คุณกำลังมองหาอะไร?

ข่า

ข่าวแจก "กรมอนามัย ชูเทศบาลนครนนท์-พัทยา นำร่องเมืองที่เป็นมิตรกับคนสูงวัย"

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

09.04.2557
21
0
แชร์
09
เมษายน
2557

ข่าวแจก "กรมอนามัย ชูเทศบาลนครนนท์-พัทยา นำร่องเมืองที่เป็นมิตรกับคนสูงวัย"

        กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เทศบาลนครนนทบุรีและเมืองพัทยา ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นปูชนียบุคคล เป็นคลังสมองของแผ่นดิน เนื่องในสัปดาห์ผู้สูงอายุ และวันผู้สูงอายุแห่งชาติ 13 เมษายน จึงมีความร่วมมือ ร่วมใจ สานต่อโครงการเมืองที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ : Age-Friendly Cities ชูเทศบาลนครนนทบุรีและเมืองพัทยา นำร่องเพื่อเตรียมการรองรับระบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวโดยท้องถิ่นชุมชนมีส่วนร่วมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ และการดูแลผู้สูงอายุอย่างองค์รวม การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนทุกกลุ่มวัย โดยเฉพาะกลุ่มวัยสูงอายุ เพื่อเตรียมการรองรับระบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว
        วันนี้ (9 เมษายน 2557) ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังการประชุมสัมมนาวิชาการ เมืองที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ : Age-Friendly Cities? ณ ห้องประชุมศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ว่า ปัจจุบันประเทศไทยเป็นสังคมผู้สูงอายุ หมายความว่า ประชากรที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป มีจำนวนและสัดส่วนมากขึ้น โดยพบว่า ประชากรผู้สูงอายุของประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจาก 7 ล้านคน หรือร้อยละ 10.7 ในปี 2550 เป็น 7.5 ล้านคน หรือร้อยละ 11.7 ในปี 2553 และเพิ่มเป็น 9.7 ล้านคน หรือร้อยละ 15.04 ในปี 2557 และพบว่า มีผู้สูงอายุอยู่คนเดียว จำนวน 0.6 ล้านคน หรือร้อยละ 7.7 และอยู่ลำพังกับคู่สมรส จำนวน 1.3 ล้านคน หรือ ร้อยละ 16.3 ในปี 2555 ซึ่งจากรายงานการสำรวจสุขภาวะผู้สูงอายุไทย 2556 โดยกรมอนามัยร่วมกับ HITAP พบว่าผู้สูงอายุไทยเพียงร้อยละ 5 มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ขณะที่เหลือส่วนใหญ่ คือร้อยละ 95 เจ็บป่วยด้วยโรคใดโรคหนึ่ง ได้แก่ เบาหวานร้อยละ 18 ความดันโลหิตสูง ร้อยละ 41 ข้อเข่าเสื่อม ร้อยละ 9 พิการร้อยละ 6 ซึมเศร้าร้อยละ 1 และมีภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน ถึง 1 ใน 3 หรือร้อยละ 43 ในขณะที่ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์เพียงร้อยละ 26 ผู้สูงอายุต้องการคนดูแลอย่างต่อเนื่องและการดูแลระยะยาว อีกทั้งปัญหาด้านการมองเห็นมีผู้สูงอายุเพียง 1 ใน 4 ที่มองเห็นชัดเจน ปัญหาด้านการบดเคี้ยวอาหารและสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ 4 ใน 10 คนมีฟันใช้งานน้อยกว่า 20 ซี่ หรือ 4 คู่สบ และผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงยังเข้าไม่ถึงบริการสุขภาพถึงร้อยละ 12 และพบว่าสถานพยาบาลมีการปรับปรุงทางกายภาพเพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการเพียงร้อยละ 60 สถานการณ์ของผู้สูงอายุที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว นอกจากส่งผลกระทบด้านสุขภาพแล้วยังส่งผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคมด้วย 
        ดร.นพ.พรเทพ กล่าวต่อไปว่า การเตรียมการรองรับสภาพปัญหาของผู้สูงอายุเป็นประเด็นที่สำคัญ ประกอบกับกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดวิสัยทัศน์ ภายในทศวรรษต่อไป คนไทยทุกคนจะมีสุขภาพแข็งแรงเพิ่มขึ้นเพื่อสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศทั้งทางตรงและทางอ้อมอย่างยั่งยืน? โดยกำหนดผลกระทบระดับชาติ 10 ปี ไว้ คือ 1.อายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด ไม่น้อยกว่า 80 ปี และ 2.อายุคาดเฉลี่ยของการมีสุขภาพดี ไม่น้อยกว่า 72 ปี กรมอนามัย ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มวัยสูงอายุ จึงดำเนินการจัดทำโครงการเมืองที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ : Age Friendly Cities ปี 2557 ขึ้น โดยได้รับความร่วมมือจากเทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี และเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี เป็นพื้นที่นำร่องในการดำเนินโครงการ 
        ทั้งนี้ กรมอนามัยยังได้จัดประชุมสัมมนาวิชาการ เรื่อง เมืองที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ : Age-Friendly Cities เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่าย ถ่ายทอดเทคโนโลยี วิชาการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อเตรียมการรองรับระบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวโดยท้องถิ่น ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป? อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด
 
***
  สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง / 9 เมษายน 2557
 
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เทศบาลนครนนทบุรีและเมืองพัทยา ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นปูชนียบุคคล เป็นคลังสมองของแผ่นดิน เนื่องในสัปดาห์ผู้สูงอายุ และวันผู้สูงอายุแห่งชาติ 13 เมษายน จึงมีความร่วมมือ ร่วมใจ สานต่อโครงการเมืองที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ : Age-Friendly Cities ชูเทศบาลนครนนทบุรีและเมืองพัทยา นำร่องเพื่อเตรียมการรองรับระบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวโดยท้องถิ่นชุมชนมีส่วนร่วมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ และการดูแลผู้สูงอายุอย่างองค์รวม การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนทุกกลุ่มวัย โดยเฉพาะกลุ่มวัยสูงอายุ เพื่อเตรียมการรองรับระบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว วันนี้ (9 เมษายน 2557) ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังการประชุมสัมมนาวิชาการ \\เมืองที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ : Age-Friendly Cities ณ ห้องประชุมศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ว่า ปัจจุบันประเทศไทยเป็นสังคมผู้สูงอายุ หมายความว่า ประชากรที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป มีจำนวนและสัดส่วนมากขึ้น โดยพบว่า ประชากรผู้สูงอายุของประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจาก 7 ล้านคน หรือร้อยละ 10.7 ในปี 2550 เป็น 7.5 ล้านคน หรือร้อยละ 11.7 ในปี 2553 และเพิ่มเป็น 9.7 ล้านคน หรือร้อยละ 15.04 ในปี 2557 และพบว่า มีผู้สูงอายุอยู่คนเดียว จำนวน 0.6 ล้านคน หรือร้อยละ 7.7 และอยู่ลำพังกับคู่สมรส จำนวน 1.3 ล้านคน หรือ ร้อยละ 16.3 ในปี 2555 ซึ่งจากรายงานการสำรวจสุขภาวะผู้สูงอายุไทย 2556 โดยกรมอนามัยร่วมกับ HITAP พบว่าผู้สูงอายุไทยเพียงร้อยละ 5 มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ขณะที่เหลือส่วนใหญ่ คือร้อยละ 95 เจ็บป่วยด้วยโรคใดโรคหนึ่ง ได้แก่ เบาหวานร้อยละ 18 ความดันโลหิตสูง ร้อยละ 41 ข้อเข่าเสื่อม ร้อยละ 9 พิการร้อยละ 6 ซึมเศร้าร้อยละ 1 และมีภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน ถึง 1 ใน 3 หรือร้อยละ 43 ในขณะที่ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์เพียงร้อยละ 26 ผู้สูงอายุต้องการคนดูแลอย่างต่อเนื่องและการดูแลระยะยาว อีกทั้งปัญหาด้านการมองเห็นมีผู้สูงอายุเพียง 1 ใน 4 ที่มองเห็นชัดเจน ปัญหาด้านการบดเคี้ยวอาหารและสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ 4 ใน 10 คนมีฟันใช้งานน้อยกว่า 20 ซี่ หรือ 4 คู่สบ และผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงยังเข้าไม่ถึงบริการสุขภาพถึงร้อยละ 12 และพบว่าสถานพยาบาลมีการปรับปรุงทางกายภาพเพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการเพียงร้อยละ 60 สถานการณ์ของผู้สูงอายุที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว นอกจากส่งผลกระทบด้านสุขภาพแล้วยังส่งผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคมด้วย ดร.นพ.พรเทพ กล่าวต่อไปว่า การเตรียมการรองรับสภาพปัญหาของผู้สูงอายุเป็นประเด็นที่สำคัญ ประกอบกับกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดวิสัยทัศน์ \\ภายในทศวรรษต่อไป คนไทยทุกคนจะมีสุขภาพแข็งแรงเพิ่มขึ้นเพื่อสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศทั้งทางตรงและทางอ้อมอย่างยั่งยืน โดยกำหนดผลกระทบระดับชาติ 10 ปี ไว้ คือ 1.อายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด ไม่น้อยกว่า 80 ปี และ 2.อายุคาดเฉลี่ยของการมีสุขภาพดี ไม่น้อยกว่า 72 ปี กรมอนามัย ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มวัยสูงอายุ จึงดำเนินการจัดทำโครงการเมืองที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ : Age Friendly Cities ปี 2557 ขึ้น โดยได้รับความร่วมมือจากเทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี และเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี เป็นพื้นที่นำร่องในการดำเนินโครงการ \\ทั้งนี้ กรมอนามัยยังได้จัดประชุมสัมมนาวิชาการ เรื่อง เมืองที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ : Age-Friendly Cities เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่าย ถ่ายทอดเทคโนโลยี วิชาการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อเตรียมการรองรับระบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวโดยท้องถิ่น ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด *** สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง / 9 เมษายน 2557

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน

ติดตามข่าวสารได้ที่

แทงบอลออนไลน์ || ดูบอลสด