คุณกำลังมองหาอะไร?

ข่า

ข่าวแจก "กรมอนามัย ขับเคลื่อนงาน Long Term Care และภาวะสมองเสื่อม ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ"

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

06.12.2559
38
0
แชร์
06
ธันวาคม
2559

ข่าวแจก "กรมอนามัย ขับเคลื่อนงาน Long Term Care และภาวะสมองเสื่อม ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ"

        กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ขับเคลื่อนงานดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว รวมถึงภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ ที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ให้มีสุขภาพชีวิตที่ดี เป็นหลักชัยของสังคม
        วันนี้ (6 ธันวาคม 2559) นายแพทย์วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงาน การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การดำเนินงานจากนโยบายสู่การปฏิบัติการด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ร่วมกับภาคีเครือข่าย (บูรณาการ LTC & ภาวะสมองเสื่อม) "บูรณาการร่วมใจ เพื่อผู้สูงวัย เป็นหลักชัยของสังคม? ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ กรุงเทพมหานคร ว่า สถานการณ์ผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งจำนวนและสัดส่วน จาก 7.5 ล้านคน หรือ ร้อยละ 11.7 ในปี 2553 และเพิ่มเป็น 9.7 ล้านคน หรือร้อยละ 15.04 ในปี 2557 นอกจากนี้ ผู้สูงอายุยังมีความเสี่ยงเจ็บป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 43 มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ร้อยละ 37 เป็นโรคเข่าเสื่อม ร้อยละ 9 เป็นผู้พิการ ร้อยละ 6 โรคซึมเศร้า ร้อยละ 1 ผู้ป่วยนอนติดเตียง ร้อยละ 1 และร้อยละ 5 ที่ไม่เป็นโรคและปัญหาสุขภาพดังกล่าว โดยผู้สูงอายุเข้าถึงระบบบริการสุขภาพเพียง ร้อยละ 56.7 จากรายการสำรวจสุขภาวะผู้สูงอายุไทย ปี 2556 ของกรมอนามัยร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพ (สปสช.) และ โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) พบว่า ผู้สูงอายุ 1 ใน 2 คน อ้วนและเป็นโรคอ้วน มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์เพียงร้อยละ 26 และรายงานการประเมินผลแผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2 พบว่า มีผู้สูงอายุอยู่คนเดียว จำนวน 0.6 ล้านคน หรือร้อยละ 7.7 และ อยู่ลำพังกับคู่สมรส จำนวน 1.3 ล้านคน หรือร้อยละ 16.33 ในปี 2555 และ มีผู้สูงอายุเพียง 1 ใน 4 ที่มองเห็นชัดเจน มีปัญหาด้านการบดเคี้ยวอาหารและสุขภาพช่องปาก เกือบครึ่งหนึ่งของผู้สูงอายุ ร้อยละ 48.6 และมีฟันแท้เหลือน้อยกว่า 20 ซี่ ซึ่งส่งผลต่อการดูแลทั้งร่างกายและจิตใจ
       นายแพทย์วชิระ กล่าวต่อไปว่า จากปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุดังกล่าว รัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุข ได้ประกาศให้เร่งรัดดำเนินการระบบสร้างเสริมสุขภาวะสำหรับผู้สูงอายุและผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงรวมถึงผู้ป่วยในระยะท้ายของชีวิตเป็นนโยบายสำคัญเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการ โดยจัดตั้งและพัฒนาบริการทางสุขภาพและทางสังคมรวมทั้งระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน ที่สามารถเข้าถึงผู้สูงอายุมากที่สุด โดยเน้นบริการถึงบ้านและมีการประสานกันระหว่างบริการทางสุขภาพและทางสังคม โดยกำหนดสัดส่วนของตำบลที่มีบริการสำหรับผู้สูงอายุดังนี้ 1) สนับสนุนการดูแล ระยะยาว 2) ระบบประคับประคอง 3) ดูแลโรคเรื้อรังที่สำคัญ 4) อาสาสมัครในชุมชน และ 5) สนับสนุนให้ผู้ดูแลมีความรู้ ความสามารถในการดูแลผู้สูงอายุ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุให้ดีขึ้น เป็นหลักชัยของสังคม
         "สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมในประเทศไทย พบกว่า 4 แสนคน และคาดว่าจะเพิ่มตามจำนวนผู้สูงอายุ ทั้งนี้ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายส่งเสริมสุขภาพและป้องกันปัญหาสุขภาพ โดยการคัดกรองผู้ป่วยสมองเสื่อมเบื้องต้น การพัฒนาและจัดทำฐานข้อมูล การอบรมอาสาสมัคร การพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข การพัฒนาระบบบริการในการดูแลผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม การจัดสภาพแวดล้อมให้มั่นคงปลอดภัย เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รู้จักตนเองและสิ่งรอบตัวตามความเป็นจริง เช่นการดำเนินงานตำบลดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ระยะยาว (ตำบล Long TermCare) การพัฒนาคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี เข้าถึงระบบบริการอย่างถ้วนหน้าและเท่าเทียม และเตรียมความพร้อม รับการเปลี่ยนแปลงของสังคมผู้สูงอายุกับภาวะสมองเสื่อม? อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด
 ***
ศูนย์สื่อสารสาธารณะ / 6 ธันวาคม 2559
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ขับเคลื่อนงานดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว รวมถึงภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ ที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ให้มีสุขภาพชีวิตที่ดี เป็นหลักชัยของสังคม วันนี้ (6 ธันวาคม 2559) นายแพทย์วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงาน การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การดำเนินงานจากนโยบายสู่การปฏิบัติการด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ร่วมกับภาคีเครือข่าย (บูรณาการ LTC & ภาวะสมองเสื่อม) บูรณาการร่วมใจ เพื่อผู้สูงวัย เป็นหลักชัยของสังคม ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ กรุงเทพมหานคร ว่า สถานการณ์ผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งจำนวนและสัดส่วน จาก 7.5 ล้านคน หรือ ร้อยละ 11.7 ในปี 2553 และเพิ่มเป็น 9.7 ล้านคน หรือร้อยละ 15.04 ในปี 2557 นอกจากนี้ ผู้สูงอายุยังมีความเสี่ยงเจ็บป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 43 มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ร้อยละ 37 เป็นโรคเข่าเสื่อม ร้อยละ 9 เป็นผู้พิการ ร้อยละ 6 โรคซึมเศร้า ร้อยละ 1 ผู้ป่วยนอนติดเตียง ร้อยละ 1 และร้อยละ 5 ที่ไม่เป็นโรคและปัญหาสุขภาพดังกล่าว โดยผู้สูงอายุเข้าถึงระบบบริการสุขภาพเพียง ร้อยละ 56.7 จากรายการสำรวจสุขภาวะผู้สูงอายุไทย ปี 2556 ของกรมอนามัยร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพ (สปสช.) และ โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) พบว่า ผู้สูงอายุ 1 ใน 2 คน อ้วนและเป็นโรคอ้วน มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์เพียงร้อยละ 26 และรายงานการประเมินผลแผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2 พบว่า มีผู้สูงอายุอยู่คนเดียว จำนวน 0.6 ล้านคน หรือร้อยละ 7.7 และ อยู่ลำพังกับคู่สมรส จำนวน 1.3 ล้านคน หรือร้อยละ 16.33 ในปี 2555 และ มีผู้สูงอายุเพียง 1 ใน 4 ที่มองเห็นชัดเจน มีปัญหาด้านการบดเคี้ยวอาหารและสุขภาพช่องปาก เกือบครึ่งหนึ่งของผู้สูงอายุ ร้อยละ 48.6 และมีฟันแท้เหลือน้อยกว่า 20 ซี่ ซึ่งส่งผลต่อการดูแลทั้งร่างกายและจิตใจ นายแพทย์วชิระ กล่าวต่อไปว่า จากปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุดังกล่าว รัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุข ได้ประกาศให้เร่งรัดดำเนินการระบบสร้างเสริมสุขภาวะสำหรับผู้สูงอายุและผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงรวมถึงผู้ป่วยในระยะท้ายของชีวิตเป็นนโยบายสำคัญเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการ โดยจัดตั้งและพัฒนาบริการทางสุขภาพและทางสังคมรวมทั้งระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน ที่สามารถเข้าถึงผู้สูงอายุมากที่สุด โดยเน้นบริการถึงบ้านและมีการประสานกันระหว่างบริการทางสุขภาพและทางสังคม โดยกำหนดสัดส่วนของตำบลที่มีบริการสำหรับผู้สูงอายุดังนี้ 1) สนับสนุนการดูแล ระยะยาว 2) ระบบประคับประคอง 3) ดูแลโรคเรื้อรังที่สำคัญ 4) อาสาสมัครในชุมชน และ 5) สนับสนุนให้ผู้ดูแลมีความรู้ ความสามารถในการดูแลผู้สูงอายุ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุให้ดีขึ้น เป็นหลักชัยของสังคม สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมในประเทศไทย พบกว่า 4 แสนคน และคาดว่าจะเพิ่มตามจำนวนผู้สูงอายุ ทั้งนี้ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายส่งเสริมสุขภาพและป้องกันปัญหาสุขภาพ โดยการคัดกรองผู้ป่วยสมองเสื่อมเบื้องต้น การพัฒนาและจัดทำฐานข้อมูล การอบรมอาสาสมัคร การพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข การพัฒนาระบบบริการในการดูแลผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม การจัดสภาพแวดล้อมให้มั่นคงปลอดภัย เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รู้จักตนเองและสิ่งรอบตัวตามความเป็นจริง เช่นการดำเนินงานตำบลดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ระยะยาว (ตำบล Long TermCare) การพัฒนาคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี เข้าถึงระบบบริการอย่างถ้วนหน้าและเท่าเทียม และเตรียมความพร้อม รับการเปลี่ยนแปลงของสังคมผู้สูงอายุกับภาวะสมองเสื่อม อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด *** ศูนย์สื่อสารสาธารณะ / 6 ธันวาคม 2559

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน

ติดตามข่าวสารได้ที่

แทงบอลออนไลน์ || ดูบอลสด UFABET