คุณกำลังมองหาอะไร?

ข่า

ข่าวแจก "กรมอนามัย หนุนหน่วยบริการระดับตำบลดูแลช่องปากผู้สูงอายุ"

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

21.01.2557
2
0
แชร์
21
มกราคม
2557

ข่าวแจก "กรมอนามัย หนุนหน่วยบริการระดับตำบลดูแลช่องปากผู้สูงอายุ"

        กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ระดมหน่วยบริการปฐมภูมิ ประกอบด้วย ทันตบุคลากร บุคลากรสาธารณสุข และแกนนำชมรมผู้สูงอายุทั่วประเทศกว่า 300 คน เพิ่มพูนความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ด้านทันตสาธารณสุข เพื่อขยายเครือข่ายฟันเทียมพระราชทานและการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ
        วันนี้ (20 มกราคม 2557) ทันตแพทย์สุธา เจียรมณีโชติชัย รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยหลังเป็นประธานเปิดการประชุมขยายเครือข่ายฟันเทียมพระราชทานและการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ณ โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี ว่า ปัญหาหลักด้านสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุในปัจจุบัน ได้แก่ การสูญเสียฟันจนไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้ ส่วนผู้สูงอายุที่มีฟัน จะพบฟันผุ รากฟันผุ ปริทันต์อักเสบซึ่งมากกว่าครึ่งไม่ได้รับการรักษา นำไปสู่การสูญเสียฟัน และเสี่ยงต่อการติดเชื้อไปสู่ร่างกาย กรมอนามัยได้แก้ปัญหาดังกล่าวมาตั้งแต่ปี 2548 โดยการส่งเสริม ป้องกัน และฟื้นฟูสภาพช่องปาก ในโครงการดังกล่าว ทำให้ผู้สูงอายุทั่วประเทศได้รับบริการใส่ฟันเทียมพระราชทานปีละ 35,000-38,000 คน มีชมรมผู้สูงอายุด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก 2,939 ชมรม และบริการป้องกันตามชุดสิทธิประโยชน์ในหน่วยบริการ 1,026 แห่ง แต่ก็ยังไม่เพียงพอสำหรับการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ เนื่องจากสัดส่วนของประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
        ทันตแพทย์สุธา กล่าวต่อไปว่า ผู้สูงอายุมีความสามารถในการดูแลอนามัยช่องปากด้วยตนเองด้อยลง และส่วนใหญ่ต้องใช้ยารักษาโรคทางระบบที่ส่งผลต่อสุขภาพช่องปาก ต้องการการบริการดูแล รักษาใกล้บ้าน เพื่อสภาวะช่องปากที่ดี มีฟันเคี้ยวอาหารอย่างเหมาะสม กรมอนามัยจึงเตรียมขยายเครือข่ายฟันเทียมพระราชทานเพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพช่องปากได้ด้วยตนเอง เข้าถึงบริการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสภาพช่องปากได้มากขึ้น ด้วยการเพิ่มพูนองค์ความรู้ด้านทันตสาธารณสุข และสนับสนุนให้เกิดบริการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุแบบผสมผสาน บูรณาการทั้งในระดับตำบลและในชุมชน โดยให้หน่วยบริการปฐมภูมิ ซึ่งประกอบด้วย ทันตบุคลากร บุคลากรสาธารณสุข ร่วมกันดูแลผู้สูงอายุโดย
1) สนับสนุนให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองผ่านชมรมผู้สูงอายุ อสม.หรือผู้ดูแลในชุมชน
2) จัดบริการส่งเสริม ป้องกัน รักษาอย่างง่ายในหน่วยบริการปฐมภูมิ
3) ประสานและส่งต่อในการการรักษาและใส่ฟันตามความจำเป็น รวมทั้งติดตามผลเพื่อการดูแลอย่างต่อเนื่องตลอดอายุขัย
        ทั้งนี้ ผู้สูงอายุควรดูแลสุขภาพของตนเองเพื่อลดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและโรคในช่องปากไปพร้อม ๆ กัน โดยปฏิบัติตามหลัก 3 อ. 2 ส. 1 ฟ. คือ 3 อ. ได้แก่
1) อาหาร รับประทานครบ 5 หมู่ เพิ่มอาหารที่มีแคลเซียมสูง โปรตีน วิตามินซีและเส้นใยอาหาร
2) อารมณ์ รู้จักผ่อนคลายอารมณ์เครียด หางานอดิเรกที่ชอบ พักผ่อนให้เพียงพอ
3) ออกกำลังกายโดยเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อในระดับปานกลาง อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน หรือสะสมวันละ 10 นาที เช่น เดินเร็ว วิ่งเหยาะ ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ รำมวยจีน 2 ส.ได้แก่
1) ไม่สูบบุหรี่
2) ไม่ดื่มสุรา จะช่วยลดการเกิดมะเร็งช่องปาก และ 1 ฟ. คือ การดูแลทำความสะอาดฟันทุกวัน และแนะนำให้ผู้สูงอายุทำความสะอาดซอกฟันโดยใช้ไหมขัดฟัน แปรงซอกฟัน หรือไม้จิ้มฟันที่ไม่แหลมซึ่งอาจทำให้เหงือกเป็นแผล อักเสบได้? รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด
                                                                                        
***
สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง / 20 มกราคม 2557
 
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ระดมหน่วยบริการปฐมภูมิ ประกอบด้วย ทันตบุคลากร บุคลากรสาธารณสุข และแกนนำชมรมผู้สูงอายุทั่วประเทศกว่า 300 คน เพิ่มพูนความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ด้านทันตสาธารณสุข เพื่อขยายเครือข่ายฟันเทียมพระราชทานและการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ วันนี้ (20 มกราคม 2557) ทันตแพทย์สุธา เจียรมณีโชติชัย รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยหลังเป็นประธานเปิดการประชุมขยายเครือข่ายฟันเทียมพระราชทานและการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ณ โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี ว่า ปัญหาหลักด้านสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุในปัจจุบัน ได้แก่ การสูญเสียฟันจนไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้ ส่วนผู้สูงอายุที่มีฟัน จะพบฟันผุ รากฟันผุ ปริทันต์อักเสบซึ่งมากกว่าครึ่งไม่ได้รับการรักษา นำไปสู่การสูญเสียฟัน และเสี่ยงต่อการติดเชื้อไปสู่ร่างกาย กรมอนามัยได้แก้ปัญหาดังกล่าวมาตั้งแต่ปี 2548 โดยการส่งเสริม ป้องกัน และฟื้นฟูสภาพช่องปาก ในโครงการดังกล่าว ทำให้ผู้สูงอายุทั่วประเทศได้รับบริการใส่ฟันเทียมพระราชทานปีละ 35,000-38,000 คน มีชมรมผู้สูงอายุด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก 2,939 ชมรม และบริการป้องกันตามชุดสิทธิประโยชน์ในหน่วยบริการ 1,026 แห่ง แต่ก็ยังไม่เพียงพอสำหรับการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ เนื่องจากสัดส่วนของประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทันตแพทย์สุธา กล่าวต่อไปว่า ผู้สูงอายุมีความสามารถในการดูแลอนามัยช่องปากด้วยตนเองด้อยลง และส่วนใหญ่ต้องใช้ยารักษาโรคทางระบบที่ส่งผลต่อสุขภาพช่องปาก ต้องการการบริการดูแล รักษาใกล้บ้าน เพื่อสภาวะช่องปากที่ดี มีฟันเคี้ยวอาหารอย่างเหมาะสม กรมอนามัยจึงเตรียมขยายเครือข่ายฟันเทียมพระราชทานเพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพช่องปากได้ด้วยตนเอง เข้าถึงบริการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสภาพช่องปากได้มากขึ้น ด้วยการเพิ่มพูนองค์ความรู้ด้านทันตสาธารณสุข และสนับสนุนให้เกิดบริการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุแบบผสมผสาน บูรณาการทั้งในระดับตำบลและในชุมชน โดยให้หน่วยบริการปฐมภูมิ ซึ่งประกอบด้วย ทันตบุคลากร บุคลากรสาธารณสุข ร่วมกันดูแลผู้สูงอายุโดย1) สนับสนุนให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองผ่านชมรมผู้สูงอายุ อสม.หรือผู้ดูแลในชุมชน2) จัดบริการส่งเสริม ป้องกัน รักษาอย่างง่ายในหน่วยบริการปฐมภูมิ3) ประสานและส่งต่อในการการรักษาและใส่ฟันตามความจำเป็น รวมทั้งติดตามผลเพื่อการดูแลอย่างต่อเนื่องตลอดอายุขัย \\ทั้งนี้ ผู้สูงอายุควรดูแลสุขภาพของตนเองเพื่อลดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและโรคในช่องปากไปพร้อม ๆ กัน โดยปฏิบัติตามหลัก 3 อ. 2 ส. 1 ฟ. คือ 3 อ. ได้แก่1) อาหาร รับประทานครบ 5 หมู่ เพิ่มอาหารที่มีแคลเซียมสูง โปรตีน วิตามินซีและเส้นใยอาหาร2) อารมณ์ รู้จักผ่อนคลายอารมณ์เครียด หางานอดิเรกที่ชอบ พักผ่อนให้เพียงพอ3) ออกกำลังกายโดยเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อในระดับปานกลาง อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน หรือสะสมวันละ 10 นาที เช่น เดินเร็ว วิ่งเหยาะ ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ รำมวยจีน 2 ส.ได้แก่1) ไม่สูบบุหรี่2) ไม่ดื่มสุรา จะช่วยลดการเกิดมะเร็งช่องปาก และ 1 ฟ. คือ การดูแลทำความสะอาดฟันทุกวัน และแนะนำให้ผู้สูงอายุทำความสะอาดซอกฟันโดยใช้ไหมขัดฟัน แปรงซอกฟัน หรือไม้จิ้มฟันที่ไม่แหลมซึ่งอาจทำให้เหงือกเป็นแผล อักเสบได้ รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด *** สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง / 20 มกราคม 2557

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน