องเที่ยวและสถานีขนส่ง อาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคทางเดินหายใจ เช่น โรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม วัณโรคซึ่งสามารถติดต่อกันได้ด้วยการไอ จามรดกัน หรือสัมผัสกับสิ่งของที่ปนเปื้อนน้ำมูก น้ำลาย และเสมหะของผู้ป่วย เช่น โทรศัพท์ ลูกบิดประตู ราวบันได เป็นต้น การล้างมือให้สะอาดบ่อย ๆ ทุกครั้งหลังสัมผัสกับสิ่งของสาธารณะ ก่อนและหลังรับประทานอาหาร จะช่วยป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้ รวมทั้งควรใช้กระดาษทิชชู หรือผ้าปิดปาก ปิดจมูก เวลาไอจาม และสำหรับผู้ที่ป่วยด้วยโรคดังกล่าว เมื่อต้องอยู่ในที่สาธารณะหรืออยู่รวมกับผู้อื่น ควรใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค \\ทั้งนี้ เพื่อสุขภาพที่ดีประชาชนอย่าลืมกินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ คือ กินอาหารที่ปรุงสุกใหม่ หรือหากเป็นอาหารค้างมื้อต้องเก็บไว้ในตู้เย็นและนำมาอุ่นด้วยความร้อนอย่างทั่วถึงทุกครั้งก่อนรับประทาน ใช้ช้อนกลางทุกครั้งเมื่อต้องรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น และล้างมือทุกครั้งก่อนและหลังรับประทานอาหารและหลังใช้ส้วม รวมทั้งหลีกเลี่ยงอาหารที่เสี่ยงบูดเสียง่าย และปนเปื้อนสารเคมีหรือพิษตกค้าง ได้แก่ อาหารทะเลหรือเนื้อสัตว์ที่มีปรุงแบบสุกๆ ดิบๆ เช่น ลาบ น้ำตก ก้อย อาหารที่ไม่ผ่านกระบวนการปรุงด้วยความ ร้อน เช่น ส้มตำ สลัด และอาหารประเภทยำต่างๆ อาหารที่มีส่วนผสมของกะทิ ไอศกรีม หรือนมสด เช่น แกงเขียวหวาน ต้มข่าไก่ แกงเทโพ แกงบวดและข้าวต้มมัด อาหารที่ผู้ปรุงมักจะใช้มือในการสัมผัสอาหารก่อนนำมาเสิร์ฟ เช่น ข้าวมันไก่ ข้าวหมูแดง ข้าวหมูกรอบ และขนมจีน อาหารที่มีแมงวันตอมหรืออาหารที่ทิ้งไว้ค้างคืนโดยไม่แช่เย็นหรืออุ่นก่อนการรับประทาน และน้ำ น้ำแข็งที่ไม่สะอาดและไม่ได้มาตรฐาน ดร.นพ.พรเทพ กล่าว อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในตอนท้ายว่า สำหรับการรงค์ \\ท่องเที่ยวปลอดภัย ไร้โรค รับเทศกาลสงกรานต์ ในครั้งนี้ กรมอนามัยได้มีการให้ความรู้แก่ประชาชน พร้อมทั้งตรวจเยี่ยมร้านอาหารภายในสถานีสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนที่เดินทางได้กินอาหารที่สะอาด ปลอดภัย ลดเสี่ยงโรคจากอาหารและน้ำเป็นสื่อ *** สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง / 11 เมษายน 2557

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน