คุณกำลังมองหาอะไร?

ข่า

ข่าวแจก "กรมอนามัย มอบรางวัลต้นแบบเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดีและสพป.อ่อนหวาน 42 แห่ง ช่วยแก้ปัญหาเด็กไทยฟันผุ"

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

21.02.2557
0
0
แชร์
21
กุมภาพันธ์
2557

ข่าวแจก "กรมอนามัย มอบรางวัลต้นแบบเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดีและสพป.อ่อนหวาน 42 แห่ง ช่วยแก้ปัญหาเด็กไทยฟันผุ"

        กรมอนามัย กระทรวงสาธาณสุข มอบเกียรติบัตรและรางวัลเครือข่ายแก่โรงเรียนเด็กไทยฟันดี จำนวน 23 แห่ง และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) อ่อนหวาน จำนวน 19 แห่ง เพื่อเป็นต้นแบบในการพัฒนาระบบการดูแลและส่งเสริมสุขภาพช่องปากของนักเรียนช่วยแก้ปัญหาเด็กไทยฟันผุ
        วันนี้ (19 กุมภาพันธ์ 2557) ทันตแพทย์สุธา เจียรมณีโชติชัย รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานพิธีมอบเกียรติบัตรและรางวัล ในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดี ปี 2557 ณ โรงแรมเอเชียแอร์พอร์ท จังหวัดปทุมธานี ว่า ปัญหาฟันผุในเด็กไทยยังเป็นสิ่งที่กรมอนามัยดำเนินการแก้ไขมาอย่างต่อเนื่อง จากผลสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากของคนไทยที่ผ่านมา พบว่า เด็กวัยเรียนมีปัญหาโรคฟันผุอยู่มาก โดยเฉพาะเด็กอายุ 12 ปี หรือประถมศึกษาปีที่ 6 มีฟันผุมากถึงร้อยละ 52 ซึ่งนอกจากจะสร้างความเจ็บปวด การติดเชื้อ และปัญหาการบดเคี้ยวอาหารแล้ว ยังส่งผลต่อน้ำหนัก การเจริญเติบโต และบุคลิกภาพ รวมไปถึงผลกระทบต่อการเรียน ทำให้เด็กหยุดเรียนถึงปีละ 400,000 คน การจัดประชุมครั้งนี้คาดหวังว่าจะเกิดแรงบันดาลใจและแนวคิดใหม่ ๆ ในการพัฒนางานส่งเสริมสุขภาพช่องปากเพื่อสุขภาพนักเรียนต่อไป
        ทันตแพทย์สุธา กล่าวต่อไปว่า สาเหตุส่วนหนึ่งของโรคฟันผุในเด็กเกิดจากพฤติกรรมการบริโภคที่นิยมกินขนมกรุบกรอบและน้ำหวาน กรมอนามัยโดยสำนักทันตสาธารณสุขจึงได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานดำเนินการพัฒนาสุขภาพช่องปากในเด็กวัยเรียนมาโดยตลอด โดยเน้นการดำเนินงานเชิงนโยบายเพื่อจัดการสิ่งแวดล้อม และจัดกิจกรรมส่งเสริมพฤติกรรมอนามัยของเด็กในโรงเรียน ภายใต้ 2 โครงการหลัก คือ
1) โครงการพัฒนาเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดี ที่สร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนาการส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน และ
2) โครงการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) อ่อนหวาน ที่มุ่งเน้นการจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้เอื้อต่อการดำเนินงานทันตสุขภาพ โดยให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาดูแลโรงเรียนในสังกัดให้เป็นโรงเรียนที่งดขายและให้บริการน้ำอัดลมในโรงเรียน ปัจจุบันมีเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดี 400 เครือข่าย 5,746 โรงเรียน ใน 70 จังหวัดทั่วประเทศ และสพป.อ่อนหวาน 98 แห่ง
        ทั้งนี้ ในปี 2557 มีเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดีที่สามารถพัฒนาจนผ่านเกณฑ์ประเมินเป็นต้นแบบเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดีระดับยอดเยี่ยม จำนวน 10 เครือข่าย อาทิ เครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดีอำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง เครือข่ายบางปะหันแปดเซียนนักเรียนฟันดี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดีระดับดีมาก จำนวน 13 เครือข่าย อาทิ เครือข่ายรู้ทัน ฟันงาม อำเภอสยามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา เครือข่ายเด็กพิมายรักษ์ฟัน จังหวัดนครราชสีมา และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) ที่ดำเนินการโครงการ สพป.อ่อนหวานสำเร็จ จำนวน 19 แห่งอาทิ สพป.กระบี่ สพป.กาญจนบุรี เขต 4 สพป.เชียงราย เขต 1 , เขต 3 , เขต 4 เป็นต้น ? รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด
 
