คุณกำลังมองหาอะไร?

ข่า

ข่าวแจก"สธ. เผยขยะเมืองไทยพุ่งสูง 27 ล้านตัน/ปี หนุน อสม.ร่วมรณรงค์ลดปริมาณ-คัดแยกขยะในครัวเรือน"

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

29.04.2558
8
0
แชร์
29
เมษายน
2558

ข่าวแจก"สธ. เผยขยะเมืองไทยพุ่งสูง 27 ล้านตัน/ปี หนุน อสม.ร่วมรณรงค์ลดปริมาณ-คัดแยกขยะในครัวเรือน"

        กระทรวงสาธารณสุข เผยปริมาณขยะของประเทศไทยในปี 2556 สูงประมาณ 27 ล้านตันต่อปี ห่วงหากระบบจัดการขยะไม่ถูกสุขลักษณะ อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน ทั้งยังเสี่ยงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และแมลงพาหะนำโรคกำหนดใช้ 4 ยุทธศาสตร์ ช่วยลดปริมาณขยะ โดยเน้นย้ำการคัดแยกขยะจากแหล่งกำเนิดพร้อมหนุนบทบาท อสม. ร่วมดำเนินการในชุมชน
        ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยถึงปัญหาขยะในประเทศไทย ว่า ปริมาณขยะของประเทศไทยยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2556 สูงถึงประมาณ 27 ล้านตัน ส่วนใหญ่ไม่ได้รับการกำจัดอย่างถูกสุขลักษณะและมีปริมาณมูลฝอยที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์ 5.1 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 19 ซึ่งมีสัดส่วนที่น้อยมาก เนื่องจากยังขาดกระบวนการคัดแยกจากแหล่งกำเนิดอย่างจริงจังและมีประสิทธิภาพ ทำให้มีปริมาณมูลฝอยเพิ่มปริมาณมากขึ้นทุกปี ซึ่งขยะจากแหล่งกำเนิดครัวเรือนสามารถแยกเป็นประเภท ใหญ่ ๆ ได้เป็น 4 ประเภทคือ ขยะย่อยสลายได้หรือขยะอินทรีย์ คิดเป็นร้อยละ 60 ขยะนำกลับมาใช้ใหม่หรือ ขยะรีไซเคิล คิดเป็นร้อยละ 30 ขยะทั่วไป คิดเป็นร้อยละ 7 และขยะอันตราย คิดเป็นร้อยละ 3 และหากคัดแยกขยะออกมาจะสามารถใช้ประโยชน์ได้มากถึงร้อยละ 90 เหลือนำไปกำจัดขั้นสุดท้ายเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น ซึ่งจะประหยัดทั้งค่าเก็บขนและค่ากำจัด แต่หากระบบการจัดการขยะไม่ถูกสุขลักษณะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะในช่วงหน้าร้อนอาจเสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อโรค การแพร่โรคติดต่อในระบบทางเดินอาหาร และเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และแมลงพาหะนำโรค ศ.นพ.รัชตะ กล่าวต่อว่า การแก้ไขปัญหาการจัดการขยะในขณะนี้ กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมอนามัยได้วาง 4 ยุทธศาสตร์หลักคือ 1) จัดให้มีการคัดแยกตั้งแต่ครัวเรือนหรือแหล่งกำเนิดเพื่อนำไปใช้ประโยชน์และจัดการตามประเภทของขยะนั้น ๆ ปัจจุบันมีหลาย ๆ ชุมชนมีการคัดแยกในครัวเรือนโดยแยกขยะนำกลับมาใช้ใหม่หรือขยะรีไซเคิล และนำไปใช้ประโยชน์ เช่น ขยะย่อยสลายได้ประเภทเศษอาหาร เปลือกผลไม้ นำไปทำน้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยน้ำ หรือนำไปเป็นอาหารสัตว์ การแยกขยะในครัวเรือนทำได้ง่ายและช่วยลดภาระในการกำจัด โดยการคัดแยกที่มีประสิทธิภาพจะทำให้ได้ขยะที่มีคุณภาพต่อการนำไปใช้งานและกำจัด 2) การบังคับใช้กฎหมายเพื่อสนับสนุนการคัดแยก ณ แหล่งกำเนิด ทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการลดปริมาณและการคัดแยกขยะ 3) การสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการจัดการขยะให้ถูกสุขลักษณะ เพื่อให้ใช้งบประมาณน้อยที่สุด และ 4) การควบคุมตรวจสอบอย่างจริงจัง โดยท้องถิ่นจะต้องมีการควบคุมอย่างจริงจังไม่ให้มีการลักลอบทิ้งขยะอันตรายจากอุตสาหกรรมรวมไปกับขยะทั่วไป ตลอดจนขอความร่วมมือจากประชาชนในการทิ้งขยะให้เป็นที่เป็นทางเพื่อให้ประเทศไทยสะอาด
         ทางด้าน ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวเพิ่มเติมภายหลังเป็นประธานการแถลงข่าวบทบาทคณะอนุกรรมการสาธารณสุขจังหวัดต่อการขับเคลื่อนงานการจัดการขยะร่วมกับ ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร ณ ชุมชนเทศบาลตำบลตองโขบ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร ว่า การดำเนินงานของจังหวัดสกลนครได้มีการฝึกอบรมด้านการจัดการขยะในครัวเรือน ให้กับ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เพื่อให้แนะนำประชาชนในหมู่บ้านของตนเองเข้ามามีส่วนร่วมและพัฒนาจนเป็นชุมชนต้นแบบด้านการจัดการขยะมูลฝอย และได้มีการมอบรางวัลให้กับ อสม. และนายอำเภอที่มีผลงานดีเด่นด้านการจัดการขยะ ช่วยให้มีการประสานความร่วมมือในการดำเนินงานให้ครอบคลุมทั้งจังหวัดปัจจุบันมี อสม. ทั่วประเทศกว่า 1 ล้านคน ที่จะสามารถช่วยงานในการเป็นผู้นำหรือแนะนำชุมชนได้อย่างใกล้ชิด และมีการอบรมและพัฒนาให้ความรู้ผ่าน อสม. โดยนำไปขยายผลต่อในหมู่บ้านของตนเอง มีการดำเนินงานในชุมชน ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมและพัฒนาให้มีการจัดการที่ดี ถูกสุขลักษณะ พัฒนาต่อเนื่องจนเป็นชุมชนต้นแบบก็สามารถนำไปพัฒนาขยายผลต่อทั้งประเทศ
        "ทั้งนี้ การคัดแยกมูลฝอยเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่หรือการนำไปใช้ประโยชน์ จะช่วยลดปริมาณขยะที่ต้องนำไปกำจัดขั้นสุดท้ายน้อยมาก เป็นการลดค่าใช้จ่ายในการเก็บขนและกำจัดอีกด้วย และเป็นการรองรับการดำเนินงานของกฎกระทรวงว่าด้วยอัตราค่าธรรมเนียมการให้บริการในการจัดการมูลฝอยทั่วไปที่จะมีการประกาศใช้ เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการจัดการ ทำให้การแก้ไขปัญหาการจัดการขยะมีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น รวมทั้งมีการนำขยะไปใช้ให้เกิดประโยชน์อีกด้วย? อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
***
สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง / 28 เมษายน 2558
กระทรวงสาธารณสุข เผยปริมาณขยะของประเทศไทยในปี 2556 สูงประมาณ 27 ล้านตันต่อปี ห่วงหากระบบจัดการขยะไม่ถูกสุขลักษณะ อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน ทั้งยังเสี่ยงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และแมลงพาหะนำโรคกำหนดใช้ 4 ยุทธศาสตร์ ช่วยลดปริมาณขยะ โดยเน้นย้ำการคัดแยกขยะจากแหล่งกำเนิดพร้อมหนุนบทบาท อสม. ร่วมดำเนินการในชุมชน ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยถึงปัญหาขยะในประเทศไทย ว่า ปริมาณขยะของประเทศไทยยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2556 สูงถึงประมาณ 27 ล้านตัน ส่วนใหญ่ไม่ได้รับการกำจัดอย่างถูกสุขลักษณะและมีปริมาณมูลฝอยที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์ 5.1 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 19 ซึ่งมีสัดส่วนที่น้อยมาก เนื่องจากยังขาดกระบวนการคัดแยกจากแหล่งกำเนิดอย่างจริงจังและมีประสิทธิภาพ ทำให้มีปริมาณมูลฝอยเพิ่มปริมาณมากขึ้นทุกปี ซึ่งขยะจากแหล่งกำเนิดครัวเรือนสามารถแยกเป็นประเภท ใหญ่ ๆ ได้เป็น 4 ประเภทคือ ขยะย่อยสลายได้หรือขยะอินทรีย์ คิดเป็นร้อยละ 60 ขยะนำกลับมาใช้ใหม่หรือ ขยะรีไซเคิล คิดเป็นร้อยละ 30 ขยะทั่วไป คิดเป็นร้อยละ 7 และขยะอันตราย คิดเป็นร้อยละ 3 และหากคัดแยกขยะออกมาจะสามารถใช้ประโยชน์ได้มากถึงร้อยละ 90 เหลือนำไปกำจัดขั้นสุดท้ายเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น ซึ่งจะประหยัดทั้งค่าเก็บขนและค่ากำจัด แต่หากระบบการจัดการขยะไม่ถูกสุขลักษณะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะในช่วงหน้าร้อนอาจเสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อโรค การแพร่โรคติดต่อในระบบทางเดินอาหาร และเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และแมลงพาหะนำโรค ศ.นพ.รัชตะ กล่าวต่อว่า การแก้ไขปัญหาการจัดการขยะในขณะนี้ กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมอนามัยได้วาง 4 ยุทธศาสตร์หลักคือ 1) จัดให้มีการคัดแยกตั้งแต่ครัวเรือนหรือแหล่งกำเนิดเพื่อนำไปใช้ประโยชน์และจัดการตามประเภทของขยะนั้น ๆ ปัจจุบันมีหลาย ๆ ชุมชนมีการคัดแยกในครัวเรือนโดยแยกขยะนำกลับมาใช้ใหม่หรือขยะรีไซเคิล และนำไปใช้ประโยชน์ เช่น ขยะย่อยสลายได้ประเภทเศษอาหาร เปลือกผลไม้ นำไปทำน้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยน้ำ หรือนำไปเป็นอาหารสัตว์ การแยกขยะในครัวเรือนทำได้ง่ายและช่วยลดภาระในการกำจัด โดยการคัดแยกที่มีประสิทธิภาพจะทำให้ได้ขยะที่มีคุณภาพต่อการนำไปใช้งานและกำจัด 2) การบังคับใช้กฎหมายเพื่อสนับสนุนการคัดแยก ณ แหล่งกำเนิด ทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการลดปริมาณและการคัดแยกขยะ 3) การสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการจัดการขยะให้ถูกสุขลักษณะ เพื่อให้ใช้งบประมาณน้อยที่สุด และ 4) การควบคุมตรวจสอบอย่างจริงจัง โดยท้องถิ่นจะต้องมีการควบคุมอย่างจริงจังไม่ให้มีการลักลอบทิ้งขยะอันตรายจากอุตสาหกรรมรวมไปกับขยะทั่วไป ตลอดจนขอความร่วมมือจากประชาชนในการทิ้งขยะให้เป็นที่เป็นทางเพื่อให้ประเทศไทยสะอาด ทางด้าน ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวเพิ่มเติมภายหลังเป็นประธานการแถลงข่าวบทบาทคณะอนุกรรมการสาธารณสุขจังหวัดต่อการขับเคลื่อนงานการจัดการขยะร่วมกับ ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร ณ ชุมชนเทศบาลตำบลตองโขบ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร ว่า การดำเนินงานของจังหวัดสกลนครได้มีการฝึกอบรมด้านการจัดการขยะในครัวเรือน ให้กับ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เพื่อให้แนะนำประชาชนในหมู่บ้านของตนเองเข้ามามีส่วนร่วมและพัฒนาจนเป็นชุมชนต้นแบบด้านการจัดการขยะมูลฝอย และได้มีการมอบรางวัลให้กับ อสม. และนายอำเภอที่มีผลงานดีเด่นด้านการจัดการขยะ ช่วยให้มีการประสานความร่วมมือในการดำเนินงานให้ครอบคลุมทั้งจังหวัดปัจจุบันมี อสม. ทั่วประเทศกว่า 1 ล้านคน ที่จะสามารถช่วยงานในการเป็นผู้นำหรือแนะนำชุมชนได้อย่างใกล้ชิด และมีการอบรมและพัฒนาให้ความรู้ผ่าน อสม. โดยนำไปขยายผลต่อในหมู่บ้านของตนเอง มีการดำเนินงานในชุมชน ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมและพัฒนาให้มีการจัดการที่ดี ถูกสุขลักษณะ พัฒนาต่อเนื่องจนเป็นชุมชนต้นแบบก็สามารถนำไปพัฒนาขยายผลต่อทั้งประเทศ ทั้งนี้ การคัดแยกมูลฝอยเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่หรือการนำไปใช้ประโยชน์ จะช่วยลดปริมาณขยะที่ต้องนำไปกำจัดขั้นสุดท้ายน้อยมาก เป็นการลดค่าใช้จ่ายในการเก็บขนและกำจัดอีกด้วย และเป็นการรองรับการดำเนินงานของกฎกระทรวงว่าด้วยอัตราค่าธรรมเนียมการให้บริการในการจัดการมูลฝอยทั่วไปที่จะมีการประกาศใช้ เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการจัดการ ทำให้การแก้ไขปัญหาการจัดการขยะมีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น รวมทั้งมีการนำขยะไปใช้ให้เกิดประโยชน์อีกด้วย อธิบดีกรมอนามัย กล่าว *** สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง / 28 เมษายน 2558

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน

ติดตามข่าวสารได้ที่

แทงบอลออนไลน์ || ดูบอลสด UFABET