คุณกำลังมองหาอะไร?

รมอนามัย หวั่นผู้บริโภคตื่นฟอร์มาลิน แนะสังเกตก่อนซื้อ ล้างน้ำสะอาดก่อนปรุง และเน้นกินสุกร้อน

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

26.02.2557
7
0
แชร์
26
กุมภาพันธ์
2557

กรมอนามัย หวั่นผู้บริโภคตื่นฟอร์มาลิน แนะสังเกตก่อนซื้อ ล้างน้ำสะอาดก่อนปรุง และเน้นกินสุกร้อน

        กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แนะผู้บริโภคสังเกตอาหารประเภทผักและอาหารทะเลก่อนตัดสินใจเลือกซื้อเพื่อให้ปลอดภัยจากสารฟอร์มาลิน พร้อมย้ำให้ล้างน้ำสะอาดทุกครั้งก่อนปรุงประกอบอาหาร และให้เน้นปรุงสุกด้วยความร้อนเพื่อความปลอดภัยก่อนบริโภค
        เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2557 ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยในงานแถลงข่าวการดำเนินงานของกรมอนามัยในกรณีที่ตรวจพบสารฟอร์มาลินหรือน้ำยาฉีดศพ น้ำยาดองศพ ที่นำมาใช้กับอาหาร ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร ว่า การนำสารฟอร์มาลินหรือฟอร์มาลดีไฮด์มาใช้ผิดวัตถุประสงค์ถือเป็นเรื่องที่อันตรายมาก เพราะมีการห้ามนำใช้ในอาหารอย่างเด็ดขาด ซึ่งสารฟอร์มาลินหากได้รับเข้าสู่ร่างกายในปริมาณที่สูงหรือมีความเข้มข้น จะมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง หัวใจเต้นเร็วแน่นหน้าอก ปากและคอแห้ง คลื่นไส้อาเจียนท้องเสีย ปวดท้องอย่างรุนแรง กระเพาะอาหารอักเสบเป็นแผล หากได้รับในรูปของไอระเหยหรือสูดดมจะมีฤทธิ์ทำลายระบบทางเดินหายใจ ทำให้หลอดลมบวม แสบจมูก เจ็บคอ ไอ หายใจไม่ออก ปอดอักเสบ น้ำท่วมปอด ถึงขั้นเสียชีวิต หากสัมผัสสารนี้โดยตรงจะทำให้ผิวหนังระคายเคือง เกิดผื่นคัน เป็นผื่นแดงเหมือนลมพิษจนถึงผิวหนังไหม้เป็นสีขาว หรือหากสัมผัสที่ดวงตาจะระคายเคืองมากทำให้เป็นแผลได้ โดยเฉพาะพ่อค้า แม่ค้าที่จำหน่ายอาหารแช่สารฟอร์มาลินมีโอกาสสูดดมไอระเหยของสารฟอร์มาลินที่ออกจากน้ำแช่ได้ตลอดเวลา
        ดร.นพ.พรเทพ กล่าวต่อไปว่า ผู้บริโภคจึงควรระมัดระวังเป็นพิเศษในการเลือกซื้อสินค้าโดยเฉพาะผักสดและอาหารทะเล โดยวิธีสังเกตคือ ดมที่ใบหรือหักก้านดม หากมีกลิ่นฉุนแสบจมูกก็ไม่ควรซื้อ รวมถึงสังเกตดูผักที่วางขายว่าสด ใบงามเกินจริง ไม่มีรูพรุนจากการกัดของแมลงเลย ตั้งขายไว้เป็นวันๆ ยังไม่เหี่ยว แบบนั้นก็ไม่ควรเลือกซื้อ กรณีที่ซื้อมาแล้วยังไม่แน่ใจว่ามีสารฟอร์มาลินตกค้างหรือไม่ ให้นำมาล้างอย่างน้อย 3 น้ำ คือ 1) ให้นำผักมาล้างน้ำที่ไหลนาน 5-10 นาที หรือแช่น้ำสะอาดประมาณ 1 ชม. 2) ใช้สารละลายอื่นๆ ในการล้างหรือแช่นานประมาณ 2-10 นาที อาทิ น้ำเกลือ หรือใช้น้ำส้มสายชู หรือใช้โซเดียม ไบคาร์บอเนต (เบคกิ้งโซดาหรือผงฟู) และ 3) นำมาล้างด้วย น้ำสะอาดอีกครั้ง จะสามารถชะล้างสารฟอร์มาลินออกได้หมด ส่วนการเลือกซื้ออาหารทะเลต้องสังเกตว่าลักษณะ เนื้อนั้นสดผิดปกติหรือไม่ เพราะถ้ามีกลิ่นฉุน ๆ แปลก ๆ แสบจมูก ก็ไม่ควรซื้อมาบริโภค และในการบริโภคทุกครั้ง ต้องทำอาหารทุกชนิดให้สุกด้วยความร้อน เนื่องจากความร้อนจะทำลายฟอร์มาลินได้
        ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยควรเลือกซื้ออาหารจากแหล่งที่ได้รับรองมาตรฐานตลาดสด น่าซื้อของกรมอนามัย เพราะได้รับการตรวจและเฝ้าระวังสารฟอร์มาลินและสารปนเปื้อนอื่น ๆ ได้แก่ สารกันรา สารบอแรกซ์ สารฟอกขาว ยาฆ่าแมลง และสารเร่งเนื้อแดงในเนื้อหมู รวมทั้งมีการคุ้มครองผู้บริโภคในด้านต่าง ๆ เช่น มีจุดทดสอบสารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพบริการสำหรับประชาชน มีเครื่องชั่งกลางที่ได้มาตรฐาน เป็นต้น? อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด
                                                                 
***
สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง/ 25 กุมภาพันธ์ 2557
 
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แนะผู้บริโภคสังเกตอาหารประเภทผักและอาหารทะเลก่อนตัดสินใจเลือกซื้อเพื่อให้ปลอดภัยจากสารฟอร์มาลิน พร้อมย้ำให้ล้างน้ำสะอาดทุกครั้งก่อนปรุงประกอบอาหาร และให้เน้นปรุงสุกด้วยความร้อนเพื่อความปลอดภัยก่อนบริโภค เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2557 ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยในงานแถลงข่าวการดำเนินงานของกรมอนามัยในกรณีที่ตรวจพบสารฟอร์มาลินหรือน้ำยาฉีดศพ น้ำยาดองศพ ที่นำมาใช้กับอาหาร ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร ว่า การนำสารฟอร์มาลินหรือฟอร์มาลดีไฮด์มาใช้ผิดวัตถุประสงค์ถือเป็นเรื่องที่อันตรายมาก เพราะมีการห้ามนำใช้ในอาหารอย่างเด็ดขาด ซึ่งสารฟอร์มาลินหากได้รับเข้าสู่ร่างกายในปริมาณที่สูงหรือมีความเข้มข้น จะมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง หัวใจเต้นเร็วแน่นหน้าอก ปากและคอแห้ง คลื่นไส้อาเจียนท้องเสีย ปวดท้องอย่างรุนแรง กระเพาะอาหารอักเสบเป็นแผล หากได้รับในรูปของไอระเหยหรือสูดดมจะมีฤทธิ์ทำลายระบบทางเดินหายใจ ทำให้หลอดลมบวม แสบจมูก เจ็บคอ ไอ หายใจไม่ออก ปอดอักเสบ น้ำท่วมปอด ถึงขั้นเสียชีวิต หากสัมผัสสารนี้โดยตรงจะทำให้ผิวหนังระคายเคือง เกิดผื่นคัน เป็นผื่นแดงเหมือนลมพิษจนถึงผิวหนังไหม้เป็นสีขาว หรือหากสัมผัสที่ดวงตาจะระคายเคืองมากทำให้เป็นแผลได้ โดยเฉพาะพ่อค้า แม่ค้าที่จำหน่ายอาหารแช่สารฟอร์มาลินมีโอกาสสูดดมไอระเหยของสารฟอร์มาลินที่ออกจากน้ำแช่ได้ตลอดเวลา ดร.นพ.พรเทพ กล่าวต่อไปว่า ผู้บริโภคจึงควรระมัดระวังเป็นพิเศษในการเลือกซื้อสินค้าโดยเฉพาะผักสดและอาหารทะเล โดยวิธีสังเกตคือ ดมที่ใบหรือหักก้านดม หากมีกลิ่นฉุนแสบจมูกก็ไม่ควรซื้อ รวมถึงสังเกตดูผักที่วางขายว่าสด ใบงามเกินจริง ไม่มีรูพรุนจากการกัดของแมลงเลย ตั้งขายไว้เป็นวันๆ ยังไม่เหี่ยว แบบนั้นก็ไม่ควรเลือกซื้อ กรณีที่ซื้อมาแล้วยังไม่แน่ใจว่ามีสารฟอร์มาลินตกค้างหรือไม่ ให้นำมาล้างอย่างน้อย 3 น้ำ คือ 1) ให้นำผักมาล้างน้ำที่ไหลนาน 5-10 นาที หรือแช่น้ำสะอาดประมาณ 1 ชม. 2) ใช้สารละลายอื่นๆ ในการล้างหรือแช่นานประมาณ 2-10 นาที อาทิ น้ำเกลือ หรือใช้น้ำส้มสายชู หรือใช้โซเดียม ไบคาร์บอเนต (เบคกิ้งโซดาหรือผงฟู) และ 3) นำมาล้างด้วย น้ำสะอาดอีกครั้ง จะสามารถชะล้างสารฟอร์มาลินออกได้หมด ส่วนการเลือกซื้ออาหารทะเลต้องสังเกตว่าลักษณะ เนื้อนั้นสดผิดปกติหรือไม่ เพราะถ้ามีกลิ่นฉุน ๆ แปลก ๆ แสบจมูก ก็ไม่ควรซื้อมาบริโภค และในการบริโภคทุกครั้ง ต้องทำอาหารทุกชนิดให้สุกด้วยความร้อน เนื่องจากความร้อนจะทำลายฟอร์มาลินได้ \\ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยควรเลือกซื้ออาหารจากแหล่งที่ได้รับรองมาตรฐานตลาดสด น่าซื้อของกรมอนามัย เพราะได้รับการตรวจและเฝ้าระวังสารฟอร์มาลินและสารปนเปื้อนอื่น ๆ ได้แก่ สารกันรา สารบอแรกซ์ สารฟอกขาว ยาฆ่าแมลง และสารเร่งเนื้อแดงในเนื้อหมู รวมทั้งมีการคุ้มครองผู้บริโภคในด้านต่าง ๆ เช่น มีจุดทดสอบสารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพบริการสำหรับประชาชน มีเครื่องชั่งกลางที่ได้มาตรฐาน เป็นต้น อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด ***สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง/ 25 กุมภาพันธ์ 2557

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน

ติดตามข่าวสารได้ที่

แทงบอลออนไลน์ || ดูบอลสด