***
สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง/19 กุมภาพันธ์ 2557
 
กรมอนามัย กระทรวงสาธาณสุข มอบเกียรติบัตรและรางวัลเครือข่ายแก่โรงเรียนเด็กไทยฟันดี จำนวน 23 แห่ง และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) อ่อนหวาน จำนวน 19 แห่ง เพื่อเป็นต้นแบบในการพัฒนาระบบการดูแลและส่งเสริมสุขภาพช่องปากของนักเรียนช่วยแก้ปัญหาเด็กไทยฟันผุ วันนี้ (19 กุมภาพันธ์ 2557) ทันตแพทย์สุธา เจียรมณีโชติชัย รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานพิธีมอบเกียรติบัตรและรางวัล ในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดี ปี 2557 ณ โรงแรมเอเชียแอร์พอร์ท จังหวัดปทุมธานี ว่า ปัญหาฟันผุในเด็กไทยยังเป็นสิ่งที่กรมอนามัยดำเนินการแก้ไขมาอย่างต่อเนื่อง จากผลสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากของคนไทยที่ผ่านมา พบว่า เด็กวัยเรียนมีปัญหาโรคฟันผุอยู่มาก โดยเฉพาะเด็กอายุ 12 ปี หรือประถมศึกษาปีที่ 6 มีฟันผุมากถึงร้อยละ 52 ซึ่งนอกจากจะสร้างความเจ็บปวด การติดเชื้อ และปัญหาการบดเคี้ยวอาหารแล้ว ยังส่งผลต่อน้ำหนัก การเจริญเติบโต และบุคลิกภาพ รวมไปถึงผลกระทบต่อการเรียน ทำให้เด็กหยุดเรียนถึงปีละ 400,000 คน การจัดประชุมครั้งนี้คาดหวังว่าจะเกิดแรงบันดาลใจและแนวคิดใหม่ ๆ ในการพัฒนางานส่งเสริมสุขภาพช่องปากเพื่อสุขภาพนักเรียนต่อไป ทันตแพทย์สุธา กล่าวต่อไปว่า สาเหตุส่วนหนึ่งของโรคฟันผุในเด็กเกิดจากพฤติกรรมการบริโภคที่นิยมกินขนมกรุบกรอบและน้ำหวาน กรมอนามัยโดยสำนักทันตสาธารณสุขจึงได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานดำเนินการพัฒนาสุขภาพช่องปากในเด็กวัยเรียนมาโดยตลอด โดยเน้นการดำเนินงานเชิงนโยบายเพื่อจัดการสิ่งแวดล้อม และจัดกิจกรรมส่งเสริมพฤติกรรมอนามัยของเด็กในโรงเรียน ภายใต้ 2 โครงการหลัก คือ1) โครงการพัฒนาเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดี ที่สร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนาการส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน และ2) โครงการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) อ่อนหวาน ที่มุ่งเน้นการจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้เอื้อต่อการดำเนินงานทันตสุขภาพ โดยให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาดูแลโรงเรียนในสังกัดให้เป็นโรงเรียนที่งดขายและให้บริการน้ำอัดลมในโรงเรียน ปัจจุบันมีเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดี 400 เครือข่าย 5,746 โรงเรียน ใน 70 จังหวัดทั่วประเทศ และสพป.อ่อนหวาน 98 แห่ง \\ทั้งนี้ ในปี 2557 มีเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดีที่สามารถพัฒนาจนผ่านเกณฑ์ประเมินเป็นต้นแบบเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดีระดับยอดเยี่ยม จำนวน 10 เครือข่าย อาทิ เครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดีอำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง เครือข่ายบางปะหันแปดเซียนนักเรียนฟันดี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดีระดับดีมาก จำนวน 13 เครือข่าย อาทิ เครือข่ายรู้ทัน ฟันงาม อำเภอสยามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา เครือข่ายเด็กพิมายรักษ์ฟัน จังหวัดนครราชสีมา และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) ที่ดำเนินการโครงการ สพป.อ่อนหวานสำเร็จ จำนวน 19 แห่งอาทิ สพป.กระบี่ สพป.กาญจนบุรี เขต 4 สพป.เชียงราย เขต 1 , เขต 3 , เขต 4 เป็นต้น รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด *** สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง/19 กุมภาพันธ์ 2557

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน