คุณกำลังมองหาอะไร?

ข่า

ข่าวแจก "กรมอนามัย เผยเด็กอ้วนเสี่ยงโรคเพียบ ตั้งเป้าปี 60 ลดเด็กอ้วนเหลือร้อยละ 15"

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

31.03.2557
6
0
แชร์
31
มีนาคม
2557

ข่าวแจก "กรมอนามัย เผยเด็กอ้วนเสี่ยงโรคเพียบ ตั้งเป้าปี 60 ลดเด็กอ้วนเหลือร้อยละ 15"

        กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผยเด็กอ้วนเสี่ยงโรคเพียบ จับมือกรมสุขภาพจิตและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ แนะโรงเรียนจัดค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3 อ. ตั้งเป้าลดเด็กอ้วนให้เหลือไม่เกินร้อยละ 15 ภายในปี 2560
        วันนี้ (31 มีนาคม 2557) นายแพทย์ณรงค์ สายวงศ์ รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง เทคนิคการจัดค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และเทคนิคการจัดอาหารตามมาตรฐานโภชนาการสำหรับเด็กวัยเรียนที่มีภาวะอ้วน ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพมหานครว่า จากข้อมูลการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียนของกรมอนามัย ปี 2555 พบว่า เด็กวัยเรียนเป็นโรคอ้วน ร้อยละ 17 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2546 ที่พบเด็กวัยเรียนเป็นโรคอ้วนร้อยละ 13.6 โรคอ้วนจะส่งผลให้เด็กมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง หลอดเลือดตีบแข็ง โรคหัวใจสูง และยังพบว่าเด็กอ้วนจะมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เนื่องจากการคั่งของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยเฉพาะเวลานอนหลับ ปอดจะขยายตัวได้น้อย ร่างกายจึงได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ทำให้ง่วงนอนช่วงกลางวัน และส่งผลกระทบต่อการเรียน รวมทั้งปัญหาเกี่ยวกับกระดูก ทำให้ปวดหัวเข่า ข้อเท้า กระดูกงอ ขาโก่ง เดินไม่คล่องตัว เหนื่อยง่าย เพราะต้องรับน้ำหนักตัวที่มากเกินไปด้วย
        นายแพทย์ณรงค์ กล่าวต่อไปว่า สาเหตุการเกิดโรคอ้วนในเด็กมาจากการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสมและขาดการออกกำลังกาย โดยพบว่า เด็กวัยเรียน กินผักเพียงวันละ 1.5 ช้อนกินข้าวต่อคน ซึ่งน้อยกว่าปริมาณที่แนะนำ คือ ควรกินผักวันละ 12 ช้อนกินข้าว และกินผลไม้ทุกวันเพียง ร้อยละ 26.8 สำหรับการออกกำลังกายพบว่า เด็กที่เคลื่อนไหวร่างกายเป็นประจำ คือ 60 นาทีต่อวัน และสัปดาห์ละ 3 วัน มีเพียงร้อยละ 24.3 ในขณะที่ส่วนใหญ่จะใช้เวลาไปกับการดูโทรทัศน์ เล่นเกม และคอมพิวเตอร์ ซึ่งเกินกว่าวันละ 2 ชั่วโมง ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ส่งผลให้เด็กไทยมีแนวโน้มเป็นโรคอ้วนเพิ่มขึ้นทุกปี กรมอนามัย จึงร่วมกับกรมสุขภาพจิต และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ แนะเทคนิคการจัดค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยหลัก 3 อ. (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์) และเทคนิคการจัดอาหารสำหรับเด็กวัยเรียนตามมาตรฐานโภชนาการ เพื่อให้ครูโภชนาการและครูผู้รับผิดชอบโครงการลดภาวะอ้วนในเด็กวัยเรียนจากโรงเรียนระดับประถมศึกษา ที่มีเด็กอ้วนในโรงเรียนร้อยละ 10 ขึ้นไปเข้าร่วมโครงการ ตั้งเป้าหมายลดภาวะอ้วนในเด็กวัยเรียนของประเทศ ให้เหลือไม่เกินร้อยละ 15 ภายในปี 2560
        ทั้งนี้ จากผลการสำรวจสถานการณ์โรคอ้วนของเด็กนักเรียนและสภาพปัจจัยแวดล้อมในโรงเรียนเขตเมืองทั่วประเทศโดยเครือข่ายวิจัยสุขภาพมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ และสำนักงานกองทุนการสนับสนุนงานวิจัยพบว่า โรงเรียนที่จัดผลไม้เป็นของว่างให้กับเด็ก จะมีเด็กอ้วนน้อยกว่าโรงเรียนที่ไม่ได้จัด ร้อยละ 30 โรงเรียนที่มีการขายน้ำอัดลมและน้ำหวานจะมีเด็กอ้วนเป็น 2 เท่าของโรงเรียนที่ขายน้ำอัดลมและน้ำหวาน และโรงเรียนที่จัดกิจกรรมการออกกำลังกายอย่างน้อย 3 ครั้ง ต่อสัปดาห์ จะมีเด็กอ้วนน้อยกว่าโรงเรียนที่ไม่จัด ถึงร้อยละ 20? รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด
 
***
สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง / 31 มีนาคม 2557
 
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผยเด็กอ้วนเสี่ยงโรคเพียบ จับมือกรมสุขภาพจิตและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ แนะโรงเรียนจัดค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3 อ. ตั้งเป้าลดเด็กอ้วนให้เหลือไม่เกินร้อยละ 15 ภายในปี 2560 วันนี้ (31 มีนาคม 2557) นายแพทย์ณรงค์ สายวงศ์ รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง เทคนิคการจัดค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และเทคนิคการจัดอาหารตามมาตรฐานโภชนาการสำหรับเด็กวัยเรียนที่มีภาวะอ้วน ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพมหานครว่า จากข้อมูลการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียนของกรมอนามัย ปี 2555 พบว่า เด็กวัยเรียนเป็นโรคอ้วน ร้อยละ 17 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2546 ที่พบเด็กวัยเรียนเป็นโรคอ้วนร้อยละ 13.6 โรคอ้วนจะส่งผลให้เด็กมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง หลอดเลือดตีบแข็ง โรคหัวใจสูง และยังพบว่าเด็กอ้วนจะมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เนื่องจากการคั่งของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยเฉพาะเวลานอนหลับ ปอดจะขยายตัวได้น้อย ร่างกายจึงได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ทำให้ง่วงนอนช่วงกลางวัน และส่งผลกระทบต่อการเรียน รวมทั้งปัญหาเกี่ยวกับกระดูก ทำให้ปวดหัวเข่า ข้อเท้า กระดูกงอ ขาโก่ง เดินไม่คล่องตัว เหนื่อยง่าย เพราะต้องรับน้ำหนักตัวที่มากเกินไปด้วย นายแพทย์ณรงค์ กล่าวต่อไปว่า สาเหตุการเกิดโรคอ้วนในเด็กมาจากการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสมและขาดการออกกำลังกาย โดยพบว่า เด็กวัยเรียน กินผักเพียงวันละ 1.5 ช้อนกินข้าวต่อคน ซึ่งน้อยกว่าปริมาณที่แนะนำ คือ ควรกินผักวันละ 12 ช้อนกินข้าว และกินผลไม้ทุกวันเพียง ร้อยละ 26.8 สำหรับการออกกำลังกายพบว่า เด็กที่เคลื่อนไหวร่างกายเป็นประจำ คือ 60 นาทีต่อวัน และสัปดาห์ละ 3 วัน มีเพียงร้อยละ 24.3 ในขณะที่ส่วนใหญ่จะใช้เวลาไปกับการดูโทรทัศน์ เล่นเกม และคอมพิวเตอร์ ซึ่งเกินกว่าวันละ 2 ชั่วโมง ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ส่งผลให้เด็กไทยมีแนวโน้มเป็นโรคอ้วนเพิ่มขึ้นทุกปี กรมอนามัย จึงร่วมกับกรมสุขภาพจิต และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ แนะเทคนิคการจัดค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยหลัก 3 อ. (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์) และเทคนิคการจัดอาหารสำหรับเด็กวัยเรียนตามมาตรฐานโภชนาการ เพื่อให้ครูโภชนาการและครูผู้รับผิดชอบโครงการลดภาวะอ้วนในเด็กวัยเรียนจากโรงเรียนระดับประถมศึกษา ที่มีเด็กอ้วนในโรงเรียนร้อยละ 10 ขึ้นไปเข้าร่วมโครงการ ตั้งเป้าหมายลดภาวะอ้วนในเด็กวัยเรียนของประเทศ ให้เหลือไม่เกินร้อยละ 15 ภายในปี 2560 \\ทั้งนี้ จากผลการสำรวจสถานการณ์โรคอ้วนของเด็กนักเรียนและสภาพปัจจัยแวดล้อมในโรงเรียนเขตเมืองทั่วประเทศโดยเครือข่ายวิจัยสุขภาพมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ และสำนักงานกองทุนการสนับสนุนงานวิจัยพบว่า โรงเรียนที่จัดผลไม้เป็นของว่างให้กับเด็ก จะมีเด็กอ้วนน้อยกว่าโรงเรียนที่ไม่ได้จัด ร้อยละ 30 โรงเรียนที่มีการขายน้ำอัดลมและน้ำหวานจะมีเด็กอ้วนเป็น 2 เท่าของโรงเรียนที่ขายน้ำอัดลมและน้ำหวาน และโรงเรียนที่จัดกิจกรรมการออกกำลังกายอย่างน้อย 3 ครั้ง ต่อสัปดาห์ จะมีเด็กอ้วนน้อยกว่าโรงเรียนที่ไม่จัด ถึงร้อยละ 20 รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด *** สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง / 31 มีนาคม 2557

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน