คุณกำลังมองหาอะไร?

ข่า

ข่าวแจก "กรมอนามัย เผยเด็กจมน้ำตายเฉลี่ยวันละ 4 ราย เร่งสร้างความรู้ครู ก.ช่วยเด็กรอดจากจมน้ำ"

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

27.02.2557
0
0
แชร์
27
กุมภาพันธ์
2557

ข่าวแจก "กรมอนามัย เผยเด็กจมน้ำตายเฉลี่ยวันละ 4 ราย เร่งสร้างความรู้ครู ก.ช่วยเด็กรอดจากจมน้ำ"

        กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาบุคลากรเพื่อส่งเสริมทักษะการป้องกัน ความเสี่ยงจากการตกน้ำ จมน้ำในเด็กไทย? เรื่อง การสร้างความคุ้นเคยกับน้ำสำหรับเด็กเล็ก? เพื่อให้เด็ก เยาวชน ผู้ปกครอง ครู ผู้ดูแลเด็ก อาสาสมัครสาธารณสุข และประชาชนที่เกี่ยวข้อง มีความรู้และทักษะในการป้องกันการจมน้ำ วิธีช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำเบื้องต้น
        วันนี้ (27 กุมภาพันธ์ 2557) ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาบุคลากรเพื่อส่งเสริมทักษะการป้องกันความเสี่ยงจากการตกน้ำ จมน้ำในเด็กไทย? เรื่อง การสร้างความคุ้นเคยกับน้ำสำหรับเด็กเล็ก? ณ โรงแรมเดอะรอยัล เจมส์ กอล์ฟ รีสอร์ท จังหวัดนครปฐม ว่า สำหรับประเทศไทยในช่วงเวลาสิบปีที่ผ่านมา (ปี 2546-2556) มีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เสียชีวิตจากการจมน้ำทั้งในแหล่งธรรมชาติและภายในสระว่ายน้ำ เฉลี่ยปีละ 1,388 คน (ค่าเฉลี่ยปี 2544-2553) หรือเฉลี่ยวันละ 4 คน เมื่อพิจารณาตามกลุ่มวัย พบว่า กลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี มีสัดส่วนการเสียชีวิตจากการตกน้ำ จมน้ำสูงถึงร้อยละ 30.2 ของทุกกลุ่มอายุ ซึ่งนับว่าสุงกว่าโรคภัยไข้เจ็บและอุบัติเหตุถึง 2 เท่า โดยเมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภาคที่มีจำนวนการจมน้ำสูงสุด รองลงมาเป็นภาคกลาง ภาคใต้ และภาคเหนือ ซึ่งปัจจัยเสี่ยงต่อการจมน้ำตายในเด็กและผู้ใหญ่มีความแตกต่างกัน เด็กเล็กมีความสัมพันธ์กับการดูแลของผู้ดูแลเด็ก การจัดการสิ่งแวดล้อมในบ้านและบริเวณใกล้เคียง
        ดร.นพ.พรเทพ กล่าวต่อไปว่า จากผลการสำรวจของสำนักโรคไม่ติดต่อ ร่วมกับสถาบันวิจัยสังคมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่าเด็กอายุ 5-14 ปี ซึ่งมีมากกว่า 8 ล้านคน ว่ายน้ำเป็นเพียงร้อยละ 23.7 หรือประมาณ 2 ล้านคน แต่สามารถว่ายน้ำเพื่อเอาตัวรอดได้เพียงร้อยละ 4.4 หรือประมาณ 367,704 คน ซึ่งปัญหาการจมน้ำตายของเด็กไม่ได้เกิดจากการเล่นน้ำในสระน้ำธรรมชาติหรือในสระว่ายน้ำเท่านั้น แต่ยังพบว่าเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เพียงแค่น้ำในถังหรือกะละมังที่มีความสูงเพียง 1-2 นิ้ว ก็อาจทำให้เด็กจมน้ำได้ เนื่องจากเด็กเล็กยังมีการทรงตัวไม่ดี พัฒนาการทางร่างกายยังไม่พร้อมในการป้องกันตนเอง
        ทั้งนี้ กรมอนามัยจึงได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการดังกล่าวขึ้น เพื่อแก้ปัญหา เพิ่มความระมัดระวังที่สามารถขยายผลไปยังเด็ก เยาวชน ผู้ปกครอง ครู ผู้ดูแลเด็ก อาสาสมัครสาธารณสุข เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตลอดจนประชาชนทั่วไป ได้เป็นครู ก. เรียนรู้สถานการณ์ที่ปลอดภัย และรู้จักช่วยเหลือตัวเองและผู้ประสบภัยทางน้ำเบื้องต้น นำไปสู่การพัฒนาระบบฉุกเฉินเพื่อสื่อสารความเสี่ยงเกี่ยวกับการตกน้ำ จมน้ำในเด็กไทย ทั้งในระดับชุมชน และระดับชาติ ด้วยการสร้างความคุ้นชินกับน้ำสำหรับเด็กเล็ก ที่ถือเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ผู้ปกครองหรือผู้เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญ เนื่องจากการฝึกเด็กให้ว่ายน้ำโดยการสร้างความคุ้นเคยกับน้ำ เรียนรู้สถานการณ์ที่ปลอดภัย รู้จักช่วยเหลือตนเอง เพื่อเอาชีวิตรอดจากภาวการณ์ฉุกเฉินแล้ว ยังเป็นการกระตุ้นพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ และอวัยวะต่างๆของเด็ก เช่น เซลล์สมอง ประสาทสัมผัส กล้ามเนื้อมัดใหญ่ มัดเล็ก และฝึกทักษะการทรงตัวในภาวะฉุกเฉินให้ดีขึ้นด้วย? อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด
 
***
สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง/ 27 กุมภาพันธ์ 2557
 
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ \\การพัฒนาบุคลากรเพื่อส่งเสริมทักษะการป้องกัน ความเสี่ยงจากการตกน้ำ จมน้ำในเด็กไทย เรื่อง \\การสร้างความคุ้นเคยกับน้ำสำหรับเด็กเล็ก เพื่อให้เด็ก เยาวชน ผู้ปกครอง ครู ผู้ดูแลเด็ก อาสาสมัครสาธารณสุข และประชาชนที่เกี่ยวข้อง มีความรู้และทักษะในการป้องกันการจมน้ำ วิธีช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำเบื้องต้น วันนี้ (27 กุมภาพันธ์ 2557) ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ \\การพัฒนาบุคลากรเพื่อส่งเสริมทักษะการป้องกันความเสี่ยงจากการตกน้ำ จมน้ำในเด็กไทย เรื่อง \\การสร้างความคุ้นเคยกับน้ำสำหรับเด็กเล็ก ณ โรงแรมเดอะรอยัล เจมส์ กอล์ฟ รีสอร์ท จังหวัดนครปฐม ว่า สำหรับประเทศไทยในช่วงเวลาสิบปีที่ผ่านมา (ปี 2546-2556) มีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เสียชีวิตจากการจมน้ำทั้งในแหล่งธรรมชาติและภายในสระว่ายน้ำ เฉลี่ยปีละ 1,388 คน (ค่าเฉลี่ยปี 2544-2553) หรือเฉลี่ยวันละ 4 คน เมื่อพิจารณาตามกลุ่มวัย พบว่า กลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี มีสัดส่วนการเสียชีวิตจากการตกน้ำ จมน้ำสูงถึงร้อยละ 30.2 ของทุกกลุ่มอายุ ซึ่งนับว่าสุงกว่าโรคภัยไข้เจ็บและอุบัติเหตุถึง 2 เท่า โดยเมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภาคที่มีจำนวนการจมน้ำสูงสุด รองลงมาเป็นภาคกลาง ภาคใต้ และภาคเหนือ ซึ่งปัจจัยเสี่ยงต่อการจมน้ำตายในเด็กและผู้ใหญ่มีความแตกต่างกัน เด็กเล็กมีความสัมพันธ์กับการดูแลของผู้ดูแลเด็ก การจัดการสิ่งแวดล้อมในบ้านและบริเวณใกล้เคียง ดร.นพ.พรเทพ กล่าวต่อไปว่า จากผลการสำรวจของสำนักโรคไม่ติดต่อ ร่วมกับสถาบันวิจัยสังคมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่าเด็กอายุ 5-14 ปี ซึ่งมีมากกว่า 8 ล้านคน ว่ายน้ำเป็นเพียงร้อยละ 23.7 หรือประมาณ 2 ล้านคน แต่สามารถว่ายน้ำเพื่อเอาตัวรอดได้เพียงร้อยละ 4.4 หรือประมาณ 367,704 คน ซึ่งปัญหาการจมน้ำตายของเด็กไม่ได้เกิดจากการเล่นน้ำในสระน้ำธรรมชาติหรือในสระว่ายน้ำเท่านั้น แต่ยังพบว่าเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เพียงแค่น้ำในถังหรือกะละมังที่มีความสูงเพียง 1-2 นิ้ว ก็อาจทำให้เด็กจมน้ำได้ เนื่องจากเด็กเล็กยังมีการทรงตัวไม่ดี พัฒนาการทางร่างกายยังไม่พร้อมในการป้องกันตนเอง \\ทั้งนี้ กรมอนามัยจึงได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการดังกล่าวขึ้น เพื่อแก้ปัญหา เพิ่มความระมัดระวังที่สามารถขยายผลไปยังเด็ก เยาวชน ผู้ปกครอง ครู ผู้ดูแลเด็ก อาสาสมัครสาธารณสุข เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตลอดจนประชาชนทั่วไป ได้เป็นครู ก. เรียนรู้สถานการณ์ที่ปลอดภัย และรู้จักช่วยเหลือตัวเองและผู้ประสบภัยทางน้ำเบื้องต้น นำไปสู่การพัฒนาระบบฉุกเฉินเพื่อสื่อสารความเสี่ยงเกี่ยวกับการตกน้ำ จมน้ำในเด็กไทย ทั้งในระดับชุมชน และระดับชาติ ด้วยการสร้างความคุ้นชินกับน้ำสำหรับเด็กเล็ก ที่ถือเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ผู้ปกครองหรือผู้เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญ เนื่องจากการฝึกเด็กให้ว่ายน้ำโดยการสร้างความคุ้นเคยกับน้ำ เรียนรู้สถานการณ์ที่ปลอดภัย รู้จักช่วยเหลือตนเอง เพื่อเอาชีวิตรอดจากภาวการณ์ฉุกเฉินแล้ว ยังเป็นการกระตุ้นพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ และอวัยวะต่างๆของเด็ก เช่น เซลล์สมอง ประสาทสัมผัส กล้ามเนื้อมัดใหญ่ มัดเล็ก และฝึกทักษะการทรงตัวในภาวะฉุกเฉินให้ดีขึ้นด้วย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด ***สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง/ 27 กุมภาพันธ์ 2557

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน