คุณกำลังมองหาอะไร?

ข่า

ข่าวแจก กรมอนามัย แนะ กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ ป้องกันโรค ช่วงเทศกาลสงกรานต์

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

11.04.2557
1
0
แชร์
11
เมษายน
2557

ข่าวแจก กรมอนามัย แนะ กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ ป้องกันโรค ช่วงเทศกาลสงกรานต์

        กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขแนะวิธีการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อป้องกันโรคช่วงเทศกาล สงกรานต์ย้ำรับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ ใช้ช้อนกลางเมื่อต้องรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น ล้างมือทุกครั้งก่อนและหลังรับประทานอาหารและหลังใช้ส้วม
        วันนี้ (9 เมษายน 2557) ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังการจัดกิจกรรมรณรงค์สร้างสุขอนามัยที่ดี กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ สร้างเกราะป้องกันโรคให้คนไทย รับเทศกาลสงกรานต์? ซึ่งกรมอนามัยร่วมกับสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลและบริษัท ขนส่ง จำกัด ณ สถานีขนส่งกรุงเทพ (หมอชิต)ว่าช่วงเทศกาลสงกรานต์ประชาชนส่วนใหญ่จะเดินทางไปท่องเที่ยวในสถาน ที่ต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก กรมอนามัยจึงขอให้ประชาชนดูแลสุขภาพด้วยการกินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ? คือ กินอาหารที่ปรุงสุกใหม่ หรือหากเป็นอาหารค้างมื้อต้องเก็บไว้ในตู้เย็นและนำมาอุ่นด้วยความร้อนอย่าง ทั่วถึงทุกครั้งก่อนรับประทาน ใช้ช้อนกลางทุกครั้งเมื่อต้องรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่นและล้างมือทุก ครั้งก่อนและหลังรับประทานอาหารและหลังใช้ส้วมเพื่อเป็นการป้องกันโรคที่ เกิดจากอาหารและน้ำเป็นสื่อ ได้แก่ โรคท้องร่วง โรคอาหารเป็นพิษ โรคบิด โรคไทฟอยด์และอหิวาตกโรค ซึ่งยังมีผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตเกิดขึ้นทุกปีและมีแนวโน้มสูงขึ้น
        ดร.นพ.พรเทพ กล่าวต่อไปว่า ช่วงเทศกาลสงกรานต์ยังป็นช่วงฤดูร้อนประชาชนจึงควรหลีกเลี่ยงอาหารที่เสี่ยง บูดเสียง่ายและปนเปื้อนสารเคมีหรือพิษตกค้าง ได้แก่
1) อาหารทะเลหรือเนื้อสัตว์ที่มีปรุงแบบสุกๆ ดิบๆ เช่น ลาบ น้ำตก ก้อย ซึ่งเป็นอาหารทางภาคอีสาน หลู้ ลำ อาหารพื้นบ้านทางภาคเหนือ รวมไปถึงเมนูที่นิยมรับประทานอย่างแพร่หลาย เช่น กุ้งเต้น พล่าปลา กุ้งแช่น้ำปลา หอยแครงลวก และอาหารทะเลปิ้ง-ย่าง
2) อาหารที่ไม่ผ่านกระบวนการปรุงด้วยความร้อน เช่น ส้มตำ สลัด และอาหารประเภทยำต่างๆ
3) อาหารที่มีส่วนผสมของกะทิ ไอศกรีม หรือนมสด เช่น แกงเขียวหวาน ต้มข่าไก่ แกงเทโพ แกงบวดและข้าวต้มมัด
4) อาหารที่ผู้ปรุงมักจะใช้มือในการสัมผัสอาหารก่อนนำมาเสิร์ฟ เช่น ข้าวมันไก่ ข้าวหมูแดง ข้าวหมูกรอบ และขนมจีน
5) อาหารที่มีแมงวันตอมหรืออาหารที่ทิ้งไว้ค้างคืนโดยไม่แช่เย็นหรืออุ่นก่อน การรับประทาน และ
6) น้ำและน้ำแข็งที่ไม่สะอาดและไม่ได้มาตรฐาน เช่นน้ำแข็งบด น้ำแข็งโม่
        ทั้งนี้ ประชาชนที่ซื้ออาหารมาปรุงประกอบเองต้องใส่ใจเรื่องความสะอาด ปลอดภัย โดยเลือกซื้อวัตถุดิบในการปรุง ประกอบอาหารที่สด สะอาด จากตลาดสดที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน ตลาดสด น่าซื้อ?ของกรมอนามัย และล้างผักผลไม้ให้สะอาด ด้วยการใช้น้ำก๊อกไหลผ่านผักสดนานอย่างน้อย 2 นาทีร่วมด้วยการใช้สารละลายอื่นๆ เช่น เกลือละลายน้ำ น้ำส้มสายชู น้ำโซดา(ผงฟู)หลังจากนั้นจึงนำผักมาล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งเพื่อลดสารเคมี ติดค้าง ไม่ควรสูบบุหรี่หรือนำมือที่เปื้อนเนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ และเปลือกไข่ที่มีมูลสัตว์เปื้อนมาจับต้องจมูก ตา ปาก ที่สำคัญขั้นตอนการปรุงอาหารด้วยความร้อนให้สุกอย่างทั่วถึง โดยเฉพาะอาหารประเภทเนื้อสัตว์ต้องใช้ความร้อนสูงอย่างน้อย 70 องศาเซลเซียส ไม่ปรุงอาหารแบบสุกๆ ดิบๆ เลือกภาชนะใส่อาหารที่สะอาด รวมทั้งอุปกรณ์ที่ใช้ทำอาหาร เช่น เขียงที่ใช้หั่นเนื้อสัตว์ ต้องแยกเขียงสุก เขียงดิบ และเขียงสำหรับหั่นผักสดและผลไม้ไม่ควรเก็บอาหารสุกและอาหารดิบไว้ด้วยกัน เพราะจะเกิดการปนเปื้อนของเชื้อโรคได้ง่ายสำหรับอาหารที่ปรุงสุกแล้วต้องปก ปิดป้องกันสัตว์ แมลงนำโรคและฝุ่นละอองอาหารที่ค้างมื้อควรเก็บในภาชนะที่ปิดมิดชิดและแช่ตู้ เย็น และไม่ควรเก็บไว้นานเกินกว่า 4 ชั่วโมง ต้องนำมาอุ่นให้ร้อนอย่างทั่วถึงก่อนนำมารับประทานอีกครั้งสำหรับผู้ที่ เลือกรับประทานอาหารนอกบ้าน ควรเลือกใช้บริการจากร้านอาหารที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน Clean Food Good Taste เพราะผู้จำหน่ายอาหารและพนักงานเสิร์ฟจะแต่งกายสะอาด สวมผ้ากันเปื้อนและหมวกคลุมผม ใช้ภาชนะหรืออุปกรณ์สำหรับหยิบจับหรือตักอาหาร สำหรับน้ำดื่มควรเลือกน้ำดื่มที่มีเครื่องหมาย อย. ในส่วนของน้ำแข็ง น้ำแข็งหลอดจะปลอดภัยกว่าน้ำแข็งป่น? อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด   
 
