ข่าวแจก "สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยี่ยม ร.ร.ตชด. พื้นที่กาญจนบุรี"
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมและติดตามผลการดำเนินงานของ 4 โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี โดยมีคณะผู้บริหารของจังหวัด ผู้บริหารกรมอนามัย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เฝ้ารับเสด็จฯ และทูลเกล้ารายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงาน
ดร.อัมพร จันทวิบูลย์ ผู้อำนวยการสำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย ผู้ถวายรายงานเกี่ยวกับคุณภาพ น้ำบริโภคในพื้นที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จังหวัดกาญจนบุรี กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขได้มอบหมายให้ กรมอนามัยดำเนินงานเฝ้าระวังและพัฒนาคุณภาพน้ำบริโภคในพื้นที่โครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2559 สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ ได้ร่วมกับศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี กรมอนามัย และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี ดำเนินการสุ่มสำรวจข้อมูลการจัดการน้ำบริโภค ณ ศูนย์การเรียนรู้ตำรวจตระเวนชายแดนคลิตี้ล่าง โดยเก็บตัวอย่างน้ำบริโภคและแหล่งน้ำธรรมชาติของชุมชนโดยรอบ ส่งตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการกรมอนามัยทั้งหมด 6 ตัวอย่าง แบ่งเป็นน้ำบริโภค 4 ตัวอย่าง ได้แก่ น้ำบาดาล น้ำบาดาลผ่านระบบกรอง น้ำประปาภูเขา น้ำฝน และแหล่งน้ำธรรมชาติ 2 ตัวอย่าง ได้แก่ ลำห้วยบริเวณ ศูนย์การเรียนรู้ตำรวจตระเวนชายแดนคลิตี้ล่าง และลำห้วยท้ายหมู่บ้านคลิตี้ล่าง ตำบลชะแล อำเภอทองผาภูมิ
ดร.อัมพร กล่าวต่อไปว่า ผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำบริโภคพบว่ามีคุณภาพน้ำที่ยังมีความปลอดภัย น้ำบาดาลมีคุณภาพดีสามารถใช้บริโภคได้ น้ำบาดาลผ่านกรองควรมีการดูแลบำรุงรักษา ทำความสะอาดเปลี่ยนไส้กรอง ล้างถังน้ำใส ตามระยะเวลามีผู้ผลิตกำหนด หมั่นบำรุงรักษาระบบท่อ ทำความสะอาดก๊อกหัวจ่ายด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์ จะช่วยลดการปนเปื้อนด้านแบคทีเรียได้ ส่วนน้ำประปาภูเขาพบแบคทีเรียซึ่งพบได้เป็นปกติในน้ำผิวดิน ส่วนคุณภาพด้านกายภาพและเคมีจะมีค่าเพิ่มขึ้นหรือลดลงนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำท่า ฤดูกาล และสภาพการเพาะปลูก หากใช้เป็นแหล่งน้ำเพื่อการประปาสามารถปรับปรุงคุณภาพให้ดีขึ้นได้ด้วยกระบวนภายในระบบประปา หากประชาชนจะนำไปใช้บริโภคอาจใช้สารส้มทำให้เกิดการตกตะกอนก่อน ตั้งทิ้งไว้ให้ตกตะกอนโดยธรรมชาติ รอจนน้ำใสจึงค่อยนำมาใช้ สำหรับคุณภาพน้ำฝนในภาชนะเก็บกักของศูนย์การเรียนรู้ตำรวจตระเวนชายแดนคลิตี้ล่าง ผ่านเกณฑ์ทั้งด้านกายภาพและเคมี โดยมีสิ่งที่ต้องเฝ้าระวังคือด้านแบคทีเรีย ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ว่าหากพบโคลิฟอร์มแบคทีเรียในน้ำดื่มมีโอกาสที่เชื้อโรคระบบทางเดินอาหาร เช่น อหิวาต์ บิด ไทฟอยด์ ปนเปื้อนอยู่ วิธีการแก้ไขทำได้โดยทำความสะอาดที่รับน้ำฝน ภาชนะเก็บกักที่ถูกสุขลักษณะ การปรับปรุงคุณภาพน้ำ โดยต้มให้เดือดก่อนบริโภคช่วยลดความเสี่ยงจากเชื้อโรค และควรมีการกักเก็บน้ำฝนไว้ใช้เป็นแหล่งน้ำทางเลือกสำหรับการบริโภคที่ปลอดภัย
"ทางด้านแหล่งน้ำธรรมชาติ เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบกับมาตรฐานคุณภาพน้ำผิวดินพบว่า ค่าพารามิเตอร์ที่ไม่ผ่านมาตรฐาน คือ โคลิฟอร์มแบคทีเรียและฟิคัลโคลิฟอร์มแบคทีเรีย โดยแบคทีเรียในน้ำเป็นตัวบ่งชี้คุณภาพน้ำว่ามีความสกปรกจากกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน ควรส่งเสริมพฤติกรรมเกี่ยวกับการจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและให้ความรู้แก่ประชาชน สร้างความตระหนักเพื่อให้เกิดการอนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งต้นน้ำลำธาร ทั้งนี้ ควรมีการเฝ้าระวังการปนเปื้อนของสารเคมีเกษตรในแหล่งน้ำและดิน หน่วยงานภาคราชการควรมีการบูรณาการร่วมกันเพื่อจัดทำมาตรการต่าง ๆ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา โดยส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนและกำหนดทิศทางในการแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุดและเพื่อความยั่งยืนในอนาคต? ผู้อำนวยการสำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กล่าวในที่สุด
***
ศูนย์สื่อสารสาธารณะ / 9 มกราคม 2560
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมและติดตามผลการดำเนินงานของ 4 โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี โดยมีคณะผู้บริหารของจังหวัด ผู้บริหารกรมอนามัย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เฝ้ารับเสด็จฯ และทูลเกล้ารายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงาน ดร.อัมพร จันทวิบูลย์ ผู้อำนวยการสำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย ผู้ถวายรายงานเกี่ยวกับคุณภาพ น้ำบริโภคในพื้นที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จังหวัดกาญจนบุรี กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขได้มอบหมายให้ กรมอนามัยดำเนินงานเฝ้าระวังและพัฒนาคุณภาพน้ำบริโภคในพื้นที่โครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2559 สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ ได้ร่วมกับศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี กรมอนามัย และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี ดำเนินการสุ่มสำรวจข้อมูลการจัดการน้ำบริโภค ณ ศูนย์การเรียนรู้ตำรวจตระเวนชายแดนคลิตี้ล่าง โดยเก็บตัวอย่างน้ำบริโภคและแหล่งน้ำธรรมชาติของชุมชนโดยรอบ ส่งตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการกรมอนามัยทั้งหมด 6 ตัวอย่าง แบ่งเป็นน้ำบริโภค 4 ตัวอย่าง ได้แก่ น้ำบาดาล น้ำบาดาลผ่านระบบกรอง น้ำประปาภูเขา น้ำฝน และแหล่งน้ำธรรมชาติ 2 ตัวอย่าง ได้แก่ ลำห้วยบริเวณ ศูนย์การเรียนรู้ตำรวจตระเวนชายแดนคลิตี้ล่าง และลำห้วยท้ายหมู่บ้านคลิตี้ล่าง ตำบลชะแล อำเภอทองผาภูมิ ดร.อัมพร กล่าวต่อไปว่า ผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำบริโภคพบว่ามีคุณภาพน้ำที่ยังมีความปลอดภัย น้ำบาดาลมีคุณภาพดีสามารถใช้บริโภคได้ น้ำบาดาลผ่านกรองควรมีการดูแลบำรุงรักษา ทำความสะอาดเปลี่ยนไส้กรอง ล้างถังน้ำใส ตามระยะเวลามีผู้ผลิตกำหนด หมั่นบำรุงรักษาระบบท่อ ทำความสะอาดก๊อกหัวจ่ายด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์ จะช่วยลดการปนเปื้อนด้านแบคทีเรียได้ ส่วนน้ำประปาภูเขาพบแบคทีเรียซึ่งพบได้เป็นปกติในน้ำผิวดิน ส่วนคุณภาพด้านกายภาพและเคมีจะมีค่าเพิ่มขึ้นหรือลดลงนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำท่า ฤดูกาล และสภาพการเพาะปลูก หากใช้เป็นแหล่งน้ำเพื่อการประปาสามารถปรับปรุงคุณภาพให้ดีขึ้นได้ด้วยกระบวนภายในระบบประปา หากประชาชนจะนำไปใช้บริโภคอาจใช้สารส้มทำให้เกิดการตกตะกอนก่อน ตั้งทิ้งไว้ให้ตกตะกอนโดยธรรมชาติ รอจนน้ำใสจึงค่อยนำมาใช้ สำหรับคุณภาพน้ำฝนในภาชนะเก็บกักของศูนย์การเรียนรู้ตำรวจตระเวนชายแดนคลิตี้ล่าง ผ่านเกณฑ์ทั้งด้านกายภาพและเคมี โดยมีสิ่งที่ต้องเฝ้าระวังคือด้านแบคทีเรีย ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ว่าหากพบโคลิฟอร์มแบคทีเรียในน้ำดื่มมีโอกาสที่เชื้อโรคระบบทางเดินอาหาร เช่น อหิวาต์ บิด ไทฟอยด์ ปนเปื้อนอยู่ วิธีการแก้ไขทำได้โดยทำความสะอาดที่รับน้ำฝน ภาชนะเก็บกักที่ถูกสุขลักษณะ การปรับปรุงคุณภาพน้ำ โดยต้มให้เดือดก่อนบริโภคช่วยลดความเสี่ยงจากเชื้อโรค และควรมีการกักเก็บน้ำฝนไว้ใช้เป็นแหล่งน้ำทางเลือกสำหรับการบริโภคที่ปลอดภัย ทางด้านแหล่งน้ำธรรมชาติ เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบกับมาตรฐานคุณภาพน้ำผิวดินพบว่า ค่าพารามิเตอร์ที่ไม่ผ่านมาตรฐาน คือ โคลิฟอร์มแบคทีเรียและฟิคัลโคลิฟอร์มแบคทีเรีย โดยแบคทีเรียในน้ำเป็นตัวบ่งชี้คุณภาพน้ำว่ามีความสกปรกจากกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน ควรส่งเสริมพฤติกรรมเกี่ยวกับการจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและให้ความรู้แก่ประชาชน สร้างความตระหนักเพื่อให้เกิดการอนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งต้นน้ำลำธาร ทั้งนี้ ควรมีการเฝ้าระวังการปนเปื้อนของสารเคมีเกษตรในแหล่งน้ำและดิน หน่วยงานภาคราชการควรมีการบูรณาการร่วมกันเพื่อจัดทำมาตรการต่าง ๆ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา โดยส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนและกำหนดทิศทางในการแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุดและเพื่อความยั่งยืนในอนาคต ผู้อำนวยการสำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กล่าวในที่สุด ***ศูนย์สื่อสารสาธารณะ / 9 มกราคม 2560