***
สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง / 9 เมษายน 2557
 
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขแนะวิธีการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อป้องกันโรคช่วงเทศกาล สงกรานต์ย้ำรับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ ใช้ช้อนกลางเมื่อต้องรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น ล้างมือทุกครั้งก่อนและหลังรับประทานอาหารและหลังใช้ส้วม วันนี้ (9 เมษายน 2557) ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังการจัดกิจกรรมรณรงค์สร้างสุขอนามัยที่ดี \\กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ สร้างเกราะป้องกันโรคให้คนไทย รับเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งกรมอนามัยร่วมกับสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลและบริษัท ขนส่ง จำกัด ณ สถานีขนส่งกรุงเทพ (หมอชิต)ว่าช่วงเทศกาลสงกรานต์ประชาชนส่วนใหญ่จะเดินทางไปท่องเที่ยวในสถาน ที่ต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก กรมอนามัยจึงขอให้ประชาชนดูแลสุขภาพด้วยการ\\กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ คือ กินอาหารที่ปรุงสุกใหม่ หรือหากเป็นอาหารค้างมื้อต้องเก็บไว้ในตู้เย็นและนำมาอุ่นด้วยความร้อนอย่าง ทั่วถึงทุกครั้งก่อนรับประทาน ใช้ช้อนกลางทุกครั้งเมื่อต้องรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่นและล้างมือทุก ครั้งก่อนและหลังรับประทานอาหารและหลังใช้ส้วมเพื่อเป็นการป้องกันโรคที่ เกิดจากอาหารและน้ำเป็นสื่อ ได้แก่ โรคท้องร่วง โรคอาหารเป็นพิษ โรคบิด โรคไทฟอยด์และอหิวาตกโรค ซึ่งยังมีผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตเกิดขึ้นทุกปีและมีแนวโน้มสูงขึ้น ดร.นพ.พรเทพ กล่าวต่อไปว่า ช่วงเทศกาลสงกรานต์ยังป็นช่วงฤดูร้อนประชาชนจึงควรหลีกเลี่ยงอาหารที่เสี่ยง บูดเสียง่ายและปนเปื้อนสารเคมีหรือพิษตกค้าง ได้แก่1) อาหารทะเลหรือเนื้อสัตว์ที่มีปรุงแบบสุกๆ ดิบๆ เช่น ลาบ น้ำตก ก้อย ซึ่งเป็นอาหารทางภาคอีสาน หลู้ ลำ อาหารพื้นบ้านทางภาคเหนือ รวมไปถึงเมนูที่นิยมรับประทานอย่างแพร่หลาย เช่น กุ้งเต้น พล่าปลา กุ้งแช่น้ำปลา หอยแครงลวก และอาหารทะเลปิ้ง-ย่าง2) อาหารที่ไม่ผ่านกระบวนการปรุงด้วยความร้อน เช่น ส้มตำ สลัด และอาหารประเภทยำต่างๆ3) อาหารที่มีส่วนผสมของกะทิ ไอศกรีม หรือนมสด เช่น แกงเขียวหวาน ต้มข่าไก่ แกงเทโพ แกงบวดและข้าวต้มมัด4) อาหารที่ผู้ปรุงมักจะใช้มือในการสัมผัสอาหารก่อนนำมาเสิร์ฟ เช่น ข้าวมันไก่ ข้าวหมูแดง ข้าวหมูกรอบ และขนมจีน5) อาหารที่มีแมงวันตอมหรืออาหารที่ทิ้งไว้ค้างคืนโดยไม่แช่เย็นหรืออุ่นก่อน การรับประทาน และ6) น้ำและน้ำแข็งที่ไม่สะอาดและไม่ได้มาตรฐาน เช่นน้ำแข็งบด น้ำแข็งโม่ \\ทั้งนี้ ประชาชนที่ซื้ออาหารมาปรุงประกอบเองต้องใส่ใจเรื่องความสะอาด ปลอดภัย โดยเลือกซื้อวัตถุดิบในการปรุง ประกอบอาหารที่สด สะอาด จากตลาดสดที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน \\ตลาดสด น่าซื้อของกรมอนามัย และล้างผักผลไม้ให้สะอาด ด้วยการใช้น้ำก๊อกไหลผ่านผักสดนานอย่างน้อย 2 นาทีร่วมด้วยการใช้สารละลายอื่นๆ เช่น เกลือละลายน้ำ น้ำส้มสายชู น้ำโซดา(ผงฟู)หลังจากนั้นจึงนำผักมาล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งเพื่อลดสารเคมี ติดค้าง ไม่ควรสูบบุหรี่หรือนำมือที่เปื้อนเนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ และเปลือกไข่ที่มีมูลสัตว์เปื้อนมาจับต้องจมูก ตา ปาก ที่สำคัญขั้นตอนการปรุงอาหารด้วยความร้อนให้สุกอย่างทั่วถึง โดยเฉพาะอาหารประเภทเนื้อสัตว์ต้องใช้ความร้อนสูงอย่างน้อย 70 องศาเซลเซียส ไม่ปรุงอาหารแบบสุกๆ ดิบๆ เลือกภาชนะใส่อาหารที่สะอาด รวมทั้งอุปกรณ์ที่ใช้ทำอาหาร เช่น เขียงที่ใช้หั่นเนื้อสัตว์ ต้องแยกเขียงสุก เขียงดิบ และเขียงสำหรับหั่นผักสดและผลไม้ไม่ควรเก็บอาหารสุกและอาหารดิบไว้ด้วยกัน เพราะจะเกิดการปนเปื้อนของเชื้อโรคได้ง่ายสำหรับอาหารที่ปรุงสุกแล้วต้องปก ปิดป้องกันสัตว์ แมลงนำโรคและฝุ่นละอองอาหารที่ค้างมื้อควรเก็บในภาชนะที่ปิดมิดชิดและแช่ตู้ เย็น และไม่ควรเก็บไว้นานเกินกว่า 4 ชั่วโมง ต้องนำมาอุ่นให้ร้อนอย่างทั่วถึงก่อนนำมารับประทานอีกครั้งสำหรับผู้ที่ เลือกรับประทานอาหารนอกบ้าน ควรเลือกใช้บริการจากร้านอาหารที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน Clean Food Good Taste เพราะผู้จำหน่ายอาหารและพนักงานเสิร์ฟจะแต่งกายสะอาด สวมผ้ากันเปื้อนและหมวกคลุมผม ใช้ภาชนะหรืออุปกรณ์สำหรับหยิบจับหรือตักอาหาร สำหรับน้ำดื่มควรเลือกน้ำดื่มที่มีเครื่องหมาย อย. ในส่วนของน้ำแข็ง น้ำแข็งหลอดจะปลอดภัยกว่าน้ำแข็งป่น อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด *** สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง / 9 เมษายน 2557

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน